คนขี้โรค


โรคนิ่ว

ตื่นขึ้นมาตอนตี 3 ด้วยอาการปวดถ่วงในท้องน้อยอย่างรุนแรง  เหมือนๆจะถ่ายหนัก  แต่ถ่ายออกนิดเดียว  เหมือนๆจะถ่ายเบาก็ถ่ายออกแบบกะปริดกะปรอย  ส่วนอาการปวดนั้นแทบไม่ลดลงเลย  แม่บ้านตื่นขึ้นมาบอกให้ดื่มน้ำเยอะๆและให้ยาขับปัสสาวะ  พร้อมยาลดอาการเกร็งในช่องท้อง  ยาแก้ปวด  และยาแก้อักเสบ   ต้องคอยวิ่งเข้าออกห้องน้ำอยู่เป็นระยะเลยเปิดคอมหาข้อมูลเกี่ยวกับโรค  จากอินเตอร์เน็ต  พบในหลายเว็บ  ขออนุญาตนำข้อมูลมาใส่ไว้ในที่นี้ด้วยนะครับ  คงไม่ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์นะครับ

 

โรคนิ่วไต

สร้างเสริมสุขภาพอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคนิ่ว

 

ปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์ และชาญชัย บุญหล้า

 

โรคนิ่วไต

โรคนิ่วไตเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบมากทั่วโลก และอุบัติการณ์โรคนิ่วไตมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ ในประเทศไทยมีอุบัติการณ์โรคนิ่วไตสูงมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณร้อยละ 10-16 การมีนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะจะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ได้ เช่น การติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ การทำงานของไตเสื่อมลง และอาจร้ายแรงจนถึงเกิดภาวะไตวายเรื้อรังและโรคไตระยะสุดท้าย ซึ่งทำให้ถึงแก่ความตายได้ นอกจากนี้โรคนิ่วไตมีอุบัติการณ์การเป็นนิ่วซ้ำสูงมาก ทำให้ทั้งผู้ป่วยและภาครัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำสูงมาก ดังนั้นโรคนิ่วไตจึงจัดเป็นปัญหาสุขภาพที่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชากรไทยเป็นอย่างยิ่ง


สาเหตุของ
โรคนิ่วไตเกิดจากหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยเสี่ยงทางด้านสิ่งแวดล้อม เมแทบอลิซึม พันธุกรรม วิถีการดำเนินชีวิต และอุปนิสัยการกินอาหารของตัวผู้ป่วยเอง ชนิดของนิ่วมีหลากหลายชนิด องค์ประกอบส่วนใหญ่ในก้อนนิ่วเป็นผลึกแร่ธาตุ เช่น แคลเซี่ยมออกซาเลต แคลเซียมฟอสเฟต ยูเรต แมกนีเซี่ยมแอมโมเนี่ยมฟอสเฟต เป็นต้น นิ่วที่พบมากที่สุดในประเทศไทย คือ นิ่วแคลเซี่ยมฟอสเฟตประมาณร้อยละ 80 รองลงมาคือนิ่วกรดยูริกพบประมาณร้อยละ 10-20 สาเหตุเริ่มต้นของการเกิดนิ่วคือการก่อผลึกแร่ธาตุในปัสสาวะ สารที่กระตุ้นการก่อผลึกเหล่านี้เรียกว่าสารก่อนิ่วได้แก่ แคลเซี่ยม ออกซาเลต ฟอสเฟต และกรดยูริก สำหรับสารที่ป้องกันการก่อผลึกในปัสสาวะเรียกว่าสารยับยั้งนิ่วที่สำคัญได้แก่ ซิเทรต โพแทสเซียม และแมกนีเซียม
ปัจจัยเสี่ยงด้านความผิดปกติทางเมแทบอลิซึมที่พบได้บ่อยในผู้ป่วย
โรคนิ่วไตไทย คือ การมีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะต่ำ ได้แก่ ภาวะซิเทรตในปัสสาวะต่ำพบประมาณร้อยละ 70-90 และภาวะโพแทสเซียมในปัสสาวะต่ำพบประมาณร้อยละ 40-60


การรักษา
โรคนิ่วไตแบ่งเป็นการรักษาทางศัลกรรม เช่น การผ่าตัดเอานิ่วออกและการสลายนิ่ว เป็นต้น และการรักษาด้วยยาเพื่อป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำ เช่นยาโพแทสเซี่ยมซิเทรต นอกเหนือจากการรักษาทางการแพทย์แล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินและการดำเนินชีวิตมีความสำคัญมากในการสร้างเสริมสุขภาพของผู้ป่วยโรคนิ่วไต ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดนิ่วซ้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพในระยะยาว

 

กลไกการเกิดโรค

สาเหตุของการเกิดนิ่วไต คือ การมีสารก่อนิ่วในปัสสาวะสูงกว่าระดับสารยับยั้งนิ่ว ร่วมกับปัจจัยเสริมคือ ปริมาตรของปัสสาวะน้อย ส่งผลให้เกิดภาวะอิ่มตัวยวดยิ่งของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ จึงเกิดผลึกที่ไม่ละลายน้ำขึ้น เช่น แคลเซี่ยมออกซาเลต แคลเซี่ยมฟอสเฟต และยูเรต ผลึกนิ่วที่เกิดขึ้นจะกระตุ้นให้เกิดภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นและการอักเสบในท่อไต ส่งผลให้เซลล์บุท่อไตถูกทำลาย ตำแหน่งที่ท่อไตถูกทำลายนี้จะเป็นพื้นที่ให้ผลึกนิ่วเกาะยึดและรวมกลุ่มกัน เกิดการทับถมของผลึกนิ่วเป็นเวลานานจนกลายเป็นก้อนนิ่วได้ในที่สุด
ในคนปกติที่มีสารยับยั้งนิ่วในปัสสาวะสูงเพียงพอ จะสามารถยับยั้งการก่อตัวของผลึกนิ่วได้ โดยสารเหล่านี้จะไปแย่งจับกับสารก่อนิ่ว เช่น ซิเทรตจับกับแคลเซียม หรือแมกนีเซียมจับกับออกซาเลต ทำให้เกิดเป็นสารที่ละลายน้ำได้ดี และขับออกไปพร้อมกับน้ำปัสสาวะ ทำให้ปริมาณสารก่อนิ่วในปัสสาวะลดลงและไม่สามารถรวมตัวกันเป็นผลึกนิ่วได้ นอกจากสารยับยั้งนิ่วกลุ่มนี้แล้วโปรตีนในปัสสาวะหลายชนิด เช่น โปรตีนแทมฮอสฟอล และออสทีโอพอนติน ยังหน้าที่ป้องกันการก่อผลึกในปัสสาวะและเมื่อเคลือบที่ผิวผลึกจะช่วยขับผลึกออกไปพร้อมกับปัสสาวะได้ง่ายขึ้น ปัจจุบันมีหลายงานวิจัยระบุว่าความผิดปกติของการสังเคราะห์และการทำงานของโปรตีนยับยั้งนิ่วเหล่านี้ เป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิด
โรคนิ่วไต

 

 

 

อาการของโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ

อาการของโรคนิ่วนั้นเกิดจากการที่มีก้อนนิ่วไปอุดตันตามที่ต่างๆ ในทางเดินปัสสาวะ ทำให้มีอาการปัสสาวะขัดกระปริกระปรอย หากเป็นในระยะแรกร่างกายอาจขับก้อนนิ่วออกมาได้เองทางปัสสาวะ ซึ่งจะพบตะกอนเหมือนก้อนกรวดเล็กๆ ปนออกมาพร้อมกับปัสสาวะ แต่ถ้าก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้นจะมีการอุดตันที่มากขึ้น มีการเสียดสีและทำให้เกิดการบาดเจ็บมีเลือดออก ส่งผลให้ปัสสาวะมีสีแดงขึ้นจากเลือดหรือบางกรณีมีสีเหมือนน้ำล้างเนื้อเนื่องจากมีเนื้อบางส่วนหลุดลอกออกมาด้วย การบาดเจ็บที่เกิดขึ้นทำให้มีอาการปวดท้อง ปวดหลังขึ้นได้ ในกรณีที่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนจะมีอาการไข้ร่วมด้วย หากปล่อยให้เป็นนิ่วไปนานๆ โดยมิได้รับการรักษาจะทำให้ไตบาดเจ็บเรื้อรัง ส่งผลให้ไตมีรูปร่างและทำงานผิดปกติมากขึ้นและนำไปสู่ภาวะไตวายในที่สุด ซึ่งพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยไม่ได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ เมื่อก้อนนิ่วมีขนาดใหญ่ขึ้นการรักษาโดยการผ่าตัดออกจะทำให้เสียเนื้อไตไปบางส่วนด้วย หรือหากเป็นมากๆ อาจต้องตัดไตข้างนั้นทิ้ง ซึ่งทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ดั้งนั้นหากมีอาการที่น่าสงสัยก็ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เนิ่นๆ

 

นิ่วที่พบได้บ่อยในประเทศไทย


ก้อนนิ่วสามารถจำแนกชนิดคร่าวๆ ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือนิ่วชนิดเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบเพียงอย่างเดียว และนิ่วชนิดเนื้อผสมที่มีหลากหลายองค์ประกอบรวมกัน นิ่วส่วนใหญ่ที่พบในประเทศไทยเป็นนิ่วเนื้อผสม นอกจากนั้นเราสามารถแบ่งชนิดนิ่วได้จากองค์ประกอบหลักที่สำคัญในก้อนนิ่ว ได้แก่

1) นิ่วแคลเซียมออกซาเลต

2) นิ่วแคลเซียมฟอสเฟต

นิ่วยูเรตหรือนิ่วกรดยูริก

4) นิ่วสตูไวท์หรือนิ่วติดเชื้อ

5) นิ่วซีสทีน

6) นิ่วชนิดอื่นๆ

 

 

 

การรักษาโรคนิ่ว

การรักษาโรคนิ่วด้วยวิธีทางศัลยกรรม ปัจจุบันมีวิธีรักษาให้เลือกหลายวิธี เช่น การใช้คลื่นเสียงกระแทกเพื่อสลายนิ่ว (ESWL) การผ่าตัดเปิด และการนำนิ่วออกผ่านการใช้กล้องที่ส่องเข้าสู่ไต ทั้งนี้การเลือกวิธีขึ้นกับขนาดและชนิดของนิ่ว
การรักษา
โรคนิ่วด้วยยา ยาที่ใช้รักษาโรคนิ่วมีทั้งที่อยู่ในรูปสารสังเคราะห์ ได้แก่ เกลือโพแทสเซียมฟอสเฟต และเกลือโพแทสเซียมซิเทรต, อัลโลพูลินอล (allopurinal), ไธเอไซด์ (thiazide), ออโธฟอสเฟต (orthophosphate), ไตรโพนิน (triponin) และ กรดอะซิโตไฮโดรซามิก (acetohydroxamic acid) และในรูปสารในธรรมชาติ เช่น กรดไฟติก สารต้านอนุมูลอิสระ น้ำมันปลา หญ้าหนวดแมวหรือหญ้าเทวดา และมะนาวผง เป็นต้น


การรักษานิ่วด้วยมะนาวผง มีรายงานวิจัยจำนวนมากที่พบว่าการบริโภคผลไม้และสารต้านอนุมูลอิสระมีบทบาทต่อการรักษาโรคเรื้อรังต่างๆ ทั้งโรคมะเร็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด รวมถึง
โรคนิ่วไต เนื่องจากในผลไม้นั้นมีสารต้านอนุมูลอิสระหลากหลายชนิด อันได้แก่ เบตาแครอทีน วิตามินซี วิตามินอี ฟลาโวนอยด์ โพลีฟีนอล เป็นต้น ช่วยในการปกป้องการทำลายของเซลล์บุท่อไตจากภาวะเครียดจากออกซิเดชั่นและกระบวนการเปอร์ออกซิเดชั่นของไขมันในเซลล์ นอกจากนี้ผลไม้ยังมีปริมาณซิเทรต ซึ่งเป็นสารยับยั้งการก่อนิ่ว รวมทั้งมีโพแทสเซียมและแมกนีเซียมอีกด้วย จากการศึกษาของคณะวิจัยจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์พบว่า ผู้ป่วยนิ่วไตที่ผ่านการรักษาทางศัลยกรรมเมื่อรับประทานมะนาวผงเป็นระยะเวลา 3 เดือน ในอัตราส่วน โพแทสเซียม 21 มิลลิอิควิวาเลนท์ ต่อซิเทรต 63 มิลลิอิควิวาเลนท์ สามารถเพิ่มปริมาณซิเทรตในปัสสาวะและเพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ ลดความเสี่ยงการเกิดนิ่ว รวมถึงลดความเครียดจากออกซิเดชัน ได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ยังสามารถปกป้องการทำลายเซลล์บุท่อไตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

องค์ประกอบทางเคมีและสารต้านอนุมูลอิสระในมะนาวผง (5 กรัมต่อซอง

องค์ประกอบทางเคมีและสารต้านอนุมูลอิสระ

ปริมาณ (มิลลิกรัมต่อซอง)

Citrate

4092(63 mEq)

Potassium

819 (21 mEq)

Sodium

6.58 (0.29 mEq)

Calcium

78.90

Phosphate

4.10

Oxalate

0.26

Magnesium

3.78

Vitamin C

27.30

Polyphenols

9.20

Flavonoids

8.80

Beta-carotene

0.042 umol

Vit E

0.029 umol

Cryptozanthine

0.013 umol

Lycopene

0.004 umol

 

มะนาวผงบรรจุซอง ปริมาณ 5 กรัม ผลิตโดยปิยะรัตน์ โตสุโขวงศ์และคณะสำหรับรักษาโรคนิ่วไต

 

 

การสร้างเสริมสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคนิ่วไตซ้ำ


การที่ผู้ป่วยดูแลตนเองทั้งร่างกาย จิตใจ ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างเคร่งครัดจะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่เป็นสาเหตุของการเกิดนี่ว ทำให้ไม่มีโรคนี่วหรือเป็นซ้ำน้อยลง สามารถปฏิบัติได้ดังนี้


1. ควรดื่มน้ำปริมาณมาก ในแต่ละวันควรดื่มน้ำให้ได้มากกว่า 8 แก้วต่อวัน หรือให้ได้ปริมาตรของปัสสาวะมากกว่า 2 ลิตรต่อวัน เพื่อลดความอิ่มตัวของสารก่อนิ่วในปัสสาวะ และลดโอกาสการก่อผลึกนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ


2. บริโภคอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบถ้วนและสัดส่วนเหมาะสม
2.1 อาหารจำพวกผักและผลไม้ เป็นแหล่งของสารยับยั้งการเกิดนิ่ว และสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ช่วยให้ปริมาณของซิเทรต โพแทสเซียม และความเป็นกรด-ด่างของปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น และยังลดการทำลายของเซลล์เยื่อบุท่อไต จึงสามารถยับยั้งการเกิดนิ่วได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ผักผลไม้ยังมีไฟเบอร์ช่วยลดแคลเซียมในปัสสาวะและยังช่วยลดไขมันในเลือดได้อีกด้วย
2.2 ไขมันจากพืชและไขมันจากปลา สามารถลดปริมาณแคลเซียมในปัสสาวะได้ดีกว่าไขมันที่ได้จากเนื้อสัตว์อื่นๆ ลดโอกาสการเกิดนิ่วซ้ำ
2.3. ลดอาหารที่มีเนื้อสัตว์ ไขมันสัตว์ อาหารหวานและเค็มมาก และอาหารที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ หนังสัตว์ปีก ตับ ไต ปลาซาร์ดีน โดยปกติในผู้ใหญ่ไม่ควรได้รับโปรตีนจากสัตว์เกิน 150 กรัมต่อวัน การบริโภคอาหารโปรตีนสูงจะทำให้เพิ่มสารก่อนิ่วและเพิ่มโอกาสการเกิดนิ่วสูงมาก
2.4 หลีกเลี่ยงอาหารที่มีออกซาเลตสูง ได้แก่ งา ผักโขม ถั่วต่างๆ เช่นถั่วลิสง ชอกโกแลต และชา เป็นต้น ในผู้ป่วยชนิดแคลเซียมออกซาเลต หากจำเป็นต้องบริโภคควรรับประทานควบคู่ไปกับแคลเซียมหรือดื่มนมจะช่วยลดปริมาณออกซาเลตในปัสสาวะ
2.5 เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง ปัจจุบันพบว่าการลดอาหารที่มีแคลเซียมในผู้ป่วย
โรคนิ่ว นอกจากจะทำให้สมดุลของแคลเซียมเปลี่ยนแปลง ยังเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของโรคกระดูกในอนาคตและยังทำให้ปริมาณสารออกซาเลตในปัสสาวะเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากแคลเซียมจะไปจับและยับยั้งการดูดซึมออกซาเลตทางลำไส้จึงช่วยลดระดับออกซาเลตในปัสสาวะได้ ภาวะปกติร่างกายควรได้รับแคลเซียมประมาณ 1000 มิลลิกรัมต่อวัน ในกรณีที่รับประทานยาเม็ดแคลเซียมเสริมควรรับประทานพร้อมกับมื้ออาหาร สำหรับในผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของการดูดซึมแคลเซียมที่ลำไส้ควรปรึกษาแพทย์


3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิคเป็นเวลาอย่างน้อย 10-20 นาทีทุกวัน เช่น การเดินจะช่วยทำให้นิ่วขนาดเล็กหลุดได้ การเดินสมาธิ โยคะ ไทเก๊ก ทำให้การทำงานของร่างกายดีขึ้นและลดความเครียด และลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดก้อนนิ่ว


นอกเหนือจากการเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายแล้ว การเลือกรับประทานยาหรืออาหารเสริมบางชนิด ร่วมกับการลดความเครียดสามารถช่วยป้องกันการเกิดนิ่วไตซ้ำได้
ในทางการแพทย์มีการใช้ยาหลากหลายเพื่อรักษา
โรคนิ่ว อย่างไรก็ตามยาเหล่านี้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอและมีผลข้างเคียง ดังนั้นวิธีที่ดีที่สุดที่จะลดโอกาสการเกิดนิ่ว คือการควบคุมอาหารดังที่กล่าวข้างต้น มีข้อแนะนำในการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโรคนิ่ว ดังต่อไปนี้


1. การดื่มน้ำมะนาวหรือน้ำมะนาวเข้มข้น เป็นแหล่งสารต้านอนุมูลอิสระและซิเทรตที่ดีมาก สามารถยับยั้งการก่อนิ่วและลดการบาดเจ็บของเซลล์บุท่อไตได้ดี
2. ควบคุมน้ำหนักในผู้ป่วยให้มีดัชนีมวลกาย (body mass index, BMI) อยู่ในระดับปกติ โดยให้มีค่าอยู่ระหว่าง 20 – 23.5 kg/m2
3. ผู้ที่มีภาวะออกซาเลตในปัสสาวะสูง ควรได้รับ แมกนีเซียมและวิตามินบี 6 เสริม เพื่อช่วยลดการสร้างของออกซาเลตในตับ
4.ไม่ควรรับประทานวิตามินซีมากกว่า 500 มก.ต่อ วัน เพราะจะไปเพิ่มออกซาเลตในปัสสาวะและเพิ่มปัจจัยเสี่ยงของการเกิดนิ่ว
5. การคลายเครียดด้วยการบริหารร่างกาย แบบโยคะ การทำสมาธิ หรือใช้เทคนิคต่างๆ เพื่อลดความเครียด เช่น การสร้างจินตภาพ เพื่อผ่อนคลายส่วนต่างๆ ของร่างกาย รวมถึงงดสูบบุหรี่ จะช่วยลดความเครียดของร่างกายที่ทำให้เกิดการบาดเจ็บของเซลล์บุท่อไต
6. หลังออกกำลังกาย หรือทำงานหนักในที่มีอากาศร้อน สูญเสียเหงื่อมาก จะต้องดื่มน้ำชดเชยให้เพียงพอ หรือควรดื่มน้ำเป็นประจำตลอดทั้งวันประมาณ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อลดการอิ่มตัวของสารก่อนิ่วและการตกผลึกในปัสสาวะ
7. สำหรับผู้ที่มีอาการผิดปกติและสงสัยว่ามีนิ่วไตควรปรึกษาแพทย์ เพื่อหาสาเหตุ และควรนำนิ่วมาวิเคราะห์องค์ประกอบของนิ่ว เพื่อช่วยบอกถึงความผิดปกติเบื้องต้นได้ และเป็นประโยชน์ในการหาแนวทางป้องกันการกลับเป็นนิ่วซ้ำภายหลังการรักษา

 

ข้อมูลจาก  www.bmbmd.research.chula.ac.th/knrenal.htm - 17k

ขอขอบคุณเป็นอย่างสูงมา ณ  ที่นี้

 

คำสำคัญ (Tags): #นิ่ว
หมายเลขบันทึก: 231110เขียนเมื่อ 22 ธันวาคม 2008 04:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • คนขี้โรค.....เดี๋ยวก็หายค่ะ  หากรู้ และรักษา
  • คนขี้โรค.....ไม่ดื้อ เชื่อฟังหมอ รักษาตัว  ไม่นานก็หายนะคะ

เป็นกำลังใจให้เสมอค่ะ..หายวันหายคืนนะคะ

ขอบคุณครูอ้อยนะครับ

ไปห้องน้ำมาครับ

เป็นกำลังใจให้เช่นกัน รักตังเองด้วยดารดูแลเอาใจใส่ตัวเอง

เรียนอาจารย์ไพโรจน์ที่เคารพ

เนื่องจากหัวข้อบทกวีของฉันในเรื่องคนขี้โรคนั้นเมื่อได้ลองอ่านดูแล้วทำให้เกิดประโยชน์ในหลายๆด้าน เช่นลักษณะของอาการที่เกริ่นไว้ข้างต้นมีคนภายในบ้านเป็นอยู่แถมยังไม่กล้าไปพบแพทย์อีกต่างหากจึงใคร่ขอขอบคุณที่นำบทความนี้มานำเสนอทำให้รู้เรื่องเกี่ยวกับอาการของโรคนี้ขึ้นเยอะ

สุดท้ายพรุ่งนี้จะไปหาหมอแล้วล่ะ

ป้านา

สวัสดีป้านาชุมพรครับ ดีใจที่เข้ามาพบกันในบล็อกนี้ ส่วนคนที่ป่วยนั้นควรไปหาหมอดีที่สุด เพราะเราคิดว่าเป็นโรคนั่นโรคนี่ หมออาจวินิจฉัยไปอีกโรคหนึ่งก็ได้ จะได้รักษาถูกวิธีครับ เหมือนที่น้าพุดเป็น ตอนแรกนึกว่าเป็นนิ่วเสียอีก ตกลงหมอบอกว่าเป็นลำไส้อักเสบ ตอนนี้หายแล้วตรับ

รักษาสุขภาพด้วยนะครับทุกท่าน

ขอให้ทุกท่านหายและหาย ขาดอย่าได้เป็นเลย และขอให้ทุกๆคน ทุกๆท่าน ปลอด จาก การขี้โรค ต่างๆ ปวด ไข้ เจ็บ ต่าง อื่น และโดยเฉพาะ โรคทางเดินปัสสาวะ,สมรรถภาพทางเพศ และอืนๆ นิ่ว มะเร็ง เอด ต่างๆ ขอให้หายกันทุกท่านน่ะครับ และหายขาดตามที่ท่านหวังเอาไว้ และขอให้ สมรรถภาพทั่วร่างกายท่านแข็งแรง ขอให้หายไวๆน่ะครับ ผมเป็นกำลังใจให้ทุกท่าน

ขอให้ สมรรภาพ ทั่งร่างกายและจิตใจ ท่าน หายไวๆ ตามที่ท่านหวังไว้น่ะครับ และโดยเฉพาะ สมรรถภาพทางเดินปัสสาวะและสมรรถภาพทางเพศของท่านน่ะครับ หรืออิ่นๆที่เกี่ยวข้อง ....... เปนกำลังใจให้ครับ

ผมเองก้ขี้โรคมาตั่งแต่เกิด ร่างกายยไม่แข็งแรงเหมือนคนอิ่นๆเลย นิดๆหน่อยๆ ก็เป็นโรคนี้โรคโนน จนถึงทุกวันนี้ครับ .... ผมว่าของท่านเปน น้อยกว่าผมเลย ...ผมเป็นกำลังใจให้น่ะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท