ตอนที่ 1 พฤติกรรมทางเพศของวัยร่นไทย


“แฉ นศ.ฮิตพฤติกรรมเซ็กซ์เฟรนด์ ชี้เปลี่ยนคู่นอนเสี่ยงติดเอดส์”

แฉหอพัก นร.-นศ.  แหล่งมั่วเซ็กซ์   วัยรุ่นหญิงติดเอดส์พุ่ง

ผลสำรวจชี้ วัยรุ่นยอมรับ วันวาเลนไทม์

มีส่วนต่อการมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน

สถิติ วัยรุ่นวัยเรียน มีอัตราการติดเอดส์ สูงกว่าหญิงขายบริการ

จากตัวอย่างหัวข้อข่าวที่เกี่ยวกับพฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นไทยปัจจุบัน ที่กล่าวข้างต้น ชี้ให้เห็นถึงสภาวะวิกฤตทางเพศของเด็กวัยรุ่น (อายุ 10-24 ปี) ซึ่งเป็นช่วงวัยที่ต่อมใต้สมองเริ่มผลิตสารที่ก่อให้เกิดการตื่นตัวทางเพศ  อันเป็นผลให้กลุ่มเด็กวัยรุ่นเป็นกลุ่มที่เริ่มอยากลอง อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ และนำไปสู่การมีพฤติกรรมทางเพศ จึงถือว่าเป็นกลุ่มของการมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมได้ง่ายและทำให้เป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มเป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเอดส์สูง  เพราะเป็นกลุ่มที่เริ่มอยากรู้ อยากลอง  อยากทำ     บนพื้นฐานของการไม่รู้จริง ไม่รู้ป้องกัน ไม่รู้แก้ไข ประกอบกับปัจจัยภายนอกที่ชักนำไปสู่การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม ได้แก่

1.      การเลียนแบบพฤติกรรมตามกระแสตะวันตก  อาทิ การจับคู่อยู่กิน  การทำสถิตินอนกับผู้ชาย 

การมีเพศสัมพันธ์กับเพื่อน  

2.      ปัญหาครอบครัว  ด้านเศรษฐกิจ ด้านครอบครัวแตกแยก

3.      ปัญหาด้านสถานที่  การที่ต้องตกอยู่ในสถานที่อันนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์อย่างไม่คาดคิด

4.      การมีพฤติกรรมใช้สารเสพติด

5.      การได้รับสื่อที่ยั่วยุ ส่งเสริมการมีพฤติกรรมทางเพศ

ปัจจัยข้างต้น เป็นตัวแปรที่นำเด็กวัยรุ่นซึ่งมีช่วงอายุตั้งแต่ สู่การมีพฤติกรรมทางเพศที่ไม่

เหมาะสม  เช่น ผลการสำรวจพฤติกรรมทางเพศ (..2542)    ที่พบว่า

-นักเรียน โดยเฉลี่ยอายุ 15 ปี (ม.2) เริ่มมีเพศสัมพันธ์เป็นครั้งแรก     

-นักเรียนชายร้อยละ 15 มี เพศสัมพันธ์เพราะ ความอยากรู้อยากลอง

-นักเรียนหญิงร้อยละ 2  มี เพศสัมพันธ์เพราะ ความรัก

พฤติกรรมดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาทางเพศสัมพันธ์ตามมา อาทิ  การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์, การติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์   การติดเชื้อ HIV  ฯลฯ

 

 

 

 

ปัญหาทางเพศสัมพันธ์

1.        การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์   การเจริญเติบโตและความสมบูรณ์ทางร่างกายของวัยรุ่นซึ่งเป็นวัยที่มี

ความพร้อมทางภาวการณ์เจริญพันธุ์สูงมาก ดังนั้น เมื่อมีเพศสัมพันธ์จึงทำให้มีโอกาสให้กำเนิดชีวิตใหม่ หรือการตั้งครรภ์ก็มีสูงมากด้วย
                การตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ของวัยรุ่น เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เป็นการตั้งครรภ์ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน จึงก่อให้เกิดปัญหาตามมาอย่างมากทั้งทางด้านครอบครัว เศรษฐกิจ และสังคม และปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์นี้ส่งผลกระทบต่ออนาคตของวัยรุ่นอย่างมากด้วย ลักษณะของปัญหาจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์มีดังนี้

1.1         ฝ่ายหญิงที่เป็นฝ่ายที่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่  เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมา

ก็ไม่อาจศึกษาเล่าเรียนต่อไปได้ ทำให้ต้องออกจากการศึกษากลางคัน ซึ่งก็หมายถึงอนาคตการเรียนก็หมดไปอย่างสิ้นเชิงบางรายเมื่อตั้งครรภ์ก็ไม่กล้าบอกพ่อแม่ ผู้ปกครองทราบแต่ก็ไม่สามารถปกปิดได้ตลอดไป จึงตัดสินใจหนีออกจากบ้านไปเผชิญชีวิตด้วยตนเอง เมื่อคลอดลูกก็จะเกิดปัญหาตามมามากมาย โดยเฉพาปัญหาทางเศรษฐกิจและปัญหาสังคม

                                1.2    ในบางกรณีตัดสินใจทำแท้งเพื่อยุติการตั้งครรภ์โดยหวังว่าเมื่อไม่ตั้งครรภ์แล้วจะสามารถกลับมาใช้ชีวิตและศึกษาเล่าเรียนได้ตามปกติ ในความเป็นจริงแล้วการทำแท้งเป็นเรื่องที่ผิดทั้งทางด้านศีลธรรม กฎหมาย และค่านิยมของสังคม และที่สำคัญที่สุดคือ ส่งผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพ ในบางรายที่ทำแท้งโดยผู้ทำไม่ใช่แพทย์อาจเป็นอันตรายรุ่นแรง เช่น ตกเลือด ติดเชื้ออย่างรุ่นแรง ทำให้เสียชีวิตได้ หรือบางรายอาจต้องผ่าตัด ตัดมดลูกทิ้งทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้อีกเลยตลอดชีวิต

                                1.3    ในบางกรณี เมื่อตั้งครรภ์ขึ้นมาจะทำให้เกิดภาวะจำยอมที่ต้องแต่งงานกัน โดยทั้งสองฝ่ายยังไม่มีความพร้อมสำหรับการใช้ชีวิตคู่ที่ต้องมีภาระเลี้ยงดูบุตร ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวซึ่งนำไปสู่การหย่าร้างในที่สุด

2.  การติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์อาจทำให้เกิดการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ ที่สำคัญคือ โรคในกลุ่มกามโรคซึ่งขณะนี้มีการพัฒนาทางสายพันธ์ที่ดีขึ้น ยาต่างๆ ที่เคยควบคุมโรคติดต่อเหล่านี้ได้ลดประสิทธิภาพลงและโรคเอดส์ โดยเฉพาะโรคเอดส์เป็นโรคที่กำลังแพร่ระบาด และทำให้เกิดปัญหาทางสังคมอย่างมาก ทั้งยังเป็นโรคที่ไม่มียาหรือวิธีการรักษาที่ทำให้หายขาดได้ และไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันโรคนี้ การติดเชื้อโรคเอดส์จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและปัญหาสังคมตามมา ทั้งยังทำลายอนาคตอีกด้วย

สถานการณ์ของวิกฤตทางเพศในกลุ่มวัยรุ่นดังกล่าวเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องร่วมกันดูแล ป้องกัน แก้ไขโดยเริ่มจากการหันมาทบทวนปัจจัยหลัก เช่น  การอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ การอบรม ให้การศึกษา ของสถาบันการศึกษา การสร้างค่านิยมและวัฒนธรรม และการใช้สื่อต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ความรู้และแนวคิดที่ถูกต้อง และสามารถนำไปใช้ใน    การดูแลและป้องกันตนเองจากปัญหาทางเพศสัมพันธ์ได้

 

 

 

………………………………………………………………………………………………………………..........................

Sexteen thailand,  พิมพ์ครั้งที่สาม  กรุงเทพฯ :สยามอินเตอร์บุ๊คส์,  2546

ไทยรัฐ  ปีที่ 55 ฉบับที่ 16930 วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ..2547 หน้า 15

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 234353เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2009 17:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 15:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท