รพ.มวล. : เรียนรู้จากโรงพยาบาลใหญ่ (๓)


ควรจัดให้ทุกๆ อย่างเป็น one stop service วนทางเดียว

ตอนที่

ช่วงบ่ายได้ฟังเรื่องราวการทำงานของงานวิศวกรรมซ่อมบำรุง หน่วยจ่ายผ้ากลาง งานเวชภัณฑ์กลาง งานแม่บ้าน และงานโภชนาการ

งานวิศวกรรมซ่อมบำรุง
การจัดการระบบสาธารณูปโภคขึ้นอยู่กับคณะแพทยศาสตร์ ไม่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัย หัวหน้างานบอกถึงโครงสร้างการบริหารงานระดับคณะ และโครงสร้างการบริหารงานภายใน บุคลากรมีวิศวกร ๔ คน แยกเป็นหน่วย เช่น หน่วยโยธา ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ ฯลฯ หัวหน้าหน่วยเป็นวิศวกร อาจมีรองหัวหน้า ระดับต่อไปเป็นหัวหน้าช่าง และช่าง สำหรับส่วนที่ดูแลอาคารเฉลิมพระบารมีแยกต่างหาก

ลักษณะงาน มีทั้งงานบำรุงรักษา งานซ่อม งานติดตั้งต่อเติม งานออกแบบ (ทำเองดีกว่าเพราะรู้ระบบภายใน) งานเฝ้าระวังความเสี่ยง บางส่วนก็ outsource ขอบเขตพื้นที่การให้บริการ ได้แก่ อาคารบริการ อาคารเรียน ที่พัก ๑,๐๐๐ กว่ายูนิต (สมัยก่อนรับผิดชอบถึงในบ้าน ตอนหลังขอรับผิดชอบเฉพาะส่วนสาธารณูปโภค)

ระบบไฟฟ้าต้องมีการวางแผนดีๆ การเพิ่ม....ใหม่อีกเส้นจะยุ่งยาก ต้องดูระบบน้ำมัน มีถังเก็บน้ำมันดีเซลสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า การติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองต้องวางแผนให้ดี ถ้าตั้งที่เดียวกัน จะสามารถ synchronize กันได้ ของ รพ.สงขลานครินทร์ ซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าสำรองไม่พร้อมกัน ไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า จึงตั้งอยู่ในที่เดียวกันไม่ได้

เครื่อง Generator ระบบที่ใช้ gas ประหยัดสุด (มีกฎหมายควบคุมเรื่องการวางถัง) ระบบที่สกปรกสุดคือที่ใช้น้ำมัน ใช้ระบบอะไรก็ให้เหมือนๆ กัน จะได้เสริมกันได้

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีสายมาจากข้างนอก เข้าตู้ชุมสาย จ่ายออกประมาณ ๓,๐๐๐ เบอร์ มีช่างโทรศัพท์ดูแล มีระบบเรียกพยาบาล (ถ้าเป็นของ รพ.เอกชนจะมีโปรแกรมช่วย ทำให้รู้ว่า response time เป็นเท่าไหร่)  paging system, MATV (ทีวีวงจรรวม ออกจอเป็นอักษรวิ่งได้ และมีการเช่า cable ไปที่ห้องผู้ป่วย) Walky talky กล้องวงจรปิดมีไว้เพื่อการป้องปราม จับผิดยาก

ระบบปรับอากาศ (วิศวเครื่องกลดูแล) มี Chiller ๓ ตัวๆ ละ ๔๐๐ ตัน เป็นระบบ central, Chiller ทำให้น้ำเย็น ประหยัดพลังงานมากกว่า split type เวลาซื้อให้ดูกิโลวัต/ตัน (energy saving) การติดตั้ง Cooling tower ต้องพิจารณา เพราะอาจมีปัญหาเกี่ยวกับโรคลิเจียนแนร์ การปล่อยไอน้ำร้อน ต้องดูว่าไปทางไหน เพราะอาจทำให้ท่อเป็นสนิม

ระบบปรับอากาศ ความชื้น และเชื้อรา ต้องมีการ dehumidified (ลดความชื้น) ก่อน มี portable humidifier การออกแบบต้องอย่าปล่อยให้ความร้อนเข้ามาปะทะ

ระบบผลิตไอน้ำร้อน จ่ายไปยังหน่วยเวชภัณฑ์กลาง โภชนาการ ห้องผ้า ผลิตยา ข้อพึงพิจารณาในการติดตั้งคือเรื่องของการ condensate จะเอากลับมาใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ระบบน้ำร้อนที่ใช้ๆ กัน ซื้อเครื่องไฟฟ้ามาติดตั้งเอา ปัจจุบันที่ประหยัดคือระบบ Heat Pump เป็นระบบ central ได้

ระบบประปาและสุขาภิบาล ใช้ระบบ pressurized system อาคารที่สร้างใหม่เป็นระบบ down feed มีถังบนดาดฟ้า เพื่อเป็นการประหยัดพลังงาน กลางวันใช้น้ำเยอะก็ใช้ high speed กลางคืนใช้น้ำน้อยก็ใช้ low speed มีระบบน้ำใช้ น้ำดื่ม น้ำอ่อน (ไม่มีคลอรีนสูง ใช้ล้างมือก่อนเข้า OR) มีการตรวจคุณภาพน้ำดื่มเป็นประจำ (กายภาพ ชีวภาพ)

ระบบบำบัดน้ำเสีย เดิมออกแบบเป็นระบบเปิด ซึ่งดีที่ค่า maintenance ต่ำ แต่ต้องมีพื้นที่เยอะและต้องโดนแดด ถ้าใช้คลองวนเวียนค่า maintenance จะสูงขึ้น มีการตรวจคุณภาพน้ำเสียก่อนปล่อยออกสู่ชุมชน ต้องระวังเรื่องการปล่อยของเสียออกจากโรงพยาบาล มีกรมวิทยาศาสตร์ประจำจังหวัดที่สามารถปรึกษาได้

น้ำดื่ม ผลิตเองส่วนหนึ่ง ส่งมาตามท่อสแตนเลส (ใช้ ozone) สำหรับคนที่ low immune ซื้อน้ำขวดจากข้างนอก แต่ต้องทดสอบ micro

การบริหารตามวิชาชีพ (แยกตามวิชาชีพ เช่น ไฟฟ้า เครื่องกล) ข้อดีคือแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ แต่ถ้าบริหารไม่ดี คนจะไม่ค่อยช่วยเหลือกัน ถ้าเป็นระบบช่างคนหนึ่งทำได้ทุกอย่าง ข้อดีคือประหยัดคน แต่มักจะเน้น outsource ซึ่งถ้าดูแลไม่ดีก็อาจเกิดปัญหา (outsource ก็มีความเสี่ยง)

นอกจากนี้หัวหน้างานวิศวกรรมซ่อมบำรุง ยังได้ตอบคำถามและให้ข้อแนะนำเพิ่มเติมอีกหลายเรื่อง เช่น
- การจัดซื้อวัสดุซ่อม สมัยก่อนให้พัสดุหาของ เกิดการซ่อมล่าช้า เพราะพัสดุไม่รู้จักของ ได้แก้ปัญหาโดยให้ถือเงิน ๕,๐๐๐ บาท ซื้อของเร่งด่วนได้
- ระบบ Backup ไฟฟ้า ประกันเวลาไว้ที่ ๑๐-๑๕ วินาที
- ตอนวางระบบไฟฟ้า ให้คิดระบบประหยัดไปด้วยเลย ต้องคิดระบบให้ตรวจสอบการใช้ของแต่ละหน่วยได้ monitor แต่ละส่วนได้
- เครื่อง Generator ไฟ ถ้าอยู่ในอาคาร เมื่อเครื่องทำงาน เสียงจะดังมาก รวมทั้ง Boiler ด้วย
- ถ้าใช้น้ำมันเตา ต้องมีระบบขจัดเขม่า
- อาคาร ควรมีเพดานสูง เพื่อการระบายอากาศที่ดี
- การออกแบบอาคาร ให้ดูระบบ HA ให้เข้าทาง-ออกทาง (ของสกปรก)

ระบบสารสนเทศของ รพ.ขึ้นกับคณบดี มี programmer ๑๖ คน พัฒนาระบบเอง cover หมด ใช้ระบบ LAN มี HIS system และ MIS system ยังไม่เสร็จดี กำลังทำฐานข้อมูลเครื่องมือเครื่องใช้

ผศ.พญ.มยุรี เอาแบบแปลนโรงพยาบาลที่ได้มาจาก มทส.ให้หัวหน้างานวิศวกรรมซ่อมบำรุงดู ก็ได้รับ comments จากการดูเร็วๆ ดังนี้
- ต้องคำนึงถึงการอพยพหนีไฟ
- ทาง one-way สำหรับของสกปรก
- ไม่เห็น ramp สำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วย
- มองไม่เห็น facilities ของ ward เช่น ห้องทำงานของ head nurse ห้องน้ำผู้ป่วยไป block ทางหนีไฟ
- ประตู ward เป็นแบบสมัยเก่า เตียงจะชน ประตูต้องทั้งกว้างและสูง (เผื่อมีเสาน้ำเกลือ)
- ช่องเข้าลิฟต์ขนย้ายต้องใหญ่

ข้อแนะนำในเรื่องอื่นๆ ที่มาจากบทเรียนที่ผิดพลาด คือ
- ควรจัดให้ทุกๆ อย่างเป็น one stop service วนทางเดียว (ออกแบบเป็น ๑ วง) ไม่ควรให้เดินย้อนไปย้อนมา ตึกที่อยู่ไกลๆ กัน ต้องดูระบบการส่งเอกสาร เครื่องมือ การใช้ท่อลม ถ้ามีสถานีเยอะจะมีปัญหาได้
- ER ควรเป็น one stop service สามารถ X-ray ได้ ทำ lab ได้ จ่ายยาได้ ประกันเวลา เช่น Lab เสร็จภายใน ๓๐ นาที ใช้ท่อลมส่ง Lab ควรแยกคนไข้ trauma – non-trauma เพราะลักษณะคนไข้ที่ ER ไม่ใช่ first come first serve คนที่เจ็บป่วยเล็กๆ น้อยๆ จะถูกแซงคิวตลอด

เพื่อให้การบริการเร็วขึ้น ปัจจุบันมีระบบให้ผู้ป่วยจ่ายเงินที่หน้างานเลย โดยมีระบบ IT support มีการเพิ่มเงินให้กับหน่วยงานที่เก็บเงินด้วย

วัลลา ตันตโยทัย

หมายเลขบันทึก: 231680เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 15:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 มิถุนายน 2012 13:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท