สร้างชื่อ


การสร้างโรงเรียนใหม่ ใช่แค่มีอาคารเรียนที่สง่างามสักหลังแล้ว จะเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้

 

                                          


ใช้เวลา 4 ปี โรงเรียนเทศบาลเชิงทะเล ฯ เติบโตอย่างค่อยเป็นค่อยไปที่ละก้าว ๆ จากหนึ่งเป็นสอง จากสองเป็นสาม ปัจจุบัน (ปีการศึกษา 2551) มีนักเรียนตั้งแต่อนุบาล 1 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 541 คน เพียงเวลา 4 ปีผ่านมา นักเรียนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก

การสร้างโรงเรียนใหม่ ใช่แค่มีอาคารเรียนที่สง่างามสักหลังแล้ว จะเป็นโรงเรียนที่มีชื่อเสียงได้ มันต้องมีการจัดการอีกหลายกระบวนการ ขึ้นอยู่กับทักษะและความคิดที่เปิดกว้าง ยอบรับความเปลี่ยนของสังคม กระแสความต้องการของสังคม ตีประเด็นให้แตก ว่าวันนี้สังคมตรงนี้ต้องการอะไร เมื่อตอบสนองถูกจุด มันเหมือนการเกาถูกที่คัน

งานนิทรรศการทางวิชาการภาคใต้ ประจำปี 2550  ณ เทศบาลเมืองท่าข้าม จังหวัดสุราษฎรธานี เป็นสนามประลองครั้งแรกที่ผู้เขียนเปิดตัว เด็กตัวน้อย ๆ แห่งเชิงทะเล  เพื่อเป็นการพิสูจน์ว่าสิ่งที่ทำไปนั้นได้ผลแค่ไหน  ได้นำตัวแทนเด็กนักเรียนเข้าแข่งขันทักษะทางวิชาการ ตั้งแต่อนุบาล จนถึง ป. 2 จำนวน 40 คน ผลปรากฏออกมาว่าเด็กนักเรียนสามารถล่ารางวัลมาได้ 39 เหรียญรางวัลปะปนกันไป เป็นที่พึงพอใจของครู ผู้ปกครองตลอดจนผู้บริหารเทศบาล  ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เคยปรากฎ ณ ดินแดนตรงนี้

ปี 2551 ก้าวเริ่มจะยาวขึ้น นอกจากนำนักเรียนเข้าร่วมแข่งขันทักษะทางวิชาการแล้ว  ยังขอเข้าร่วมจัดนิทรรศการทางวิชาการที่ เทศบาลเมืองชุมพรเป็นเจ้าภาพในระดับภาคใต้ด้วย และผลสืบเนื่องมาให้ได้รับการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคใต้ ที่จัดการศึกษาระดับประถมศึกษา ดีเด่น ไปร่วมแสดงนิทรรศการในงานมหกรรมทางการศึกษาระดับประเทศ ของกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ศูนย์แสดงสินค้า อิมแพคเมืองทองธานี จึงได้นำความเป็นเชิงทะเลฯ ไปประกาศให้คนทั้งประเทศรู้จัก โรงเรียนหลักสูตรสองภาษา (Bilingual School) แห่งแรกของท้องถิ่น ที่มีคนกล้าทำ มีเสียงตอบรับอย่างล้นหลาม

หลังจากงานวันนั้นผ่านไป...ไม่นาน เชิงทะเลที่ไม่มีใครรู้จัก ต้องเป็นด่านแรกของเกาะภูเก็ตที่คนทางการศึกษาขอเข้าศึกษาดูงาน และด้วยกระแสทางสังคมวันนี้  ทำให้ปัญหาของเมืองใหญ่กำลังจะเดินทางกลับมาอยู่เชิงทะเล คือเด็กย้ายเข้ามาสู่เขตเทศบาลเพิ่มขึ้น  เพื่อจะเข้าโรงเรียนแห่งนี้ ผู้ปกครองยอมรับทุกเงื่อนไข  หวังเพื่อให้ได้เรียน ผู้เขียนไม่ใช่นักธุรกิจแต่เป็นนักการศึกษา จึงได้กำหนดเงื่อนไขการเข้าเรียนในโรงเรียนนี้ว่า ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเทศบาลตำบลเชิงทะเลเท่านั้น จึงจะสามารถเข้าเรียนได้ เนื่องจากมีข้อกฎหมายอยู่ว่า เทศบาลต้องจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น นั่นแสดงให้เห็นว่า ถ้าประชาในท้องถิ่นเรารับไว้ก่อน  หากไม่เต็มจึงรับคนนอกท้องถิ่นเข้าเรียน  จึงกลายเป็นกระแสที่ฉุดไม่อยู่ คือคนย้ายเข้ามาจ่อคิวในระดับชั้นอนุบาล ๓   เพราะกลัวนักเรียนในเขตจะเต็มแล้วลูกเขาเข้าไม่ได้....ความฝันของผู้เขียนกำลังคืบคลานเข้ามา...เรียกเด็กคืนถิ่น ๆ ....

(มีตอนต่อไป)

 

คำสำคัญ (Tags): #education
หมายเลขบันทึก: 234189เขียนเมื่อ 8 มกราคม 2009 21:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 เมษายน 2012 22:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท