หนังสือดีๆ สำหรับคุณครู


บอกเล่าชาวครู

พบของดีนำมาฝาก จากWeb  และได้เป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้แล้วค่ะ เล่มเล็กพกพาได้สะดวกค่ะ

แนะนำหนังหนัสือน่าอ่าน1

ชื่อเรื่อง เรื่องการอ่านจับใจความ

เนื้อหาจาก หนังสือการอ่านจับใจความ ผู้แต่ง แววมยุรา เหมือนนิล สำนักพิมพ์ ชมรมเด็ก           พิมพ์ครั้งแรก 2538 /ครั้งที่ 2541       ISBN 974-8262-86-3 ราคา100 บาท

เลขเรียกหนังสือ PN4145 ว948กฉ.5

สถานที่เก็บ SPU Main Library

ความประทับใจต่อหนังสือเล่มนี้: เนื่องจากการที่เราจะอ่านหนังสือแล้วเข้าถึงแก่นหรือเนื้อหาของหนังสือนั้นจะต้องอาศัยหลักการอ่านที่ถูกต้องเพราะบางครั้งถ้าเราอ่านอย่างเดียวโดยไม่รู้หลักที่ถูกต้อง เราอาจจจะไม่ได้รับถึงอรรถรส ไม่เข้าถึงแก่น ประโยขน์ หรือสื่งที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านทราบได้อย่างเต็มที่หรือบิดเบือนได้ ดังนั้นจึงเห็นว่าหนังสือเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ในการเป็นพื้นฐานหรือตัวช่วยให้ผู้อ่านได้เข้าใจเนื้อหาของหนังสือที่จะอ่านมากขึ้น และเป็นหนังสือที่อยากจให้ทุกคนที่เริ่มอ่านหนังสืออ่านเป็นเล่มแรกเพื่อเสริมสร้างการอ่านที่ดีและจะช่วยให้อ่านหนังสือได้สนุกและเข้าใจมากขึ้น

เนื้อหาสำคัญโดยสรุป: ในที่นี้จะสรุปรวมเฉพาะหลักสำคัญที่สามารถใช้ในการอ่านหนังสือได้ทุกประเภท ส่วนกลวิธีจับใจความของหนังสือแต่ละประเภทนั้นเพื่อนๆสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่เนิ้อหาในหนังสือโดยตรง

การอ่านจับใจความ

สาระสำคัญ

1. การอ่านจับใจความ คือการอ่านที่มุ่งค้นหาสาระสำคัญของเรื่องหรือหนังสือแต่ละเล่มว่าคืออะไร ซึ่งแบ่งออกเป็น2ส่วนดังนี้

      1.1 ส่วนที่เป็นใจความสำคัญ

      1.2 ส่วนที่ขยายใจความสำคัญหรือส่วนประกอบ เพื่อให้เรื่องชัดเจนยิ่งขึ้น ในกรณีที่เรื่องนั้นมีย่อหน้าเดียว ในย่อหน้านั้นจะมีใจความสำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากนั้นเป็นส่วนขยายใจความสำคัญ หรือส่วนขยายใจความสำคัญ หรือส่วนประกอบ

2. การอ่านจับใจความให้เข้าใจได้ง่ายและรวดเร็ว ต้องอาศัยแนวทางและพื้นฐานสำคัญหลายประการดังนี้

      2.1 สำรวจส่วนประกอบของหนังสืออย่างคร่าวๆเพราะเป็นส่วนประกอบของหนังสือ เช่น ชื่อเรื่อง คำนำ สารบัญ คำชี้แจงในการใช้หนังสือ ซึ่งเป็นส่วนที่ช่วยให้เข้าใจเนื้อหาของหนังสือ

      2.2 กำหนดเป้าหมายในการอ่านให้ชัดเจนทุกครั้ง คือกำหนดว่าจะอ่านเพื่ออะไร เช่น เพื่อความรู้ เพื่อความเพลิดเพลิน เป็นต้น

      2.3 ต้องมีความสามารถทางภาษา เพราะมันเป็นพื้นฐานที่สำคัญต่อการอ่านจับใจความ โดยต้องใช้ทักษะการแปลความ อย่างบางคำเราไม่รู้ความหมายก็จะต้องใช้พจนานุกรมเข้ามาช่วย หรือการอ่านประโยคต่างๆต้องดูนัยยะแฝงด้วย

      2.4 การมีประสบการณ์หรือภูมิหลังเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านจะช่วยให้เราเข้าใจและจับใจความความเรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้น ในข้อนี้ผู้อ่านสามารถหาหนังสือที่เกี่ยวข้องมาอ่านประกอบกันเพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นก็ได้

      2.5 ความเข้าใจลักษณะของหนังสือ หนังสือแต่ละประเภทมีรูปแบบการแต่งและเป้าหมายของเรื่องที่แตกต่างกัน เช่น

หนังสือประเภทสารัตถคดี (Non-fiction) เช่นตำรา สารคดี ข่าว บทความ เป็นเรื่องจริงที่มุ่งให้ความรู้หรือให้ความคิดแก่ผู้อ่านมากกว่าอย่างอื่น จะจับใจความง่าย ตรงไปตรงมา

หนังสือประเภทบันเทิงคดี (Fiction) เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย เป็นเรื่องสมมติ มุ่งให้ความเพลิดเพลินเป็นสำคัญแต่จะมีกลวิธีแต่งที่ซับซ้อน จับใจความยาก

3. การอ่านจับใจความนั้นเป็นพื้นฐานที่สำคัญในการอ่านในระดับต้น และระดับที่สูงขึ้นไปอีก

การที่เราจะรู้ว่าเราสามารถจับใจความได้หรือไม่สามารถสังเกตได้จากสิ่งต่อไปนี้

3.1 การจำลำดับเรื่องที่อ่าน และเล่าเรื่องโดยใช้คำพูดของตนเองได้

3.2 การบอกเล่าความทรงจำจากการอ่าในสิ่งที่เฉพาะเจาะจงได้ เช่น ข้อเท็จจริง เหตุการณ์ที่เกิดในหนังสือ เป็นต้น

3.3 การทำตามคำสั่งหรือข้อเสนอแนะหลังอ่านได้

3.4 รู้จักแยกข้อเท็จจริง ความคิดเห็น หรือจินตนาการได้

3.5 สามารถรวมข้อมูลใหม่กับข้อมูลที่มีอยู่แล้วได้

3.6 การเลือกความหมายที่ถูกต้องและนำไปใช้ได้

3.7 การให้ตัวอย่างประกอบได้

3.8 การสรุปเรื่องได้

กลวิธีการอ่านจับใจความสำคัญ

สาระสำคัญ

1. การอ่านจับใจความสำคัญของเรื่องใดเรื่องหนึ่งควรเริ่มจากการอ่านจับใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้าให้ถูกต้องแม่นยำเสียก่อน ถ้าเรื่องไหนมีหลายย่อหน้าแสดงว่ามีหลายใจความสำคัญ เมื่อนำประเด็นสำคัญในแต่ละย่อหน้ามาพิจารณารวมกันแล้วจะทำให้จับแก่นเรื่องได้ง่ายขึ้น

2.ใจความสำคัญแต่ละย่อหน้า หมายถึงข้อความที่มีสาระคลุมข้อความอื่นๆในย่อหน้านั้นไว้ทั้งหมด เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้องการสื่อให้ผู้อ่านรู้ในย่อหน้านั้นๆ

3. ใจความสำคัญในแต่ละย่อหน้า ส่วนมากมักอยู่ในประโยคใดประโยคหนึ่ง ดดยมีข้อสังเกตดังนี้

3.1 ประโยคต้นย่อหน้า เป็นจุดที่พบใจความสำคัญของเรื่องมากที่สุด เพราะสว่นมากผู้เขียนจะบอกประเด็นสำคัญแล้วค่อยขยายความ

3.2 ประโยคตอนท้ายย่อหน้า เป็นจุดที่พบใจความสำคัญรองลงมาจากประโยคต้นย่อหน้า โดยผู้เขียนจะบอกรายละเอียดย่อยๆมาก่อนแล้วสรุปให้ในตอนท้าย

3.3 ประโยคกลางย่อหน้า เป็นจุดที่ค้นหาใจความสำคัญได้ยากที่สุด เพราะจะต้องเปรียบเทียบสาระที่สำคัญที่สุดว่าอยู่ที่ประโยคไหน

3.4 ไม่ปรากฎชัดเจนที่ใดที่หนึ่ง ในข้อนี้เราต้องอ่านโดยรวมแล้วสรุปเนื้อหาทั้งหมดเพื่อให้ได้ใจความสำคัญ

                      สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงหลักพื้นฐานที่สำคัญในการอ่านจับใจความที่สามารถใช้ได้กับหนังสือทุกประเภท หากต้องการเจาะลึกถึงกลวิธีอ่านจับใจความของหนังสือแต่ละปะเภทเพื่อนๆสามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากหนังสือการอ่านจับใจความได้โดยตรง

ขอขอบคุณเนื้อหาจากหนังสือ การอ่านจับใจความ (อาจารย์แววมยุรา เหมือนนิล)2538/2541

คำสำคัญ (Tags): #หนังสือน่าอ่าน
หมายเลขบันทึก: 230904เขียนเมื่อ 20 ธันวาคม 2008 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 10:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

การอ่านจับใจความตามครูภา...         แนะนำมาน่าชื่นใจ

หลักการอ่านท่านแนะไว้....                ต่อนี้ไปอ่านได้ความ

สวัสดีค่ะครูกานท์กรุงสยาม ที่ได้อ่านจับใจความตามเสนอ

เห็นประโยชน์ของการอ่านอันเลิศเลอ ไม่ไผลเผลออ่านอย่างมีวิธีการ

สวัสดีค่ะครูภา ครูเอียดเป็นคนหนึ่งที่ชอบจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้กับเด็ก

สิ่งที่พบ คือ เด็กๆมักจะอ่านหนังสือแล้วจับใจความไม่เป็น

เด็กๆมักจะใช้วิธีย่อความ

เจอครูภาแนะนำหนังสือ "การอ่านจับใจความ"

ขอบอกว่าถูกใจจริงๆ

สวัสดีค่ะคุณละเอียด

ดีใจมากค่ะที่ถูกใจ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท