นำเสนอกลุ่มใหญ่ เวทีที่ 1/2551 (2)


" concept ของกลุ่มปัจจุบัน"

และมีการนำเสนอผลของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกลุ่มย่อย โดยสรุปสาระสำคัญทั้ง 3 กลุ่มย่อยได้ดังนี้

กลุ่มการดำเนินงานในปัจจุบัน : กลุ่มวันสุข

  

วิทยากรกระบวนการ :  อ.อธิวัฒน์  เจี่ยวิวรรธน์กุล

เครือข่ายสมาชิก

  1. คุณปรีชา  ปลื้มจิตต์               บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน)
  2. คุณรัชนี  พงษ์ชูศักดิ์               บริษัท เอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
  3. คุณรติยา  ก้องกิตติวงศ์          บริษัท เอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน)
  4. คุณธนากร  บุญมา                บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
  5. คุณเสาวนีย์  จรัสเรืองชัย         บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน)
  6. คุณทิพรัตน์ ภาวะสุทธิวงศ์       บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด
  7. คุณศศิธร  พิริยกิจ                 Sahaviriya Steel Group Co., Ltd.
  8. คุณรุ่งทิพย์  กู้เกียรติศักดิ์        Rockworth Public Co., Ltd.

ผู้นำเสนอผลงาน : คุณรุ่งทิพย์  กู้เกียรติศักดิ์

 

ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มนี้ สรุปสาระสำคัญได้เป็น 5 ประเด็น ดังนี้

         

นิยาม “คุณภาพชีวิตคนทำงาน”

1.      เป็นเรื่องของความสุขกายสุขใจ สุขภาพกายสุขภาพใจและต้องมีทั้งสองด้านอย่างสมดุล

2.      เป็นในเรื่องของความพอใจ และความพอเพียงในปัจจัยสี่

3.      การทำอย่างไรก็ได้ให้ทุกวันที่มาทำงานมีความสุข

4.      เป็นเรื่องของการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพที่สมบูรณ์ ซึ่งจะทำให้ชีวิตมีความสุข ทั้งในเรื่องของการทำงาน เรื่องส่วนตัว และเรื่องครอบครัว

5.      การทำอย่างไรให้พนักงานมีความภูมิใจหรือว่ารู้จักที่จะมีการทำประโยชน์เพื่อสังคม

ในการนิยามความหมายของคำว่า “คุณภาพชีวิตคนทำงาน” ในมุมมองของแต่ละคนมีความหมายใกล้เคียง สรุปได้ว่าคุณภาพชีวิตคนทำงาน ประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบ คือ ทำงานอย่างมีความสุข  สังคมโดยรอบต้องมีความสุข  และครอบครัวต้องมีความสุข ถ้ามี 3 องค์ประกอบอย่างสมดุลแล้วจะทำให้คุณภาพชีวิตของคนทำงานดีขึ้น  ทำให้เกิด Happy Workplace 

การเรียนรู้ผ่านการลงมือทำขององค์กร

          เครือข่ายสมาชิกภายในกลุ่มได้ยกตัวอย่างกิจกรรมการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กรที่เกิดขึ้นในรอบปีนี้ภายใต้นโยบายของผู้บริหารแต่ละองค์กรที่น่าสนใจ ได้แก่

          บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทควบรวมกิจการสองบริษัทในกลุ่ม ปตท. กิจกรรมที่ผ่านมาก็จะเน้นเรื่องของการสร้างบรรยากาศ และก็สร้างตัววัฒนธรรมองค์กรร่วมกัน ให้พนักงานได้มีวัฒนธรรมองค์กรใหม่ร่วมกัน โครงการที่เด่น อาทิ โครงการสุขภาพดี ชีวีมีสุข ซึ่งรณรงค์ส่งเสริมในเรื่องของการออกกำลังกาย ออกกำลังใจ ประเด็นหลักคือ ใจให้หยุดนิ่ง กายให้เคลื่อนไหว

          บริษัท เอสแอนด์พี ซินดิเคท จำกัด (มหาชน) เป็นธุรกิจครอบครัวของคนไทยก็เรียกว่าเริ่มจาก ร้านเล็กๆ มีวัฒนธรรมแบบครอบครัว มีกิจกรรมการสนับสนุนการให้พนักงานเข้าอบรมวิปัสสนา เพื่อให้รู้จักตัวเอง ให้รู้ว่าชีวิตเราไม่ได้มีแค่การทำงาน โดยให้สมาชิกภายนอกไม่ว่าจะเป็นคนในครอบครัว หรือลูกค้าของบริษัทที่สนใจเข้าในกิจกรรมนี้ด้วย ตลอดจนการร่วมกิจกรรมการทำบุญและการกุศลให้กับมูลนิธิต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ

          บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) มีการรวมกลุ่มพนักงานเป็นภาคี จัดให้มีโครงการ Quality of life ภายใต้ช่วงของเศรษฐกิจที่กำลังถดถอย โดยแบ่งออกเป็น 3 ทาง หลักๆ ในเรื่องของสุขภาพกาย สุขภาพใจ และสุขภาพทางการเงิน นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายไร้พุง สสส. และโครงการให้ (giving) เป็นการให้ทุนการศึกษา และบริจาคสิ่งของเพื่อการกุศล

          บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) เป็นศูนย์บริหารศูนย์การค้า มีพนักงานมากกว่า 2,500 คน ภายใต้เซ็นทรัลกรุ๊ป มีการขยายสาขาอย่งต่อเนื่อง มีนโยบายในเรื่องของบรรษัทภิบาล หนึ่งในเรื่องนี้เป็นเรื่องใส่ใจสังคม เกิดโครงการอาสา มีการใช้คำว่า Wish Wish กลุ่มเป้าหมายโดยเฉพาะเด็กๆ ต้องการอะไร ถือเป็นการให้กับสังคม นอกจากนี้ยังมีโครงการ “รู้รับรู้จ่าย” ให้พนักงานรู้จักการใช้จ่ายอย่างพอเพียง

          บริษัท อายิโนะโมะโต๊ะ (ประเทศไทย) จำกัด  ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา พนักงานลาออก เพราะปัญหาหนี้ เปลี่ยนงานเพื่อต้องการเงินเดือนมากขึ้น ทางบริษัทจึงเล็งเห็นความสำคัญของ Happy Workplace ให้มากขึ้นจึงมีการนำเรื่องของ Happy 8 มาปรับใช้ เพื่อให้พนักงานเกิดความรู้สึกว่า มีวิธีการที่จะบริหารชีวิตของตนเองได้อย่างไร ช่วงนี้ได้เริ่มที่ Happy body ก่อน

บริษัท Rockworth มีโครงการให้พนักงานไปโครงการ “สปาใจ” ส่งเสริมให้พนักงานที่สนใจปฏิบัติธรรมตามวัดที่กำหนดให้ โดยไม่ถือเป็นวันลา เพื่อให้เกิดความสุขขึ้นทั้งกับพนักงานและองค์กร  ส่วนอีกกิจกรรมที่เด่น คือ “กล่องบุญ”  นำเศษวัสดุเหลือใช้นำมาใช้ใหม่ทำเป็นกล่องบุญ  เป็นการฝึกการออมของพนักงาน 

ปัจจัยสำคัญในการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงาน

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดการสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของคนทำงานในสภาวการณ์ปัจจุบัน  ในกลุ่มมองว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นได้คือ

1. ผู้บริหารต้องให้ความสำคัญกับโครงการสร้างสุขในองค์กร เพื่อผลักดันเป็นนโยบายหรือวัฒนธรรมองค์กรต่อไป

2. การสร้างทีม change agent ที่มีจิตอาสาภายในองค์กรเพื่อเป็นแนวร่วมหรือเครือข่ายการทำงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิต โดยมี HR เป็นผู้ประสานเครือข่าย 

หมายเลขบันทึก: 230455เขียนเมื่อ 18 ธันวาคม 2008 17:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท