เครื่องแมมโมแกรม 2552


เครื่องแมมโมแกรม

การตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์แมมโมแกรม หรือ แมมโมกราฟฟี่ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปถึงระบบดิจิตัลแล้ว โรงพยาบาลหลายแห่งมีเครื่องระบบนี้มาใช้ในการตรวจ

อยากจะขอกล่าวถึง ปัจจัยต่างๆของเครื่องเอกซเรย์ ที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพของภาพถ่ายเต้านม ที่ได้ ก่อนที่จะส่งให้รังสีแพทย์รายงานผลการตรวจ น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับนักรังสีเทคนิคในการนำไปประกอบการใช้เครื่องบ้าง

เมื่อพูดถึงคุณภาพของภาพถ่ายเต้านมก็จะประกอบด้วยหลายปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพ จะไม่ขอกล่าวถึงระบบการล้างฟิล์มที่เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่เกี่ยวข้องเพราะมีความละเอียดอ่อนในการควบคุมดูแล

ปัจจัยแรก ที่จะกล่าวถึงก็คงจะเกี่ยวกับเครื่องเอกซเรย์โดยตรง

ส่วนประกอบต่างๆดังแสดงในภาพ ความแตกต่างของภาพที่ได้จากเครื่องเอกซเรย์ทั้งสองชนิด คือ ถ้าเครื่องเป็นระบบดิจิตัล ข้อดีคือจะสามารถปรับภาพ/ขยายภาพ/วัดขนาดและวัดความยาวต่างๆได้ซึ่งเครื่องที่ระบบรับภาพเป็นฟิล์มไม่สามารถทำได้

  • เครื่องเอกซเรย์ที่เป็นชนิด conventional mammography โดยมีระบบ รับภาพที่ใช้ฟิล์มโดยตรงในการถ่ายภาพและดูภาพ

  • จากรูปแสดงหลอดเอกซเรย์

  • เครื่องเอกซเรย์ที่เป็นชนิด digital mammography โดยระบบการรับภาพดิจิตัล จะดูภาพถ่ายทางจอภาพ (monitor) และเก็บเป็นไฟล์รูปภาพไว้จะยังไม่ถ่ายภาพลงบนฟิล์ม ยกเว้นเมื่อแพทย์ขอมา

ปัจจัยที่สอง เกี่ยวกับนักรังสีเทคนิคผู้ใช้เครื่องในการเลือกใช้ระบบต่างๆของเครื่อง

ระบบของเครื่องมีหลายระบบให้เลือกใช้ขณะที่ทำการตรวจเพื่อความเหมาะสมกับชนิดเนื้อเยื่อเต้านมและความหนาเต้านมหลังการใช้แผ่นกดทับเต้านม

บางคนอาจสงสัยว่าทำไมต้องใช้แผ่นกดทับเต้านม มีภาพให้ดูแทนคำอธิบายค่ะเมื่อใช้แผ่นกดทับสามารถลดสิ่งที่มารบกวนลงได้และได้ภาพที่คมชัดมากขึ้น

ระบบของเครื่องเอกซเรย์เต้านมที่รังสีเทคนิคต้องเลือกใช้มีดังนี้ค่ะ

1.ระบบ Auto- kV exposure mode เป็นการเลือกใช้ค่า kV ที่เหมาะสมส่วนค่า mAs จะเปลี่ยนไปตามความหนาของเต้านมโดยอัตโนมัติ

ความหนาเต้านม 2-6 เซนติเมตร หลังการใช้แผ่นกดทับค่า kV ควรอยู่ในช่วง 25-28 kV

เมื่อความหนาเพิ่มขึ้นมากกว่า 6 เซนติเมตร ต้องเพิ่มค่า kV มากขึ้นโดยเพิ่มมากกว่า28 kV เพื่อให้ปริมาณรังสีผ่านทะลุเนื้อเยื่อพอดีซึ่งต้องเพิ่มพลังงานโดยการเปลี่ยนตัวกรองรังสีจากโมลิปดีนั่มเป็นโรเดี่ยมแทน

2.ระบบ Auto- time exposure mode คือการเลือกใช้ค่า kV ค่าใดค่าหนึ่งตามความหนาของเต้านม

หรือ การใช้ค่า kV คงที่(fix kV)นั่นเอง โดยค่า mAs จะปรับเปลี่ยนไปตามความหนาเต้านมโดยอัตโนมัติ

ทั้งนี้ผู้ที่เลือกใช้ค่า kV คงที่ต้องคำนึงถึงความหนาของเต้านมที่มากกว่า 6 เซนติเมตรด้วยต้องปรับเปลี่ยนตัวกรองรังสีให้ถูกต้อง

3.ระบบ Auto- filter mode คือระบบที่สามารถเลือกใช้ตัวกรองรังสีที่ตรงกับความหนาของเต้านมผู้ป่วยที่เปลี่ยนไปโดยอัตโนมัติ....ซึ่งเมื่อเลือกระบบนี้เครื่องจะปรับเปลี่ยนเองเมื่อความหนาเปลี่ยนไป

ส่วนใหญ่เครื่องเอกซเรย์เต้านมจะมีตัวกรอง 2 ชนิดคือ โรเดี่ยม (Rh)ใช้กับความหนาที่มากกว่า 6 เซนติเมตรเพราะจะให้ค่า kV ทะลุลวงสูงกว่า

และ โมลิปดีนั่ม(Mo) ใช้กับความหนาที่ไม่เกิน 6 เซนติเมตรส่วนใหญ่สตรีแถบเอเชียจะมีขนาดที่พอเหมาะสำหรับการเลือกตัวกรองรังสีชนิดนี้

4. ระบบการเลือกตำแหน่งตัวควบคุมปริมาณรังสีอัตโนมัติ หรือ AEC: Automatic exposure control (ภาพแรกเป็นขบวนการทำงานของระบบ)

ระบบนี้การเลือกจุดที่วางต้องเลือกตำแหน่งของเต้านมที่เป็นส่วนที่หนาและให้ตรงกับเนื้อเยื่อชนิดต่อมน้ำนม หรือเรียกว่า Glandular tissue นั่นเอง ดังภาพถ่ายเต้านมที่แสดงด้านล่าง

ภาพล่างแสดงการเลือกตำแหน่งของตัวควบคุมปริมาณรังสีอัตโนมัติกับความหนาเต้านมที่ไม่ถูกต้อง(ในภาพขวามือ) ทำให้ได้ภาพที่ขาว และ ภาพซ้ายมือถูกต้องทำให้ภาพที่ได้ชัดเจนกว่า

แสดงภาพโครงสร้างเต้านม ภาพที่ได้ควรจะเห็นครบทุกส่วนดังรายละเอียดของโครงสร้างในภาพที่ได้แสดงนี้

ภาพโครงสร้างเต้านมในท่าด้านตรง ควรจะเห็นครบทุกส่วน ตามหมายเลข ด้งนี้

1. include medial breast tissue

2. pectoral muscle (will be seen 30-40%)

3. retroglandular fat

4. skin is not visible

5.lateral glandular tissue (will often extend to the adge of image)

ภาพโครงสร้างเต้านมในท่าด้านข้าง ควรจะเห็นครบทุกส่วน ตามหมายเลข ด้งนี้

1.pectoral muscle (is seen to the level of nipple or below)

2.inframammary fold (is include on image)

3.upper glandular tissue projecting over the pectoral muscle (is not cutt off)

4.retroglandular fat

5.convex magin of pectoral muscle

ภาพถ่ายเต้านมที่คุณภาพดีสามารถดูได้จากบันทึกแมมโมแกรม 2 ที่แสดงชนิดของเนื้อเยื่อเต้านม

หมายเลขบันทึก: 231162เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 11:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 สิงหาคม 2016 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

อ.ประ เป็นไปได้ใหมที่ตำแหน่งของตัวควบคุมปริมาณรังสีอัตโนมัติ จะถูฏfix ไว้ในตำแหน่งในสุด ติดChest wall บริษัท(วิศวกร)บอกว่าไม่ตอ้งเลื่อนเพราะมีตัวdetector รับ3ตัวแล้ว เครื่อง lorad เพราะว่าภาพตอนนี้แย่มาก high contrast ช่วยบอกทีจ้า

ตอบคุณไก่...ปกติการเลือกตำแหน่งของ AEC ต้องเลือกวางตรงกับส่วนที่เป็น glandular tissue ภาพที่ออกมาถึงจะสวยไม่ขาว...

1.ขนาดเต้านมที่เล้กและปานกลางไม่ใหญ่ต้องเลือกให้อยู่ใกล้.nipple เช่นถ้าแบ่งเต้านมเป็นสามส่วน เลือกวาง หนึ่งในสามส่วนตามตัวอย่างในภาพบน...ในการเลือกจุดวาง AEC...

2.density ที่ได้จาก AEC ไม่ได้ให้ทั้งหมดร้อยเปอร์เซนต์ ...ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น จากชนิดความหนาแน่นเต้านมและความหนา/จากการเลือก filter(Mo และ Rh ที่ถูกต้อง)หรือระบบต่างๆที่ยกเป็นตัวอย่างในบันทึกควรเลือก auto filter/จากการวางตำแหน่งของ AEC ซึ่งมีความสำคัญมาก...ในบางบริษัทเพิ่ม density จากหน้าปัด(+1ถึง5 ตรงรูป density selector ในรูป)เมื่อใช้ร่วมกับฟิล์มบางยี่ห้อ

3.ดังนั้นตำแหน่ง AEC ต้องเลือกวางให้ถูกไม่ควร fixใกล้ nipple (แต่ส่วนใหญ่สตรีเอเชีย ขนาดไม่ต่างกันมากแต่การวางชิด ches wall ไม่น่าจะถูกต้อง)ในรูปแสดงการวาง AEC เป็นตัวอย่างที่ถูกต้องจ๊ะ..ตอบได้ตรงคำถามใหมคะ?

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท