มิติการออกกำลังกายของผู้หญิงในชุมชนอิสสาม:


"ผู้หญิงมุสสิมก็ออกกำลังกายได้"

"เมื่อ 3 เดือนก่อน ได้มีโอกาสติดตามมนักศึกษาไปนิเทศนักศึกษาฝึกงานในชุมชนภายใต้ของวิชาการพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน พร้อมกับทำวิจัยในชุมชนไปเช่นกัน สืบเนื่องจากการทำงานหน้าที่ของอาจารย์ที่มีภารการทำวิจัยควบคู่กับการสอน จึงทำให้ต้องพัฒนาวิธีคิดการทำงานประจำให้เป็นงานวิจัยไปในคราวเดียว จากการลงพื้นที่ครั้งนี้ ได้ข้อสังเกตหลายประการในการประเมินสุขภาพของชุมชน

จากจุดเริ่มต้นการเดินสำรวจชุมชน มองหาวิถีชีวิตของชาวมุสสลิมจำนวน 82 ครัวเรือน สืบค้นมิติของความเป็นชุมชนชานเมืองของกรุงเทพฯในช่วงที่มีไข้หวัดนกระบาด ฯลฯ ซึ่งมีอีกหลายมิติที่ผุดขึ้นมาจากสิ่งที่ไม่เคยรู้

แต่มีสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจและอยากเล่าสู่กันฟังคือ ผู้หญิงในชุมชนอิสลามนี้มีความอยากออกกำลังกายและการออกกำลังกายของเขาคือการเต้นแอโรบิค เราก็ไม่เข้าใจคิดว่าเป็นตามกระแสหรือเปล่า และที่รู้มาก่อนเข้าชุมชนคือ ชุมชนนี้ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี ผู้หญิงจะมาเต้นออกกำลังกายไม่ได้ แต่เมื่อสัมผัสเข้าไปกับพบว่าไม่ใช่ โต๊ะอิหม่ามกับเปิดโอกาสให้และบอกว่า ให้รวมตัวกัน หาผู้นำ และเห็นด้วยที่จะให้หญิงในชุมชนได้ออกกำลังกาย แต่ขออย่างเดียวว่า อย่าเข้ามาทำกิจกรรมที่มัสยิดเพราะผิดหลักศาสนา

เท่านี้ก็ถือว่าเป็นช่องทางแห่งโอกาสทองแล้วที่จะสร้างฝันในผู้หญิงกลุ่มหนึ่งในชุมชนได้มีโอกาสออกกำลังกาย เมื่อเราประเมินสุขภาพไดแล้ว เราก็เริ่มทำกลุ่มเพื่อวินิจฉัยหาสาเหตุของปัญหาที่ชุมชนต้องการ ผลก็คือ เราได้ผู้นำในวันนั้น ได้กลุ่มสามซ่าพาสดใส (เขาตั้งกันเองนะ) แล้วเขาก็ตกลงทำกันที่บ้านของผู้นำกลุ่ม และก็เริ่มกิจกรรมออกกำลังกายกันทุกวัน "สิ่งที่สังเกตอีกอย่างคือ เขานัดเราประมาณ 5 โมงเย็น เมื่อใกล้เวลาละมาด 6 โมงเย็นเขาจะหยุดกิจกรรมนั่งคุยกันเฉยๆ ทางกลุ่มบอกกับเราว่า เขาละมาดกันต้องแสดงความเคารพด้วย" ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ได้รู้เพิ่มขึ้นกว่าเดิมว่า คนในชุมชนเขาเคารพสิทธิซึ่งกันและกัน รู้ว่าอะไรควร อะไรไม่ควร ผลจากการดำเนินกิจกรรมต่อมานั้น คือคนที่เข้ากลุ่มมากขึ้นขยายถึงชุมชนหน้าตลาด อีกทั้งยังมาติดต่อให้ไปเป็นผู้นำในชุมชนใกล้เคียงอีกด้วย

 ทุกวันนี้กลุ่มก็ยังอยู่นะ ภายหลังจากการสอบถามกันเมื่อจบวิชา แต่ที่แน่ๆ วันนั้นทั้งอาจารย์และนักศึกษาต่างก็หน้าบานกลับไป เพราะรู้สึกดีอีกแล้วที่ได้ทำให้ฝันของคนในชุมชนเป็นจริง และบทเรียนที่รู้กันคือ ทุกสิ่งทุกอย่างเปลี่ยนไปตามกาลเวลา กฎคือกฎอาจมิใช่ตายตัว แม้แต่กฎก็ยกเว้นได้บางเรื่องที่ไม่ได้ขัดกับจารีตประเพณี และมันบ่งชี้ได้ว่า ทุกสิ่งคือสุขภาวะจริงๆ

หมายเลขบันทึก: 23439เขียนเมื่อ 10 เมษายน 2006 21:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 พฤษภาคม 2012 22:30 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

......แต่ขออย่างเดียวว่า อย่าเข้ามาทำกิจกรรมที่มัสยิดเพราะผิดหลักศาสนา....

จากข้อความนี้อ่านแล้วทำให้เข้าใจว่า การออกกำลังกายผิดหลักศาสนาแต่ประเด็นมันไม่ได้อยู่ที่การออกกำลังกาย แต่อยู่ที่ ....

ผู้หญิงมุสลิมจะมาโชว์เรือนร่างและออกอากัปกิริยาอย่างนี้ในที่สาธารณะและโจ่งแจ้งอย่างนี้ไม่ได้ แต่ถ้าทำในที่รโหฐานไม่มีผู้ชาย ไม่มีปัญหา ไม่เป็นบาป

ขอบคุณมากนะค่ะ ที่ให้ข้อคิดเห็น จริงอย่างที่คุณบอก เพราะโต๊ะอิหม่ามเองก็อยากให้กลุ่มผู้หญิงได้มีการออกกำลังกาย และแต่งงานที่เรียบร้อยเช่นกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท