นโยบายที่ใช้หาเสียงกับทำจริง : ตัววัดธาตุแท้พรรคการเมืองไทย


นโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอต่อ กกต. เพื่อจดทะเบียนเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 50 และใช้หาเสียงในการเลือกตั้งที่ผ่านมา จะได้รับการนำไปปฏิบัติมากน้อยเพียงใด

ในช่วงที่รอการโปรดเกล้าให้คุณโอบามาร์ค อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี และทีมงานกำลังร่างนโยบายรัฐบาลเพื่อแถลงต่อรัฐสภานั้น ลองมาดูก่อนว่านโยบายที่พรรคประชาธิปัตย์ เสนอต่อ กกต. เพื่อจดทะเบียนเมื่อวันที่ 20 พ.ย. 50 และใช้หาเสียงในการเลือกตั้งที่ผ่านมา จะได้รับการนำไปปฏิบัติมากน้อยเพียงใด

ว่ากันเฉพาะนโยบาย 2-3 ด้าน ที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและด้านสิ่งแวดล้อมเท่านั้น

นโยบายด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน
พรรคประชาธิปัตย์ถือว่าหัวใจสำคัญของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ก็คือ การมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งจะต้องเดินคู่กันไปกับประชาธิปไตยแบบตัวแทน พรรคจึงส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของประชาชนในการเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ต้องอาศัยความคิดเห็นของประชาชน หรือที่มีผลกระทบกับประชาชน หรือ กิจการสาธารณะประโยชน์ต่างๆ พรรคประชาธิปัตย์ จึงกำหนดนโยบายด้านนี้ไว้ ดังนี้

1. สนับสนุนให้กลไกของรัฐเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในทุกมิติ ตามกรอบกฎหมายและรัฐธรรมนูญ 2. จัดตั้ง “ กองทุนพัฒนาการเมืองภาคพลเมือง ” ให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพื่อสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างเป็นรูปธรรม ในการทำกิจกรรมและการรวมตัวกันเป็นเครือข่ายทุกรูปแบบ
3.ให้มี “ กฎหมายว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ” โดยมีหน่วยงานรับผิดชอบโดยตรง
4. จัดทำ “ แผนพัฒนาการเมือง ” และจัดตั้ง “ สภาพัฒนาการเมือง ” ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วม เพื่อกำหนดมาตรฐานคุณธรรม จริยธรรม ขององคาพยพต่างๆในทางการเมือง ตลอดจนเพื่อติดตาม สอดส่องให้เป็นไปตามแผนและมาตรฐานดังกล่าว
5.จัดให้มี “ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมายภาคประชาชน ” โดยการจัดองค์กรในสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มาทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาและช่วยยกร่างกฎหมาย ร่างข้อบัญญัติท้องถิ่นและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้ประชาชน
6. จัดทำ “ กฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ” เพื่อฟังความเห็นของประชาชนเพื่อประกอบการตัดสินใจ หรือเพื่อชี้ขาดปัญหาใดปัญหาหนึ่งให้เป็นที่ยุติ
7. สนับสนุนให้ประชาชนมีโอกาสเข้ามาตรวจสอบภาครัฐมากขึ้น โดยสามารถเป็นผู้เสียหายเพื่อฟ้องร้องคดีทุจริตต่อศาลและคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ( ป.ป.ช.) ได้
8. ให้ฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ องค์กรอิสระ และองค์กรอื่นตามรัฐธรร มนู ญ อยู่ภายใต้ พร ะราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารด้วย เพื่ออำนวยความสะดวกให้ประชาชน สามารถ ตรวจสอบข้อมูลและความโปร่งใสในการปฏิบัติหน้าที่ได้
9.สนับสนุนและให้สิทธิประโยชน์ต่างๆเพื่อจูงใจให้ประชาชนและภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสังคมและชุมชน ทั้งการให้บริการสังคม การศึกษา การฝึกอาชีพ การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การอยู่อาศัย รวมทั้งเปิดโอกาสให้ประชาชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนา

 

นโยบายด้านองค์กรพัฒนาเอกชน
พรรคประชาธิปัตย์ตระหนักดีว่าองค์กรพัฒนาเอกชน นับวันจะมีความสำคัญและมีบทบาทเพื่อสาธารณชนและผลประโยชน์ของประเทศชาติมากยิ่งขึ้น และยังเป็นกำลังสำคัญและมีศักยภาพในการร่วมกันแก้ปัญหาและพัฒนาสังคมแทนหน่วยงานของรัฐได้ในบางกรณี พรรคประชาธิปัตย์ จึงมีนโยบายไว้ ดังนี้
1.ส่งเสริม และสนับสนุนให้องค์กรพัฒนาเอกชน มีบทบาทอย่างแท้จริง ตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ และเป็นกลไกหนึ่งสำหรับการช่วยภาครัฐแก้ไขปัญหา และร่วมพัฒนาประเทศ
2.สนับสนุนการเงินแก่องค์กรพัฒนาเอกชน

 

นโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
พรรคประชาธิปัตย์เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงแก้ไขปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นการเร่งด่วน เพราะนับวันปัญหาเหล่านี้จะมีผลกระทบกับธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือสัตว์ ต้นไม้ พืชพันธุ์ธัญญาหาร และจะเกิดปัญหาอื่นตามมา เช่น การขาดแคลนน้ำ การเกิดมลพิษในน้ำและอากาศ การเกิดปัญหาภาวะโลกร้อน พรรคประชาธิปัตย์ จึงมีนโยบายไว้ดังนี้

1.สนองโครงการพระราชดำริทางด้านสิ่งแวดล้อมทุกโครงการอย่างจริงจัง
2.เร่งรัดการจัดทำแนวเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยจัดแบ่งประเภทที่ดินระหว่างที่ดินของรัฐกับที่ดินของเอกชนให้ชัดเจน
3.สนับสนุนด้วยมาตรการทางภาษีและสิทธิต่างๆ กับผู้ ประกอบ การที่ร่วมโครงการแก้ปัญหาโลกร้อนและการลดมลพิษ
4.ให้มีระบบเตือนภัยล่วงหน้าและระบบช่วยเหลือผู้ประสบภัยธรรมชาติ ครอบคลุมทุกแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งที่มีความเสี่ยงต่อภัยพิบัติธรรมชาติ
5.จัดทำโครงการเพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะจัดทำแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภคให้แล้วเสร็จทุกหมู่บ้านภายใน 4 ปี
6.สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสร้างศูนย์กำจัดขยะกลางที่มีขนาดใหญ่ทุกจังหวัด เพื่อใช้กำจัดขยะของทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชน
7.ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเครือข่ายภาคประชาชนในรูปสมัชชาสิ่งแวดล้อมเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ และ บริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
8.จัดให้มีระบบบริหารจัดการน้ำในระดับประเทศ เพื่อสนองต่อความต้องการทั้งการเกษตร อุตสาหกรรม และการบริโภค โดยยังปกป้องรักษาสภาพธรรมชาติของทรัพยากรน้ำให้ยั่งยืน

ต้องติดตามดูกันต่อไปว่าพรรคประชาธิปัตย์จะมีอำนาจต่อรองกับกลุ่ม ก๊วนร่วมรัฐบาลเพียงใด และจะนำนโยบายซึ่งถือเป็นสัญญาประชาคมที่ให้ไว้กับประชาชน มาปฏิบัติให้เป็นจริงได้อย่างไร

 

หมายเลขบันทึก: 230096เขียนเมื่อ 17 ธันวาคม 2008 09:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 16:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ คุณเหลา ลำลูกกา แวะมาอ่านนโยบายพรรคประชาธิปัตย์

ขอให้มีความจริงใจกับประชาชน พัฒนาประเทศอย่างจริงจังและจริงใจ รับรองได้ใจจากประชาชนทั้งประเทศ ทำดีต้องได้ดีอยู่แล้วค่ะ

ปีใหม่นี้ขอให้มีความสุขตลอดปี 2009 นะค่ะ

ขอบคุณครับคุณ tukky

ขอให้มีความสุขเช่นกันครับ แถมสงบและร่มเย็นด้วย

นโยบายแสนดีมีดังกล่าว....                 สำคัญเท่าทำจริงสิ่งสร้างสรรค์

สมัชชาประชาชน...ต้นแบบนั้น            มาถึงวันรัฐบาลปั้นเป็นจริง

ถ้าทำได้ใช่คือเป็นเช่นดังชอบ...          ดูคำตอบอีกไม่นานนั่นยอดนิ๊ง

ให้กำลังใจขอให้เป็นเช่นเรื่องจริง...      ทุกๆสิ่งถึงเวลาจะรู้กัน       

  • สวัสดีค่ะ
  • ทุกอย่างคงต้องพิสูจน์ "รอเวลา"
  • แต่จะใช้เวลาเท่าไหร่นั้น.......คิดเอาเองเน๊าะ
  • นโยบายไหนก็ดีหมดค่ะ ถ้าทำจริง และผลที่เกิดขึ้นประชาชนได้รับอย่างแท้จริง
  • ขอบคุณสำหรับเรื่องราวดีดีค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท