ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ


5 ส, TPM, QC

 

ระบบหลักการวางแผนและพัฒนาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ

5 ส, TPM, QC

                ในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำองค์กรทุกองค์กรต้องมีการวางแผนและพัฒนาวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสามารถใช้งานได้อย่างสูงสุด เป็นการลดต้นทุนและสินค้ามีคุณภาพ ดังนั้นต้องมีระบบหลักการวางแผน โดยการใช้ 5 ส TPM, QC เข้ามาใช้ในองค์กรเพื่อเสริมสร้างการทำงานเป็นทีมได้ดังนี้

 

1. 5 ส การจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงานเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดี ปลอดภัยมีระเบียบเรียบร้อย โดยวิธี

 1.สะสาง (SEIRI) คือ การแยกของที่ต้องการ ออกจากของที่ไม่ต้องการ และขจัดของที่ไม่
ต้องการทิ้งไป
                2.สะดวก (SEITON) คือ การจัดวางสิ่งของต่างๆ ในที่ทำงานให้เป็นระเบียบ เพื่อความสะดวกและปลอดภัย
                3.สะอาด (SEISO) คือ การทำความสะอาด (ปัด กวาด เช็ด ถู) เครื่องจักร อุปกรณ์ และสถานที่ทำงาน

4.สุขลักษณะ (SEIKETSU) คือ สภาพหมดจด สะอาดตา ถูกสุขลักษณะ และรักษาให้ดีตลอดไป
                5.สร้างนิสัย (SHITSUKE) คือ การอบรม สร้างนิสัย ในการปฏิบัติงานตามระเบียบ วินัยข้อบังคับอย่างเคร่งครัด

สะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ และสร้างนิสัย เป็นการสร้างความร่วมมือรู้จักรักองค์กรเหมือนบ้านของเราเอง โดยผู้บริหารเป็นแบบอย่างแก่พนักงานทุกคน ส่งผลให้องค์กรมีการจัดเก็บวัสดุอุปกรณ์เป็นระเบียบเรียบร้อย ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ทำให้เป็นพื้นฐานของระบบคุณภาพทุกระบบได้อย่างยั่งยืน

2.TPM การบำรุงรักษาที่ทุกคนมีส่วนร่วม ทำให้ไม่ได้ต้องรอให้เครื่องจักรเสียก่อนจึงซ่อม แต่เครื่องจักรสามารถเดินเครื่องได้อย่างต่อเนื่องโดยการวางแผนการซ่อมเครื่องจักรตามกำหนดระยะเวลา เป็นการลดการสูญเสียทั้งคน และค่าใช้จ่ายทำให้พนักงานทำงานอย่างมีระบบมีคุณภาพ

3. QC ใช้วางแผนและป้องกันปัญหาโดยการใช้เครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง ในการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อการวางแผนและดำเนินการให้ได้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ลดค่าใช้จ่าย ส่งมอบได้ทันเวลา มีความปลอดภัย จะทำให้พนักงานในองค์กรมีขวัญและแรงจูงใจต่อการทำงาน

                สรุป การจัดระเบียบและปรับปรุงที่ทำงานเพื่อสภาพแวดล้อมที่ดี ปลอดภัยมีระเบียบเรียบร้อย โดยวิธีสะสาง สะอาด สะดวก สุขลักษณะ และสร้างนิสัยเพื่อสร้างเป็นกิจวัตรนิสัยส่งผลให้องค์กรลดการสูญเสียทั้งคน ประหยัดค่าใช้จ่ายได้ ในการวางแผนและป้องกันปัญหาโดยใช้เครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง เป็นเครื่องมือที่ประเทศญี่ปุ่นพัฒนาเพิ่มเติมมาจากเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง  ให้มีความเหมาะสมและเป็นประโยชน์สำหรับผู้บริหารระดับหัวหน้า/ผู้จัดการแผนก  ใช้ช่วยในการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลที่เป็นคำพูด  ความรู้สึกจากผู้บริหาร  เพื่อวางแผนยุทธศาสตร์  โดยเครื่องมือแบบเก่าจะประกอบด้วย

1.   ใบตรวจสอบ  ( check  sheet )   

2.   ฮีสโตแกรม  ( histogram )

3.   แผนภูมิพาเรโต  ( Pareto  diagram )

4.   ผังก้างปลา ( fish – bone  diagram )  หรือผังเหตุและผล  ( Cause – Effect  diagram)

5.   กราฟ  ( graph )

6.   แผนภูมิกระจาย  ( scatter  diagram )

7.   แผนภูมิควบคุม  ( control  chart )

เครื่องมือแบบเก่าและแบบใหม่ต่างกันตรงที่การเก็บข้อมูลแบบเก่าจะเป็นแบบตัวเลข  แต่เครื่องมือแบบใหม่การเก็บข้อมูลจะมีลักษณะเป็นข้อความสรุป เช่น บัตรความคิด  ซึ่งจะทำให้เราสามารถได้ประเด็นที่ดีได้นั่นเอง

 

อ้างอิง

 

5 ส คืออะไร ”.[ออนไลน์].เข้าถึงได้ http://www.moc.go.th/opscenter/cb/lukkarn.html2008.
 ความหมายของ TPM”. [ออนไลน์].เข้าถึงได้ http://www.tpmconsulting.org/wh_def.htm
“QC คืออะไร [ออนไลน์].เข้าถึงได้
               http://www.elecnet.chandra.ac.th/learn/np/qc/chapter/tqc.html2008.  

               

 

 

หมายเลขบันทึก: 231558เขียนเมื่อ 24 ธันวาคม 2008 10:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 15:15 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ตรวจสอบเรียบร้อยแล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท