ปัญหาของการศึกษาไทย


ผมสงสัยจริงว่ารากฐานของปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่ไหน

สวัสดีปีใหม่ครับ

เมื่อเช้านี้ผมแวะดื่มกาแฟและรับอาหารเช้าที่ร้านฟาสฟู๊ดแถวหน้า ม.สวนสุนันทา ปกติผมไม่ค่อยได้ไปร้านประเภทนี้บ่อยนัก แต่เนื่องจากร้านอาหารของมหาวิทยาลัยยังคงหยุดปีใหม่ จึงต้องออกไปหาอะไรรองท้องข้างนอก

ขณะที่นั่งรับประทานอาหาร ผมสังเกตว่าแทบทุกโต๊ะเต็มไปด้วยเด็กที่กำลังเรียนพิเศษหรือติววิชาอะไรกันอยู่ ซึ่งมีทั้งเด็กเล็กๆ 6-7 ขวบ ไปจนถึงวัยรุ่น ทำให้ผมสงสัยว่ามันเกิดอะไรกันนี่ ที่เด็กๆ เหล่านี้ต้องมานั่งเรียนหนังสือตอนเช้าวันอาทิตย์ แทนที่จะไปวิ่งเล่น หรือเล่นกีฬาตามประสาเด็กในวัยซุกซนหรือเด็กในวัยที่กำลังจะโต

คำถามแรกในใจของผมก็คือ เด็กพวกนี้มีปัญหาด้านการเรียนรู้หรือ จึงต้องมาเรียนพิเศษในวันหยุด ผมลองสังเกตดูก็ไม่น่าจะใช่ เพราะเด็กๆ ส่วนใหญ่ดูท่าทางฉลาดเฉลียว 

ต่อมาผมสงสัยว่าเด็กๆ พวกนี้เขาไม่เข้าใจสิ่งที่ครูสอนในห้องเรียนปกติหรือเปล่า หรือเขากำลังเรียนเพิ่มเติมให้สูงไปกว่าหลักสูตรที่เพื่อนๆ เขาเรียนกัน  ผมสงสัยต่อว่าถ้าเป็นการเรียนเพิ่มเติมให้สูงกว่าหลักสูตร แล้วละก้อ มันมีความจำเป็นแค่ไหน หลักสูตรการศึกษาไทยอ่อนไปหรือเปล่าจึงต้องเรียนเสริม แล้วถ้าเรียนเกินหลักสูตร จะมีการทดสอบความรู้หรือไม่ ถ้ามีปรากฎอยู่ในข้อสอบ เพื่อนๆ ที่ไม่ได้เรียนเสริมก็เสียเปรียบแน่นอนเพราะจะต้องเจอข้อสอบที่ไม่ได้เรียน แต่ถ้าไม่มีการออกสอบ แล้วเรียนเสริมไปเพื่ออะไร

นอกจากนี้ ผมก็ยังอดสงสัยต่อไม่ได้ว่า แล้วเด็กๆ ในชนบทที่ไม่มีโอกาสมาเรียนเสริมในร้านฟาสฟู๊ดแบบนี้ เขาไม่เสียเปรียบเด็กเมืองกรุงที่พ่อแม่มีอันจะกินเหรอ

ผมพยายามนึกถึงสมัยที่ผมเรียนหนังสือในต่างประเทศ ซึ่งผมใช้เวลาร่วม 10 ปีในต่างแดน เรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมจนจบปริญญาโท ก็ไม่เคยเห็นภาพการเรียนพิเศษแบบนี้เลย ไม่ว่าจะเป็นในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา หรือนิวซีแลนด์ เคยเห็นแต่ทุกๆ เช้าวันอาทิตย์แบบนี้ เด็กๆ ในต่างประเทศออกไปเล่นกีฬากัน

การที่มีการประเมินกันว่ามาตรฐานการศึกษาของไทยในปัจจุบันนั้น  ต่ำกว่าประเทศเพื่อนบ้านมากมาย ทำให้ผมสงสัยอีกว่า แล้วปัญหามันอยู่ที่ไหน รากฐานของปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่ไหนครับ มีใครพอตอบได้ไหมครับ ไม่ทราบว่าพอจะมีผู้ใหญ่ในกระทรวงศึกษาฯ ที่เคยสงสัยในประเด็นต่างที่ผมสงสัยหรือไม่ เราจะทำอย่างไรเพื่อให้เด็กๆ ที่เป็นอนาคตของชาติมีระดับการศึกษาที่สูงขึ้นโดยเท่าเทียมกัน ไม่ใช่ให้เพียงเด็กที่จบโรงเรียนดังๆ เท่านั้นที่เข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัยของรัฐ

ที่จริงข้อสงสัยสุดท้ายของผมก็คือ จริงหรือไม่ที่เด็กที่เข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงส่วนใหญ่เป็นเด็กที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี และส่วนใหญ่เรียนในโรงเรียนใน กทม./เมืองใหญ่ๆ มีตัวเลขที่แสดงสัดส่วนเปรียบเทียบเด็กจากชนบทกับเด็กเมืองกรุงหรือไม่

คำสำคัญ (Tags): #eti5301-3
หมายเลขบันทึก: 233307เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2009 13:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 04:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

  เด็กต่างจังหวัดถ้าในตัวเมืองใหญ่ๆ ก็เรียนกวดวิชากันค่ำๆ มืดๆ  ไม่มีวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์เหมือนกันครับ  ถ้าเป็นเด็ก ม.6. จะหน้าดำคร่ำเครียดกว่าเด็ก ม. อื่นๆ  .....นับตั้งแต่ พรบ.การศึกษาชาติ ปี42 ออกมา มีการปฏิรูปการศึกษาไทยมาจะครบ 10 ปีแล้ว ....ก็ยังเหมือนเดิมที่เคยเห็นกันนี่แหละครับการศึกษาไทย..

เดิมทีสม่ยที่ผมเรียนประถมฯ มัธยมฯ คนที่เรียนพิเศษ(กรณีอีสานนะครับ คนในกรุงฯไม่รู้เป็นอย่างไร)คือ คนที่ไปงานบ่อย ๆ จนเรียนไม่ทัน เช่น นักดนตรี นักกีฬา เป็นต้น หรือไม่ก็นักเรียนที่เรียนไม่ทันเพื่อน นักเรียนที่ปัญญาน้อย คนกลุ่มนี้จำเป็นต้องเรียนเสริมความรู้ให้ทันเพื่อนที่เรียกว่า "เรียนพิเศษ" ส่วนในยุคปฏิรูปการศึกษาใหม่ปรากฎว่านักเรียนกลุ่มที่กล่าวมาข้างต้นมักเรียนในห้องเรียน แต่นักเรียนที่ปัญญามาก เฉลียวฉลาดกลับเรียนพิเศษ ผมเคยผ่านแถวโรงเรียนสอนพิเศษ(ที่เรียกว่า "กวดวิชา" ไม่รู้ไปเอาคำแบบนี้มาจากไหน)เห็นนักเรียนพลุกพล่านไปหมด ยังเคยพูดเล่นกับเพื่อนเลยว่า

"เด็กเดี๋ยวนี้มันโง่ ขนาดเรียนพิเศษหามรุ่งหามค่ำกันเลยรึ สมัยที่เรียนมัธยมฯก็เคยเรียนเพียงเทอมเดียว เพราะเทอมก่อนหน้านั้นติด 0 วิชาคณิตศาสตร์"

Hap1

สวัสดีปีใหม่ 2552 ฮะ    คุณ Kritapol Sundaravej

ขอให้ มีความสุขมากมาย ทุกวินาที นะฮะ

 

ปล.   เป็นสื่งที่ seen เองก็รู้สึกอยู๋เหมือนกันว่า สมัยใหม่นี้ ให้ความสำคัญกับความรู้ทางวิชาการ มากกว่า การเรียนรู้การใช้ชีวิตให้ดีๆ มีความสุข... 

ลองดูเรื่องนี้นะฮะ   (ไม่รู้หนักเป็นหรือเปล่า สำหรับการเริ่มต้นปีใหม่ และขอโทษไว้ก่อนฮะ...)

http://www.expert2you.com/view_article.php?art_id=3941

ขอบคุณทุกท่านครับที่แสดงข้อคิดเห็นและความเป็นห่วงบุตรหลานที่จะเป็นกำลังสำคัญของชาติในอนาคต อ่านเรื่องข้างบนที่คุณ Seen แนะนำแล้วรู้สึกสะเทือนใจมาก ในขณะเดียวกันก็อดโกรธไม่ได้ที่ระบบการศึกษาของเรามีส่วนในการผลักดันให้ลูกหลานของเราต้องเจอกับความกดดันตั้งแต่ยังเล็กๆ ทั้งๆที่น่าจะเป็นวัยแห่งความสุขและสนุกสนานกับเพื่อนๆ แต่กลับต้องมานั่งเรียนหลังขดหลังแข็งจนแทบจะเรียกได้ว่าหมดวันก็หมดแรงทีเดียว

เราคงไม่สามารถโทษคนใดคนหนึ่งได้ ต้องโทษทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น หลักสูตรการศึกษา โรงเรียน พ่อแม่ หรือแม้แต่โรงเรียนกวดวิชา ที่ต่างก็มีส่วนทำให้ลูกหลานของเรา จำเป็น(?)  ที่จะต้องเข้าเรียนเสริมพิเศษเพื่อให้ "เก่ง" ได้

ดังนั้น เราจึงควรเรียกร้องผู้ที่มีอำนาจ ไม่ว่าจะเป็น รมว. ก.ศึกษาฯ หรือ ปลัดกระทรวงฯ ให้ทบทวนนโยบายที่เกี่ยวกับการศึกษาของชาติ และรีบดำเนินการแก้ไขโดยด่วน

seen ขอบคุณฮะ ที่ให้ความสนใจคำพูดของ seen

ครั้งหนึ่ง เมื่อ seen ยังไม่มีเวลามองสิ่งรอบๆ ตัว เพราะทุกลมหายใจมีแต่คำว่า ต้องทำงาน

seen เคยเสียคนใกล้ตัว ไป 1 คน เพราะ หมอที่ไร้เดียงสา... + หมอที่เก่งมากจนเห็นคนไข้เหมือนวัตถุ ที่ไม่มีชีวิตจิตใจ รวมถึงการด้อยพัฒนาของบุคคลากรของโรงพยาบาลนั้น ที่ไม่ใช้อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือที่โรงพยาบาลมีอยู่ให้เป็นประโยชน์ทันต่อเวลาที่เหลือของคนไข้ เพียงเพราะไม่รู้จักคนไข้นั้นเป็นการส่วนตัว... นี่เป็นเรื่องจริง อาจจะเป็น0.0000001% ที่มาบังเอิญเกิดกับ seen

หลังจากตั้งสติได้ seen ก็ถอยตัวเองออกมาจากงาน... แล้วเริ่มมองทุกอย่างรอบๆ ตัว แบบมองด้วยใจ และบอกตัวเองว่า ประวัติศาสตร์จะต้องไม่ซ้ำ ประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวกับชีวิตของ seen จะต้องเปลี่ยน...

 ปรากฏว่า ยังบ้าอยู่คนเดียว อิอิ    

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท