Talent management 33 การสร้างวิทยากรโดยให้ role model โดยใช้การนำกลุ่มจากประสบการณ์จริง บทเรียนที่กำลังเรียนรู้


จากการตีความคุณหมอคิดว่าทุกคนในกรมเป็นtalentได้หมด ต่างเรื่อง ต่างเวลา ที่เราเชิญทุกคนไม่ได้จึงเชิญบางคนให้เป็นตัวแทน คุณหมอกลัวการ การแตกแยก

17-12-51

วันนี้ดิฉันนัดวิทยากรที่จะเป็นคนทำกลุ่มประกอบด้วยคุณหมอคำนวณ หมอศุภมิตร รองอธิบดีนพ.ศิริศักดิ์ รองอธิบดีนพ.สมศักดิ์ ผอ.กองการเจ้าหน้าที่ กองคลัง สำนักแผนมาคุยกันเพื่อปรับความคิดของการประชุมTMในวันที่12-13มค.52นี้

คุณหมอศุภมิตรเป็นคนขอคุยก่อนเพื่อจะได้เข้าใจตรงกันค่ะ

เราเริ่มคุยกันที่สำนักเลฃากรมเวลาประมาณ11.45   ตั้งใจคุยกันประมาณ2ชั่วโมง   รองสมศักดิ์มาก่อนเพราะดิฉันต้องไปออกตรวจที่สถาบันบำราศและรีบกลับมาประชุม     รองสมศักดิ์ช่วยตามรองศิริศักดิ์  และท่านอื่นๆให้มาร่วมปรึกษากันยกเว้นคุณหมอคำนวณที่ติดงานค่ะ

หัวข้อของการประชุมกลุ่มคือ   

                                  ·             เรามีอะไรที่พอจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง

·             เราจะเอาจุดดีของเรามาช่วยการพัฒนางานและคนของหน่วยงานที่เราสังกัด       ได้อย่างไร

·             เราจะช่วยให้กรมควบคุมโรคมีความเข้มแข็งเป็นหน่วยงานที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน, ชาติและนานาชาติได้อย่างไร (นพ.โอภาส)

·             เราอยากให้ (หัวหน้า) หน่วยงานสนับสนุนความตั้งใจดีของเราอย่างไร (TM)

·             เราอยากให้ (อธิบดี) กรมควบคุมโรคสนับสนุนความตั้งใจดีของเราอย่างไร

·             เราอยากให้หน่วยงาน TM Office สนับสนุนความตั้งใจดีของเราอย่างไร (TM)

·             เราคิดว่าใครเป็น Talent ในดวงใจที่อยากให้กรมฯนำมาร่วมงาน (TM)

 คุณหมอศุภมิตรเล่าว่าตัวเองไม่ชัดเจนเพราะไม่เคยทำกลุ่มแบบนี้มาก่อน     คนที่เข้าประชุมอาจจะไม่เข้าใจว่าบทบาทของตัวเองคืออะไร     เท่าที่เข้าใจคือน้องที่ถูกส่งมาจะเข้ามาในเวที่ที่คนที่สนใจที่จะช่วยกรมทำงาน      เวลาเข้ากลุ่มก็ออกความเห็น   ผู้บริหารจะได้แนวทางการบริหาร   น้องๆที่ถูกส่งมาอาจจะถูกพัฒนาในบางเรื่อง   น้องที่เข้าอาจมีบทเป็น activist

ผอ.สำนักแผนถามว่าแล้วจะได้อะไรต่อไป      ทำแปลกๆ   จะหาข้อสรุปอย่างไร  ได้อะไรต่อไป

รองศิริศักดิ์

             ถือโอกาสถามเจ้าหน้าที่กองการเจ้าหน้าที่ทั้งหมดซึ่งอยู่ฝ่ายพัฒนาบุคลากรคิดอย่างไรกับหัวข้อการประชุมกลุ่ม

              1 คุณปาจารีย์ หัวหน้าฝ่ายพัฒนา   คิดว่าจะได้ข้อมูลพื้นฐานของกรม  กอง สำนักที่จะนำไปใช้

              2 คุณบงกช รองหัวหน้า   คิดว่าเราแบ่งตามวิชาชีพแล้วน่าจะนำคนเหล่านี้มาพัฒนา

              3 คุณศิริกุล เลขารองสมศักดิ์  คิดว่าเป็นการหาneed และเราต้องมาทำแผนพัฒนาต่อเช่นทำKS

              4 คุณพุทธชาด แจ้งว่าน้องที่ถูกเลือกจากกองการเจ้าหน้าที่ยังงงๆและถามว่าเขาคือใคร ต้องทำอะไรต่อ

               5คุณสุรพล ผอ.กองการเจ้าหน้าที่ กล่าวว่าผู้จัดการจะแจ้งในการประชุม  หมอศุภมิตรต้องการใช้คำอื่นใหม  ไม่ต้องใช้คำว่าTalent   และหลังจากประชุมแล้วคงต้องทำอะไรต่อไป 

รองสมศักดิ์กล่าวว่าเรายังไม่เคยบอกพวกที่ถูกส่งชื่อมาว่าจะทำอะไร   อาจเอาความเห็นมาต่อจิกซอร์กับเรื่องอื่นๆเช่น  โครงการ JPP   WHA  การสร้างexpert   คิดว่าคน64คน   บางคนเป็นTalent  , chang agent  , expert

โครงการนี้มีข้อเสียคือเราทำเอง  ไม่ได้จ้างวิทยากร (ดิฉันคิดว่าเป็นข้อดีค่ะ)   เป็นการค่อยๆก้าว   คำถามก็ดีแล้ว ผอ.อาจเป็นcatalyst ถึงแม้ผอ.บางคนคิดว่าไม่ได้ประโยชน์   จากข้อมูลอาจจะรู้ว่าไปทำอะไรต่อ   เรามีโครงการ JPP   เวทีนาๆชาติมาก   กรมจะเพาะพันธ์expert

 

คุณหมอศุภมิตรคิดว่ามี2ประเด็นที่เราต้องชัดเจนคือ

1เวทีนี้ทำอะไร   จะบอกน้องว่าไม่ใช่การวางแผน   การcommitment   แต่น่าจะเป็นการเสวนาหรือปวารณา หรือbrain storming แสดงความปรารถนาความตั้งใจทำสิ่งที่ดี   เพื่อลดความเครียดของผู้เข้าประชุม

2พวกเขาคือใคร  ยังเป็นข้อแตกต่างกันมาก  บางคนว่าเป็นกลุ่มtalent  บางคนเป็นactivist   จากการตีความคุณหมอคิดว่าทุกคนในกรมเป็นtalentได้หมด   ต่างเรื่อง ต่างเวลา  ที่เราเชิญทุกคนไม่ได้จึงเชิญบางคนให้เป็นตัวแทน   คุณหมอกลัวการ segregration การแตกแยก

รองศิริศักดิ์ สรุปว่าจุดเริ่มต้นของเรื่องมาจากการหาคนไปWHA  ซึ่งขณะนี้มีการดำเนินการเป็นระบบมากขึ้น   คนมีโอกาสเตรียมตัว   กรมได้ประโยชน์   จากจุดนี้จึงมีโครงการTalent ขึ้นมา  เมื่อเราไปดูงานที่บริษัทปูนซิเมนต์ไทยพบว่ามีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและคิดว่าเกือบทุกคนในบริษัทปูนเป็นtalentหมด  มีการแจกหนังสือให้บุคลากร  

หลังการประชุมครั้งนี้อาจจะได้need และมีบางอย่างมาfill gap ของกรม   คงต้องมีแผนระยะสั้นและระยะยาว   ในระยะสั้นอาจจะให้หน่วยงานจัดระบบพี่เลี้ยง  หรือเตรียมตัวเป็นพี่เลี้ยง หรือไปหาพี่เลี้ยงจากหน่วยงานอื่นๆ   หลังจากนั้นจะมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้

กรมมีโครงการHiPPsซึ่งกรมส่ง6คนซึ่งขณะนี้กพ.จะอบรมพี่เลี้ยง   อบรมเรื่องการcoaching

หมอศุภมิตรคิดว่าจะบอกคนที่มาเข้ากลุ่มว่ากลุ่มนี้ไม่ใช่อรหันต์นะ  แต่เป็นอุบาสกอุบาสิกา  เป็นchang agent   รองสมศักดิ์เสริมว่าอุบาสกอุบาสิกาเหล่านี้บางคนอาจเข้ามาบวชต่อและเป็นอรหันต์ได้ (ขณะนี้อาจหันขวาหันซ้ายไปก่อน)

รองศิริศักดิ์แนะว่าช่วงที่เราทำอาจจะเหมือนทำที่WHOคือใช้post it  จะได้ข้อมูลมาก

คุณบงกช รองฝ่ายพัฒนาและผอ.กองการเจ้าหน้าที่รีบดูโครงการเพื่ออนุมัติและสื่อสารไปให้หน่วยงานต่างๆทราบ

ดิฉันสรุปสุดท้ายว่าที่คุณหมอศุภมิตรเข้าใจนั้นถูกต้องแล้ว   แต่ที่เราเรียกโครงการนี้ว่าTalent เพราะเราเริ่มจากโครงการWHA  ซึ่งเป็นโครงการที่คนไปเข้าร่วมต้องเป็นtalent จริงๆเพราะเป็นงานที่ยากและต้องมีcompetencyสูงจริงๆ   ส่วนโครงการที่ทำอยู่ขณะนี้คงเป็นHRD  ธรรมดาและมีบางส่วนจะนำไปเชื่อมกับโครงการอื่นของกรม

 สิ่งที่ดิฉันเรียนรู้คือการเอาคนที่ประสบความสำเร็จในงานทั้งคุณหมอคำนวณและคุณหมอศุภมิตรมาเป็นrole model ของการพัฒนาคนโดยที่ท่านทั้งสองอาจจะไม่เข้าใจหรืออบรม dialogue  KM  TQA  AIC หรือระบบคุณภาพและการใช้เครื่องมือที่เราไปเรียน ไปอบรมมา   แต่เอาจิตวิญญาณของความเป็นคนดีของกรมมาเสริมสร้างการพัฒนาคนของกรมซึ่งน่าจะดีกว่าเอาวิทยากรที่บางท่านเรียนมามาก  ทฤษฎีมากแต่เสียเงินแพงมาก   ผู้บริหารระดับรองอธิบดีก็ไม่ได้เข้ามาร่วมกิจกรรมทำให้ไม่เข้าใจผลผลิตที่เกิดจากการอบรม

ดิฉันว่าเป็นการพัฒนาพี่เลี้ยงระดับบริหารเพราะท่านรองอธิบดีต้องมาคุมกลุ่มเอง   การสอนคนจะทำให้เราเก่งขึ้นและเข้าใจเครื่องมือมากขึ้น    หลังจากการประชุมผ่านไปรองอธิบดีและผู้ทรงคุณวุฒิอาจจะมีแนวทางที่ชัดเจนมากขึ้นและนำไปทำให้เกิดผลได้จริงๆในเวทีผู้บริหารกรมค่ะ

ดิฉันหวังที่จะได้เครื่องมืออย่างไทยๆ   ได้ใจน้องๆที่มาเข้ากลุ่มค่ะ

 

 

 

 

กำหนดการประชุม Talent

วันที่ 12 -13 มกราคม 2552

โรงแรมพาวิลเลี่ยน ริมแคว รีสอร์ท อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

 

วันที่ 12 มกราคม 2552

เวลา 09.00 น. – 09.30 น.                   ลงทะเบียน

เวลา 09.30 น.                                       ออกเดินทางโดยรถบัสปรับอากาศบริเวณลานจอดรถ อาคาร 1 กรมควบคุมโรค                    ไปยังโรงแรม        พาวิลเลี่ยน  อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

เวลา 12.00 น. – 13.00 น.                   พักรับประทานอาหารกลางวัน                                        

เวลา 13.15 น. – 13.30 น.                   พิธีเปิดและบรรยายเรื่อง “นโยบายการพัฒนาบุคลากรของกรมควบคุมโรค”              

โดย หม่อมหลวง นายแพทย์สมชาย จักรพันธุ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค

เวลา 13.30 น. – 14.00 น.                   พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม พร้อมทั้งแบ่งกลุ่ม ๔ กลุ่ม

1. กลุ่มแพทย์  รับผิดชอบโดย นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์และ......................

2. กลุ่มนักวิชาการ รับผิดชอบโดย นพ.ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์และ................

3. กลุ่มอื่นๆ รับผิดชอบโดย ผอ.กอง จ, ผอ.กองคลังและผอ.กองแผน……….

4. กลุ่มผู้บริหาร รับผิดชอบโดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์และ....................

เวลา 14.00 น. – 16.00 น.                   แบ่งกลุ่ม (๔ กลุ่ม) ทำความรู้จักและแลกเปลี่ยนความคิด ความตั้งใจ

·             เรามีอะไรที่พอจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นบ้าง

·             เราจะเอาจุดดีของเรามาช่วยการพัฒนางานและคนของหน่วยงานที่เราสังกัด       ได้อย่างไร

·             เราจะช่วยให้กรมควบคุมโรคมีความเข้มแข็งเป็นหน่วยงานที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับของประชาชน, ชาติและนานาชาติได้อย่างไร (นพ.โอภาส)

·             เราอยากให้ (หัวหน้า) หน่วยงานสนับสนุนความตั้งใจดีของเราอย่างไร (TM)

·             เราอยากให้ (อธิบดี) กรมควบคุมโรคสนับสนุนความตั้งใจดีของเราอย่างไร

·             เราอยากให้หน่วยงาน TM Office สนับสนุนความตั้งใจดีของเราอย่างไร (TM)

·             เราคิดว่าใครเป็น Talent ในดวงใจที่อยากให้กรมฯนำมาร่วมงาน (TM)

·             นำเสนอคนที่คุณประทับใจและเพราะอะไร (TM)

เวลา 16.00 น. – 17.00 น.  สรุปความเห็นจากที่ประชุมกลุ่มและนำเสนอ ทั้ง ๔ กลุ่ม

เวลา 17.00 น. – 17.30 น.              ให้ข้อคิดเห็นต่อข้อเสนอจากการประชุม โดย หม่อมหลวง นายแพทย์สมชาย จักรพันธุ์

อธิบดีกรมควบคุมโรค

เวลา 17.30 น.                                       รับประทานอาหารเย็น

 

 

วันที่ 13 มกราคม 2552

เวลา 09.00 น. – 09.45 น.                   วิธีแนะนำตนเองให้ผู้อื่นรู้จักและอยากคบกับเรา และประสบการณ์การทำงานกับ

องค์กรนานาชาติและการประชุมระหว่างประเทศ

โดย นายแพทย์สมชาย พีรปกรณ์  (WHO)

เวลา 09.45 น. – 10.30 น.                   สารพัดการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบต่างๆกันและข้อจำกัด

    โดย นายแพทย์ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค

·       ชั้นเรียน ติวเข้ม เรียนพิเศษ เรียนลัด  (Class room)

·       ทำไปเรียนไปด้วยตัวเอง  “โดดเดี่ยวผู้น่ารัก”  (self-help)

·       ทำไปบ่นไปกับพี่เลี้ยง  (Mentor)

·       ฯลฯ

เวลา 10.30 น. – 10.45 น.                   พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

เวลา 10.45 น. – 11.30 น.                   เรื่องเล่าจากพี่เลี้ยง โดย นายแพทย์คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ ผู้อำนวยการสำนักระบาดวิทยา

เวลา 11.30 น. – 12.00 น.                   แผนการดำเนินงานปี 2553 และการติดตามประเมินผลโครงการ Talent

โดย แพทย์หญิงอัจฉรา เชาวะวณิช ผู้จัดการโครงการ Talent Management           

เวลา 12.00 น. – 13.00 น                    พักรับประทานอาหารกลางวัน

เวลา 13.00 น.                                       ปิดการประชุม และเดินทางกลับกรมควบคุมโรค 

 

หมายเลขบันทึก: 230204เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2008 15:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ตามมาเรียนรู้ครับท่านพี่

คงต้องเรียนจากอาจารย์JJที่ผ่านการสอนมามากค่ะ

ที่กรมควบคุมโรคคงต้องทำไปปรับไป

ได้หรือไม่ได้ผลอย่างไรจะมาเล่าต่อค่ะ

สวัสดีครับคุณหมอ

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. 2551  นั่งรถตู้ไปกับนาย ไปเยี่ยม+ประเมิน แพทย์ใช้ทุนที่ รพ.ประจำอำเภอ คุณหมอท่านหนึ่ง (หนึ่งใน 3 ท่าน) เธอเล่าถึงประสบการณ์ที่เธอได้ช่วยชีวิตคนไข้ ไว้สองเหตุการณ์

1. เรื่องแรกเธอเล่าเรื่องการทำคลอดท่าไหล่ (Shoulder Presentation) โดยเธอทำคลอดร่วมกับ specialist แต่ทำยังงัยเด็กก็ไม่ยอมออก ทั้งนวดทั้งเค้น หลาย ชม. ดีที่คุณหมอคุยกะญาติคนไข้ ว่า เด็กคลอดยากอาจจะพิการ หรือเอ๋อ ไม่ก็มีความเสี่ยงที่เด็กจะ dead ญาติคนไข้ก็เข้าใจสถานการณ์ สุดท้าย เด็กรอด แต่ต้องแลกกับการไหล่หักในเด็ก (หมอเก่ง+กล้า) เมื่อใส่เฝือก และอาการเด็กก็ดีขึ้นตามลำดับ ถือเป็นโชคดีของหมอ+คุณแม่+ลูก+ญาติ

2. อีกเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องคนไข้ถูกงูกัดมา คนไข้มีอาการหนังตาตก หมอก็วินิจฉัยว่าน่าจะเป็นพิษต่อระบบประสาท  เช่นพิษของงูเห่า หรืองูจงอาง และที่ รพ.ประจำอำเภอก็มีอยู่แต่ serum ของงูเห่า หมอก็จึงให้ serum งูเห่า แล้ว Refer ให้ รพ.ประจำจังหวัด  จากนั้น รพ.ประจำจังหวัดโทรมาแจ้งให้ทราบว่า งูที่กัดคนไข้เป็นงูจงอาง แต่การให้เซรุ่ม งูเห่า ก็ช่วยได้เพราะ พิษงูนั้น มีทั้งแบบ พิษที่มีต่อระบบประสาท (myotoxin) และพิษที่มีต่อระบบเลือด (hematotoxin) การให้ serum งูเห่าก็ช่วยป้องกันพิษที่มีต่อระบบประสาทได้ และงูมันอาจจะผสมข้ามสายพันธุ์ อันนี้ถือเป็นโชคดีของหมอ+คนไข้ แต่เป็นโชคร้ายของงู เพราะโดนญาติคนไข้ตัดหัวมาให้หมอตรวจดู

สวัสดีปีใหม่ค่ะคุณกวิน

ขอบคุณที่เล่าให้ทราบค่ะ

หมอไทยน่าสงสารเพราะถูกบังคับให้ทำทุกอย่าง

ที่โรงพยาบาลเพิ่งมีคนไข้ติดไหล่ แต่ก็ช่วยทัน

หมอเป็นสูติแพทย์เคยทำคลอดแล้วไหล่ติด แต่ก็ช่วยได้ กว่าจะหายฝันร้ายก็ต้องรอเด็กโตว่าแกแข็งแรงดี

เดี๋ยวนี้หาคนไปเรียนสูติแพทย์ได้ยากขึ้น

ขอให้คุณกวินมีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งกายและใจ และขยันเขียนบล็อกให้พวกเราอ่านนะคะ

ขอบคุณที่มาเยี่ยมค่ะ

สวัสดีปีใหม่อาจารย์JJและขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท