การทำวิจัยด้านภาษาและวรรณกรรม 1


ตามหาหัวข้อเรื่องในการวิจัย ทำอย่างไรให้ได้มาซึ่งหัวข้อการวิจัย

ความสำคัญของการวิจัย

            การวิจัยจากที่ได้เรียนกับอาจารย์เรณู อรรฐาเมศร์
ท่านได้ให้ความรู้ว่า "การวิจัยทำให้คนนั้นพัฒนา เป็นคนที่มี
ความละเอียดละอ่อนและมีเหตุผล
"

           อาจารย์ท่านให้นักศึกษาอ่านหนังสือเกี่ยวกับงานวิจัย
หลาย ๆ  เล่ม ทั้งหอสมุดมหาวิทยาลัยแล้วสรุปประเด็นออกมา
ตามหลัก 5W1H

อาจารย์จะถามว่า"ไปที่นั่น ได้อะไร ได้แนวคิดอะไร แล้วคิดว่า
มีข้อบกพร่องอะไรให้เราเสริมบ้าง" เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่าย ๆ
แต่สำหรับนักศึกษาต้องคิดให้ดี ๆ เพราะกลัวไม่ตรงคำตอบ
จนไม่คิดกล้าที่จะตอบ จนเมื่อกระทั่งอาจารย์คิดว่านักศึกษา
ไม่เข้าใจจึงใช้กลวิธีถามข้อมูลแบบสร้างความเคยชิน ถาม
นักศึกษาว่า"1วันเธอทำอะไรบ้าง กินอะไร ทำเพื่ออะำร แล้วได้
ผลจากการทำนั้นอย่างไร แล้วคิดว่าดีไหม" ถึงทำให้นักศึกษา
ถึงบางอ้อในกระบวนการตอบคำถาม

อาจารย์ใช้คำถามอีกว่า"เราปิ๊งอะไรในวิทยานิพนธ์ที่อ่าน"
ดิฉันตอบว่า
"เขาทำเรื่องกลวิธีการแต่งนวนิยายค่ะ"
"แล้วอยากทำเรื่องอะไร"อาจารย์ถามอีกครั้ง ตอนนี้สิดิฉัน
ทำหน้างวยงง เพราะไม่นึกว่าการที่อาจารย์ให้ไปศึกษา
ก็เป็นส่วนหนึ่งในการสอนให้เราหาหัวข้อเรื่องในวิจัย
"นวนิยายที่ชอบคืออะไร"
"แผลเก่าของไม้เมืองเดิม" ฉันตอบอย่างฉะฉาน
"แล้วนำเรื่องแผลเก่ามาอยู่ในหัวข้อวิจัยอย่างไร
"
ดิฉันยิ้มเล็กน้อย ความรู้สึกมึน ตาลายเริ่มเข้ามาแทรกแซง
แต่ต้องรีบตั้งสติตอบโดยไม่คิดว่า
"ศึกษากลวิธีการแต่งนวนิยายเรื่องแผลเก่าค่ะ"
"เรื่องกว้างเกินไป ให้ไปคิดลักษณะเด่นของนวนิยายสิ"

"เรียมเป็นคนที่เหมือนปลาเก่าลืมน้ำใหม่ค่ะ"
"ไปหามาอีก 2 เรื่องที่มีลักษณะคล้าย ๆ กัน"อาจารย์กล่าว

"เรื่องที่หามาเรื่องอะไร"

"เรื่องชั่วฟ้าดินสลาย และทรายย้อมสีค่ะ"

"สามเรื่องนี้มีลักษณะยังไง"

"เรื่องแรกผู้หญิงลืมคนรักเพราะเมืองบางกอก
เรื่องที่สองผู้หญิงมีชู้กับหลานสามี
เรื่องที่สามผู้หญิงเป็นเมียน้อย ทั้งที่มีคนมาพัวพันค่ะ
รวมคือว่าเป็นชู้"


"ทำในเชิงกิ๊กดีไหม สรุปว่าทำเรื่องกิ๊กนะ"

"ค่ะ"

สรุป  หัวข้องานวิจัยของนางสาวสุนิษา สุรินทร์แก้ว

คือ

"พฤติกรรมการมีกิ๊กของตัวละครเอกหญิงในนวนิยาย
เรื่องแผลเก่า เรื่องชั่วฟ้าดินสลาย และเรื่องทรายย้อมสี
"

 

การพิจารณาในการตั้งชื่อหัวข้อเรื่องงานวิจัย ต้องพิจารณา
ดังนี้

เป็นเรื่องที่ตนเองมีความรู้/ประสบการณ์
เป็นเรื่อที่มีคุณค่าต่อการศึกษาน่าสนใจ
เป็นเรื่องที่สามารถหาเอกสารค้นคว้าอ้างอิงได้ง่ายและจำนวนมากพอ

 

****ตอนต่อไปพบกับวิธีคิดคำถามวิจัย ซึ่งต้องรอให้ดิฉัน (สุนิษา สุรินทร์แก้ว)

ได้เรียนรู้แนวทางจากท่านอาจารย์เรณู อรรฐาเมศร์เสียก่อน และคอยเป็นกำลังใจให้ดิฉันด้วย

ว่าภายใน 1 ภาคเรียนจะสามารถทำงานวิจัยได้สำเร็จหรือไม่ และผลที่ออกมากจะเป็นหัวหรือก้อย

ก็ต้องขอคำแนะนำจากทุกท่าน เพื่อจะได้นำมาปรับปรุงในหัวข้อรายงานวิจัย

***** ท่านใดรู้วิธีการตั้งคำถามในการวิจัย ช่วยแนะแนวทางด้วย จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง

[email protected]

[email protected]

ศิษย์เอกไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่



คำสำคัญ (Tags): #วิจัย
หมายเลขบันทึก: 232125เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2008 00:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 21:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

จริงครับ เพราะการวิจัยนั้นบ่งบอกถึงความรู้ความสามารถของผู้วิจัยว่ามีความรู้และบอกถึงศักยภาพของสถาบันที่บ่มเพาะวิชาว่าสามารถสั่งสอนศิษย์หรือแม้กระทั่งตนเองให้มีความรู้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มากน้อยเพียงใด แต่อย่างฝากว่างานวิจัยทางภาษาแวรรณกรรมนั้น โดยมากมักเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นเขียนรายงายวิจัยแบบพรรณนา และผู้จะทำวิจัยต้องอ่านงานวิจัยในสายวิชานี้มาก ๆ จะได้เห็นแนวทางในการทำวิจัยครับเพราะการวิจัยนั้นจะมีลักษณะเฉพาะทางแล้วแต่สายวิชาซึ่งจะไม่เหมือนกันนะครับ

ความคิดเห็น P 1. พิมล มองจันทร์
เมื่อ ส. 27 ธ.ค. 2551 @ 00:19
1035874 [ลบ

 

ขอบคุณนะคะที่ให้ข้อเสนอแนะ

จะพยายามอ่านหนังสือมาก ๆ เพื่อผลงานมินิวิจัย

ขอบคุณอีกครั้งค่ะ

หลักการหาหัวข้อวิจัย ง่าย ๆ ( ฉบับพิมล มองจันทร์)

1. ก่อนจะตั้งหัวข้อวิจัยต้องตอบตนเองก่อนว่า จะทำวิจัยสายไหน

- สายวรรณกรรมปัจจุบัน

- สายกวีนิพนธ์

- สายวรรณคดี

- สายหลักภาษา

- สายภาษาศาสตร์

- สายคติชน

- สายวรรณกรรมท้องถิ่น

- สายหนังสือพิมพ์และวารสาร

- สายการเรียนการสอนภาษาไทย

2. เมื่อตอบคำถามตนเองได้แล้วและเลือกสายวิจัยแล้วก็ต้องศึกษางานวิจัยในสายนั้น ๆ ให้ได้มากที่สุด เรียกว่า " ศึกษาเอกสารและงานวิจัย"

3.เมื่อศึกษาและตั้งหัวข้อแล้วก็ต้องตอบคำถามตนเองให้ได้ว่า

* เหตุจึงทำเรื่องนี้

* ทำแล้วเกิดอะไรขึ้น

* เหตุใดจึงใช้ขอบเขตนี้

* เหตุใดจึงวิเคราะห์วัตถุประสงค์นี้

หลังจากเขียนเค้าโครงวิจัยแล้วต้องตอบคำถามข้างต้น เช่น วิเคาะห์ค่าวซอ ของแม่บัวซอน

* เหตุที่ทำ เพราะค่าวซอเป็นมรดกทางวัฒนาธรรมล้านนาที่นับวันจะเหลือน้อยลงไปทุกที ที่ว่าเหลือน้อยนั้นสังเกตได้จากความสนใจและการเล่าค่าวนั้นไม่พบแล้วในสังคมปัจจุบัน แต่แม่บัวซอนยังสามารถสืบทอดการเล่าค่าวซอได้สืบเนื่องต่อมา จึงเป็นมูลเหตุสำคัญที่จะทำวิจัยครั้งนี้

* เมื่อทำวิจัยแล้วจะสามารถบอกได้ว่า ค่าวซอของแม่บัวซอนนั้นมีความงามในด้านภาษาและเนื้อหาอย่างไร จึงยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบันได้

* เหตุใดจึงใช้ขอบเขตนี้ แม่บัวซอน ได้รับยอกย่องจากกรมศิลปากรและสำนักงานวัฒนธรรมแห่งชาติให้เป็นผู้อนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่นดีเด่น

* เหตุที่วิเคราะห์ด้านภาษาและเนื้อหาเพราะ ผู้วิจัยต้องการทราบว่า ค่าวซอ แม่บัวซอนมีการใช้ภาษาอย่างไรและมีเนื้อหาอย่างไร จึงทำให้ค่าวซอของแม่บัวซอนยังคงอยู่และได้รับการยอย่องเพียงนี้

**หมายเหตุ เรื่องนี้ความจริงมีความศึกษาแล้วนะครับ

4.ในขณะที่เขียนเค้าโครงวิจัย ผู้วิจัยก็ต้องค้นคว้างานวิจัยที่ตนเองทำนั้นซ้ำกับงานใดหรือไม่ หากซ้ำก็ต้องเปลี่ยนประเด็นหรืออาจต้องเปลี่ยนเรื่องก็ได้ แต่หากไม่ซ้ำก็ต้องหางานวิจัยที่มีแนวทางเดียวกันเพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำวิจัย

****ความรู้น้อย ๆ คงพอบรรเทาอาการได้นะครับ****

รออ่านวิทยานิพนธ์ของเจ๊อยู่นะครับ เเหะๆๆๆๆ

4. บูรพาไร้พ่าย

เมื่อ อ. 14 ก.ค. 2552 @ 17:33

1410039 [ลบ] [แจ้งลบ]

คิวเอ้ยพี่ยังไม่ได้เรียนปริญญาโทเลย ไว้พี่เรียนต่อปีสองปีข้างหน้า

เตรียมรออ่านเลยนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท