โครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษารุ่นที่ 2 (ระยะที่ 3)


ผมอยากให้ทุกท่านเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ และทำงานอย่างต่อเนื่อง ต่อเนื่อง และต่อเนื่อง

สวัสดีครับผู้บริหารสังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (ลูกศิษย์รุ่น 2) 

ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่บรรยากาศของการเรียนรู้กับโครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษายุคใหม่ รุ่นที่ 2 ในระยะที่ 3  ที่จัดขึ้น ที่จังหวัดเชียงราย ครับ

เป็นอย่างไรบ้างครับ สำหรับการจัดการเรียนรู้ใน 2 ระยะที่ผ่านมา  ในระยะที่ 1 นั้น ผมได้เน้นให้ผู้บริหารทุกท่านเรียนรู้ในเรื่องภาวะผู้นำ การมองโลกาภิวัตน์ และการพัฒนาศักยภาพนักบริหารของการศึกษาในโลกยุคโลกาภิวัตน์

สำหรับระยะที่ 2 ผมได้มอบหมาย Assignment ให้ผู้บริหารเขียนหัวข้อวิจัย ที่จะนำไปใช้ในการบริหารองค์กร และการบริหารทรัพยากรมนุษย์ยุคใหม่

โดยในระยะที่ 3 นี้ ผมจึงขอเน้นให้ผู้บริหารทุกท่านเข้าใจและเรียนรู้เรื่องงานวิจัย และนวัตกรรม ที่สามารถนำมาปรับใช้ในสถาบันการศึกษา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในยุคโลกาภิวัตน์

                   เพื่อเป็นช่องทางแห่งการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้   ผมก็ได้เปิด Blog นี้และคาดหวังว่าทุกท่านจะใช้ Blog เป็นช่องทางในการแลกเปลี่ยนความรู้กัน และเป็นคลังสมองของพวกเรา และก็คงจะเป็นประโยชน์สำหรับชาว Blog ที่สนใจด้วย

 

                                    จีระ หงส์ลดารมภ์

          ..................................................................................................................................................

ภาพบรรยากาศ วันที่ 22 ธันวาคม 2551

หมายเลขบันทึก: 230731เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2008 17:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

ผู้บริหารอาชีวะมักจะทำงานและบริหารโดยใช้ความรู้สึก ความคิดส่วนตัวซะมากครับ ไม่ค่อยจะใช้หลักการ ทฤษฎีอะไรเป็นฐานเลย ต้องค่อยๆสอนเรื่องหลักการบริหาร จัดการแนวใหม่ หน่วยงานสอศ.มักจะทำอะไรช้ากว่าหน่วยงานอื่นเสมอ ปรับตัวไม่ค่อยทัน ผู้บริหารก็ไม่ค่อยจะใส่ใจที่จะพัฒนาตนเอง โลกก้าวไปแต่อาชีวะไม่ค่อยจะก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเลยทั้งๆที่เป็นหน่วยงานที่สอนด้านเทคโนโลยี สอนอาชีพแท้ๆ ไม่ค่อยจะมองเรื่องการพัฒนาคน พัฒนาครูซักเท่าไหร่เลยครับ ต้องปรับปรุงและแก้ไขอีกหลายด้าน ถ้าต้องการให้อาชีวะเจริญก้าวหน้า 

การบรรยายหัวข้อ งานวิจัยและนวัตกรรมของอาชีวศึกษา

วันที่ 22 ธันวาคม 2551 ณ จังหวัดเชียงราย

ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงศ์

วิธีการทำวิจัย

1. กำหนดว่าจะทำเรื่องอะไร

2. บอกที่มาว่าจะทำอะไร

3. วัตถุประสงค์

4. ท่านจะวิเคราะห์อย่างไร (วิเคราะห์ปัญหาเพื่อตอบโจทย์ และวัตถุประสงค์อย่างไร)

5. ใช้ข้อมูลจากไหน ข้อมูลจะมาอย่างไร

6. ประโยชน์ที่ได้ อะไรคือ Output งานของท่าน แต่สิ่งที่ยากกว่าคือ Outcome

ดร.จีระ เน้นว่า เวลาตั้งคำถาม ควรตั้งคำถามที่หลากหลาย และเอนไปที่ Quality ของการเรียนการสอน ให้คุณภาพการเรียนการสอน คุณภาพของนักเรียน และอาจารย์มีประสิทธิภาพด้วย

1. Reality ทำวิจัยเพื่อเสริมงานของท่าน

2. Relevance ทำวิจัยเพื่ออะไร ต้องตรงประเด็น

 ถ้าทำไม่สำเร็จอะไรจะเกิดขึ้นกับวงการศึกษา ควรคำนึงถึง Consequence กับ Impact ด้วย

 งานวิจัยต้องเกิดมูลค่าเพิ่ม ทำไปถึงแก่นการศึกษาอย่างแท้จริง และเน้นความคม

Workshop 1 ชั่วโมง

กลุ่ม 1

1. การพัฒนาวิทยาลัย……………..สู่การเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผล (The Development……………..to Effective School )

ที่มา สภาพปัจจุบันปัญหา

1. วิทยาลัยมีจำนวนบุคลากรมาก

2. นักเรียน / นักศึกษามีจำนวนมาก

3. ขาดแผนยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ

4. ขาดการเรียนรู้ บูรณาการองค์ความรู้และการใช้ทรัพยากรร่วมกัน

5. จากการศึกษาทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเรื่องโรงเรียนที่มีประสิทธิผลประกอบด้วย

- การมีส่วนร่วม ประกอบด้วย การมีจุดหมายชัดเจน มีค่านิยมและความเชื่อร่วม มีภาวะผู้นำ

- มีบรรยากาศการเรียนรู้ ประกอบด้วย ความเกี่ยวข้อง และความรับผิดชอบของบุคลากรในสถานศึกษา สภาพแวดล้อมทางกายภาพ การยอมรับและสิ่งจูงใจ พฤติกรรมทางบวกของนักศึกษา การสนับสนุนจากชุมชนและผู้ปกครอง

- เน้นการเรียนรู้ ประกอบด้วย มีการพัฒนาครู เน้นการเรียนการสอน และหลักสูตรที่หลากหลาย มีความคาดหวังสูง มีการติดตามความก้าวหน้าของนักศึกษาสม่ำเสมอ

6. จากการศึกษามาตรฐานการอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นหน้าที่ตาม พ.ร.บ. การศึกษา ประกอบด้วย

- ด้านผู้เรียนและผู้สำเร็จการศึกษา

- ด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน

- ด้านกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

- ด้านพัฒนาความรู้สู่ชุมชน

- ด้านนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์

- ด้านภาวะผู้นำ

7. จึงควรได้พัฒนาวิทยาลัย...................สู่การเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผล โดยมีเป้าหมายคือ การมีมาตรฐานการอาชีวศึกษา

2. คำถามการวิจัย

1. จุดมุ่งหมาย ดัชนีชี้วัดที่สำคัญ และเป้าหมายยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัย........................มีอะไรบ้าง

2. วิธีการพัฒนาวิทยาลัย........................เพื่อให้บรรลุตามแผนยุทธศาสตร์ มีวิธีการอย่างไร

3. วิทยาลัยจะมีแนวทางการพัฒนาเพื่อให้บรรลุมาตรฐานการอาชีวศึกษาได้อย่างไร

3. วัตถุประสงค์ การวิจัย

1. เพื่อศึกษาและกำหนดจุดมุ่งหมาย และดัชนีชี้วัดสำคัญ เป้าหมาย และวิธีการพัฒนาวิทยาลัย…………………สู่การเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผล

2. เพื่อพัฒนาวิทยาลัย………………….สู่การเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผล

4. ขอบเขตของการวิจัย

1. ใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR)

2.กลุ่มเป้าหมายเป็นลักษณะ กลุ่มเป้าหมายที่เลือก (Purposive Sampling) ได้แก่

2.1 ผู้บริหาร

2.2 ครู

2.3 เจ้าหน้าที่

2.4 สถานประกอบการ

2.5 ผู้แทนชุมชน

2.6 นักศึกษา

3. ระยะเวลาดำเนินการระหว่างเดือน มกราคม 2552 ถึง เมษายน 2553

4. การพัฒนามี 3 ขั้นตอน ได้แก่

- การเตรียมบุคลากร

- การศึกษาและจัดทำแผนยุทธศาสตร์

- การพัฒนาวิทยาลัยสู่การเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผล

กรอบแนวคิดการวิจัย

5. ประโยชน์ที่ได้จากการวิจัย

1. วิทยาลัยมีแผนยุทธศาสตร์ / กลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ

2. วิทยาลัย.......................ได้พัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนที่มีประสิทธิผล

3. วิทยาลัย.......................... ได้รับการพัฒนาตามมาตรฐานอาชีวศึกษา

4. ผู้สำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัย...........................ได้รับการยอมรับจากตลาดแรงงาน ชุมชน และสังคม

เพิ่มเติม อ.อารี

 งานสามารถลงไปแต่ละวิทยาลัยได้ด้วย

 ที่พบ คือไม่มียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่มีประสิทธิภาพ

 ปัญหาการเรียนรู้การพัฒนาบุคลากร

 นำแนวคิดจากวรรณกรรมมาใช้ให้เกิดประโยชน์

 ประเด็นปัญหา เมื่อเทียบกับเกณฑ์อาชีวศึกษา วิทยาลัยยังไม่สามารถบรรลุในการผลิตของนักเรียน เพื่อการศึกษาได้

 การพัฒนาวิทยาลัย ภายนอกยังไม่ได้เข้าสู่ชุมชนเป็นต้น

 คำถามวิจัย เป้าหมายชัด

ยุทธศาสตร์การพัฒนาวิทยาลัยควรเป็นอย่างไร วิทยาลัยถึงสู่เป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ได้

 ดัชนีชี้วัดที่สำคัญคืออะไร ในตัวปัญหาต้องระบุ คำถามต้องโยงกับปัญหาที่ คิดขึ้นมา

 ปัญหาที่ยกขึ้นมาทุกปัญหาชัดเจนแล้วพิสูจน์แล้วหรือไม่

 วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือวัตถุประสงค์เพื่อตอบคำถาม ไม่ใช่สิ่งที่อยากได้ตอนปลายทาง ถ้าสิ่งที่อยากได้ตอนปลายทางคือเป้าหมายของการวิจัย

 ประสิทธิผล ประเมินความสำเร็จในเชิงเป้าหมาย ก็ไปตั้งเป้าหมาย และถ้าต้องการประเมินประสิทธิภาพด้วย

อ.ทรงศักดิ์

 คำว่าประสิทธิผล แปลได้อย่างไร วัดได้อย่างไร ต้องมี Definition ที่ประกอบด้วย Indicator หลาย Indicator

 ถ้ามีหลายดัชนีชี้วัด จะให้อย่างไร เพื่อวัดเป้าหมายให้ได้ว่าจะวัดอย่างไร

 จากประสิทธิผลเปลี่ยนไปสู่ความเป็นเลิศ จะได้เห็นชัดกว่า

 การสร้างยุทธศาสตร์และการศึกษาความเป็นไปได้ในการสร้างความเป็นเลิศของเทคโนโลยีของประเทศเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม เพื่อดึงความมีส่วนร่วมของส่วนต่าง ๆ เข้ามาช่วยมากขึ้น

 ทำ Research ด้วย สังเกตด้วย แล้วจบโครงการ 2 ปี ก็ประเมินอีกที จะเต็มไปด้วยงานวิจัย

 อย่าใช้ยุทธศาสตร์ ZERO SUM GAME ให้ใช้ POSITIVE SUM GAM หรือ CO-OPERATIVE GAME

 ยุทธศาสตร์ในการบริหารลูกน้องของอาจารย์คืออาจารย์จะไม่ใช้วิธีดุลูกน้อง (แม้แต่ครั้งเดียว) แต่จะใช้วิธีเชิญเข้ามาคุยกันว่าถ้าจะไม่ให้เกิดผิดพลาดขึ้นอีกในคราวหน้าจะทำอย่างไร

 ทำไมสิงคโปร์จึงก้าวหน้าติด World Class

 การศึกษาทฤษฎีและทบทวนวรรณกรรม เพื่อดูว่า Research Methodology ทำอย่างไร และผลงานได้ผลอย่างไร แล้วเราทำเพื่อต่อยอดผลงานของเขา

 Purposive Sampling ไม่ใช่วิธีที่จะลงความเห็นเชิงสถิติสู่ Population ที่ถูกต้อง

กลุ่มที่ 2 กลุ่ม 500

1. สภาพปัจจุบัน : ปัญหา และที่มาของงานวิจัย

1.1 ในยุคโลกาภิวัตน์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ในการพัฒนาการเรียนการสอนและการบริหารจัดการในสถานศึกษา

1.2 ครูและบุคลากรการศึกษา มีความรู้ ความสามารถ ไม่ทันต่อความก้าวหน้า หรือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

1.3 การพัฒนาการเรียนการสอนของครู ไม่ใช่นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ จึงทำให้ประสิทธิภาพการเรียนการสอน ไม่ได้มาตรฐานอาชีวศึกษา และความต้องการของตลาดแรงงาน

2. ลำดับสำคัญของปัญหา

2.1 กลุ่มได้วิเคราะห์ และให้น้ำหนักไปที่ปัญหา “ครูและบุคลากรการศึกษา มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงใด”

2.2 จากปัญหา กลุ่มได้นำมาสรุปเป็นหัวข้อวิจัยดังนี้ “ศึกษาสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

3. จากการระดมสมอง ได้คำถามดังนี้

3.1 ครูและบุคลากรการศึกษา มีความรู้ ความสามารถด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพียงใด

3.2 พฤติกรรมการบริหารงานของผู้อำนวยการเป็นอย่างไร

3.3 ทำอย่างไรที่จะให้นักเรียนนักศึกษามีคุณภาพ

3.4 ทำอย่างไรที่จะให้ครู มีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน

3.5 อะไรเป็นปัจจัยที่ส่งผล ต่อการบริหารได้อย่างมีคุณภาพ

3.6 ทำไม นักเรียน นักศึกษาจึงออกกลางคัน

4. วัตถุประสงค์ของการวิจัย

4.1 เพื่อศึกษาสมรรถนะ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

4.2 เพื่อเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคลากรการศึกาในแต่ละสาขาวิชาชีพ

4.3 เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะกับมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษา

5. กรอบแนวคิดในการวิจัย

ใช้กรอบแนวคิดตามมาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษาของคุรุสภาตามมาตรฐาน ความรู้ และประสบการณ์ทางวิชาชีพของครูข้อ 8 เรื่องนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

สรุป แนวคิดที่ใช้ในการวิจัยดังนี้

5.1 ตัวแปรอิสระ ได้แก่ เพศ ประสบการณ์ในการทำงานของครู และบุคลการทางการศึกษาของสาขา วิชาชีพ IT ที่ทำการสอน

5.2 ตัวแปรที่ศึกษา

- สมรรถนะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคลากรทางการศึกษา

- มาตรฐานความรู้ และประสบการณ์วิชาชีพครู การใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทสทางการศึกษา

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม

6. วิเคราะห์ข้อมูล

ใช้หลักสถิติ หาค่า X bar, S.D, T-Test

7. ประโยชน์ (แนะให้ชี้ลงไปในรายละเอียดของสิ่งที่เรียนรู้ได้จากงานนี้จะดีกว่า)

7.1 ทราบสมรรถนะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูและบุคลากรทางการศึกษา ในสถานศึกษานั้น ๆ

7.2 นำข้อมูลที่ได้จากการวิจัย ที่เป็นจุดด้อยของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสถานศึกษา มาพัฒนาสมรรถนะตามมาตรฐานวิชาชีพครู

7.3 พัฒนาการเรียนการสอนของครู โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทดแทนการขาดแคลนของครู และขยายโอกาสทางการศึกษา สู่สถานประกอบการและชุมชน (ข้อนี้อาจเกิดได้เฉพาะเมื่อมีการทดลอง และพัฒนาวิธีการอบรมบุคลากร” อยู่ในโครงการท่านจึงจะได้ผลพลอยได้ตรงนี้ออกมา)

คำจำกัดความการวิจัย

ความรู้วิชาชีพครู มาตรฐานวิชาชีพด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา

นวัตกรรมและเทคโนลีสารสนเทศทางการศึกษา

สาระความรู้

1. แนวคิด ทฤษฎี เทคโนโลยี และนวัตกรรมการศึกษาที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้

2. เทคโนโลยีและสารสนเทศ

3. การวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจากการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศ

4. แหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายการเรียนรู้

5. การออกแบบการสร้าง การนำไปใช้ การประเมิน และการปรับปรุงนวัตกรรม

สมรรถนะ (ครูมีความสามารถ ?)

1. สามารถเลือกใช้ ออกแบบสร้าง และปรับปรุงนวัตกรรม เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดี

2. สามารถพัฒนาเทคโนโลยี และสารสนเทศเพื่อให้ผู้เรียนเกิกการเรียนรู้ที่ดี

3. สามารถแสวงหาแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน

เพิ่มเติมโดย รศ.ดร.ทรงศักดิ์ ศรีบุญจิตต์

 มี Research Problem เหมือนโครงการที่แล้ว

 สัดส่วนบุคลากรมีความรู้ความสามารถมากน้อยเพียงใด

 ตัววัดความรู้ความสามารถได้มากน้อยเพียงใด ระดับความรู้ความสามารถเป็นอย่างไร กลุ่มใดมีความรู้ ความสามารถมากน้อย เช่น ครูภาษาไทย คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ แบ่งเป็นหลายกลุ่ม ตัวแปร กลุ่มไหนเท่ากับเท่าไหร่ คนที่มีประสบการณ์มาก ๆ อาจใช้ไม่ได้

 ทำเพื่อรู้ว่ามาตรฐานอยู่ไหน แล้วเข้าไปอบรม มีตัวอ่าน Pre test และ Post test กลุ่มไหนไปเร็ว ไปช้า กลุ่มไหนเพื่อสนับสนุน

 Major ประสบการณ์ อายุ เพศ

 พฤติกรรมของผู้อำนวยการเป็นอย่างไร

 กลุ่มไหนที่เป็นคนที่ให้ 5 คะแนน กลุ่มไหนให้ 1 คะแนน ในสัดส่วนเท่าไร แล้วไปปรับปรุงให้เหมาะสม

 T Test ใช้ได้เล็กน้อย ในตัวของมันตัวเอง หรือ อย่างมาก 2 กลุ่ม

 Standard Deviation เอามาทำไม

 การ Forecast นานเท่าไหร่ยิ่งคาดเคลื่อนเท่านั้น

 ทุกอย่างดีหมดแต่ต้องมี Literature Review เอาทฤษฎีที่มีอยู่มาใช้แล้วต่อยอด ถ้าปราศจากทฤษฎีเป็นตัวนำทางอาจจะมีปัญหา ต้องมีทฤษฎี Back up อยู่ข้างหลังก่อนก่อนที่จะสร้าง Model

 ทำอย่างไร ที่จะทำให้นักเรียนมีคุณภาพ นักเรียนที่ดี Characteristic เป็นอย่างไร ความเป็นอยู่ รายได้ของบ้าน ความใส่ใจเป็นอย่างไร ใช้ตัว Variable เป็นตัวอธิบาย

 ทำอย่างไรที่จะให้ครูมีคุณภาพในการจัดการเรียนการสอน การวัดครูที่มีคุณภาพวัดอย่างไร วัดออกมาเป็นอย่างไร ทำอย่างไรให้การบริหารงานมีคุณภาพ

 ทำไมนักศึกษาจึงออกกลางคัน ต้องการวัดจำนวนนักศึกษาออกกลางคัน หรือต้องการวัดสัดส่วนนักศึกษาออกกลางคัน (ตัวแปร Variable ไม่เกิน 100) ไม่เหมือนกัน

 Literature Review ต้อง Review ให้เยอะเนื่องจากเป็นสิ่งที่จำเป็น

 ขาดทุนเพื่อกำไร

เพิ่มเติมโดย ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงศ์

 สมมุติฐานดูจากสมรรถนะของผู้สอน ดูจากบุคลิกลักษณะของผู้สอนและนักศึกษา

 ไม่ว่าใช้เครื่องมือซับซ้อนหรือ ธรรมดา บางคำตอบก็ยืนยันได้บางเรื่องแต่ไม่เสมอไป เช่นเพศไม่สัมพันธ์ ไม่ว่าใช้ Model ไหนก็ไม่สัมพันธ์ แต่ถ้าเครื่องมือแรงไม่พอ อาจทำให้สรุปผิดได้

 เรื่องสถิติ ใช้ ไคสแควร์ เช่นคะแนนสมรรถนะจะดีถ้าเป็นเพศที่ 3 เบื้องหลังของตัวแปรนี้คืออะไร ถ้าตัวแปรแรง 80- 90 % จะไม่เปลี่ยน ถ้ามี 3 เพศ ใช้ Multi Logic หรือ Probit

 เทคนิคในการวิเคราะห์ ลำดับความสำคัญ จะให้ Priority อย่างไร

 กรอบแนวคิดการวิจัย มีตัวแปรอิสระ และตัวแปรตาม

ตัวแปรตาม สำรวจสมรรถนะของครู กลุ่ม 1 และ กลุ่ม 2 ให้คำอธิบายสมรรถนะไว้

- ใช้ออกแบบ และปรับปรุงนวัตกรรม ข้อ 1 แปรว่าสามารถเลือกใช้นวัตกรรม ออกนวัตกรรม และปรับปรุงนวัตกรรม

- ข้อ 2 ปรับปรุงนวัตกรรมเทคโนโลยี

- ข้อ 3 ความสามารถทางสมรรถนะ

- ในข้อ 1 แยกเป็น เลือกเป็น สร้างเป็น และปรับปรุงเป็น คำ ๆ หนึ่งนั้น มีความหมายที่จะนำไปสู่การปฏิบัติ คำจำกัดความ วัดที่ความสามารถในการเลือกใช้ ความสามารถในการปรับปรุง

- ตัวแปรตาม คือความสามารถในการสร้างนวัตกรรม มาอธิปรายด้วยตัวแปรอิสระทั้งหมดจะอธิบายได้ว่าคนลักษณะแบบไหนที่มีความสามารถในการสร้างนวัตกรรม

กลุ่มที่ 3

ความเชื่อ “นศ.จะเก่งเมื่อครูเก่ง”

1. ชื่อ รูปแบบการพัฒนาคุณภาพครูอาชีวศึกษา สู่การเป็นสถาบันอาชีวศึกษาในอนาคต

ปัญหา ครูอาชีวศึกษา คุณภาพยังไม่ดีพอ

2. คำถาม 1. คุณภาพครูอาชีวศึกษาปัจจุบันเป็นอย่างไร

2. คุณภาพครูอาชีวศึกษาควรจะเป็นอย่างไร

3. จะมีรูปแบบ / แนวทางการพัฒนาอย่างไร

คุณภาพการศึกษาขึ้นอยู่กับ

4. แนวทางพัฒนาครูอาชีวศึกษา :

4.1 รูปแบบอย่างไร

4.2 จะวางแผนอย่างไร

4.3 หน่วยงานใดจะรับผิดชอบ

4.4 จะมีขั้นตอนวางแผนระยะสั้น,กลาง,ยาว

5. ควรจะเป็นวาระแห่งชาติในการพัฒนาครู เพื่อต่อสู้ ในระดับเศรษฐกิจแข่งขันนานาชาติ

3. วัตถุประสงค์

1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของคุณภาพครูอาชีวศึกษา

2. เพื่อศึกษารูปแบบของการพัฒนาคุณภาพครูอาชีวศึกษา

4. ท่านจะวิเคราะห์อย่างไร

4.1 สำรวจสภาพ-ปัญหา-ปัจจุบันของคุณภาพของครูอาชีวศึกษา

4.2 ศึกษา คุณภาพ / หรือ กรณีศึกษาจากคุณครูที่ได้รับการยอมรับ (ครูดีเด่นของอาชีวศึกษา)

4.3 ได้รูปแบบ / ขั้นตอนในการพัฒนาคุณภาพครูอาชีวศึกษา

4.4 ประชาพิจารณ์

4.5 นำไปทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง

4.6 ได้รูปแบบการพัฒนาคุณภาพครูอาชีวศึกษา

5. ข้อมูลประชากร / กลุ่มตัวอย่าง

5.1 ข้อมูลจากสถาบันอาชีวศึกษา (จ.อุดร-หนองคาย-เลย ฯลฯ)

5.2 ครูดีเด่น หรือเป็นที่ยอารับของชาวอาชีวศึกษา

6. ประโยชน์

6.1 ได้รูปแบการพัฒนา ครูที่ได้รับการยอมรับ

6.2 คุณภาพครูที่ดีขึ้น

6.3 คุณภาพนักเรียน / นักศึกษา

7. Impact คุณภาพครูที่ดี – การพัฒนาที่มีรูปแบบต่อเนื่อง สู่การสร้างคุณภาพการศึกษาที่มีความรู้ , ทักษะ ทัศนคติที่ดีในการทำงาน

เพิ่มเติมโดย ศ.ดร.อารี วิบูลย์พงศ์

 ปัญหาคือครูอาชีวะ คุณภาพยังไม่ดีพอ ตั้งคำถามคุณภาพครูในปัจจุบันเป็นอย่างไร ให้คำจำกัดความเป็นเรื่องของสมรรถนะ และควรจะมีข้ออื่น ๆ ด้วยคำถามต้องการวิธีการที่จะตอบต่อไป ได้ด้วยตัววัดอย่างที่คุยมา 2 กลุ่ม และจริยธรรม 2 กลุ่ม

 ควรจะเป็นอย่างไร ใช้มาตรฐานได้

 ถ้าหากคิดว่ามาตรฐานนี้ยังไม่ชอบใจอาจสร้างดัชนีใหม่ขึ้นมาแล้วกลับไปที่คำถามแรก แล้วสำรวจว่าปัจจุบันนี้คืออะไร จะ Benchmark กับใคร เพื่อจะได้ปรับจากสภาพปัจจุบันไปสู่สิ่งที่ควรจะเป็น หมายความว่าจะไปหาสิ่งที่ดี ทำไม Best Practice ถึงเกิดได้ รูปแบบเป็นอย่างไร ถึงสร้างอย่างคนที่มีลักษณะ Best Practice

 จะมีรูปแบบและแนวทางพัฒนาอย่างไร เอาวิธีนั้นมา

 การออกแบบแล้วนำไปปฏิบัติ เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยและพัฒนา

 เมื่อมีงานทดลอง ทำได้ คือ เอารูปแบบเดียว ทำ Pre test และ Post Test วิเคราะห์คะแนนการเปลี่ยนแปลง

 Approach ตามระหว่างสิ่งที่เป็นโจทย์ กับวิธีการวิเคราะห์ และเก็บข้อมูล

 จะวางแผนอย่างไร เป็นเรื่องการพัฒนาไม่ต้องวิจัยตั้งแต่ตรงนี้เอาออกไปก่อนได้

 ถ้าวิจัย แล้วจะพัฒนาแนวทางไหน

 ออกแบบโดยตั้งบนพื้นฐานการทบทวนวรรณกรรม เพื่อดูผลของเรื่องเดียวกันที่ทำที่อื่น

 มี 3 แบบ 3 Treatment ไปซ้ำกับวิทยาลัยก็ได้ มี Repetitions คือการทำซ้ำ ๆ สามารถ Control กิจกรรมบางอย่างได้ตามที่ท่านต้องการ

 ทางวิทยาศาสตร์มี Experimental Design มีกี่ Reputation

 ตั้งสมมุติฐานว่า แบบที่ 1 มีอะไรดี แบบที่ 2 มีอะไรดี ต้องเชื่อว่า ความเข้มข้นส่งให้เกิดผลสัมฤทธิ์ในเรื่องการพัฒนา เมื่อตั้งข้อสมมุติฐานแล้ว พิสูจน์ว่าสมมุติฐานนั้นจริงหรือไม่จริง

 มีขั้นตอนวางแผนระยะสั้น กลาง ยาวอย่างไร เป็นเรื่องการนำไปปฏิบัติ

 วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน เพื่อศึกษารูปแบบ ถูกต้อง

 การวิเคราะห์ โดยศึกษาคุณภาพ หรือ ศึกษาจากครูที่ได้รับการยอมรับ การนำไปทดลองเป็นส่วนหนึ่งของวัตถุประสงค์ข้อ 2 คือการออกแบบ

 ประชากรเป็นบุคลากรอาชีวศึกษา กำหนดโดยขอบเขตการศึกษาของท่าน

 การหาข้อมูลจาก 2 ข้อ ไม่เหมือนกัน ให้วัตถุประสงค์ข้อ 2 เป็น Subset อันที่ 1 ได้

 เทคนิคการเขียนประโยชน์อย่าให้ซ้ำกับวัตถุประสงค์ แต่ขอให้บอกต่อไปว่าอะไรอยู่ในรายละเอียดของรูปแบบที่คิดว่าสำคัญดึงออกมาให้ได้ เช่น ทราบระดับความเข้มข้นในการฝึกอบรมที่ได้ผลต่อการพัฒนาอย่างรูปธรรม ถ้าสามารถดึงเอาประเด็นชัด ๆ ในรูปแบบออกมา จะได้รับความสนใจจากคนทั่วไปมากขึ้น รูปแบบที่เห็นชัด ๆ คือ สัญญา โดยดูจากกระบวนการทำ สัญญาไว้เท่าไร แล้วส่งเท่าไร

 การลงลึกสิ่งที่ต้องการได้ ก็เขียนออกมาจะชัดมาก

กลุ่มที่ 4

1. ชื่อเรื่อง “การศึกษาความต้องการการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาชีพของประชาชนในจังหวัด

นครปฐม”

2. ชื่อผู้ทำวิจัย นายศักดิ์สิทธิ์ แสงกลับ

3. บทที่ 1 บทนำ

3.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ที่สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ สังคม และ การเมืองของโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วระบบเศรษฐกิจมีความเชื่อมโยงสลับซับซ้อนยิ่งขึ้นการคาดการณ์และวางแผนล่วงหน้าทำได้ยากกว่าในอดีต ประเทศไทยจึงได้ริเริ่มกระบวนการการวางแผนพัฒนาประเทศในแนวใหม่ ตั้งแต่การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ที่ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนจากทุกภาคส่วนของสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกระบวนการวางแผนด้วย และในที่สุดก็ได้นำไปสู่การปรับแนวคิดการพัฒนาประเทศใหม่ที่ไม่มองการพัฒนาประเทศแบบแยกส่วน แต่หันมาเน้นการพัฒนาแบบองค์รวมที่ยึด “คนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนา”

การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 จึงยังคงใช้การผนึกกำลังร่วมกันของประชาชาชนทุกภาคส่วนในสังคมไทยที่เน้นกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับทุกขั้นตอน โดยยึดหลักร่วมกันคิด ร่วมกันทำ และร่วมกันรับผิดชอบในลักษณะเป็นเครือข่ายการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 แต่การจัดทำแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ขยายกระบวนการมีส่วนร่วมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยมีการระดมความคิดของประชาชนเริ่มตั้งแต่ระดังจังหวัดทุกจังหวัด ระดับ อนุภาค 9 อนุภาคทั่วประเทศขึ้นมาจนถึงระดับชาติ และ ผลจากกระบวนการระดมความคิดเห็นของประชาชนทุกระดับดังกล่าว นอกจากนำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางการพัฒนาประเทศในอนาคตแล้ว ทุกฝ่ายยังเห็นพ้องต้องกันให้ยึดหลัก “ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาประเทศ ให้เข้าสู่สังคมที่ยึดหนักทางสายกลาง มีความสมดุล รู้จักพอประมาณ อย่างมีเหตุมีผล มีภูมิคุ้มกัน รู้เท่าทันโลก และเสริมสร้างให้เกิดคนดีในสังคมทุกระดับ

ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (2551-2554) ได้กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ โดยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของโครงสร้างของระบบต่าง ๆ ภายในประเทศให้มีศักยภาพ แข่งขันได้ในกระแสโลกาภิวัตน์และสร้างฐานความรู้ให้เป็นภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ได้อย่างรู้เท่าทัน ควบคู่ไปกับการกระจายการพัฒนาที่เป็นธรรม และเสริมสร้างความเท่าเทียมกันของกลุ่มคนในสังคม และความเข็มแข็งของชุมชนท้องถิ่น พร้อมทั้งฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้คงความสมบูรณ์เป็นรากฐานการพัฒนาที่มั่นคง และเป็นฐานการดำรงวิถีชีวิตของชุมชนและสังคมไทย ตลอดจนการเสริมสร้างธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการประเทศทุกระดับ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศที่มั่นคงและยั่งยืน สามารถดำรงอยู่ในประชาคมโลก ได้อย่างมีเกียรติภูมิและมีศักดิ์ศรี โดยมียุทธศาสตร์การพัฒนาที่สำคัญในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10

การบริหารจัดการกระบวนการชุมชนเข้มแข็ง ด้วยการส่งเสริมการรวมตัว ร่วมคิด ร่วมทำในรูปแบบที่หลากหลาย และจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตามความพร้อมของชุมชน มีกระบวนการจัดการองค์ความรู้และระบบการเรียนรู้ของชุมชนอย่างเป็นขั้นตอน มีเครือข่ายการเรียนรู้ทั้งภายในและภายนอกชุมชน มีกระบวนการเสริมสร้างศักยภาพชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สามารถพัฒนาต่อยอดให้เกิดประโยชน์แก่ชุมชนในการนำไปสู่การพึ่งตนเอง ร่วมทั้งกานสร้างภูมิคุ้มกันให้ชุมชุนพร้อมเผชิญการเปลี่ยนแปลง

จากความสำคัญในเรื่องนี้ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะดำเนินการศึกษาค้นคว้าและวิจัยในเรื่องความต้องการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาชีพของประชาชนในจังหวัดนครปฐม เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนเปิดหลักสูตรและดำเนินการจัดการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนให้มากที่สุด

3.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาความต้องการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาชีพของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

2. เพื่อศึกษาความจำเป็นในการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาชีพของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

3. เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะของการฝึกอบรมที่ต้องการ

3.3 ขอบเขตของการวิจัย

ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1. ประชากร ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม

2. กลุ่มตัวอย่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบสัดส่วนของ ประชาชนในจังหวัดนครปฐม โดยวิธีของยามาเน่

ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรต้น(Independent Variable) เป็นสถานภาพทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ และประสบการณ์ในการทำงาน

2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) ได้แก่ ความต้องการได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ ความจำเป็นในการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาชีพ และรูปแบบและลักษณะของการฝึกอบรมที่ต้องการ

3.4 สมมติฐานการวิจัย

สถานภาพทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างที่ต่างกันจะมีความต้องการในการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพที่แตกต่างกัน

3.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

1. ทำให้พบข้อมูลและแนวทางในการจัดการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาชีพของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

2. ทำให้ทราบแนวทางส่งเสริมและพัฒนาความรู้ ประสบการณ์ทางด้านอาชีพแก่ประชาชนที่ต้องการได้รับการฝึกอบรม

3.6 นิยามศัพท์เฉพาะ

1. การศึกษา หมายถึง การค้นหาข้อมูล เพื่อวิเคราะห์หาความรู้จากกิจกรรมนั้น

2. ความต้องการ หมายถึง เป็นเรื่องขอบงความรู้สึกนึกคิดที่อยากได้บางสิ่งบางอย่าง แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่มีผลอะไรต่อบุคคลนั้น เช่น คน ๆ หนึ่งอาจจะต้องการรถยนต์ ต้องการโทรศัพท์มือถือ ต้องการเสื้อผ้าสวย ๆ ซึ่งถึงแม้ว่าไม่ได้ก็ไม่เป็นไร

3. ความจำเป็น หมายถึง การที่ไม่มีไม่ได้ และ ถ้าไม่มีจะเกิดผลเสียหายตามมา เช่น คนเราจำเป็นต้องกินน้ำ จะเป็นต้องมีอากาศเพื่อหายใจ จำเป็นต้องกินอาหาร จำเป็นต้องฝึกอบรม ไม่ทำการฝึกอบรมไม่ได้ เป็นต้น

4. การฝึกอบรม หมายถึง กระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อเพิ่มพูนความรู้ และทักษะให้เกิดความชำนายแก่ผู้ที่เข้ารับการฝึกอบรม โดยจัดเป็นช่วง ๆ หรือระยะเวลาตามความเหมาะสมของแต่ละหัวข้อการฝึกอบรม

5. การพัฒนาอาชีพ หมายถึง การเพิ่มพูนความรู้และทักษะให้เกิดความชำนายในงานที่ตนกำลังกระทำอยู่เพื่อใช้ในการเลี้ยงชีพของตนเองและครอบครัวรวมไปถึงงานที่ตนเองมีความสนใจเป็นพิเศษ เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพให้แก่ตนเอง

5. ความต้องการฝึกอาชีพ หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พึงปรารถนา แม้ว่าสิ่งนั้นจะไม่มีความจำเป็นก็ตาม ในที่นี้หมายความว่า มีความอยากที่จะฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพ

3.7 กรอบแนวคิดในการศึกษา

จากการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ผู้ศึกษาจึงกำหนดกรอบแนวคิด ดังนี้

4. บทที่ 2 แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การวิจัยครั้งนี้ได้ศึกษาเอกสารต่าง ๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะพิจารณาจากการศึกษาของผู้ที่ทำการศึกษา การศึกษาความต้องการฝึกอบรมตามทักษะและคุณลักษณะเฉพาะสาขาวิชาเพื่อพัฒนาอาชีพของนักศึกษา ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาในครั้งนี้ ซึ่งสามารถแยกกล่าวถึงงานการศึกษา และวิจัยต่าง ๆ ดังนี้

1. ความหมายของการฝึกอบรม

2. วิธีการฝึกอบรมซึ่งมุ่งเน้นความรู้และการเรียนรู้เป็นกลุ่ม

3. รูปแบบและลักษณะของกระบวนการฝึกอบรม

4. การเลือกเนื้อหา

5. การกำหนดชั่วโมงของเนื้อหาในหลักสูตร

6. ประเภทของหลักสูตรการฝึกอบรม

7. ประโยชน์ที่จะได้จากการฝึกอบรม

8. แนวคิดทฤษฎี

9. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

5. บทที่ 3 วิธีดำเนินการวิจัย

การศึกษาวิจัยเรื่อง “การศึกษาความต้องการการฝึกอบรมประชาชนในจังหวัดนครปฐมเพื่อพัฒนาอาชีพของประชาชนในจังหวัดนครปฐม” เป็นการศึกษาวิจัยเชิงสำรวจซึ่งมุ่งศึกษาความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความต้องการการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาอาชีพของประชาชนในจังหวัดนครปฐม เพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะของการฝึกอบรมที่ต้องการ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล และได้ศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาประกอบการสร้างแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงประเด็น และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ ผู้วิจัยได้กำหนดแนวทางดำเนินการศึกษา การเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลดังต่อไปนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

3. การเก็บรวบรวมข้อมูล

4. การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้

5. การนำเสนอผลการวิจัย

5.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าได้แก่ ประชาชนในจังหวัดนครปฐม

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม จำนวน ........ ครัวเรือน เพื่อความสมบูรณ์ตามเกณฑ์มาตรฐานทางการวิจัยทั่วไปโดยใช้วิธีการคำนวณกลุ่มตัวอย่างของ Yamane และให้ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้เท่ากับ 0.05 และได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน ........... คน

วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่าง ในการเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้วิจัยได้กำหนดสัดส่วนของประชาการในแต่ละพื้นที่ ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม จำนวน 101 แห่ง และเทศบาลในจังหวัดนครปฐมจำนวน 15 แห่ง รวม 116 แห่ง จำนวน..........คน ผู้วิจัยได้ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาขององค์การบริหารส่วนตำบลใน

จังหวัดนครปฐม

ที่ ชื่อองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวนประชากร

(ครัวเรือน) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

(ครัวเรือน)

1

2

3

4

5

6

7

8

9

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาของเทศบาลในจังหวัดนครปฐม

ที่ ชื่อเทศบาล จำนวนประชากร

(ครัวเรือน) จำนวนกลุ่มตัวอย่าง

(ครัวเรือน)

1

2

3

4

5

6

7

8

9

10

11

12

13

14

15

รวม

5.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เป็นแบบสำรวจแบบปลายเปิด ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน ดังนี้

ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม

ตอนที่ 2 การสำรวจความต้องการได้รับการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาอาชีพของประชาชนในจังหวัดนครปฐม

ตอนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่น ๆ

5.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองและทีมงานโดยนำแบบสอบถามจำนวน____ชุด ไปแจกให้กับประชาชนในเขตพื้นที่เป้าหมาย

2. การเก็บแบบสอบถาม ผู้วิจัยเป็นผู้เก็บแบบสอบถามคืนด้วยตนเองหลังจากแจกแบบสอบถาม

3. นำแบบสอบถามที่ได้รับกลับคื

จุดแข็ง(S)
1.ครูมีวุฒิตรงตามสาขาวิชาชีพที่สอน
2.ครูมีวัยวุฒิที่เหมาะสมและพร้อมในการพัฒนางาน

3.ครูมีความสามัคคี สามารถทำงานเป็นทีมได้อย่างดี

4.ครูมีความรู้พิเศษทางด้านเทคโนโลยี

5.ครูมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่ ทำให้มีความสะดวกในการประกอบอสชีพและการมีส่วนร่วมในสังคม

6.ครูมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

7.ครูมีความตรงต่อเวลาในการปฏิบัติงานและร่วมกิจกรรมอย่างสม่ำเสมอ

8.ครูมีความนอบน้อมและมีวัฒนธรรมอันดีงาม เป็นตัวอย่างที่ดีแก่นักเรียน

9.ครูทุกคนได้ฝึกทักษะการพูดต่อหน้าชุมชนสม่ำเสมอ

10.ครูมีความเชื่อฟัง และปฏิบัติตามคำสั่งของผู้บังคับบัญชาอย่างเคร่งครัด

จุดอ่อน(w)

1.ครูบางคนไม่มีใบประกอบวิชาชีพครู หรือไม่ได้จบทางด้านการสอนโดยตรง

2.ครูมีภาระหน้าที่พิเศษมากเกินไปอาจกระทบต่อเวลาสอน

3.ครูส่วนใหญ่เป็นครูพิเศษ ขาดความมั่นคงในอาชีพทำให้ต้องเปลี่ยนบุคลากรบ่อย

4.ครูผู้มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรีมีจำนวนน้อย

5.ครูขาดทักษะในการทำงานเกี่ยวกับเอกสารและระบบงานสารบรรณ 6.ครูยังขาดความรู้ทางด้านการทำงานวิจัย

7.ครูบางส่วนยังขาดความเชื่อมั่นไม่กล้าแสดงออก และไม่กล้าตัดสินใจ

8.ครูบางส่วนขาดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่จะพัฒนางาน

9.ครูขาดการวางแผนในการทำงานเชิงระบบ

10.ครูขาดทักษะในการรายงานผลการดำเนินงานเมื่อเสร็จสิ้นโครงการ

โอกาส(o)

1.ครูมีส่วนร่วมในการบริหารและประสานงานกับชุมชนอย่างสม่ำเสมอ 2.ครูมีรายได้จากค่าตอบแทนคาบสอนพิเศษ

3.ครูมีโอกาสศึกษาต่อโดยไม่มีข้อจำกัด

4.ครูได้รับการอบรมพัฒนาทางด้านวิชาการอย่างสม่ำเสมอ

5.ครูมีขวัญกำลังใจจากรายได้พิเศษทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี

 

อุปสรรค์ (T)

1.ครูมีภาระหนี้สินกับสถาบันการเงิน

2.ครูบางส่วนยังต้องอาศัยบ้านเช่า

3.ครูครูยังขาดความรู้เกี่ยวกับระเบียบการบริหารงานวิชาการ

4.ครูและนักเรียนมีวัยที่ใกล้เคียงกันทำให้ไม่เต็มที่การอบรม สั่งสอนในบางเรื่อง

5.ครูขาดการประสานงานและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับสถานประกอบการ

ข้อเสนอแนะ

1.ควรสนับสนุนให้ครูเรียนวิชาชีพครู และมีใบประกอบวิชาชีพครูก่อนปี 2553

2.ควรมีการฝึกอบรมครูใหม่ และผู้ที่มีวุฒิภาวะน้อย เพื่อเรียนรู้งานที่ได้รับมอบหมาย

3.ควรมีการบรรจุอัตราข้าราชการหรือพนักงานของรัฐ โดยพิจารณาจากครูพิเศษที่ทำการสอนในสถานศึกษ(เสนอ สอศ.)

4.ส่งเสริมและสนับสนุนเงินทุนการศึกษาให้แก่ครู เพื่อให้มีการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ในสาขาที่ขาดแคลน(เสนอ สอศ.)

5.จัดอบรมให้ความรู้ทางด้านเอกสารเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานการเงิน งานพัสด

6.จัดอบรมเพื่อเพิ่มภาวะการเป็นผู้นำ การประสานงาน แลมนุษย์สัมพันธ์

7.ควรจัดตั้งงบประมาณในการสร้างที่อยู่อาศัยให้กับครูโดยจัดทำแผนงบประมาณ

8.ควรมีการจัดอบรมคุณธรรม จริยธรรมให้แก่บุคลากรในวิทยาลัยทุกคน

9.จัดศึกษาดูงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

10.ควรมีการสร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงาน หรือองค์กรใกล้เคียง 11.ควรมีการจัดการประชุมผู้ปกครองอย่างสม่ำเสมอ หรือจัดกิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองเพื่อหารายได้สนับสนุนกิจการของวิทยาลัย

12.ประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่ลูกจ้างโดยมีการลงนามความร่วมมือในการจัดการศึกษาให้มากขึ้น

13.จัดให้มีการอบรมทางวิชาการที่ทันต่อเทคโนโลยีต่างๆ

14.ชมรมวิชาชีพจะต้องมีบทบาทในการจัดทำผลงานอย่างเป็นรูปธรรม

15.ผู้บริหารต้องติดตามงานที่มอบหมายอย่างเคร่งครัดและจริงจัง

สวนบ้านนาหลังคาแดง

- เกิดจากแนวคิดที่ว่าคนพอเพียงสามารถอยู่ได้จริงหรือ สามารถบุกเบิกที่ดินเพื่อเรียนรู้สู่ชุมชน

- จากการใช้ที่ดินของพ่อที่มีอยู่แล้ว และจากพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ดังหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทำงานเพื่อรับใช้สังคม และตอบแทนสังคม

แนวคิดหลัก

- แหล่งแลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่วิถีศูนย์การเรียนรู้บ้านนา

- แหล่งพันธุ์ไม้ให้ผู้สนใจศึกษา

- การเพาะพันธุ์แหล่งไม้ และขยายพันธุ์สู่การเรียนรู้สมบูรณ์แบบ

- มูลสัตว์เป็นปุ๋ย บำรุงดิน

- ควายไถนา เปรียบเสมือนโรงงานผลิตปุ๋ยเคลื่อนที่ การอนุรักษ์ระบบไถนา และระบบนิเวศน์

- เน้นการสร้างคน ความพอเพียง สู่การถ่ายทอด

- สอดแทรกบทเรียนชีวิตเสมอ

- อยากให้มีทัศนคติที่ดีกับการเกษตร

- ปลูกฝังทัศนคติที่ดี

- การแบ่งปันความรู้ และประสบการณ์ที่พอเพียง

- รู้จักเพียงพอ และรู้จักแบ่งปันผู้อื่น

- อยู่แบบพี่น้อง

- มีภูมิคุ้มกันจากกระแสโลกาภิวัตน์

- กระแสโลกาภิวัตน์ โลกเกิดอะไรขึ้น ทำวันนี้ให้ดีที่สุด

- การเข้ามาของวัตถุนิยม ความโลภ ทำให้เกิดปัญหา เรื่องอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม

- การศึกษาเรื่องเกษตรอินทรีย์ ผสมผสานธรรมชาติ เกษตรฟูกูโอกะ ปี 28 ไม่ใช้สารเคมี

- การทำเป็นตัวอย่างดู เป็นการสอนที่แยบยลที่สุด

- ทฤษฎีของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เกษตรผสมผสาน ,เศรษฐกิจพอเพียง

- การทำสระเป็นเส้นโค้ง ทำให้ใช้พื้นที่ในการปลูกต้นไม้มากขึ้น เป็นการทำเกษตรแบบผสมผสาน และมีศิลปะที่ดี

วนเกษตร คนต่างเผ่าพันธุ์แต่สามารถอยู่ร่วมกันได้

ความร่วมมือจากหน่วยงานต่าง ๆ

1. มูลนิธิพัฒนาชุมชนและเขตภูเขา ครูแดง

2. มูลนิธิโคมลอยเพื่อการพัฒนา เพื่อช่วยเหลือเด็กด้อยโอกาส

3. มูลนิธิพัฒนาลุ่มน้ำแม่คำ ดึงแนวร่วมจากชาวบ้าน ชาวนา และ NGOs

คำถาม

1. ตอนตัดสินใจลาออกจากราชการอะไรเป็นแรงบันดาลใจ

- ช่วงรับราชการทำงานพิเศษ อบรมเดินทางไปตามหมู่บ้านชายแดน เห็นปัญหาของสิ่งแวดล้อม ,เกษตรสมัยใหม่สามารถช่วยเศรษฐกิจได้ ทำตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ได้ทำตามทฤษฎีใหม่

2. นักการเมืองมาเป็นลูกศิษย์เยอะไหม

- มีนักการเมืองมาบ่อย แต่ก็พยายามเปลี่ยนแนวคิดให้อยู่

3. กระบวนการเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ชาวบ้านทั่วไปจะอยู่ได้หรือไม่

- ธรรมมะ และครอบครัวมีผลให้เศรษฐกิจพอเพียงเป็นอย่างนี้ได้ไหม

แนวคิดในการดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีตัวชี้วัด 6 ตัว

1. ลดรายจ่าย

2. เพิ่มรายได้

3. รู้จักออมเงิน

4. เพลินกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต

5. รักษาสิ่งแวดล้อม

6. พร้อมแบ่งปันให้ผู้อื่น

4.เพราะเหตุใดทฤษฎีต่าง ๆ ในเมืองนอกเวลามาเมืองไทยจึงตายไป

- เนื่องจากความแตกต่างของภูมิสังคม

5. หลังคาแดงหมายความว่าอย่างไร

- มาจากชาวบ้านตั้งให้ เดิมเป็นบ้านร้างอยู่กลางทุ่งนา เป็นหลังคาสีแดง น้องสาวซื้อไว้ แต่ก่อนที่ซื้อคิดว่าคงเป็นที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนยาเสพติดตอนนี้กลับตัวเป็นคนดี และมีส่วนร่วมมาพัฒนาตรงนี้

เรียน ดร. จิระ ที่เคารพ

จากการที่ผมได้ร่วมเรียนกับท่านอาจารย์ที่โกลเด้นไตร แองเกิล ระหว่างวันที่ 22-24 ธันวาคม 2551 นั้น นับว่าเป็นช่วงที่ 2 ของกิจกรรมการเรียนที่ได้พบกับท่านอาจารย์ และได้รับความรู้เพิ่มขึ้นอีก โดยเฉพาะการเรียนที่ท่านมุ้งเน้นให้ผู้เรียนได้แสดงออกด้วยการพูด (ต้องพูด) ทำให้ผู้เรียนเกิดความกล้าที่จะตอบคำถาม ตั้งคำถาม วิทยากร (ดร. ทรงศักดิ์ ) ได้ให้ความรู้ด้านวิจัยที่พลิกโฉมไปอีกแบบหนึ่ง ไม่มีความรู้สึกเหมือนกับการเรียนอันทำให้ผู้เรียนเกิดความกล้า การดูงานของท่านอาจารย์แปลกได้เห็นความตั้งใจ การลงทุนฝังตัวอยู่ในชุมชนนำชุมชนโดยให้เห็นความจริงใจจากการปฏิบัติเมื่อใช้เวลานานเข้า ชุมชนก็จะเริ่มเรียนรู้และทำตาม

กรณีดอยตุงเป็นการแสดงให้เห็นถึงพระวิจารณญาณของสมเด็จย่าที่คิดทั้งกระบวนการ เมื่อให้ชาวเขาเลิกทำสิ่งที่ผิดกฎหมาย พระองค์ท่านให้อาชีพใหม่ทดแทน ผู้ถูกเปลี่ยนอาชีพจะมีความรู้สึกที่ดีในการอยู่รอดเพราะเห็นทางออกและเป็นการปฏิบัติตั้งแต่ต้นจนตลอดสู่ความยั่งยืนคือชุมชนอยู่ได้ ป่าอยู่ได้ เกิดความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน

การศึกษามหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง รับความรู้ความยากลำบากในการย้ายชุมชนและการวางแบบแผน ซึ่งงบประมาณมีความจำเป็นต่อโครงการอย่างมาก ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีความสามารถในการหาแหล่งสนับสนุนได้อย่างดี และใช้วิธีการหลากหลายรูปแบบอันเป็นแบบอย่างให้กับผู้เรียนได้นำทางศึกษาได้เป็นอย่างดี

โดยสรุปเป็นการใช้เวลา 3 วันอย่างคุ้มค่าเปิดสมองให้กว้างออกรับสิ่งใหม่ๆ ที่จะสร้างแก่นของการปฏิบัติหน้าที่ได้ สวัสดีครับ

ถึงลูกศิษย์ที่รักทุกท่าน

 

อีกไม่กี่วันเราก็จะพบกันอีกครั้งสำหรับการเรียนรู้ในระยะที่ 4 สำหรับรุ่นที่ 2 จะพบกันในวันที่ 28 - 30 เมษายนนี้ ในโอกาสนี้ผมก็เลยถือโอกาสนี้ส่งแบบทดสอบสำหรับติดตามผลการเรียนรู้หลังจบการเรียนรู้ระยะที่ 3 สำหรับบุคลากรที่เข้าร่วมโครงการฯ โดยขอให้ทุกคนตอบผ่าน Blog ดังนี้

 

1.      ขอให้ทุกท่านวิเคราะห์และค้นหา “ Blue Ocean” ที่วิทยาลัยของท่าน และนำเสนอแผนงานเพื่อความสำเร็จ

 

กำหนดส่งภายในวันที่ 10 เมษายน 2552 ที่ Blog: โครงการพัฒนาสมรรถนะการบริหารจัดการอาชีวศึกษารุ่น 2 ระยะที่ 4

คำตอบจากทุกท่านจะมีประโยชน์มากต่อการทำงานของอาชีวศึกษาในอนาคต ซึ่งเราจะได้นำมาพูดคุยกันในการเรียนรู้ระยะที่ 4 ของเราต่อไป

ขอบคุณครับ แล้วพบกัน

 

จีระ หงส์ลดารมภ์

มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ

ขอเชิญเข้าร่วมสัมมนา“ปัจจัยท้าทายประเทศไทยปี 2553 อยู่รอดหรือยั่งยืน?”

วันที่ 8 ธันวาคม 2552

ณ มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด แคมปัสพระรามเก้า 

มีรายละเอียดในลิ้งค์นี้

http://gotoknow.org/blog/chiraacademy/317427

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท