วันเสาร์เยาวชนสร้างสรรค์ & self-organization!


อะไรจะนำไปสู่ self-organization ของคนสร้างสรรค์พันธ์ใหม่? ถ้าไม่ใช่ EDGE OF CHAOS, DIVERSITY & STRANGE ATTRACTOR?

วันนี้ตอนบ่ายสองได้เข้าประชุมเพื่อฟัง presentation จาก organizer เรื่องวันเสาร์เยาวชนอาสาซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่สามารถบูรณาการทุกๆอย่างเข้าด้วยกันได้ในวาระหลักของ สสส.

สรุปแนวคิดทั่วไปมีดังนี้ครับ

ปกติ สสส. มีโครงการที่เกี่ยวกับเด็กและเยาวชนอยู่มหาศาลเลย  ต่างคนต่างมีพื้นที่ของตนและไม่ค่อยจะได้มีโอกาสเชื่อมโยงร่วมกันนัก จึงทำให้ผลคือเกิดจุดเล็กๆมากมายที่สร้างสรรค์ในสังคม แต่ปัญหาก็คือจุดเล็กๆไม่ได้เชื่อมกันก็เลยเล็กอยู่อย่างงั้น ไม่สามารถเกิดเป็นอะไรที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่มีนัยยะสำคัญกับประเทศได้ 

วันเสาร์เยาวชนสร้างสรรค์จึงเป็นแนวคิดที่จะรวบรวมโครงการ และกลุ่มเยาวชนสร้างสรรค์ต่างๆซึ่งเกี่ยวข้องกับ สสส. และที่เข้าข่ายกลุ่มสร้างสรรค์ที่ 'ไม่กินเหล้า ไม่สูบบุหรี่ ไม่มีกิ๊ก (ชู้)' ให้เชื่อมโยงร้อยกันเป็นเหมือนกับพวงมาลัยที่สามารถเอาไปบูชาพ่อหลวงได้  ซึ่งแท้จริงแล้วก็คือการเปิดพื้นที่ให้กลุ่มต่างๆสามารถมีโอกาสเชื่อมกันได้ผ่านกิจกรรมวันเสาร์เยาวชนสร้างสรรค์ซึ่งจะจัดกิจกรรมเปิดให้คนรุ่นใหม่ที่มีกล่มสร้างสรรค์มาร่วมแสดงความสามารถที่หลากหลายได้ไม่ว่าจะเป็นด้านกีฬา ดนตรี กวี การช่วยเหลือผู้อื่น และอีกมากมาย โดยจัดขึ้นทุกวันเสาร์ในพื้นที่ๆเดียวต่อเนื่องจากมิถุนายนไปจนถึงธันวาคมเลย 

จึงเป็นเหมือนการสร้างพื้นที่ซึ่งเป็น hub กิจกรรมสร้างสรรค์ของคนพันธ์ใหม่นั้นเอง และ hub นี้ก็เป็นพื้นที่ซึ่งทั้งจะเป็นช่องทางในการทำการตลาด (marketing) เครือข่ายคนสร้างสรรค์พันธ์ใหม่ให้คนทั่วไปในสังคมรู้จักอย่างกว้างขวางผ่านการสื่อสารการตลาดที่มีประสิทธิภาพ กล่าวคือเป็นการเปิดหน้าร้านขายการทำความดีในรูปแบบต่างๆนั้นเอง  นอกจากจะเป็นการเปิดลานแจ้งเกิดขึ้นแล้ว ก็ยังเป็นการทำให้กลุ่มกิจกรรมสร้างสรรค์ของคนรุ่นใหม่ต่างๆนั้นสามารถมาร่วมงานกันได้มากขึ้นอีกด้วย    กล่าวคือเป็นพื้นที่ซึ่งมีชีวิตของตนเอง

ข้อคิดของผมมีดังนี้ครับ

ความคิดพื้นฐาน ณ. เวลานี้กำลังชั่งใจกันอยู่ว่าจะจัดเป็นลานกิจกรรมกลางสถานที่วัยรุ่นขวักไขว่ หรือจะปิดถนนทำเป็นพื้นที่สร้างสรรค์ไปเลย  อย่างไรก็ตามเชื่อว่าสุดท้ายก็คงเป็นพื้นที่ซึ่งมีความเป็น underground / sub-culture / deviant / indie / Fringe สูง และมีกลุ่มคนสร้างสรรค์พันธ์ใหม่มาร่วมแสดงความสามารถอย่างกว้างขวางและชักชวนผู้อื่นเข้ามาร่วมกลุ่มกิจกรรมของพวกตน 

จะว่าไปก็มีแนวคิดคล้ายๆกับการทำตลาด niche ซึ่งดึงจาก underground แล้วค่อยๆดึงขึ้นมาจนเป็น mainstream ในเชิงการสร้าง impact ด้านการสื่อสารกับสังคม ไม่ใช่ทุกคนต้องเข้าร่วม แต่ทุกคนต้องรู้จักว่ามีพื้นที่นี้อยู่  case ที่น่าสนใจไปศึกษาก็คือการสร้างพื้นที่คล้ายๆกันในเขต ginza ใน tokyo และการเกิดขึ้นของ trend สินค้า retro อย่าง hush puppy ที่เริ่มจาก sub-culture ใน london แล้วระเบิดเข้าสู่ mainstream ในลักษณะของสินค้า "เด็ก/คนแนว" นั้นเอง  กรณีพวกนี้มีหนังสือที่น่าศึกษาอยู่เช่น The Tipping Point ของ gladwell และ The Deviant's Advantage: How Fringe Ideas Create Mass Markets by Ryan Mathew  ซึ่งก็มีตัวอย่างเยอะมากเกี่ยวกับ trend ที่เกิดขึ้นในลักษณะดังกล่าว

ความท้าทายที่แท้จริงของเรื่องนี้น่าจะอยู่ที่ความกล้าที่จะเสี่ยงกับการผุดบังเกิด (emergence) ว่าเมื่อเกิดพื้นที่ซึ่งมีประสิทธิภาพในการ showcase กลุ่มคนสร้างสรรค์พันธ์ใหม่แล้ว จะมีกลุ่มดังกล่าวหลั่งไหลเข้ามาสร้างชุมชนที่ขยายตัวได้อย่างมีความแตกต่าง จนสื่อและผู้คนในสังคมให้ความสนใจเป็นอย่างมากได้  ซึ่งย่อมมีแนวคิดที่ฉีกไปจากการทำตลาดแบบดั้งเดิมและจัดตั้งโดยมีเยาวชนเป็นไม้ประดับเพื่อสนองวาระของผู้ใหญ่แต่อย่างเดียว 

การ balance ระหว่าง network momentum และ ประสิทธิภาพในการสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายจึงมีความสำคัญมาก

แต่สิ่งที่ไม่ควรจะลืมก็คือสุดท้ายแล้วเราใช้ mass มาขาย fringe / niche / indie ไม่ได้  โดยเฉพาะเราจะเป็น trend setter ก็ต้องดัน showcase ที่เป็น fringe ซึ่ง appeal กับ mass ได้

demand ของการผุดบังเกิดของคนสร้างสรรค์พันธ์ใหม่ที่เราควรมีบทบาทพลักดันให้เกิดขึ้นนั้นควรจะเกิดจากการสร้างคุณค่าของ brand และความหมายของการเป็นคนรุ่นใหม่ที่สร้างสรรค์ คนจริงก็ย่อมจะนำให้คนที่อยากเป็นคนจริงด้วยตามเข้ามา เป็น inside-out communication strategy คล้ายกับ apple ที่เน้น usergroup experience จนทำให้เกิดเป็นชุมชนลัทธิคนคลั่ง apple ขึ้น 

วงการพัฒนาชอบพูดถึงคำว่า self-organization ซึ่งหมายความถึงการที่ระบบใดๆจะจัดการตัวเองได้อย่างยั่งยืน  แต่สิ่งที่เป็น preconditions ของ self-organization นั้นก็คือระบบที่อยู่ ณ. edge of chaos ซึ่งทำไปสู่การผุดบังเกิดของระเบียบใหม่ (emergence of new order) โดยเฉพาะในระบบที่มีปฏิสัมพันธ์บนความหลากหลาย (Interactions in diversity) และการมีอยู่ของตัวดึงดูดประหลาด (Strange attractor) ซึ่งล้วนเป็นความเข้าใจพื้นฐานของเรื่อง complexity theory. 

ในทางปฏิบัติ การจัดตั้งอย่างเป็นรูปแบบที่มากเกินไปก็ย่อมจะเป็นอะไรที่มีระเบียบมากจนไม่สามารถเกิดระเบียบใหม่ซึ่งเยาวชนสามารถจัดกลุ่มกันเองได้อย่างยั่งยืนมี momentum ในรูปแบบ จริต และทิศทางของตนเองได้   เครื่องปรุงที่สำคัญที่จะนำไปสู่ self-organization ในกรณีนี้ก็คงจะเป็นเรื่องของ...

1. EDGE OF CHAOS: การยินดีที่จะเสี่ยงกับการเปิดพื้นที่และให้อิสระภาพ (Chaos as degree of freedom) ในการจัดกิจกรรมต่างๆโดยผสมผสานการจัดตั้งและการเปิดเสรี 

2. DIVERSITY: การมุ่งที่จะสร้างความหลากหลายอย่างยิ่งยวดในระบบ ซึ่งก็คือความหลากหลายของกิจกรรมในพื้นที่ๆเดียว ไม่ว่าจะเป็นดนตรี กวี หรือโครงการอาสา และพัฒนาสังคมก็ตาม 

3. STRANGE ATTRACTOR: การมุ่งพลักดันให้เกิดแรงดึงดูดที่จะทำให้คนรุ่นใหม่หลั่งไหลเข้ามาสู่สถานที่แห่งนี้ซึ่งทำได้ทั้งผ่านการพูดปากต่อปากโดยอาจจัดตั้งเบื้องต้นผ่านเครือข่ายต่างๆ และการทำการสื่อสารการตลาด (marketing communication) ให้เข้าถึงให้มาก contact points ที่สุดเท่าที่จะทำได้ใน customer life-in-a-day ตั้งแต่ข่าวในคลื่นวิทยุ  ประกาศที่โรงเรียน ทีวี หรือแม้แต่สื่อใหม่เช่น internet/forward mail/ sms  แต่ strange attractor ต้องมีหลุมดำที่ดูดทุกอย่างซึ่งก็คือพื้นที่และกลุ่มคนสร้างสรรค์พันธ์ใหม่ซึ่งเข้ามาจากทุกทิศทุกทางตราบที่เข้าทางเรานั้นเอง   CRM จะมีบทบาทมากในทุกๆกระบวน conversion ของเด็กจากคนที่ไม่สนใจมาเป็นสนใจ มาเป็นเข้าใจ มาเป็นมีส่วนร่วม และมาเป็นชักชวนคนอื่นและเป็นตัวตั้งตัวตีได้ในที่สุด

หวังว่าคงไม่รู้สึกหลุดโลกไปนะครับ

สุนิตย์

คำสำคัญ (Tags): #self#organization#social#space
หมายเลขบันทึก: 23469เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 23:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 เมษายน 2012 15:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท