หนังสืออ่านเพิ่มเติม


ความหมายและประโยชน์

ความหมายของหนังสือสำหรับเด็ก

                มีนักการศึกษาและผู้รู้หลายท่านได้ให้ความหมายของหนังสือสำหรับเด็กไว้ดังนี้ 

                ฉวีวรรณ  คูหาภินันทน์  (2547,  หน้า 13)  ได้ให้ความหมายว่า  หนังสือสำหรับเด็กหมายถึงหนังสือที่มีจุดมุ่งหมายในการจัดทำขึ้นสำหรับเด็กโดยเฉพาะหรืออาจให้ผู้ใหญ่อ่านให้เด็กฟังก็ได้  อาจเป็นหนังสือภาพล้วน ๆ   (picture  book)    หรือการ์ตูน  มีเนื้อหาสาระและรูปเล่มตัวอักษรที่เหมาะสมกับวัย  ความรู้ ความสามารถของเด็ก  เกี่ยวกับหนังสือสำหรับเด็ก  นอกจากนี้  หทัย  ตันหยง  (2529)   ได้ให้ความหมายเกี่ยวกับหนังสือสำหรับเด็กว่า หนังสือสำหรับเด็กหมายถึงวัสดุการอ่านอันเป็นปัจจัยในการพัฒนาชีวิตเด็กทั้งด้านทักษะพิสัย  พุทธิพิสัย  จิตพิสัย  ทั้งนี้  เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กให้เกิดประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น  หนังสือสำหรับเด็กย่อมมีบทบาทในชีวิตของเด็กทุกเพศทุกวัย  ทั้งในและนอกระบบโรงเรียน  โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะส่งเสริมทักษะ  เสริมประสบการณ์  เสริมความสนใจ  และให้ความบันเทิงใจแก่เด็กที่สำคัญ     และหนังสือเด็กที่ดี  มีคุณภาพย่อมมีลักษณะเป็นวรรณกรรมสำหรับเด็ก   สอดคล้องกับ  แม้นมาส  ชวลิต  (2530)  ได้สรุปความหมายว่า หนังสือที่เด็กในวัยเล่าเรียนอาจเลือกอ่านเองเพื่อความเพลิดเพลินเพราะความอยากรู้ หรือเพื่อใช้ประกอบการศึกษา

                จากการศึกษานักการศึกษาได้กล่าวข้างต้น  สรุปได้ว่าหนังสือสำหรับเด็กเป็นหนังสือที่เขียนหรือจัดทำขึ้นให้เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย  ทั้งนี้   เพื่อมุ่งให้เด็กมีความรู้  ความบันเทิง  ส่งเสริมทักษะการอ่าน  ปลูกฝังให้เด็กมีนิสัยรักการอ่าน  หากจัดทำหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับเด็กในเรื่องภูมิปัญญาท้องถิ่นจะทำให้เด็กเกิดความภาคภูมิใจในท้องถิ่นของตนอีกด้วย

                สมพร  จารุนัฏ  (2545,หน้า  5 7)  ได้แบ่งหนังสือเด็กออกเป็น  2  ประเภทใหญ่ ๆ  คือ

                1.  หนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็ก  เป็นหนังสือที่แต่งขึ้นเพื่อให้ความเพลิดเพลินแก่ผู้อ่านที่พบมีจำหน่ายในท้องตลาดพอที่จัดเป็นประเภทได้ดังนี้  คือ นิทาน  เรื่องสั้น  นวนิยาย  เรื่องแปล  และการ์ตูน  หนังสือบันเทิงคดีสำหรับเด็กเป็นหนังสือที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน และความบันเทิง  มักมีเนื้อหาสาระที่เกิดจากจินตนาการของผู้เขียนหรือเป็นเรื่องที่ผู้เขียนสมมติขึ้นจากเค้าโครงและเหตุการณ์ต่าง ๆ มีการกำหนดหน้าที่และบทบาทตัวละครสถานที่เกิดเหตุ  รวมไปถึงพฤติกรรมและความสะเทือนใจในเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้น  โดยไม่ต้องคำนึงถึงความเป็นจริง  แต่คำนึงถึงความสมจริงและเหตุผล  โดยอาจถ่ายทอดในรูปของนิทาน  ชาดก  เรื่องสั้น  คำกลอน

                2.  หนังสือสารคดีสำหรับเด็ก  เป็นหนังสือที่เขียนและจัดทำขึ้นเพื่อเสนอเนื้อหาสาระความรู้ต่าง ๆ  มักมีเนื้อหาสาระที่เกิดขึ้นจากความเป็นจริง  มีแหล่งที่มาอย่างถูกต้อง  สามารถใช้อ้างอิงเป็นความรู้ได้  หนังสือสารคดีสำหรับเด็กมักถ่ายทอดเป็นความเรียงหรือร้อยแก้ว  โดยใช้ถ้อยคำสำนวนที่เข้าใจง่ายครอบคลุมเนื้อหา และมีความเพลิดเพลินในการอ่าน สารคดีจะไม่กำหนดตัวละคร  บทบาท  และความสะเทือนใจ  แต่อาจวางความคิดรวมยอดไว้เป็นเป้าหมายสุดท้าย

                หนังสือสารคดีสำหรับเด็กจัดแบ่งเป็นประเภทได้  3  ประเภท  คือ

1.       สารคดีท่องเที่ยว

2.       สารคดีชีวประวัติ

3.       สารคดีทั่วไป

จากประเภทของหนังสือที่กล่าวมาจะเห็นว่า  การแบ่งแต่ละวิธีมีหลักการเฉพาะตามแต่ละ

ประเภทของหนังสือ  ฉวีวรรณ  คูหาภินันท์  (2527,หน้า 70-72)  ได้แบ่งประเภทหนังสือเด็กซึ่งครอบคลุมลักษณะของหนังสือเด็กทั่ว ๆ  ไปได้  9  ประเภท  ได้แก่

1.       หนังสือสารคดี

2.       หนังสือที่ให้ความเพลิดเพลิน  มีนิทาน  หนังสือภาพ  นวนิยาย  และโคลงกลอนต่าง ๆ

3.       หนังสือแบบเรียน

4.       หนังสืออ่านเพิ่มเติมเสริมประสบการณ์ต่าง ๆ 

5.       หนังสืออ้างอิง

6.       หนังสือแปล

7.       หนังสือการ์ตูน

8.       วารสาร

9.       หนังสือพิมพ์รายวัน

 

 

ลักษณะที่ดีของหนังสือสำหรับเด็ก

                หนังสือสำหรับเด็กที่ดี  มีคุณค่า  เหมาะสมกับเด็กและเด็กอยากอ่าน  จำเป็นต้องคำนึงถึงลักษณะที่ดี  ดังที่  สมศักดิ์  ศรีมาโนชน์  (2523)   เสนอไว้ว่า

                1.  เนื้อเรื่องหนังสือ  เป็นเรื่องที่มีแนวคิดดีตรงกับความสนใจและความต้องการสนุกสนานมีคุณค่าให้แง่คิดดี  เป็นเรื่องสั้น ๆ เนื้อเรื่องไม่ยาวจนเกินไป  มักจะเป็นเรื่องผจญภัย  การท่องเที่ยว  นิยาย  และนิทานต่าง ๆ  ตัวละครของเรื่องเป็นคนดีมีลักษณะประทับใจ

                2.  การวางโครงเรื่องดีซึ่งประกอบด้วย

                                2.1  เอกภาพ  (Unity)  มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  มีใจความและความมุ่งหมายสำคัญเพียงอย่างเดียวกัน  ข้อความต่าง ๆ  จะต้องเกี่ยวข้องกับความมุ่งหมายที่ตั้งไว้

                                2.2  สัมพันธภาพ  (Coherence)  คือ เนื้อความเกี่ยวโยงกัน  ต้องดำเนินเรื่องไปตามความสำคัญ  มีความต่อเนื่องกันประดุจลูกโซ่

                                2.3   สารัตภาพ  (Emphasis)  เน้นใจความที่สำคัญ  ความใดที่ช่วยสนับสนุน  เนื้อเรื่องให้เด่นชัด  จะต้องกล่าวให้มากและวางอยู่ในที่เด่น

                3.  การใช้ภาษาในหนังสือเด็ก  คำที่นำมาใช้ไม่ยากเกินไป  ใช้ได้ตรงกับความหมายกระชับรัดกุม  เหมาะสมกับเนื้อเรื่องสละสลวยประทับใจผู้อ่าน  ประโยคที่นำมาผูกเรื่องกะทัดรัดชัดเจน  เรียงประโยคได้ถูกต้องกับหน้าที่และความหมาย  เลือกใช้ประโยคสั้นและประโยคยาวให้เหมาะสมกับเนื้อความ  และวัยของผู้อ่าน

                จึงสรุปได้ว่า  ลักษณะของหนังสือที่ดีสำหรับเด็กนั้น  ควรมีคุณภาพที่ดี  4  ประการ  คือ

                1.  คุณภาพการพิมพ์  ต้องพิมพ์ตัวอักษร  ภาพประกอบให้ชัดเจนมีสีสันงดงาม  ดึงดูด  ความสนใจตั้งแต่หน้าปกไปจนจบเล่ม

                2.  คุณภาพการจัดหน้าและรูปเล่ม  ต้องจัดให้เป็นไปตามหลักจิตวิทยาสำหรับเด็กหน้าหนังสือดูโปร่งตา  ไม่ห่างหรือดูแน่นจนเกินไป  การใช้ตัวอักษร และขนาดต้องระมัดระวังและเลือกให้เหมาะสมกับเรื่องและวัยของเด็ก

                3.  คุณภาพทางศิลปะ  ภาพเขียนหรือภาพประกอบควรจะเขียนโดยให้อารมณ์แก่ผู้อ่านจริง ๆ  ภาพเขียนก็ต้องเขียนอย่างประณีต  การใช้สีสันก็เช่นกัน  ในหนังสือสำหรับเด็กนั้น  บางครั้งจะต้องดูสีสดใสไปจากข้อเท็จจริงบ้าง

                4.   คุณภาพในการเขียนเรื่องหรือผู้เขียน  แม้คุณภาพในการผลิตจะสูงเพียงใด  หนังสือเล่มนั้นจะไม่มีความหมายเลย   หากขาดนักเขียนเรื่องสำหรับเด็กที่มีความสามารถบรรยายอารมณ์ของเด็ก ๆ  ได้ดี  ผูกเรื่องได้

 

                นอกจากนี้  จินตนา  ใบกาซูยี  (2534, หน้า 85 96)  ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการสร้างหนังสือสำหรับเด็กไว้ดังนี้

                1.  ไม่สอนโดยตรง  เพราะเด็ก ๆ  ไม่ชอบการสั่งสอนโดยตรงเพราะเบื่อหน่ายจากการสั่งสอนของพ่อแม่และครูอยู่แล้ว  ถ้ามาพบในหนังสืออ่านซึ่งเด็กต้องการความสนุกสนาน  เพลิดเพลินมากกว่าคำสั่งสอน  เด็กจะเบื่อหน่ายทันที  ดังนั้น  ควรเขียนในรูปแอบแฝงแทรกอยู่ในความสนุกสนาน  หรือเรียกว่ารูปแบบ  สาระบันเทิง

                2.  จุดประสงค์ของเรื่องที่ชัดเจนว่าต้องการให้ผู้อ่าน  ได้สิ่งใดจากการอ่าน  เช่น  ความสนุกสนาน  สร้างเสริมจินตนาการ หรือให้สาระความรู้โดยตรง  จนผู้อ่านสามารถบรรลุสิ่งเหล่านี้ได้เมื่ออ่านจบเรื่อง

                3.  คุณค่าของเรื่อง  หนังสือสำหรับเด็กต้องมีคุณค่าสำหรับผู้อ่าน  นั่นคือ  ต้องมีแก่นเรื่อง (theme)   หรือความคิดรวบยอด  มีโครงเรื่อง  (plot)  หรือการดำเนินเรื่องที่ชวนติดตาม  มีรสชาติ  ที่เร้าอารมณ์  มีสำนวนภาษาที่ดีตรงกับรสนิยมของเด็กผู้อ่าน  จัดรูปเล่มและภาพประกอบเข้ากับเนื้อเรื่องและตรงกับความสนใจ  ความนิยม  และพื้นฐานความรู้ในการอ่านของเด็กแต่ละวัย

                4.  เนื้อเรื่องที่ดี   ควรเลือกให้ตรงกับความต้องการอ่านของเด็ก  เช่น  นิทาน เทพนิยาย  นิทานวรรณคดี  นิทานร่วมสมัยหรือเรื่องสั้นร่วมสมัย  เรื่องการต่อสู้ผจญภัยเชิงบู๊   หวาดเสียว  เรื่องลึกลับประเภทนักสืบ  เรื่องขบขันจี้เส้น  เรื่องวิทยาศาสตร์  การ์ตูนนานาประเภท  และเรื่องที่ไม่ควรนำมาเขียนคือเรื่องตลกลามก  เรื่องหยาบคาย  ความรุนแรง  บู๊ล้างผลาญ  เรื่องยั่วยุให้เกลียดชังกันโกรธเคียดแค้นสังคมจนไม่อยากมีชีวิตอยู่  ล้อเลียนผู้อ่อนแอ   คนเสียเปรียบ  และคนพิการ  เป็นต้น

                5.  รสของเนื้อหา  ต้องเลือกให้เหมาะสมกับเรื่องราว  เน้นเหตุการณ์ที่เคลื่อนไหวเพื่อให้เรื่องดำเนินไปสู่เป้าหมายเร็วที่สุด  อาจมีเหตุการณ์เกิดขึ้นตามลำดับตั้งแต่แรกจนไปสู่จุดยอดเพื่อคลี่คลายปัญหา  และต้องมีการจบเรื่องอย่างมีความสุข  และไม่ควรเพิ่ม  นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่าในตอนจบของหนังสือสำหรับเด็กสมัยนี้

                6.  ตัวละคร  การสร้างตัวละคร  บุคลิกลักษณะนิสัยใจคอของตัวละครต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้าชัดเจน  ตั้งแต่ต้นเรื่องจนจบเรื่อง  ต้องมีความสอดคล้องกับเนื้อหา  เมื่อสร้างตัวละครขึ้นอุปนิสัยต้องเป็นไปตามตัวละคร  ความคิดและการพูดจาอยู่ในโลกของเด็กอย่างแท้จริง  หลีกเลี่ยงการเสแสร้ง  สรรพนามที่ใช้ต้องเหมาะสมกับตัวละคร  เช่น  ฉัน  เด็กเล็ก ๆ  จะชอบมากเพราะสามารถแทนตัวผู้อ่านได้  ตัวละครสำหรับเด็กควรมีไม่มาก  ตัวละครต้องมีชื่อ  ไม่ว่าจะเป็นคน  สัตว์ หรือแม้แต่สิ่งไม่มีชีวิต

                7.  การตั้งชื่อเรื่อง  เป็นเรื่องสำคัญมาก  เพราะหนังสือสำหรับเด็กมีชื่อเรื่องเป็นจุดดึงดูดใจผู้อ่านให้หยุดชะงัก  มองดู  หยิบชม  และเปิดดูเรื่อง  ถ้าชื่อเรื่องตรงกับความสนใจ  เร้าใจ  อยากเปิดอ่านให้รู้เรื่องตลอดเล่ม  หนังสือเล่มนั้นจะประสบความสำเร็จ  การตั้งชื่อเป็นศิลปะอย่างหนึ่งของการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก  และชื่อเรื่องไม่ควรยาวมากจนเต็มบรรทัด  ควรมีความหมายสมบูรณ์ในตัวเอง  แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปเต็มประโยค

                8.  การสร้างฉาก  เป็นสิ่งแวดล้อมของตัวละคร  ต้องมีลักษณะให้รายละเอียดถูกต้องสมจริง  มีความเป็นไปได้หรือกลมกลืนกับการดำเนินเรื่อง  ยุคสมัย  และนิสัยของตัวละคร

                9.  ยุคสมัยหรือเวลาที่เรื่องเกิดขึ้น  เรื่องเกิดขึ้นในอดีตหรือปัจจุบัน  หรือเป็นเรื่องเล่าสืบต่อกันมา  เป็นเรื่องที่ผู้เขียนจะต้องตระหนักเพราะเป็นส่วนสำคัญในการกำหนดรายละเอียดต่าง ๆ  ซึ่งจะส่งผลสะท้อนไปยังฉาก  การแต่งกายของตัวละคร  และนิสัยของตัวละคร  ซึ่งล้วนเป็นความสมจริงและความถูกต้องของข้อเท็จจริงในเนื้อเรื่องทั้งสิ้น

                10.  กลวิธีในการเขียนเรื่องเพื่อเสนอเนื้อหา  มีหลายรูปแบบ  เช่น  ให้ผู้เขียนบรรยายเรื่องราวติดต่อกันไป  โดยให้ตัวละครสำคัญเป็นผู้บรรยายเรื่อง  หรืออาจให้ตัวละครที่ไม่สำคัญ  เป็นผู้ที่บรรยายเรื่องก็ได้  หรือเป็นรูปแบบที่ให้ตัวละครสนทนาโต้ตอบแบบบทละคร  หรือเป็นรูปแบบผสมโดยใช้รูปแบบทั้งสองชนิดที่กล่าวมาผสมผสานกัน  ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของเนื้อเรื่อง

                11.  การเขียนเรื่องความรู้  ควรคำนึงถึงข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง  มีหลักฐานที่เชื่อถือได้  โดยรวมแหล่งค้นคว้าเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องก่อนลงมือเขียน

                12.  มีโครงเรื่องที่ดี   หนังสือสำหรับเด็กไม่ควรมีโครงเรื่องที่ซับซ้อนมาก  มีความสั้น  กระชับ  แต่คมคาย  โครงเรื่องประกอบด้วยบทนำเรื่อง  เป็นการเปิดฉากจุดสนใจของส่วนกลาง  เรื่องและตอนจบเป็นจุดสุดยอดของเรื่องเป็นการคลี่คลายปัญหาทั้งหมด และจบลงด้วยความสุขสมหวัง

                โดยสรุปแล้ว  หนังสือที่ดีสำหรับเด็กคือ หนังสือที่จัดทำขึ้นเพื่อเด็ก  เด็กอ่านแล้วได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน  มีเนื้อเรื่องที่ตรงกับความสนใจ  เป็นเรื่องใกล้ตัวเด็ก  สำนวนภาษาง่าย  ชัดเจนเด็กสามารถเข้าใจได้ดี  มีรูปเล่มสวยสะดุดตา  ขนาดรูปเล่มกะทัดรัด  ภาพประกอบให้รายละเอียดถูกต้องสมจริงและช่วยอธิบายเรื่อง  ข้อเท็จจริงในเรื่องถูกต้อง  ตัวอักษรเหมาะสมกับสายตาเด็กและเนื้อหาไม่ควรสั้นหรือยาวเกินไป

 

2.  เอกสารที่เกี่ยวกับหนังสืออ่านเพิ่มเติม

ความหมายของหนังสืออ่านเพิ่มเติม

                หนังสืออ่านเพิ่มเติม  (Supplementary  Reader)  แต่เดิมเรียกว่า  หนังสืออ่านประกอบ

 วัชราภรณ์  วัตรสุข (2541, หน้า 46)  หมายถึงหนังสือที่มีสาระอิงหลักสูตร  สำหรับให้นักเรียนอ่านเพิ่มเติมด้วยตนเองตามความเหมาะสมของวัยและความสามารถในการอ่านของบุค

หมายเลขบันทึก: 232944เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2009 16:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:45 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อฐิษฐาน พระรัตนตรัย และสิ่งศักดิ์สิทธิ์

เบิกชีวิต ให้แจ่มใส และไพศาล

เจริญสุข สรรเสริญ เจริญงาน

ทรัพย์ศฤงคาร อนันต์ใน ปีใหม่เทอญ

สวัสดีปีใหม่ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท