ต้นแบบโรงเรียนในฝัน: เลยอนุกูลวิทยา


 วันที่25ธันวาคม 2551 โครงการได้บันทึกไว้ว่า มีต้นแบบโรงเรียนในฝันเพิ่มอีก 1โรงเรียน "เลยอนุกูลวิทยา" สพท.เลย เขต1
มีต่อ

เรียนอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

นางสาวสุนิสา มีศิลป์ หนูกำลังเตรียมตัวประเมินต้นแบบโรงเรียนในฝันหนูเตรียมและเพื่อนๆตั้งใจเต็มร้อย ตอนนี้หนูฝึกร้องเพลงประสานเสียงเป็นในรายวิชาภาษาอังกฤษฝึกกันทุกวันเลยค่ะ และก็ได้ใช้ ICT ในการส่งงานและทำเว็บเพจของตัวเองด้วยค่ะ พิจารณาให้โรงเรียนหนูผ่านการประเมินต้นแบบโรงเรียนในฝันด้วยนะค่ะ ขอพระคุณค่ะ

วิภารัตน์ กันหาวรรณ

น.ส.วิภารัตน์ กันหาวรรณ

นักเรียนโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

หนูเตรียมพร้อมให้ อาจารย์ชัดเจน มาประเมินโรงเรียนของพวกหนูและพวกหนูจะปฏิบัติหน้าที่ให้ดีที่สุด หนูขอความกรุณาให้โรงเรียนของหนูผ่านเกณฑ์การประเมินด้วยน่ะค่ะ

ทางด้าน ICT อาจารย์ก็ให้ส่งงานทาง อีเมลล์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ชัดเจน หนูชื่อ น.ส. นิภาพร สีหะสุต เรียนอยู่ชั้นม.5/1 โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ตอนนี้พวกหนูมีความตั้งใจมากในการเตรียมโรงเรียนในฝัน

หนูอยู่หมวดภาษาอังกฤษน่ะค่ะ

ทางโรงเรียนของหนูมีเทคโนโลยีก้าวไกลด้าน ICT

ถ้ามีการส่งงานอาจารย์ก็จะให้ส่งผ่านทางอินเตอร์เน็ต

หนูขอให้อาจารย์ชัดเจนให้ทางโรงเรียนของพวกหนูผ่านการประเมินด้วยค่ะ

.....สวัสดีค่ะ หนูชื่อ น.ส.นาริน โลขันสา ตอนนี้หนูกำลังเตรียมความพร้อมเกี่ยวกับโรงเรียนในฝันอยู่ค่ะ กลุ่มของพวกเราทำโครงงานฟิสิกส์ค่ะ เป็นสิ่งที่ยากมากแต่ก็ต้องมีความพร้อมอยู่ตลอดเวลา และต้องศึกษาหาความรู้ พวกเราตั้งใจมากกับการทำโครงงานครั้งนี้นะค่ะ ยังไงก็ขอให้อาจารย์ชัดเจนพิจารณาหรือติชมด้วยนะค่ะ หรือให้ผ่านเลยจะขอบพระคุณมากค่ะ.........

...หนูสามารถเรียนรู้ได้โดยโปรแกรม E-Learning ซึ่งทางโรงเรียนมีศูนย์ ICT เพื่อให้นักเรียนได้ใช้งานอินเทอร์เน็ต และเพื่อค้นค้าหาความรู้เพิ่มเติม

น.ส.กรกนก ศรีกระทุม

สวัสดีค่ะ..หนู กรกนก ศรีกระทุม...นะค่ะ

ตอนนี้โรงเรียนเราพร้อมแล้วค่ะกับการประเมินโรงเรียนในฝัน........

โรงเรียนของเรามีการพัฒนาในด้านต่างๆมาก...ในทุกๆด้าน มีการใช้เทคโนโลยีมาใช้ในการเรียนการสอนมาก ตอนนี้หนูได้เรียนวิชาต่างๆนอกเวลาโดยใช้

โปรแกรม E-learning

หนูได้ศึกษาโครงงานฟิสิกส์ค่ะ...มันยากมากเลยค่ะกับการทำโครงงานนี้ หนูได้คิดอะไรกว้างขึ้นมาก หนูก็เตรียมตอบคำถามของคุณครู ชัดเจน อย่างเต็มที่ค่ะ หนูคิดว่าคุณครูคงไม่ถามยากนะค่ะถึงถามยากหนูก็จะหาคำตอบมาให้ได้ค่ะ .............

^^สู้ๆๆๆสู้ตายค่ะเพื่อการพัฒนาของโรงเรียนค่ะ^^

น.ส.คณิศร จันทร์พาณิชย์

สวัสดีดีค่ะหนูชื่อนางสาวคณิศร จันทร์พาณิชย์ หนูเรียนอยู่ที่โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ตอนนี้หนูกับเพื่อน ๆ กำลังเตรียมการโรงเรียนในฝัน หนูได้รับผิดชอบ LAB ชีววิทยา ทำการทดลองเรื่องเอนไซม์ค่ะ อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ มีอะไรจะแนะนำหนูไหมคะ เกี่ยวกับ LAB นี้ ขอบคุณค่ะ

สำหรับการนำเสนอของพวกหนูนะคะ พวกหนูใช้สื่อ ICT. มาช่วยด้วยค่ะ นอกจากนี้พวกหนูก็ได้เรียนในบทเรียน E – Learning และก็ส่งงานทางเมลล์ด้วยคะ พอดีหนูเข้ามาที่เว็บของโรงเรียน หนูเห็นเว็บของอาจารย์หนูก็เลยเข้ามาทักทายค่ะ

กมลลักษณ์ แสงสว่าง

สวัสดีค่ะ ดิฉันชื่อ นางสาวกมลลักษณ์ แสงสว่าง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

โรงเรียนในฝันครั้งนี้หนูอยู่ใน Labเคมี ค่ะ ในการประเมินโรงเรียนในฝันครั้งนี้หนูทำอย่างเต็มที่ค่ะ ให้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาผ่านเป็นโรงเรียนดีใกล้บ้านนะค่ะ หรือโรงเรียนในฝันนะค่ะ หนูทำอย่างเต็มที่ทั้งเหนื่อย ทั้งสนุก หนูนำเอา ICT ของโรงเรียนมาประยุกต์ใช้กับ Lab ที่หนูทำอยู่ตอนนี้ หนูใช้อินเตอร์เน็ตมาประกอบในการทำการทดลอง การค้นคว้าศึกษาข้อมูล และหนูยังใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในสื่อการนำเสนอต่างๆที่เกี่ยวกับ Lab ที่หนูทำด้วยค่ะและโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาแห่งนี้ยังมีการเรียนการสอนที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยค่ะ อย่างเช่น การส่งงานผ่านเว็บไซต์ของโรงเรียน การเรียนผ่านโปรแกรม E-learning และอื่นอีกมากมาย

สุดท้ายนี้นะค่ะหนูขอฝากโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาให้ผ่านการประเมินโรงเรียนดีใกล้บ้านหรือโรงเรียนในฝันด้วยนะค่ะ อาจารย์ชัดเจน

ขอขอบคุณค่ะ

น.ส.รัชฎาวัณย์ พันธสุมา

สวัสดีค่ะอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้ หนูชื่อ นางสาวรัชฎาวัณย์ พันธสุมา อยู่ ม.5/1 ค่ะ หนูเป็นเด็กนาฏศิลป์ตอนนี้หนูซ้อมรำหนักมากเพื่อเตรียมในงานประเมินโรงเรียนในฝัน หนูเหนื่อยมากค่ะ ^_^! แต่หนูก็จะอดทนเพื่อโรงเรียนในฝัน .......สู้..สู้ ..สู้ตายค่ะ ^_^

และในเรื่อง ICT หนูก็ได้เรียนรู้มากมายทางบทเรียน E-Learning ได้ส่งงานทาง E-mail

หนูรู้สึกว่าหนูทันสมัยขึ้นค่ะ ให้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาผ่านการประเมินโรงเรียนในฝันด้วยน่ะค่ะ

สวัสดีค่ะ หนูชื่อพัชรี วังคีรี น่ะค่ะ

. หนูเตรียมพร้อมเกี่ยวกับโรงเรียนในฝันและทุ่มเทเกี่ยวกับโรงเรียนในฝันเป็นอย่างมาก ที่จะมีส่วนพัฒนาโรงเรียนให้เป็นโรงเรียนต้นแบบ ตอนนี้เราสามารถนำ ICTมาใช้ในการเรียนกับรายวิชาอื่นๆ ตอนนี้หนูกำลังเรียนโปรแกรม การเขียน Wab ขอให้

ดร.ชัดเจน ไทยแท้ ได้โปรดพิจารณาโรงเรียนเลยอนุกูวิทยาให้ผ่านเกณฑ์โรงเรียนในฝันด้วยน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

ชื่อ นางสาวปนัดดา จันทราช

อยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้ เคมีค่ะ

การทดลองที่หนูจัดทำขึ้น คือ ทดสอบยาลดกรดที่มีสารแคลเซียมคาบอเนตค่ะที่อยู่ในเรื่องของการไทเทรต วิธีการทดลองของหนูนะค่ะก็คือเอายาลดกรดมาทดสอบแล้วเติมสารกรดไฮโดรคลอริกลงแล้วสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงที่หนูทำการทดลองนี้เพื่อ งานที่หนูทำการทดลองนี้ยากจะให้มีประโยชน์แก่เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆชาวเลยอนุกูลวิทยาทุกคน และเกี่ยวกับชีวิตประจำวัน การประเมินโรงเรียนในฝันครั้งนี้พวกหนูมีความพร้อมมากค่ะที่จะได้รับการประเมินโรงเรียนในฝันครั้งนี้จากอาจารย์ชัดเจนพร้อมคณะ และหนูก็ขอฝากความหวังไว้ที่อาจารย์ชัดเจนด้วยนะค่ะ วันที่ประเมินจริงพวกหนูจะทำให้ดี และทำให้สุดความสามารถเลยค่ะ อีกอย่างนะค่ะหนูและเพื่อนๆก็มความพร้อมด้านการใช้สื่อการเรียน ICTแล้วค่ะ

วิลาวัณย์ ศรีเจริญ

สวัสดีค่ะ

หนูชื่อ นางสาววิลาวัณย์ ศรีเจริญ

อยู่กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์มัธยมปลาย(ชีววิทยา)ค่ะ

กลุ่มของพวกหนูตั้งใจทำอย่างเต็มที่และฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่ออยากจะให้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาเป็นโรงเรียนในฝันค่ะตอนนี้ทางโรงเรียนพร้อมมากทั้งทางด้านการเรียนรู้และห้องปฏิบัติการ หรือแม้แต่ICTที่มีการส่งงานทางE-mailและได้เรียนรู้ทาง E Learning เขียนเว็บด้วยตนเอง สนุกมากค่ะ

สุดท้ายนี้ขอให้ความตั้งใจของพวกเราเป็นจริงนะค่ะนั่นคือ การผ่านการประเมินโรงเรียนในฝัน

น.ส.ฐิตินันท์ คณะแพง

น.ส.ฐิตินันท์ คณะแพง ชั้น ม.5/1 เลขที่ 25

หนูได้รับมอบหมายให้อยู่ห้องปฏิบัติการเคมี หนูมีความตั้งใจมาก ๆศึกษาแล้วศึกษาอีกไม่รู้ว่า จะโดดใจ ดร.ชัดเจน ไทยแท้ หรือไม่ หนูอยากให้โรงเรียนหนูเป็นโรงเรียนในฝัน พวกหนูจะทำให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขอให้ ดร.ชัดเจน ไทยแท้ ได้โปรดเมตตาให้โอกาสพวกหนูได้เรียนในโรงเรียนในฝันด้วยค่ะ

พวกหนูได้เรียนคอมพิวเตอร์โปรแกรมหลายโปรแกรมได้เรียนบทเรียนออนไลน์ (e-Learning )

ขอความเมตตาพวกหนูหน่อยค่ะ

นางสาวสุภารัตน์ พิมพ์เหม

สวัสดีค่ะ

ท่านดร.ชัดเจน ไทยแท้

หนูชื่อ นางสาวสุภารัตน์ พิมพ์เหม หนูพร้อมที่จะรับการประเมินโรงเรียนโรงเรียนในฝันแล้วค่ะ

หนูอยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา เกี่ยวกับเรื่องของสหกรณ์ และหลักการของเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หนูอยากจะให้อาจารย์แวะเยี่ยมชมสหกรณ์ของโรงเรียนเราบ้าง ถ้ามีเวลานะค่ะ

สวัสดีค่ะดร.ชัดเจน ไทยแท้

หนูชื่อ นางสาวรัตนันท์ สารวงษ์ .5/1

อยู่กลุ่มสาระสังคมศึกษามัธยมปลาย(เกี่ยวกับงานสหกรณ์)ค่ะ

ได้เรียนรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ การออม การจ่าย บัญชีรายรับ รายจ่ายด้วยค่ะ

พวกหนูตั้งใจทำอย่างเต็มที่และฝึกซ้อมอย่างหนักเพื่ออยากจะให้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาเป็นโรงเรียนในฝันค่ะพวกหนูมีความพร้อมที่จะให้คณะกรรมการมาประเมินค่ะ มีการเรียนICTที่มีการส่งงานทางE-mailและได้เรียนรู้ทาง E Learning เขียนเว็บด้วยตนเอง

สุดท้ายนี้ขอให้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาผ่านการประเมินโรงเรียนในฝันน่ะค่ะ ขอบคุณค่ะ

นางสาวรัตนากร บังกิโล

ชื่อ นางสาวรัตนากร บังกิโล

ดิฉันเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/1

ดิฉันดีใจมากที่จะได้รับการนิเทศจาก ท่าน ดร.ชัดเจน ไทยแท้

โรงเรียนของดิฉันมีการเตรียมความพร้อมมานานแล้วค่ะ

ตั้งแต่รู้ว่า ท่าน ดร.ชัดเจน ไทยแท้ จะมาประเมิน

ดิฉันอยู่ Lab เคมี ซึ่งมีท่าน อาจารย์สุกัญญา สืบสาย เป็นครูที่ปรึกษาค่ะ

กลุ่มของดิฉันมีอยู่ด้วยกัน 3 คน ซึ่งพวกเราศึกษาเกี่ยวกับ

“ เรื่อง การหาปริมาณของแคลเซียมคาร์บอเนตในยาลดกรด”

น่าสนใจมั๊ยค่ะ....

ในวิชาคอมพิวเตอร์ พวกหนูได้เรียนรู้เกี่ยวกับ

การตัดต่อ Photoshop การสร้าง เว็บ

ในวันเสาร์-อาทิตย์ หนูก็ได้เรียนหนังสือน่ะค่ะ

ไม่ใช่ครูสอนค่ะ แต่เรียนทางบทเรียน E-learning สนุกมากเลยค่ะ

โดยเฉพาะวิชาที่เกี่ยวกับ วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์

สุดท้ายนี้หนูก็หวังว่า ท่าน ดร.ชัดเจน ไทยแท้ จะให้โรงเรียนของหนู

ผ่านการนิเทศน่ะค่ะ... ขอบคุณค่ะ

น.ส.รวิวรรณ สอนมงคล

สวัสดีค่ะอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

ดิฉันชื่อน.ส.รวิวรรณ สอนมงคล

อยู่ในกิจกรรมชุมนุมนาฏศิลป์

พวกเราทุกๆคนก็ทุ่มเท พยายาม และฝึกฝนกันในการซ้อมทุกวัน พวกเราทุกคนเหนื่อยกันมากๆเลยค่ะ แต่พวกเราก็จะพยายามทำให้ดีที่สุด ส่วนการเรียนของพวกเรานั้นตอนนี้พวกเราก็เรียนในเรื่อง E-learning และฝึกเขียนเว็บกันอยู่ค่ะ เพราะในแต่ล่ะสาขาวิชานั้นจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการเรียนการสอน

และสุดท้ายน่ะค่ะเราก็จะทำสิ่งที่เราได้รับมอบหมายให้ดีที่สุดค่ะ และพวกเราก็หวังว่าอาจารย์คงจะให้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาผ่านโรงเรียนในฝันน่ะค่ะ

ขอบคุณล่วงหน้าเป็นอย่างมากค่ะ

สวัสดีค่ะ

นางสาวชลดา รามศิริ

สวัสดีค่ะอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ หนูชื่อนางสาวชลดา รามศิริ กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาค่ะ ตอนนี้เรากำลังเตรียมโรงเรียนในฝันกันค่ะ หนูอยู่ในกิจกรรมนาฏศิลป์ค่ะ เหนื่อยมากเลยแต่ก็จะพยายามนะค่ะ อาจารย์มีอะไรจะแนะนำหนูไหมค่ะ ถึงกิจกรรมนี้จะไม่ค่อยสำคัญสักเท่าไหร่แต่หนูก็อยากได้คำแนะนำค่ะ

และนอกจากนี้ หนูก็ได้เรียนบทเรียน E-learning ด้วยค่ะ เป็นบทเรียนที่ดีมากเลย

ยังไงก็ขอความกรุณาแก่โรงเรียนของเราด้วยนะค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

นางสาวเจนจิรา แสงโสดา

สวัสดีค่ะ… อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

หนูชื่อนางสาวเจนจิรา แสงโสดา นักเรียนชั้นม.5/1 โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

หนูอยู่ LABวิทยาศาสตร์ หมวดวิชาชีววิทยา การทดลองเกี่ยวกับเอนไซม์ในพืช มีสมาชิก 3คน ค่ะ

หนูได้เจอ อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ ครั้งแรกตอนที่อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ มาตรวจดูงานครั้งแรกที่

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา แต่ไม่แน่ใจค่ะว่าเป็นช่วงไหน อาจารย์ชัดเจนได้แนะนำเกี่ยวกับการทดลองที่กลุ่มของพวกหนูทำ การบูรณาการสิ่งต่างๆเข้าด้วยกัน

ข้อมูลของการทดลองนั้น ได้มาจากการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต ที่ห้องเรียนคอมพิวเตอร์ โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา และ จากการอยากรู้อยากเห็น

โรงเรียนของเราภูมิใจนำเสนอด้าน ไอซีที เพราะมีการส่งเสริมให้นักเรียนได้เรียนรู้ผ่าน-

โปรแกรม E-LEARNING การส่งงานทาง E-MAIL และอื่นๆอีกมากมาย

สุดท้ายนี้โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา พร้อมที่จะได้รับการประเมินแล้วค่ะ

นายภูเบศร์ โคตรแสนลี

เรียน ดร.ชัดเจน ไทยแท้

สวัสดีครับ ชื่อนายภูเบศร์ โคตรแสนลี

เนื่องจากทางโรงเรียนของกระผมได้มี การประเมินหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ขึ้นซึ่งกลุ่มของกระผมได้ตั้งใจในการทำงานชุดนี้อย่างมาก เพื่อที่จะทำให้โรงเรียนของกระผมได้ผ่านการประเมินโรงเรียนในฝันในครั้งนี้

ซึ่งกระผมได้เป็นส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ และที่สำคัญโรงเรียนของเราได้มีศูนย์ I.C.T. ได้มีการพัฒนาในเรื่องของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ความรู้ในยุคที่ทันสมัยและมีการเรียนรู้ผ่าน E-LEARNINE กระผมขอขอบพระคุณอย่างยิ่งที่ ดร.ชัดเจน ไทยแท้ ขอความกรุณา ดร.ชัดเจน ไทยแท้ ได้ให้ผ่านในการประเมินในครั้งนี้ด้วยครับ ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้ หนูชื่อ นางสาวเดือนฉายนาดี

อยู่ชั้นม .5/1 หนู อยู่สาระการเรียนภาษาอังกฤษตอนนี้หนูกำลังฝึกร้องเพลงประสานเสียงเป็นเพลงภาษาอังกฤษฝึกซ้อมทุกวันหลังเลิกเรียนเลยค่ะ หนูจะตั้งใจเพื่อรอการประเมินโรงเรียนในฝันค่ะ และในเรื่อง ICT หนูก็ได้เรียนรู้มากมายทางบทเรียน E-Learning ได้ส่งงานทาง E-mail สุดท้ายนี้หนูอยากจะบอกว่าหนูตั้งใจและทุ่มเทเพื่อโรงเรียนในฝันครั้งนี้มากค่ะ

น.ส.พันธิวา ม่วงนนทะศรี

สวัสดีคะ อาจารย์ชัดเจน

หนูอยู่ห้องเคมีนะคะ

ห้องปฏิบัติการเคมีทำงานหนักมากเลยคะ

มีหลายการทดลองมากเลย

รวมทั้งทุกคนในโรงเรียนก็ทำงานกันหนักมาก

เพื่อที่จะให้ผลงานออกมาได้ดีหรือถึงขั้นดีมาก

ตอนนี้พวกเราทุกคนในห้องปฏิบัติการเคมีกำลังทดลองความเป็นกรด-เบส

ทดลองการตกผลึก และก็ทดลองอะไรอีกหลายอย่างเพื่อที่นำเสนอผลงาน

ให้อาจารย์ได้ดูว่าโตรงเรียนของเรามีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน

พอที่จะเป็นโรงเรียนในฝันได้มั๊ย

สุดท้ายนี้หนูขอให้อาจารย์เมตตาพวรหนูด้วยนะคะ

นายปิลันธ์ แก้วสุฟอง

สวัสดีครับ

ผมชื่อนายปิลันธ์ แก้วสุฟอง

ในงานประเมินโรงเรียนในฝัน ผมอยู่ในหมวดวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์

สำหรับงาน นี้ พวกผมทุ่มเทกับงานมากครับ ผมอยากให้โรงเรียนผมผ่านจังเลยครับ

เพราะโรงเรียนของผมจะได้เป็นที่รู้จักของระดับจังหวัดแล้วของประเทศต่อไปครับ

และสำหรับการประเมินโรงเรียนในฝันที่จะถึงนี้ ผมอยากจะให้โรงเรียนของผมผ่านการประเมินครับ

และสำหรับห้องเรียน ICT ผมได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างจากที่นี้ เพราะคุณครูผู้สอนเปิดกว้างเกี่ยวกับการเรียน มีบทเรียน online ไม่ว่าเราจะอยู่ที่บ้านหรือที่ไหนภายในโรงเรียนเราก็สามารถส่งงานให้กับคุณครูผู้สอนได้ จึงสะดวกสบายในการเรียนการสอนและการส่งงานการสืบค้นข้อมูลเป็นอย่างมาก

ขอบคุณครับ

นายจิรายุทธ สุรทรัพย์

สวัสดีครับ

ผมชื่อ นายจิรายุทธ สุรทรัพย์

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5/1

ผมกำลังเตรียมงานโครงงานวิชาฟิสิกส์

แต่ว่าผมสับสนครับว่า

ถ้าจะเอาวัสดุที่ใช้แล้วมาทำเป็นโครงงานจะได้ไหมครับ

เพราะว่าเคยไปปรึกษาอาจารย์แล้วอาจารย์บอกว่าไม่ผ่านหรอก

ทางกลุ่มพวกผมก็คิดว่าอยากลองทำดูจะได้ไหมครับ

ขอบคุณครับ

นางสาวชุติมา ศรีราชา

เรียน ดร.ชัดเจน ไทยแท้

สวัสดีค่ะ ชื่อนางสาวชุติมา ศรีราชา

เนื่องจากทางโรงเรียนของดิฉันได้มี การประเมินหนึ่งอำเภอหนึ่งโรงเรียนในฝัน ขึ้นซึ่งกลุ่มของดิฉันได้ตั้งใจในการทำงานชุดนี้อย่างมาก เพื่อที่จะทำให้โรงเรียนของดิฉันได้ผ่านการประเมินโรงเรียนในฝันในครั้งนี้

ดิฉันได้เป็นส่วนร่วมในการปฏิบัติงานในครั้งนี้ ความรู้ในยุคที่ทันสมัยและมีการเรียนรู้ผ่าน E-LEARNINE ดิฉันขอขอบพระคุณอย่างยิ่ง ขอความกรุณา ดร.ชัดเจน ไทยแท้ ได้ให้ผ่านในการประเมินในครั้งนี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

นางสาวสุพรรณี โสดา

เรียน ดร.ชัดเจน ไทยแท้

หนูชื่อสุพรรณี โสดา

หนูอยู่ภาษาอังกฤษค่ะ หนูไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษเลยค่ะแต่เพราะหนูใจรักที่จะอยู่ภาอังกฤษและเป็นภาษาที่หนูชอบมาก หนูได้ร้องเพลงประสานเสียงกับเพื่อนๆ ตอนนี้ที่โรงเรียนหนูกำลังเตรียมพร้อมกันใหญ่เลยค่ะ แต่ละกิจกรรมก็ซ้อมกันอย่างสนุกสนาน มีบ้างบางครั้งที่เครีกับงาน แต่ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ฝึกให้นักเรียนมีความกล้าแสดงออกมากขึ้น ในกิจกรรมของหนูก็ซ้อมร้องเพลงทุกวัน ทั้งไทยบ้าง อังกฤษบ้าง แต่ส่วนใหญ่จะเป็นภาษาอังกฤษมากกว่าเพราะจะเน้นเรื่องการออกเสียงให้ถูกต้องตามหลักสากล ในด้าน ICT หนูก็ได้เรียนการตัดต่อภาพ การสร้างเว็บเพจและอื่นๆที่คุณครูยังไม่ได้สอน ในเรื่องการสร้างเว็บเพจหนูว่าเป็นเรื่องยากมากแต่เรยีนไปก็สนุกดีค่ะ

นางสาวรัตนา สวัสดี

เรียนอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

หนูนางสาวรัตนา สวัสดี จากโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา ตอนนี้หนูกำลังประเมินโรงเรียนในฝัน

หนูได้อยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ กลุ่มของหนูได้รับผิดชอบเรื่องการร้องเพลงประสานเสียงในกลุ่มสาระนี้หนูได้ฝึกซ้อมอย่างหนัก แต่หนูหนักใจหนูควรจะทำยังไงให้ออกมาดี ทำแล้วให้คุณครูและคณะกรรมการประทับใจ

สวัสดีครับ

ผมชื่อ นายวันชัย แก้วกัณหา ในการประเมินโรงเรียนในฝันพวกเราทำอย่างเต็มที่

ในการประเมินครั้งนี้ ผมอยู่ในกลุ่มสังคม ผมอยากให้โรงเรียนผมเป็นโรงเรียนในฝัน

งาน ict ของโรงเรียนผมเป็นการเรียนผ่านอินเตอร์เน็ตและสามารถศึกษางานได้ง่ายและสามารถสืบค้นหาข้อมูลแหล่งความรู้ได้ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโรงเรียนของเรา

ขอบคุณครับ

นางสาวอลิศษา ศรีบุรินทร์

สวัสดีค่ะ อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

หนูชื่อนางสาวอลิศษา ศรีบุรินทร์ เป็นนักเรียนชั้น ม.๕/๑ โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาค่ะ ตอนนี้โรงเรียนของหนูได้เตรียมความพร้อมที่จะประเมินโรงเรียนในฝันอย่างเต็มที่

พวกเราได้ใช้คอมพิวเตอร์เป็นสื่อการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็น เรียนผ่านบทเรียน

E-learning การเขียนเว็บด้วยตนเอง การส่งงานผ่าน Internet และอีกมากมายหลายอย่าง และพวกเราก็จะพยายามต่อไปเพื่อให้ โรงเรียนของเราได้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันให้ได้ค่ะ โรงเรียนเลยอนุกูลยินดีต้อนรับอาจารย์ชัดเจนมาตรวจเยี่ยมและแนะนำโรงเรียนของเราค่ะ (ให้พวกหนูผ่านด้วยนะค่ะพวกเราจะพยายามเต็มที่ค่ะ)

สวัสดีครับ

ท่านอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

พวกเราช่วยกันทำด้วยความตั้งใจสุดกำลังความสามารถ โปรดท่านจงพิจารณาให้พวกเราผ่านการประเมิน

นางสาวปวีณา วันธนะ

สวัสดีค่ะดร.ชัดเจน ไทยแท้

ดิฉันนางสาว ปวีณา วันธนะ

ดิฉันอยู่ที่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ( เคมี ) ค่ะ

ดิฉันทำการทดลองเรื่องการทดสอบสารที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตคือทดสอบเพื่ออยากจะทราบว่า

ยาลดกรดประเภทใดมีแคลเซียมคาร์บอเนตมากที่สุดเพราะถ้ายิ่งมีมากก็ช่วยลดกรด กรดในที่นี้

หมายถึงลดกรดในกระเพาะอาหารของคนเรา

โรงเรียนของเราเป็นศูนย์รวมค้นคว้าอินเทอร์เน็ตค่ะ

มีICT มากมายเลยค่ะในฐานะที่เป็นนักเรียนชาวโรงเรียนในฝันก็ยินดีต้อนรับ คุณ ดร. ชัดเจน ไทยแท้ มาประเมินโรงเรียนในฝัน

สวัสดีครับ

ท่านอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

ผมเรียนแล้วมีความสุขสนุกกับการเรียน เพราะโรงเรียนของผมมีศูนย์ ICTเรื่องเรียนก็สามารถค้นคว้าได้จากอินเตอร์เน็ต และขณะนี้ผมรู้สึกว่าผมสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อค้นคว้าหาความรู้ผมสามารถส่งอีเมล์ได้แล้วตอนนี้ผมกำลังศึกษาบทเรียน E-learning เกี่ยวกับการทำเวบเพจ สุดท้ายนี้ผมหวังว่าโรงเรียนจะผ่านการประเมินครับ

นายนิรันทร ธรรมวงษ์

สวัสดีครับ อาจารย์ชัดเจน

ผมชื่อนายนิรันทร ธรรมวงษ์ เป็นนักเรียนโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาครับ

ตอนนี้ผมอย่ในกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์สาขาฟิสิกส์และเพื่อนทั้งโรงเรียนที่มีความสามารถก็ได้กระจายกันไปอยู่ตามกลุ่มสาระต่างๆด้วยความตั้งใจกับการประเมิณโรงเรียนในฝันและหวังว่าคงจะผ่านการประเมิณในครั้งนี้ถ้าได้รับความกรุณาจากอาจารย์ชัดเจนครับ

นายวัชระ จิระอรรถกุล

ผม นายวัชระ จิระอรรถกุล

อาจารย์ ชัดเจนครับในการประเมินโรงเรียนในฝันครั้งนี้

พวกผมตั้งใจในการทำงานมากครับ เพื่อจะได้ให้การประเมินโรงเรียนในฝันออกมาดี พวกผมมีการเตรียมงานในการทำโครงงานโรงเรียนในฝันมาหลายเดือนครับ การประเมินครั้งนี้พวกผมจึงอยากให้ผ่านการประเมินมากครับ ผมอยู่ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ฟิสิกส์ และในกลุ่มสาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ มีการสอนการใช้โปรแกรมต่างๆมากมาย แล้วในการเรียนคอมพิวเตอร์ สามารถนำมาใช้กับชีวิตประจำวันได้มากมายเช่นการใช้โปรแกรม PhotoShop สามารถนำรูปมาตัดต่อรูปภาพได้หลากหลาย ทั้งนี้ที่พูดมาพวกผมมีความตั้งใจที่จะผ่านการประเมินมากครับ แล้วพวกผมจะทำให้ดีที่สุด

นางสาวภรณ์ศิริ ดีแก้ว

ถึง อาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

ดิฉันชื่อ นางสาว ภรณ์ศิริ ดีแก้ว ชั้นมัธยมปีที่ 5

ในการประเมินโรงเรียนในฝันโรงเรียนเลยอนุกูลตอนนี้มีความพร้อมมากค่ะ ที่จะขอรับการประเมินต้นแบบโรงเรียนในฝัน กลุ่มของพวกหนูได้เตรียมการไว้อย่างเต็มที่เพื่อให้อาจารย์ได้มาประเมิน แล้วค่ะ และกลุ่มสาระอื่นๆก็เตรียมการไว้อย่างเต็มที่แล้วค่ะ และในเรื่องการใช้ อีซีที พวกหนูได้เรียนการทำ Photoshop, มีการเขียนเว็บ html และการทำโปรแกรม swish โรงเรียนและนักเรียนโรงเรียนเลยอนุกูลทุกคนพร้อมที่จะได้รับการประเมินจาก อาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้แล้วค่ะ

ขอให้อาจารย์ได้ ช่วยให้โรงเรียนของหนูได้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันด้วยนะค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

ผม นายอานันท์ จันทนา

อาจารย์ ชัดเจนครับในการประเมินโรงเรียนในฝันครั้งนี้

พวกผมตั้งใจในการทำงานมากครับ ผมหวังว่าการประเมินครั้งนี้ คงจะผ่านนะครับ อิอิ... เพราะพวกผมตั้งใจทำมากครับ ในสาระการเรียนรู้คอมพิวเตอร์ มีการสอนให้ใช้โปรแกรมต่างๆครับ ทั้ง Photoshop และ

Swish v2.0 ด้วยครับ และยังสอนให้เขียนเว็บ ( HTML ) อีกด้วย ผมก็หวังนะครับขอให้การประเมินครั้งนี้ผ่าน เพราะพวกผมตั้งใจสุดๆ อืมเกือบลืมไปครับ ผมเล่นดนตรีสากลด้วยครับ ถ้าหากว่างไปชมการแสดงของผมด้วยนะครับ

นางสาวนิภัทรา พูใบ

หนูชื่อนางสาวนิภัทรา พูใบ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

ในการประเมินโรงเรียนในฝันครั้งนี้เป็นรอบตัดสินว่าโรงเรียนเลยอนุกูลจะได้เป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันหรือไม่ และหนูก็ขอให้อาจารย์ได้ช่วยให้โรงเรียนของหนูเป็นต้นแบบโรงเรียนในฝันด้วยนะค่ะ และทางโรงเรียนของเราก็ได้เตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ เป็นอย่างดี ที่จะได้รับการประเมินจาก อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ และพวกหนูทุกคนก็จะพยายามอย่างเต็มที่ค่ะ

ด้วยความเคารพอย่างสูง

หนูเป็นตัวแทนกลุ่มงานคอมพิวเตอร์ค่ะ ตอนนี้พวกหนูกำลังตัดต่อวีดีโอสั้นเกี่ยวกับเรื่อง การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ ICT ค่ะ จริงๆ แล้วพวกหนูมีโครงการเกี่ยวกับการตัดต่อ

วีดีโอในลักษณะรายการ ICT Gang on Tours โดยวีดีโอชุดแรกเป็นเรื่องของการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ "เมืองเลยสวยด้วยปทุมมา" แต่หนูคิดว่า วีดีโอสั้นที่อยากจะนำเสนออาจารย์ชัดเจนในวันที่ประเมินนั้น จะเป็นการแนะนำเกี่ยวกับศูนย์ ICT ที่โรงเรียนได้พยายามจัดสร้างขึ้นมาด้วยการมีส่วนร่วมของครู นักเรียนและชุมชนค่ะ

พวกหนูตั้งใจและภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนในฝันนี้มากๆ ค่ะ

ขอบพระคุณมากค่ะ

น่าสนใจมากค่ะ เป็นการนำ ICT มาใช้กับการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องของการประเมิน การศึกษาไทยต้องก้าวไกลแน่นอนค่ะ

นายวสันต์ โลไธสงค์ (ดีเจ หนุ่มชุมชน คนเมืองเลย)

ผมเป็นตัวแทนนักจัดรายการวิทยุของโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยาในโรงเรียนจะมีการจัดรายการเสียงตามสายทุกๆวันและผมยังเป็นนักจัดรายการของจังหวัดเลยด้วยครับผมเคยไปแข่งการประกวดนักจัดรายการของจังหวัดเลยที่โรงเรียนเลยพิทยาคมได้รับเหรียญเงิน(อันดับที่2ปี2550)และเคยไปอบรมและการทดสอบผู้ปรกาศข่าวที่กรมประชาสัมพันธ์เขต1จังหวัดขอนแก่น ตอนนี้ทางโรงเรียนได้จัดห้องจัดรายการใหม่ให้ผมและน้องได้เข้ามาจัดรายการตอนเที่ยง การประเมินครั้งนี้ผมและน้องๆได้ฝึกหัดการอย่างหนักโดยเฉพาะเรื่องการอ่านข่าวต่างๆและการออกเสียงตัว ร เป็นต้น

นางสาววิภาดา ไชยะวรรณ

พวกหนูเป็นตัวแทนของกลุ่ม ICT ค่ะใช้ในการศึกษาที่ก้าวไกล

วันนี้อากาศหนาวมากค่ะ แต่พวกหนูต้องมาโรงเรียน วันนี้โรงเรียนให้พวกหนูใส่กางเกง

ขายาวมาได้ค่ะ หนูตื่นเต้นมากเลยนะคะกับการเตรียมพร้อมให้โรงเรียนพวกหนูเข้าสู่โรงเรียนในฝัน เพราะหนูคิดว่าโรงเรียนหนูไม่ได้ด้อยไปกว่าโรงเรียนอื่นๆ ในจังหวัดเลย

แล้วฝันพวกหนูจะเป็นจริงใช่มั้ยคะคุณครู....

มาแวะเยี่ยมพวกหนูได้นะคะที่เว็บไซต์โรงเรียนหนูค่ะ

http://www.nukul.ac.th เจ้าค่ะ

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ขอเสนอรายละเอียดดังนี้

บทคัดย่อ เรื่อง การศึกษาแบคทีเรียในอาหาร

การทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์1 ) เพื่อจะศึกษาแบคทีเรียในน้ำนมพลาสเจอร์ไรด์ น้ำนมยูเอชที และน้ำแป้งขนมจีนหมักโดยใช้สารละลายเมทีลีนบูล 2 ) เพื่อศึกษารูปร่างของแบคทีเรียในน้ำนมจากการเพาะเลี้ยงแบคทีเรีย3 ) เพื่อศึกษาถึงประโยชน์ของแบคทีเรีย ผลจากการศึกษาพบว่านมพลาสเจอร์ไรด์ที่เก็บไว้นอกตู้เย็นจะมีแบคทีเรียมากกว่าที่เก็บไว้ในตู้เย็น นมยูเอชที ไม่พบแบคทีเรียทั้งที่เก็บไว้ในตู้เย็นและนอกตู้เย็น และจะพบแบคทีเรียในน้ำแป้งขนมจีนหมัก โดยสังเกตจากการเปลี่ยนแปลงของสีสารละลายเมทีลีนบูลจางลง ซึ่งสอดคล้องจากการศึกษาพบว่า ถ้าในนมมีแบคทีเรียมากสีของสารละลายเมทีลีนบูล จะจางลงอย่างรวดเร็ว และผลจากการเพาะเลี้ยงแบคทีเรียในอาหารเพาะเลี้ยงและนำไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์พบว่าแบคทีเรียในนมมีรูปร่างกลมและเป็นแท่ง จากการศึกษาค้นคว้านักเรียนได้นำความรู้ เรื่องประโยชน์ของแบคทีเรียไปทำโครงงานการทำขนมจีนจากแหล่งเรียนรู้และนำแป้งขนมจีนมาทำขนมจีนสดรับประทาน

----------

บทคัดย่อ เรื่อง การศึกษาการทำงานของเอนไซม์

การทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์1 ) เพื่อจะศึกษาการทำงานของเอนไซม์พืชในท้องถิ่น 2 ) เพื่อปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของเอนไซม์พืชในท้องถิ่น 3 ) เพื่อศึกษาประโยชน์ของเอนไซม์ในพืชท้องถิ่น โดยการนำน้ำผัก /น้ำผลไม้คั้น ทำปฏิกิริยากับสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ผลการทดลองพบว่า น้ำผัก / ผลไม้ที่ไม่ต้มเช่น ใบหอม ใบกระเพา ใบย่านาง ใบกระถิน ข่า สับปรด ยาง มะละกอดิบ สามารถสลายไฮโดรเจนเปอร์เกิดฟองแก๊สขึ้น และเมื่อนำน้ำผักที่คั้นไปต้มทำปฎิกิริยากับสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ จะไม่เกิดฟองแก๊ส จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าเอนไซม์เมื่อถูกความร้อนจะเปลี่ยนรูปร่าง ไม่สามารถทำงานได้ สิ่งมีชีวิตสามารถสร้างสารละลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ขึ้นในเซลล์ได้ และสารชนิดนี้เป็นอันตรายต่อเซลล์ จากการศึกษาค้นคว้า นักเรียนได้นำความรู้ เรื่อง การทำงานของเอนไซม์ ไปจัดทำโครงงาน การทำสลัดผักสด และนำเอนไซม์ในสับปรดไปใช้ในการหมักเนื้อให้สามารถ ต้มเปื่อยได้เร็วขึ้น

-----------

บทคัดย่อ เรื่อง การศึกษาการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน (การหมักของยีสต์ )

การทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์1 ) เพื่อจะศึกษาการสลายกลูโคสของยีสต์เมื่อปราศจากออกซิเจน 2 ) เพื่อศึกษารูปร่างและการแตกหน่อของยีสต์3 ) เพื่อศึกษาประโยชน์ของยีสต์เพื่อนำไปใช้ในการทำอาหาร ขนม โดยการเลี้ยงยีสต์ในสารละลายกลูโคสที่ปราศจากออกซิเจนทิ้งไว้ 1 คืน ผลการทดลองพบว่า ยีสต์จะสลายกลูโคสได้แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์โดยสังเกตจากเปลี่ยนแปลงของสีสารละลายบรอมไทมอลบูล จะจางลง และมีกลิ่นแอลกอฮอล์ และจากการตรวจสอบรูปร่างของยีสต์ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ พบว่ายีสต์มีรูปร่างกลม รี และพบว่ายีสต์มีการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศโดยการแตกหน่อ จากการศึกษาค้นคว้า นักเรียนได้นำความรู้ เรื่องการหมักของยีสต์โครงงาน การทำโดนัสยีสต์ ไว้รับประทานหรือพัฒนาเป็นสินค้าจำหน่ายได้

--------------------------

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิชา ศิลปะ

ขอเสนอรายละเอียดดังนี้

1.ภาพปะติด

2.ภาพวาดภาพเขียน

3.งานจักรสาน

4.งานปั้น

5.ห้องเกียรติยศศิลปะ

6.ห้องนิทรรศการศิลปะ

7.ห้องดนตรีไทย

8.การประกวดภาพวาด จากบริษัท มิตซูเลย

9.เวทีการแสดง ART SHOW

- วงดนตรีสากล

- การประกวดร้องเพลง

* ระดับประถมศึกษา

*ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

*ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

-สาธิตการร้องเพลง (หมอลำ) และหมอลำ

- ดนตรีโปงลาง

-นาฏศิลป์

-วงโยธวาธิต

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

กลุ่มสระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ขอเสนอรายละเอียดดังนี้

1.การนำเสนอด้วย Power point เรื่อง Sufficiency Economy และ Public Speech

2.กิจกรรมการแข่งขัน English Quiz จากการฟังและตอบคำถาม ความรู้รอบตัวภาษาอังกฤษ

3.โครงการภาษาอีสาน( ส้มตำ)

ห้อง Self Study

1.ฉายภาพยนตร์ Slide English camp

2.แสดงกลุ่มคำศัพท์

3.หนังสืออ่านนอกเวลา

4.การนำเสนอ

4.1 How to make

4.2 การจัด English camp

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

กลุ่มสาระการเรียนสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม

กิจกรรมที่นำเสนอดังนี้

1.โครงงาน ธนาคารขยะ นำเสนอโปรแกรม powerpoint

2. สาธิต เศรษฐกิจพอเพียง

3.สาธิต การประกวดมารยาทไทย

4.สหกรณ์ ภาคสนาม(ปฏิบัติจริง)

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

กิจกรรมนำเสนอ ดังนี้

1.ร้อยมาลัย

2.บายสีจากใบตอง

3.แกะสลักผักและผลไม้

4.ประดิษฐ์ดอกไม้แห้ง

5.ขนมโดนัด

6.น้ำพริกมะขาม

7.เก้าอี้ประดิษฐ์

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

คอมพิวเตอร์ กิจกรรมที่นำเสนอดังนี้

1. การนำเสนอการตัดต่อวีดีโอสั้น ชุดการพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ ICT

หรือ รายการ ICT Gang on Tours ตอน เมืองเลยสวยด้วยปทุมมา

2. ผลงานนักเรียนที่เกิดจากการปฏิบัติทักษะทางด้านคอมพิวเตอร์ ได้แก่

2.1 โครงงานเว็บเพจภูมิปัญญาชาวบ้านจังหวัดเลย

2.2 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book)

2.3 การออกแบบผลิตภัณฑ์ด้วยโปรแกรม Prodesktop

2.4 การสร้างภาพเคลื่อนไหวอย่างง่ายด้วย Macromedia Flash

2.5 การสร้างภาพไวนิลด้วยโปรแกรมตกแต่งภาพ Adobe Photoshop

2.6 การสร้างเอกสารสิ่งพิมพ์ด้วย Publisher

2.7 ผู้ช่วย Webmaster โรงเรียนตัวน้อย

2.8 จดหมายข่าวเลยอนุกูลวิทยา (Loeianukul Newsletter)

2.9 การเรียนรู้ผ่านเครือข่าย E-Learning ภายในโรงเรียน

2.10 การสืบค้นข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา

กิจกรรมนำเสนอ ดังนี้

1.ห้องเรียน

-ผลงานนักเรียนด้านกีฬา นำเสนอด้วย POWERPOINT

โดยนักเรียนชั้น ม.5/3

-ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการสอบ O-NET

2. ภาคสนาม

- สาธิตการแข่งขันเทเบิลเทนนิส ประเภทเดี่ยว,คู่

- จัดการแข่งขันฟุตซอล รุ่นอายุ 12ปี จัดโดยชมรมคนรักกีฬา

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

กลุ่มสารการเรีนรู้ภาษาไทย

กิจกรรมนำเสนอ ดังนี้

1.นักจัดรายการวิทยุ

2.โต้วาที

3.จัดภาษา

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

โรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

ขอขอบพระคุณ ดร.ชัดเจน ไทยแท้ ที่จะกรุณาให้คำแนะนำ นิเทศการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนในฝัน

เข้ามาหาความรู้จาก blog ของอาจารย์ชัดเจนบ่อยมากๆ ค่ะ วันนี้เลยพานักเรียนโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา เข้ามาสวัสดีอาจารย์ซะเต็มหน้าเว็บเลย หวังว่าคงจะไม่เป็นการรบกวนหน้า blog ของอาจารย์มากเกินไปนะคะ

เด็กๆ เค้าตื่นเต้นที่จะได้เรียนรู้และเตรียมรับการประเมินเป็นอย่างมากเลยค่ะ แต่ก็คงมีอะไรหลายอย่างที่จะต้องเรียนรู้และได้รับคำแนะนำจากท่านอาจารย์อีกมากมายเช่นกันค่ะ

ขอบคุณนะคะ

ยังจับสาระที่นำเสนอไม่ได้ ขอทำความเข้าใจดังนี้

1.อ่านคู่มือก่อนเพื่อตรวจสอบว่าว่ากิจกรรมที่นำเสนอจะให้ประเมินด้านใด

2.วิทยาศาสตร์ที่เล่ามาไม่ OK โครงงานส่วนโครงงานนำเสนอได้อยู่นอกห้องทดลองแต่ในห้องLabต้องเป็นการเรียนรู้โดยการลงมือทดลองเพราะต้องการประเมินวิธีสอนโดยการทดลอง ประเมินการใช้สื่อที่เหมาะ ประเมินคุณภาพห้องทดลอง คุณภาพสื่ออุปกรณ์ขอให้เล่าใหม่ อาจารย์เล่าก็ได้เพราะเป็นการสอน เคมี 3 lab ชีวะ 3 lab ฟิสิกส์ 3 lab ทำอะไรบ้างและต้องครบวงจรทุกLab

วงจรหมายถึง นักเรียนเชื่อมโยงความรู้เดิมกับสาระที่ทดลองได้ สรุปความรู้ได้ พัฒนาต่อยอดได้ นำเสนอรายงาน(ด้วยระบบICT ได้ )

3.ภาษาอังกฤษง่ายไป ส้มตำทำอะไร How to cookไม่ Ok งายไป จะไม่สมสักดิ์ศรีนะคะ อ่านแล้วเท่ากับระดับประถมเล่าใหม่นะคะ

4.คณิตศาสตร์เสนออะไรได้บ้าง

5.ภาษาอังกฤษสาธิตการสอน10 นาทีนะคะ

6.เสนออะไร ภาษาไทยละคะ

7.ขอให้อ่านเตรียมการประเมินอีกครั้ง

8.Computerประเมินนักเรียน 3 กลุ่ม1 กลุ่มทั่วไปทุกคนสืบค้นได้ เรียนระบบe-learningได้ กลุ่ม2 เสนองาน สร้างงานผ่านโปรแกรมต่างๆได้ กลุ่มที่  3มีงานสร้างสรรที่ใช้โปรแกรมสูงๆได้(อาจมีน้อยคน)

เลยอนุกูลฯต่อนะคะ

ภาษาไทยก็ไม่ชัดเช่นนักจัดรายการวิทยุให้ประเมินอะไร มีบทไหม มีวิธีการจัดการ มีขั้นตอนการนำเสนอไหม เลือกข่าวหรือเรื่องพูดอย่างไร ขอดู Scrip ย้อนหลัง ทุกอย่างคือการเรียนรู้ จะเพียงพูดจัดรายการเท่านั้นไมOKค่ะ

เสนอด้านวรรณคดี คำประพันธ์บ้างนะคะ

การรักการอ่านต้องมีข้อมูลต้องเข้มข้น คูตัวอย่างเรื่องเซียนโค่นเซียน หรือเจ้าหนอนน้อย

โครงงานผลควรเป็นชิ้นงานไม่ใช่รายงานและเสนอโดยความสามารถด้าน ICT ประเภทเสนอเป็นรายงาน 5 บทไม่ OK นะคะ ขอทบทวนว่าวันประเมิน 1.เป็นวันนำเสนอตะกอนที่ปรากฎกับนักเรียน 2.ขอให้รวบรวมตะกอน เป็นกิจกรรมนำเสนอโดยนักเรียน เป็นการเรียนการสอนที่ลงมือทำ 3.ตะกอนสำคัญคือ ทักษะการใช้ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ Com และการคิดวิเคราะห์โดยประเมินจากการตอบคำถามเชื่อมโยงเหตุผล การเข้าถึงแหล่งข้อมูล แก้ปัญหาได้เร็ว 4.โครงงานที่นำเสนอควรเป็นผลงาน เป็นชิ้นงาน และการรายงานขอให้นักเรียนแสดงความสามารถทาง Computer/ถามต่อได้ค่ะ

เรียนอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

       ขอขอบพระคุณสำหรับคำแนะนำเมื่อเช้านี้ค่ะ ขอเล่ารายละเอียดการทดลองในห้องปฏิบัติการเคมีดังนี้นะคะ

       Lab 1 เรื่องพอลิเมอร์  การทดลอง ปฏิกิริยาระหว่างน้ำยางพารากับกรดฟอร์มิก นักเรียนทำการทดลองโดยนำน้ำยางพารา(บ้านของนักเรียนปลูกยางพารา)มาทำปฏิกิริยากับกรดฟอร์มิก แสดงให้เห็นถึงการเกิดปฎิกิริยาเคมี การจับตัวของยางพารา  การทำแผ่นยางพารา

       Lab 2 เรื่องกาไทเทรต   การทดลอง  หาปริมาณสารลดกรดในยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียมคาร์บอเนต   นักเรียนทำการทดลองไทเทรตเพื่อหามวลเป็นร้อยละของสารลดกรดในยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ  แล้วนำพืชสมุนไพรมาไทเทรตดูว่าพืชชนิดใดที่มีปริมาณของแคลเซียมคาร์บอเนตใกล้เคียงกับยาลดกรด  แสดงว่าพืชนั้นสามารถนำมาใช้รับประทานแก้โรคกระเพาะอาหารได้

       Lab 3 เรื่องการแยกสาร  การทดลอง  การตกผลึกของสาร เพื่อศึกษารูปทรงทางเรขาคณิตของสาร   สำหรับการทดลองนี้คงต้องรบกวนอาจารย์ช่วยชี้แนะแนวทางเพิ่มเติมนะคะ 

                                        ขอบพระคุณค่ะ

เรื่องการแยกสาร การตกผนึกถ้าจะศึกษาแค่รูปทรง ไม่น่าจะใช่ น่าจะใช้ประโยชน์จากผลึก

การตกผลึกต้องใช้เวลา จะมีบันทึกสังเกตุการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ผลึกของอะไร จะเป็นผลึกหลายชนิดได้หรือไม่ ดูความแตกต่างและนำไปใช้อะไรได้ จะมีวิธีอะไรจะทำให้ตกผลึกได้เร็วจะเพิ่มการทดลองก็ได้

จะหาค่า PH ของน้ำจากที่ต่างๆโดยเฉพาะโรงอาหาร แล้วหาวธีลดหรือเพิ่มค่า PH ในน้ำดีม๊ย ลองคิดนะคะ

....ชาวเลยอนุกูลฯคะขอให้สบายใจนะคะดิฉันไม่ดุตามที่มีคนกล่าวนะคะ หลายคนไม่คุ้นกับการถามที่ต้องการเหตุผล คำถามที่กระตุ้นการคิด-วิเคราะห์ หลายคนไม่ชิน กับการบอกเหตุผล รู้สีกว่าการให้เหตุผลเป็นเรื่องอยาก อาจไม่สบายใจ การปรับวิธีสอนถ้าใช้คำถามเชิงคิดวิเคราะห์ นักเรียนน่าจะไม่มีปัญหานะคะ

....แต่ดิฉันจำเป็นต้องถามหาตะกอนการเรียนรู้ คำถามเป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในเวลานี้ คำถามเป็นการกระตุ้นการคิด-วิเคราะห์ วันประเมินเป็นวันที่สะท้อนตะกอนที่สั่งสมที่ตัวนักเรียน การตอบคำถามที่มีเหตุมีผล ตอบไม่ได้แต่เข้าสิ่งแหล่งเรียนรู้ได้ ก็ OK เป็นการสะท้อนการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นการคิดวิเคราะห์การสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ โรงเรียนมีขีดความสามารถในการสืบค้น

     ขอให้อ่านคู่มือนะคะ

....  สาระสังคม จะมีการสอนสาระประวัติศาสตร์ไหมคะ เช่นการเรียนรู้ประวัติศาสตร์จากจังหวัดเลย มีวีการเรียนรู้หลากหลาย นักเรียนมีข้อมูล เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ความเป็นมา ของจังหวัด เชื่อมโยงข้อมูลที่ได้กับประวัติศาสตร์ไทยสมัยใดสมัยหนึ่ง ...แล้วนำเสนอรายงาน ผลงานอย่างหลากหลาย ตามความถนัด (ไม่ใช่รายงาน5บท) เช่น นำเสนอบันทึกการเดินทางของชนเผ่าพื้นเมือง นำเสนอเป็น e-book ถ้าท่านเคยสอนแบบนี้นำเสนอได้เลยค่ะ

 .... จะสาธิตหมอลำต้องผ่านการเรียนรู้ ประวัติ ประเภท การแต่งบทกลอน นำบทกลอนที่เป็นที่รู้จักมาวิเคราะห์ว่าสะท้อนอะไรบ้าง ฝึกแต่งกลอนแล้วจึงสาธิตนะคะ (จะเสนออะไรให้ดูคู่มือว่าให้ประเมินด้านใด)

....ภาษาอังกฤษจะเห็นมัคคุเทศ พาชมจังหวัดเลยมั๊ยคะ

ถามได้ค่ะ

....g

       

นางสาวอรนุช กันพนม

สวัสดีคะ อาจารย์ชัดเจน

หนูเป็นนักเรียนที่จะเตรียมการประเมินโรงเรียนในฝัน

และหนูอยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และต้องการคำแนะนำจากอาจารย์ชัดเจดค่ะ

หนูทำโครงงานเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง วงจรเตือนน้ำเต็มอ่างคะ

แต่หนูไม่รู้จะนำเสนอยังไง อาจารย์กรูณาให้คำแนะนำด้วยนะ

หนูอรนุช

เนื้อหาที่นำเสนอเป็นฟิสิกส์ใช่ไหม? ถ้าจะนำเสนอในห้องทดลองให้ทำดังนั้น

1.ชื่อ Lab เป็นชื่อการทดลลองทางวิทย์ ไม่ใช่ชื่อผลงานเช่นศึกษา ทดลอง วงจร อีเล็กทรอนิกส์ต้องทดลองต่อวงจร อธิบายด้วยการใช้แผง อีเล็กทรอนิคจริงๆ บอกชิ้นส่วนต่างๆได้ มีนักเรียนอธิบายและในขณะเดียวกันมีนักเรียนลงมือปฏิบัติจริง เห็นการเชื่อมต่อจริงๆ (จะประเมินความคล่องแคล่ว ประเมินสื่ออุปกรณ์)

2. บอกให้ได้ว่าเป็นหลักการของใคร

3.สรุปเป็นองค์ความรู้ได้ จากความรู้ที่ได้ นำมาสู่แนวคิดในการออกแบบชิ้นงาน ดังนั้นก่อนจะเป็นเครื่องเตือนน้ำเต็มต้องเห็นการออกแบบก่อน (ประเมินความเข้าใจ ความคิดสร้างสรรการนำไปใช้ ฯลฯ)

4.ลงมีอทำจริงเห็นการต่อวงจรจริงๆ (มีทักษะในการปฏิบัติ)

5.รายงานการทดลองโดยใช้ความสามารถทางComputer ถ้าเป็น power point ควรมีภาพมากกว่าตัวหนังสือ ระดับนี้แล้วน่าจะเป็นAnnimation มากกว่า 

        ที่กล่าวมาคือตะกอนที่ตัวนักเรียน ถ้าครูเข้าใจและให้นักเรียนทำเช่นนี้จนเป็นปกติน่าจะมั่นใจได้ จะเรื่องอะไรก็เสนอได้...Ok นะคะ/ถามมาได้อีก

ชาวเลยอนุกูลลวิทยา ที่คิดถึง

เปิดอ่านตอนต้นของบันทึกถึงโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยานะคะดิฉันเสนอตัวอย่างฟิสิกส์ให้ 1เรื่อง"กฏมือซ้ายของเฟรมมิ่ง"

ตัวอย่างจากที่ผ่านแล้วมีมากมาย วิทยาศาสตร์ระดับม.ปลายที่ชัดมากน่าจะเป็น ท่าตูมประชาเสริมวิทย์ (สพท.สุรินทร์เขต2 )สุวรรณถูมิทิพยไพศาล( ร้อยเอ็ดเขต2 )เปือยน้อยศึกษา (ขอนแก่นเขต 2 ) ทุกอย่างนำเสนอแบบมั่นใจแสดงตะกอนเป็นเยาวชนนักวิทยาสาสตร์ การรายงานได้แสดงความสามารถด้าน ICT แสดงความสามารถในการนำเสนอผ่านAnnimation 

 ที่ยกตัวอย่างมาก็เพื่อยีนยันว่านักเรียนโรงเรียนในฝันทำได้จริง เก่งจริง ครูสอนแบบนี้จริงๆ ท่านก็เป็นอีกคนหนึ่งที่ทำได้ดิฉันเชื่อเช่นนั้นจริงๆ

  • เรียนพี่ ชัดเจน ไทยแท้
  • ผมกลับจากพัทยาถึงบ้านแล้ว ได้โทรฯคุยกับ ศน.อุทัยวรรณ เห็นว่าจะซ้อมใหญ่วันที่18 นี้
  • ผมจะเข้าไปดูก่อนในวันพรุ่งนี้ และจะใช้บันทึกของพี่ในการนิเทศครับ

ท่านผอ.บรรจง

ฝากท่านช่วยด้วย เขาเป็นโรงเรียนแรกในย่านนี้อยากให้ดีจริงๆจะได้เป็นแบบอย่างโรงเรียนอื่นได้

ชาวเลยอนุกูลวิทยา

การนำเสนอของกนกพร ok นะคะ

ขอบคุณอาจารย์มากๆ ค่ะ ตอนนี้วีดีโอชุด การพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้ ict ที่กลุ่มหนูได้เก็บข้อมูลและถ่ายทำเสร็จแล้วค่ะ เหลือรายละเอียดปลีกย่อยนิดหน่อย ก็คือใส่เสียงเพลง และเอฟเฟกต์ค่ะ

หตุผล ที่พวกหนูกลุ่ม ict เลือกที่จะนำเสนอเรื่องนี้ มาจากเหตุผลหลักก็คือ พวกหนูภูมิใจที่เรามีห้องคอมพิวเตอร์ใหม่ และอยากให้ผู้ที่มาเยี่ยมเยียนห้องของเรา ทราบว่าศูนย์ของเรามีความเป็นมายังไง และท่าน ผอ. มีแนวทางการพัฒนายังไงค่ะ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือจะได้เก็บเป็นวีดีโอแนะนำโรงเรียนไปด้วยในตัวค่ะ กลุ่มพวกหนูทำงานชิ้นนี้มีทั้ง ม.ต้น ม.ปลายค่ะ

สิ่งที่ยากที่สุด สำหรับพวกหนูก็คือการเขียนบทสคริปต์ ซึ่งพวกหนูต้องไปขอความช่วยเหลือจากครูที่ปรึกษาให้ช่วยขัดเกลาภาษาให้ค่ะ แล้วก็เอามาปรับแก้ไขตามที่ครูแนะนำมาค่ะ แล้วก็ได้รุ่นพี่ปีที่แล้วมาช่วยดูแล แนะนำพวกหนูอีกทีหนึ่งค่ะ แต่กว่าจะถ่ายแล้วเก็บข้อมูลได้ พวกหนูลำบากเหมือนกันค่ะ เพราะกล้องวีดีโอของโรงเรียนพัง แต่ก็พอใช้ได้บ้าง ภาพที่ได้มาจึงไม่ค่อยดีเท่าไหรค่ะ แต่พวกหนูก็ได้พยายามเต็มที่แล้วค่ะ

ขอบคุณคุณครูชัดเจนค่ะ  จริงๆ แล้วหนูเคยเจอครูครั้งแรกที่โรงเรียนเมืองเลยค่ะ เพราะหนูจบจากที่นั่น ปีนั้นคุณครูมาประเมินที่โรงเรียนค่ะ หนูทั้งกลัวและตื่นเต้นที่สุดเลยค่ะ แต่ในที่สุดโรงเรียนหนูก็ผ่านการประเมิน....

ถ้าหากเรามีโรงเรียนดีใกล้บ้าน ที่เป็นที่สุดของในฝันของเรา คิดว่าการศึกษาที่นักเรียนและครูร่วมกันสร้างสรรค์ น่าจะพัฒนาท้องถิ่นให้เจริญขึ้น เพราะโรงเรียนเหล่านั้นรู้ซึ้งถึงคำว่าพอเพียง

ขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่ สพฐ.คิด และมอบให้

นายวสันต์ โลไธสงค์ (ดีเจ หนุ่มชุมชน คนเมืองเลย)

สวัสดีครับคุณชัดเจน ไทยแท้

ผมอยากทราบว่ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยควรจะมีการจัดรายการวิทยุหรือไม่

การจัดรายการวิทยุควรมีเทคนิคอะไรเพิ่มเติมครับ

ภาษาไทย คะ ดีค่ะที่ถามดิฉันตอบแล้วครั้งหนึ่งแต่ตอบสั้นไป

1. ภาษาไทยควรมีหลายกิจกรรม เช่น กิจกรรมในเชิงการใช้ภาษา การโต้วาที การเขียนบทความ เรื่องสั้น บทละคร บทวิทยุฯลฯ การเขียน-อ่าน คำประพันธ์ วรรณคดี วรรณกรรม ท่านจะนำเสนออะไร?ควรตอบคำถามให้ได้ ว่าจะให้ประเมินตะกอนหรือความสามารถนักเรียนด้านใด?

2.จะนำเสนอกิจกรรมอะไรให้ประเมินว่าจะให้กรรมการประเมินข้อใด (ดูในคู่มือ)

3.จัดรายการวิทยุให้ประเมินอะไร? ถ้าจะให้ประเมินว่าเป็นกิจกรรมการเรียนการสอนภาษาไทย ก็ได้ค่ะและควรเป็นดังนี้

   3.1 ขอให้ทราบ Concept ร่วมกันว่า วิทยุเป็นแหล่งเรียรู้ที่โรงเรียนจัดให้(ดีค่ะ) เปิดโอกาสให้นักเรียนได้ฝึกทักษะและฝึความสามารถการใช้ภาษาที่สร้างสรรค์ ดังนั้นจึงควรเห็นฝึกทักษะในการเขียนบทวิทยุ มีผู้สอนการเป็นผู้ประกาศ(เป็นความรู้นะคะ ถ้าไม่มีวิทยากรควร ต้องสืบค้นหาศาสตร์ทางการพูด เพื่อมั่นฝึกและครูเป็นที่ปรึกษา) ฝึกการเป็นผู้ประกาศ การเป็นผู้อ่านข่าว (มีวิธีการเลือกข่าว) ผู้ประกาศ ผู้อ่านข่าว นักจัดรายการ ผู้จัดรายการ พิธีกร มีลักษณะที่ต่างกัน ต้องได้เรียนรู้จุดต่างและเหมือนนักเรียนต้องตอบได้นะคะถ้าได้เรียนรู้

  3.2 ยิ่งถ้าเป็นการจัดรายการ ต้องฝึกการวางแผน ฝึกการเป็นโปรดิวเซอร์ กรรมการต้องขอดูแผน ดูผังรายการ ดูกำหนดการออกอากาศ การเขียบทจะขอดูบท มีผู้ตรวจบท(บรรณาธิการ)  

3.3 นักเรียนที่เป็นนักจัดรายการต้องมีหลายคน ตามความถนัดว่าจะจัดรายการเรื่องอะไร ประเภทใหน และต้องมีความรู้รอบตัวในเรื่องนั้นๆและควรผ่านการประเมินอนุญาติให้จัดรายการ(จากโรงเรียน)

3.4 ถ้ามีนักเรียนนั่งจัดรายการคนเดียวไม่มีความรู้เรื่องการจัดไม่มีการวางแผน ไม่มีบท ไม่มีผังรายการ ไม่มีการประเมินความสามารถ เป็นการเรียนรู้ที่ลองผิดลองถูกและปล่อยไปอย่างไม่มีทิศทาง คงไม่ใช่แนวทางโรงเรียนในฝัน ฝากอาจารย์ช่วยจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนด้วยนะคะ

 ด้วยความปราถนาดีค่ะ/ชัดเจน

ด.ญ.สุกัญญา วังสาลุน

สวัสดีคะอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

หนูเป็นนักเรียนโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

หนูอยู่ lab เคมี ม.ต้น

เรื่อง การทดสอบโปรตีนในนมสด

ต้องการคำเเนะนำในการนำเสนอการทดสอบโปรตีนในนมสดจากอาจารย์ชัดเจนค่ะ

นางสาวภรณ์ศิริ ดีแก้ว

เรียนอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

ดิฉันนางสาวภรณ์ศิริ ดีแก้ว อยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ กลุ่มหนูได้ทำโครงงาน เรื่อง ความดัน

ได้ทำการทดลองโดยการศึกษา กฎของบอยล์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความดันและปริมาตรของแก๊สเมื่ออุณภูมิคงตัว จึงมีแนวคิดที่จะประดิษฐ์ปืนลมโดยใช้หลักทฤษฎีของบอยล์นำมาประยุกต์ใช้

และในการนำเสนอควรจะนำเสนอในแบบใดถึงจะเหมาะสมรบกวนท่านอาจารย์ช่วยแนะแนวให้ด้วยค่ะ ขอบพระคุณอย่างยิ่งค่ะ

น.ส.วิลาวัณย์ ศรีเจริญ

สวัสดีค่ะคุณครู ดร.ชัดเจน ไทยแท้

หนูอยู่ Labชีวะ เรื่อง เอนไซม์และการทำงานของเอนไซม์

ปัญหา เอนไซม์มีบทบาทอย่างไรในการสลายไฮโดเจนเปอร์ออกไซม์

สมมติฐาน ถ้าในผักและผลไม้มีเอนไซม์จะทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซม์

ดังนั้น จะเกิดฟองก๊าซออกซิเจนเกิดขึ้นค่ะ

สำหรับการทดลอง กลุ่มของพวกหนูจะนำผักและผลไม้จำนวน 20 กรัม มาโขลกให้ละเอียด กรองด้วยผ้าขาวบางใส่ในบีกเกอร์ นำน้ำผักและผลไม้ใส่ในหลอดทดลองจำนวน 5 ลูกบาศก์เซนติเมตร จำนวน 3 หลอด ทดลอง(น้ำสับปะรดค่ะ)

หลอดทดลองที่ 1 ใส่สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซม์จำนวน 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร สังเกตผลการทดลอง (เกิดฟองก๊าซ)

หลอดทดลองที่ 2 นำหลอดทดลองที่ 2 ต้มที่อุณหภูมิ 60 องศา แล้วใส่สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซม์ ม์จำนวน 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร สังเกตผลการทดลอง (ไม่มีฟองก๊าซ)

หลอดทดลองที่ 3 นำหลอดทดลองใส่ในน้ำที่อุณหภูมิ 20 องศาแล้วใส่สารไฮโดรเจนเปอร์ออกไซม์ ม์จำนวน 2 ลูกบาศก์เซนติเมตร สังเกตผลการทดลอง (ไม่มีฟองก๊าซเช่นเดียวกัน)

จึงสามารถสรุปได้ว่า

.......เอนไซม์สามารถสลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซม์ได้ โดยเอนไซม์สามารถสลายไฮโดรเจนเปอร์ออกไซม์ได้ดีที่อุณหภูมิปกติของร่างกายค่ะ.......

พวกหนูต่อยอดการทดลองโดยการนำน้ำสับปะรดมาหมักในเนื้อหมู โดยการต้มเปรียบเทียบกับเนื้อหมูที่ไม่หมักน้ำสับปะรด

...........แบบนี้เป็นการทดลองอย่างไรบ้างค่ะ ช่วยติชมด้วยค่ะ มีข้อเสนอแนะยิ่งดีใหญ่เลยค่ะ....ขอบพระคุณเป็นอย่างสูงค่ะ

น.ส. สุนันทา สุวรรณสิงห์

เรียน อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

หนูเป็นนักเรียนที่จะเตรียมการประเมินโรงเรียนในฝัน

และหนูอยู่กลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และต้องการคำแนะนำจากอาจารย์ชัดเจดค่ะ หนูได้ทำเกี่ยวกับLabเคมี เรื่องพอลิเมอร์ การทดลอง ปฏิกิริยาระหว่างน้ำยางพารากับกรดฟอร์มิก โดยนำน้ำยางพารามาทำปฏิกิริยากับกรดฟอร์มิก แสดงให้เห็นถึงการเกิดปฎิกิริยาเคมี การจับตัวของน้ำยางพารา เกิดเป็นแผ่นยางพารา

แต่หนูไม่รู้จะนำเสนอยังไง อาจารย์กรูณาให้คำแนะนำด้วยนะค่ะและถ้าหนูจะต่อ ยอดเกี่ยวกับ Lab นี้ หลังจากที่ทำยางเป็นแผ่นแล้ว หนู่ว่าจะนำมาทำเป็นกลองใส่เอกสารในห้อง ทำโมบายที่แขวนหน้าต่าง ประตู และทำหมวก จะทำสิ่งไหนดีค่ะ หนูขอคำแนะนำด้วยค่ะ

ตอบคำถามเด็กๆ

 1.เรีองตรวจสอบโปรตีนในนมสด นักเรียนต้องตอบก่อนว่า

    1.1เรียนเรื่องอะไร ถ้าทดสอบสารอาหารก็ต้องตรวจสอบสารอาหารหลายประเภท ถ้าตรวจสอบเฉพาะโปรตีนก็ต้องตรวจสอบจากสารอาหารหลายอย่างเพื่อเปรียบเทียบ  

  1.2 ตรวจสอบได้ความรู้แล้ว นำไปทำอะไรต่อจะบอกว่าเพื่อรู้ เลือกทาน ไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ OK นะคะ ไม่เห็นการนำความรู้ไปใช้

 1.3ถ้าเป็นการตรวจสอบหลายวิธี แล้วจะเลือวิธีที่ดี ต้องบอกได้ว่าดีอย่างไร และนำวิธีนี้ไปใช้ตรวจสอบสารอาหารอื่น ได้ไหม

1.4 Concept วันประเมินเป็นวันที่สะท้อนตะกอนที่ตัวนักเรียนกิจกรรมในLabเป็นวิธีการเรียนรู้โดยการทดลอง

  นักเรียนต้องสามารถเชื่อมโยงความรู้เดิมกับสาระที่กำลังทดลองได้

 เมื่อได้ความรู้จากการทดลองแล้วสามารถนำไปต่อยอดให้สูงขึ้นหรือผลืตชิ้นงานและรายงานผ่านระบบICT

น..ส.ชนัณชิดา โสกัณทัต

สวัสดีคะ อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

หนูเป็นนักเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ เรื่องการสืบค้นข้อมูล โลก ดารารศาสตร์และอวกาศ อยากทราบว่าหนูต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ คือหนูทำเกี่ยวกับเรื่องการเรียนในรายวิชานี้ด้วยต้องสืบค้นเรื่องอื่นด้วยหรือเปล่าคะ หนูยังไม่เข้าใจค่ะ

น.ส. มินริกา สอนสุภาพ

เรียนอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้ ดิฉันขอความกรุณาให้ท่านอาจารย์แนะนำเกี่ยวกับการผลิตสื่อการเรียนการสอนวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศว่าควรทำอย่างไรจึงจะเหมาะสมในการเตรียมการรับการประเมินโรงเรียนในฝัน

ตอบหนูชนัณชิดา

    หนูจะเรียนเรื่องอะไร  การสืบค้นข้อมูลก็เหมือนกับหนู       หาตำรา หาหนังสืออ่าน หนูก็เข้าไปใน web site ที่เกี่ยวข้องก็เหมือนหนูอยู่ในห้องสมุดขนาดใหญ่ที่ดีมากๆก็คือบางweb บางโปรแกรมจะมีภาพจะอธิบายด้วยภาพ เช่น starry ninght Celestia เป็นเรื่องราว ที่ต้องการมี อธิบายด้วย animation จะช่วยให้การเรียนสนุกสนาน น่าเรียนมากขึ้น ถ้าโรงเรียนมีความพร้อมก็จะสามารถนำเสนอในห้องฉายหนังขึ้นอยู่กับความพร้อม นี่เป็นการประเมินการเรียนรู้จากสื่อที่หลากหลาย นอกจากหนูจะแสดงคุณภาพโดยการตอบคำถาม(ไม่รู้จะถามอะไร) ประเมินการสืบค้นว่ารวดเร็วมั๊  รู้จักแหล่งข้อมูล แค่ไหน และยังประเมินวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูตลอดจนการสนับสนุนการเรียนรู้โดยสื่อICT  /ค่ะ

 ท่าตูมประชาเสริมวิทย์ สุรินทร์เขต 2 เรียนน้ำขึ้นน้ำลง จาก Celestia

น.ส.มินริกา สอนสุภาพ

พวกดิฉันอยากให้อาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ ได้ให้คำแนะเกี่ยวกับเนื้อหาที่ส่งว่าเหมาะสมหรือไม่ค่ะให้คำแนะนำพวกดิฉันด้วยค่ะ

โครงสร้างของโลก

กำเนิดโลก

เมื่อประมาณ 4,600 ล้านปีมาแล้ว กลุ่มก๊าซในเอกภพบริเวณนี้ ได้รวมตัวกันเป็นหมอกเพลิงมีชื่อว่า “โซลาร์เนบิวลา” (Solar แปลว่า สุริยะ, Nebula แปลว่า หมอกเพลิง) แรงโน้มถ่วงทำให้กลุ่มก๊าซยุบตัวและหมุนตัวเป็นรูปจาน ใจกลางมีความร้อนสูงเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์แบบฟิวชั่น กลายเป็นดาวฤกษ์ที่ชื่อว่าดวงอาทิตย์ ส่วนวัสดุที่อยู่รอบๆ มีอุณหภูมิต่ำกว่า รวมตัวเป็นกลุ่มๆ มีมวลสารและความหนาแน่นมากขึ้นเป็นชั้นๆ และกลายเป็นดาวเคราะห์ในที่สุด

กำเนิดระบบสุริยะ

โลกในยุคแรกเป็นของเหลวหนืดร้อน ถูกกระหน่ำชนด้วยอุกกาบาตตลอดเวลา องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุหนัก เช่น เหล็ก และนิเกิล จมตัวลงสู่แก่นกลางของโลก ขณะที่องค์ประกอบซึ่งเป็นธาตุเบา เช่น ซิลิกอน ลอยตัวขึ้นสู่เปลือกนอก ก๊าซต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ พยายามแทรกตัวออกจากพื้นผิว ก๊าซไฮโดรเจนถูกลมสุริยะจากดวงอาทิตย์ทำลายให้แตกเป็นประจุ ส่วนหนึ่งหลุดหนีออกสู่อวกาศ อีกส่วนหนึ่งรวมตัวกับออกซิเจนกลายเป็นไอน้ำ เมื่อโลกเย็นลง เปลือกนอกตกผลึกเป็นของแข็ง ไอน้ำในอากาศควบแน่นเกิดฝน น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์ลงมาสะสมบนพื้นผิว เกิดทะเลและมหาสมุทร สองพันล้านปีต่อมาการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ได้นำคาร์บอนไดออกไซด์มาผ่านการสังเคราะห์แสง เพื่อสร้างพลังงาน และให้ผลผลิตเป็นก๊าซออกซิเจน ก๊าซออกซิเจนที่ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศชั้นบน แตกตัวและรวมตัวเป็นก๊าซโอโซน ซึ่งช่วยป้องกันอันตรายจากรังสีอุลตราไวโอเล็ต ทำให้สิ่งมีชีวิตมากขึ้น และปริมาณของออกซิเจนมากขึ้นอีก ออกซิเจนจึงมีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงบนพื้นผิวโลกในเวลาต่อมา

กำเนิดโลก

โครงสร้างภายในของโลก

โลกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางยาว 12,756 กิโลเมตร (รัศมี 6,378 กิโลเมตร) มีมวลสาร 6 x 1024 กิโลกรัม และมีความหนาแน่นเฉลี่ย 5.5 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (หนาแน่นกว่าน้ำ 5.5 เท่า) นักธรณีวิทยาทำการศึกษาโครงสร้างภายในของโลก โดยศึกษาการเดินทางของ “คลื่นซิสมิค” (Seismic waves) ซึ่งมี 2 ลักษณะ คือ

คลื่นปฐมภูมิ (P wave) และคลื่นทุติยภูมิ (S wave)

คลื่นปฐมภูมิ (P wave) เป็นคลื่นตามยาวที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลาง โดยอนุภาคของตัวกลางนั้นเกิดการเคลื่อนไหวแบบอัดขยายในแนวเดียวกับที่คลื่นส่งผ่านไป คลื่นนี้สามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางที่เป็นของแข็ง ของเหลว และก๊าซ เป็นคลื่นที่สถานีวัดแรงสั่นสะเทือนสามารถรับได้ก่อนชนิดอื่น โดยมีความเร็วประมาณ 6 – 8 กิโลเมตร/วินาที คลื่นปฐมภูมิทำให้เกิดการอัดหรือขยายตัวของชั้นหิน ดังภาพที่ 3

คลื่นทุติยภูมิ (S wave) เป็นคลื่นตามขวางที่เกิดจากความไหวสะเทือนในตัวกลางโดยอนุภาคของตัวกลางเคลื่อนไหวตั้งฉากกับทิศทางที่คลื่นผ่าน มีทั้งแนวตั้งและแนวนอน คลื่นชนิดนี้ผ่านได้เฉพาะตัวกลางที่เป็นของแข็งเท่านั้น ไม่สามารถเดินทางผ่านของเหลว คลื่นทุติยภูมิมีความเร็วประมาณ 3 – 4 กิโลเมตร/วินาที คลื่นทุติยภูมิทำให้ชั้นหินเกิดการคดโค้ง

การเดินทางของ P wave และ S wave ขณะเกิดแผ่นดินไหว

ขณะที่เกิดแผ่นดินไหว (Earthquake) จะเกิดแรงสั่นสะเทือนหรือคลื่นซิสมิคขยายแผ่จากศูนย์เกิดแผ่นดินไหวออกไปโดยรอบทุกทิศทุกทาง เนื่องจากวัสดุภายในของโลกมีความหนาแน่นไม่เท่ากัน และมีสถานะต่างกัน คลื่นทั้งสองจึงมีความเร็วและทิศทางที่เปลี่ยนแปลงไปดังภาพที่ 4 คลื่นปฐมภูมิหรือ P wave สามารถเดินทางผ่านศูนย์กลางของโลกไปยังซีกโลกตรงข้ามโดยมีเขตอับ (Shadow zone) อยู่ระหว่างมุม 100 – 140 องศา แต่คลื่นทุติยภูมิ หรือ S wave ไม่สามารถเดินทางผ่านชั้นของเหลวได้ จึงปรากฏแต่บนซีกโลกเดียวกับจุดเกิดแผ่นดินไหว โดยมีเขตอับอยู่ที่มุม 120 องศาเป็นต้นไป

โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามองค์ประกอบทางเคมี

นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 3 ส่วน โดยพิจารณาจากองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้

เปลือกโลก (Crust) เป็นผิวโลกชั้นนอก มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นซิลิกอนออกไซด์ และอะลูมิเนียมออกไซด์

แมนเทิล (Mantle) คือส่วนซึ่งอยู่อยู่ใต้เปลือกโลกลงไปจนถึงระดับความลึก 2,900 กิโลเมตร มีองค์ประกอบหลักเป็นซิลิคอนออกไซด์ แมกนีเซียมออกไซด์ และเหล็กออกไซด์

แก่นโลก (Core) คือส่วนที่อยู่ใจกลางของโลก มีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก และนิเกิล

องค์ประกอบทางเคมีของโครงสร้างภายในของโลก

โครงสร้างภายในของโลก

โครงสร้างภายในของโลกแบ่งตามคุณสมบัติทางกายภาพ

นักธรณีวิทยา แบ่งโครงสร้างภายในของโลกออกเป็น 5 ส่วน โดยพิจารณาจากคุณสมบัติทางกายภาพ ดังนี้

ลิโทสเฟียร์ (Lithosphere) คือ ส่วนชั้นนอกสุดของโลก ประกอบด้วย เปลือกโลกและแมนเทิลชั้นบนสุด ดังนี้

o เปลือกทวีป (Continental crust) ส่วนใหญ่เป็นหินแกรนิตมีความหนาเฉลี่ย 35 กิโลเมตร ความหนาแน่น 2.7 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร

o เปลือกสมุทร (Oceanic crust) เป็นหินบะซอลต์ความหนาเฉลี่ย 5 กิโลเมตร ความหนาแน่น 3 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร (มากกว่าเปลือกทวีป)

o แมนเทิลชั้นบนสุด (Uppermost mantle) เป็นวัตถุแข็งซึ่งรองรับเปลือกทวีปและเปลือกสมุทรอยู่ลึกลงมาถึงระดับลึก 100 กิโลเมตร

แอสทีโนสเฟียร์ (Asthenosphere) เป็นแมนเทิลชั้นบนซึ่งอยู่ใต้ลิโทสเฟียร์ลงมาจนถึงระดับ 700 กิโลเมตร เป็นวัสดุเนื้ออ่อนอุณหภูมิประมาณ 600 – 1,000ฐC เคลื่อนที่ด้วยกลไกการพาความร้อน (Convection) มีความหนาแน่นประมาณ 3.3 กรัม/เซนติเมตร

เมโซสเฟียร์ (Mesosphere) เป็นแมนเทิลชั้นล่างซึ่งอยู่ลึกลงไปจนถึงระดับ 2,900 กิโลเมตร มีสถานะเป็นของแข็งอุณหภูมิประมาณ 1,000 – 3,500ฐC มีความหนาแน่นประมาณ 5.5 กรัม/เซนติเมตร

แก่นชั้นนอก (Outer core) อยู่ลึกลงไปถึงระดับ 5,150 กิโลเมตร เป็นเหล็กหลอมละลายมีอุณหภูมิสูง 1,000 – 3,500ฐC เคลื่อนตัวด้วยกลไกการพาความร้อนทำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก มีความหนาแน่น 10 กรัม/ลูกบาศก์เซนติเมตร

แก่นชั้นใน (Inner core) เป็นเหล็กและนิเกิลในสถานะของแข็งซึ่งมีอุณหภูมิสูงถึง 5,000 ?C ความหนาแน่น 12 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร จุดศูนย์กลางของโลกอยู่ที่ระดับลึก 6,370 กิโลเมตร

สนามแม่เหล็กโลก

แก่นโลกมีองค์ประกอบหลักเป็นเหล็ก แก่นโลกชั้นใน (Inner core) มีความกดดันสูงจึงมีสถานะเป็นของแข็ง ส่วนแก่นชั้นนอก (Outer core) มีความกดดันน้อยกว่าจึงมีสถานะเป็นของเหลวหนืด แก่นชั้นในมีอุณหภูมิสูงกว่าแก่นชั้นนอก พลังงานความร้อนจากแก่นชั้นใน จึงถ่ายเทขึ้นสู่แก่นชั้นนอกด้วยการพาความร้อน (Convection) เหล็กหลอมละลายเคลื่อนที่หมุนวนอย่างช้าๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า และเหนี่ยวนำให้เกิดสนามแม่เหล็กโลก (The Earth’s magnetic field)

แกนแม่เหล็กโลก

อย่างไรก็ตามแกนแม่เหล็กโลกและแกนหมุนของโลกมิใช่แกนเดียวกัน แกนแม่เหล็กโลกมีขั้วเหนืออยู่ทางด้านใต้ และมีแกนใต้อยู่ทางด้านเหนือ แกนแม่เหล็กโลกเอียงทำมุมกับแกนเหนือ-ใต้ทางภูมิศาสตร์ (แกนหมุนของโลก) 12 องศา ดังภาพที่ 7

สนามแม่เหล็กโลก

สนามแม่เหล็กโลกก็มิใช่เป็นรูปทรงกลม (ภาพที่ 8) อิทธิพลของลมสุริยะทำให้ด้านที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มีความกว้างน้อยกว่าด้านตรงข้ามดวงอาทิตย์ สนามแม่เหล็กโลกไม่ใช่สิ่งคงที่ แต่มีการเปลี่ยนแปลงความเข้มและสลับขั้วเหนือ-ใต้ ทุกๆ หนึ่งหมื่นปี ในปัจจุบันสนามแม่เหล็กโลกอยู่ในช่วงที่มีกำลังอ่อน สนามแม่เหล็กโลกเป็นสิ่งที่จำเป็นที่เอื้ออำนวยในการดำรงชีวิต หากปราศจากสนามแม่เหล็กโลกแล้ว อนุภาคพลังงานสูงจากดวงอาทิตย์และอวกาศ จะพุ่งชนพื้นผิวโลก ทำให้สิ่งมีชีวิตไม่สามารถดำรงอยู่ได้ (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในบทที่ 3 พลังงานจากดวงอาทิตย์)

เกร็ดความรู้: ทิศเหนือที่อ่านได้จากเข็มทิศแม่เหล็ก อาจจะไม่ตรงกับทิศเหนือจริง ด้วยเหตุผล 2 ประการคือ

ขั้วแม่เหล็กโลก และขั้วโลก มิใช่จุดเดียวกัน

ในบางพื้นที่ของโลก เส้นแรงแม่เหล็กมีความเบี่ยงเบน (Magnetic deviation) มิได้ขนานกับเส้นลองจิจูด (เส้นแวง) ทางภูมิศาสตร์ แต่โชคดีที่บริเวณประเทศไทยมีค่าความเบี่ยงเบน = 0 ดังนั้นจึงถือว่า ทิศเหนือแม่เหล็กเป็นทิศเหนือจริงได้

เทคโนโลยีอวกาศ

เทคโนโลยีอวกาศ คือการสำรวจสิ่งต่างๆที่อยู่นอกโลกของเราและสำรวจโลกของเราเองด้วย ปัจจุบันเทคโนโลยีอวกาศได้มีการพัฒนาไปเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยก่อน ทำให้ได้ความรู้ใหม่ๆมากขึ้น โดยองค์การที่มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถานการณ์ต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นต่อไปได้มีส่วนมากในการพัฒนาทางด้านนี้คือองค์การนาซ่าของสหรัฐอเมริกา ได้มีการจัดทำโครงการขึ้นมากมาย ทั้งเพื่อการสำรวจดาวที่ต้องการศึกษาโดยเฉพาะและที่ทำขึ้นเพื่อศึกษาสิ่งต่างๆในจักรวาล การใช้ประโยชน์เทคโนโลยีอวกาศนั้นมีทั้งด้านการสื่อสาเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการดูดาวเป็นอย่างยิ่ง ทำให้เรามองเห็นดวงดาวที่อยู่ไกลเป็นอย่างดี เเบ่งออกเป็น 3 ชนิด ดังนี้

ล้องดูดาว

1. กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง (Reflect telescope)

เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยายวัตถุที่อยู่ในระยะไกล เซอร์ ไอเซค นิวตัน เป็นผู้ประดิษซ์กล้องชนิดนี้ เป็นบุคคลแรก บางที่เราก็เรียก กล้องแบบนี้ว่า กล้องแบบนิวโทเนียน ประกอบด้วยกระจกระนาบ และ เลนซ์นูน

หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดสะท้อนแสง

กล้องจะรับแสงที่เข้ามากระทบกับกระจกเว้าที่อยู่ท้ายกล้องที่เราเรียกว่า Primary Mirror แล้วรวมแสง สะท้อนกับกระจกระนาบหรือ ปริซึม เราเรียกว่า Secondary Mirror ที่อยู่กลางลำกล้อง เข้าสู่เลนซ์ตาขยายภาพอีกทีหนึ่ง

อัตราขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสของกระจกเว้า / ความโฟกัสของเลนซ์ตา

โครงสร้างภายในของกล้องแบบนิวโทเนียน หรือ กล้องแบบสะท้อนแสง

ข้อดีของกล้องชนิดนี้

1. ใช้กระจกเว้าเป็นตัวรวมแสง ทำให้สามารถสร้างขนาดใหญ่มากๆได้ ซึ่งจะมีราคาถูกกว่าเลนซ์ที่มีขนาดเท่ากัน

2. โดยทั้วไปกล้องชนิดนี้จะมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5-6 นิ้วขึ้นไป ทำให้มีการรวมแสงได้มากเหมาะที่จะใช้สังเกตวัตถุระยะไกลๆ เช่น กาแลกซี เนบิวล่า เพราะมีความเข้มแสงน้อยมาก

3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบสะท้อนแสง จะไม่กลับภาพซ้ายขวาเหมือนกล้องแบบหักเหแสง แต่การมองภาพอาจจะ หัวกลับบ้าง ขึ้นอยู่กับลักษณะการมองจากกล้องเพราะเป็นการมองที่หัวกล้อง ไม่ใช่ที่ท้ายกล้อง เหมือนกล้องแบบหักเหแสง

ข้อเสียของกล้องชนิดนี้

1. การสร้างนั้นยุ่งยากซับซ้อนมาก

2. มีกระจกบานที่สองสะท้อนภาพอยู่กลางลำกล้อง ทำให้กีดขวางทางเดินของแสง หากเส้นผ่านศูนย์กลาง กล้องเล็กมากๆ ดังนั้นกล้องแบบสะท้อนแสงนี้จะมักมีขนาดใหญ่ ตั้งแต่ 4.5 นิ้วขึ้นไป 2. กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง (Refract telescope)

เป็นอุปกรณ์ที่สามารถขยายวัตถุที่อยู่ในระยะไกล กาลิเลโอ เป็นบุคคลแรกที่ประดิษฐกล้องชนิดนี้ขึ้น ประกอบด้วยเลนซ์นูนอย่างน้อยสองชิ้น คือ เลนซ์วัตถุ (Object Lens)เป็นเลนซ์ด้านรับแสงจากวัตถุ ซึ่งจะมีความยาวโฟกัสยาว (Fo) และเลนซ์ตา (Eyepieces) เป็นเลนซ์ที่ติดตาเราเวลามอง ซึ่งมีความยาวโฟกัสสั้น (Fe) กว่าเลนซ์วัตถุมากๆ

อัตราการขยายของกล้อง = ความยาวโฟกัสเลนซ์วัตถุ Fo /ความยาวโฟกัสเลนซ์ตา Fe

หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดหักเหแสง

เลนซ์วัตถุจะรับแสงจากวัตถุที่ระยะไกลๆแล้วจะเกิดภาพที่ตำแหน่งโฟกัส(Fo) เสมอ แล้ว เลนซ์ตัวที่สอง หรือ เลนซ์ตา (Fe) จะขยายภาพจากเลนซ์วัตถุอีกครั้ง ซึ่งต้องปรับระยะของเลนซ์ตา เพื่อให้ภาพจากเลนซ์วัตถุที่ตำแหน่ง Fo อยู่ใกล้กับ โฟกัสของเลนซ์ตา Fe และทำให้เกิดภาพชัดที่สุด

โครงสร้างภายในของกล้องแบบหักเหแสง ที่เลนซ์วัตถุมักจะให้เลนซ์สองแบบที่ทำมาจากวัสดุคนละประเภท เพื่อลดอาการคลาดสี

ข้อดีของกล้องแบบหักเหแสง

1. เป็นกล้องพื้นฐานที่สร้างได้ไม่ยากนัก

2. โดยทั่วไปจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยๆจึงมีน้ำหนักเบา

ข้อเสียของกล้องแบบหักเหแสง

1. เนื่องจากมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อย ทำให้ปริมาณการรับแสงน้อยไม่เหมาะใช้ดูวัตถุไกลๆอย่าง กาแลกซีและเนบิวล่า

2. ใช้เลนซ์เป็นตัวหักเหแสง ทำให้เกิดการคลาดสีได้หากใช้เลนซ์คุณภาพไม่ดีพอ จึงต้องมีการใช้เลนซ์ หลายชิ้นประกอบกันทำให้มีราคาสูง

3. ภาพที่ได้จากกล้องแบบหักเหแสงจะให้ภาพหัวกลับและกลับซ้ายขวา คืออ่านตัวหนังสือไม่ได้นั่นเอง ดังนั้นกล้องแบบนี้จะต้องมี diagonal prism เพื่อช่วยแก้ไขภาพ (ดูเรื่องอุปกรณ์กล้องโทรทรรศน์

3. กล้องโทรทรรศน์แบบผสม (Catadioptic telescope)

เป็นกล้องโทรทรรศน์คุณภาพสูงที่ถูกออกแบบมาให้ใช้หลักของการหักเหและสะท้อนแสงร่วมกัน โดยหลักการโดยรวมแล้ว จะใช้กระจก 2 ชุด สะท้อนแสงกลับ ไป-มา ช่วยให้ลำกล้องสั้น เเละส่วนมากจะสามารถควบคุมระบบได้เเบบดิจิตอล เราจะพบว่า กล้องโทรทรรศน์ขนาดใหญ่ที่มี ความยาวโฟกัสมาก ดังเช่น กล้องโทรทรรศน์บนหอดูดาวต่างๆๆ มักจะเป็นกล้องชนิดนี้

หลักการของกล้องโทรทัศน์ชนิดผสม

กล้องจะรับแสงจากวัตถุที่ระยะไกลๆ ผ่านกระจกด้านหน้า ที่เราเรียกว่า Correcting Plated หรือกระจกสะสมแสง มีลักษณะเป็นเลนซ์เบื้องต้น มากระทบกระจกบานแรกที่ท้ายกล้อง ที่เราเรียกว่า เลนส์หลัก แล้วสะท้อนกลับไปที่กระจกสะสมแสง ซึ่งตรงกลางจะมี เลนส์รอง สะท้อนกลับมาที่ท้ายกล้องเข้าสู่เลนซ์ตาขยายภาพอีกทีหนึ่ง หลักการคล้ายกับกล้องแบบนิวโทเนี่ยน แต่กล้องแบบผสม จะดูภาพจากท้ายกล้อง ไม่ใช่ข้างกล้อง และภาพที่ได้ยังมีการกลับหัวและกลับซ้ายขวา ซึ่งต้องอาศัย diagonal prism ช่วยแก้ไขภาพเหมือนกับกล้องแบบหักเหแสง

ร ทำให้การสื่อสารในปัจจุบันทำได้อย่างรวดเร็ว การสำรวจทรัพยากรโลก ทำให้ทราบว่าปัจจุบันนี้โลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง และการพยากรณ์อากาศก็จะทำให้สามารถเตรียมพร้อมที่จะรับกับสถาน

จรวดและยานอวกาศ

อวกาศอยู่สูงเหนือศีรษะขึ้นไปเพียงหนึ่งร้อยกิโลเมตร แต่การที่จะขึ้นไปถึงมิใช่เรื่องง่าย เซอร์ไอแซค นิวตัน นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ผู้คิดค้นทฤษฎีเรื่องแรงโน้มถ่วงของโลกและการเดินทางสู่อวกาศเมื่อสามร้อยปีมาแล้ว ได้อธิบายไว้ว่า หากเราขึ้นไปอยู่บนที่สูง และปล่อยก้อนหินให้หล่นจากมือ ก้อนหินก็จะตกลงสู่พื้นในแนวดิ่ง เมื่อออกแรงขว้างก้อนหินออกไปให้ขนานกับพื้น (ภาพที่ 3) ก้อนหินจะเคลื่อนที่เป็นเส้นโค้ง (A) เนื่องจากแรงลัพธ์ซึ่งเกิดจากแรงที่เราขว้างและแรงโน้มถ่วงของโลกรวมกัน หากเราออกแรงมากขึ้น วิถีการเคลื่อนที่ของวัตถุจะโค้งมากขึ้น และก้อนหินจะยิ่งตกไกลขึ้น (B) และหากเราออกแรงมากจนวิถีของวัตถุขนานกับความโค้งของโลก ก้อนหินก็จะไม่ตกสู่พื้นโลกอีก แต่จะโคจรรอบโลกเป็นวงกลม (C) เราเรียกการตกในลักษณะนี้ว่า “การตกอย่างอิสระ” (free fall) และนี่เองคือหลักการส่งยานอวกาศขึ้นสู่วงโคจรรอบโลก

หากเราเพิ่มแรงให้กับวัตถุมากขึ้นไปอีก เราจะได้วงโคจรเป็นรูปวงรี (D) และถ้าเราออกแรงขว้างวัตถุไปด้วยความเร็ว 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที วัตถุจะไม่หวนกลับคืนอีกแล้ว แต่จะเดินทางออกสู่ห้วงอวกาศ (E) เราเรียกความเร็วนี้ว่า “ความเร็วหลุดพ้น” (escape speed) และนี่คือหลักการส่งยานอวกาศไปยังดาวเคราะห์ดวงอื่น

หมายเหตุ: ในทางปฏิบัติเราไม่สามารถยิงจรวดขึ้นสู่อวกาศในแนวราบได้ เพราะโลกมีบรรยากาศห่อหุ้มอยู่ ความหนาแน่นของอากาศจะต้านทานให้จรวดเคลื่อนที่ช้าลงและตกลงเสียก่อน ดังนั้นเราจึงส่งจรวดขึ้นสู่ท้องฟ้าในแนวดิ่ง แล้วค่อยปรับวิถีให้โค้งขนานกับผิวโลก เมื่ออยู่เหนือชั้นบรรยากาศในภายหลัง

จรวด (Rocket)

เมื่อพูดถึงจรวด เราหมายถึงอุปกรณ์สำหรับสร้างแรงขับดันเท่านั้น หน้าที่ของจรวดคือ การนำยานอวกาศ ดาวเทียม หรืออุปกรณ์ประเภทอื่นขึ้นสู่อวกาศ แรงโน้มถ่วง (Gravity) ของโลก ณ พื้นผิวโลกมีความเร่งเท่ากับ 9.8 เมตร/วินาที 2 ดังนั้นจรวดจะต้องมีแรงขับเคลื่อนสูงมาก เพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก

จรวดทำงานตามกฎของนิวตัน ข้อที่ 3 “แรงกริยา = แรงปฏิกิริยา” จรวดปล่อยก๊าซร้อนออกทางท่อท้าย (แรงกริยา) ทำให้จรวดเคลื่อนที่ไปข้างหน้า (แรงปฏิกิริยา)

เราแบ่งประเภทของจรวดตามชนิดของเชื้อเพลิงออกเป็น 2 ประเภท คือ

-จรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน แต่เมื่อการเผาไหม้เชื้อเพลิงเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถหยุดได้

-จรวดเชื้อเพลิงเหลว มีโครงสร้างสลับซับซ้อน เพราะต้องมีถังเก็บเชื้อเพลิงเหลว และออกซิเจนเหลว (เพื่อช่วยให้เกิดการสันดาป) ซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง และยังต้องมีท่อและปั๊มเพื่อลำเลียงเชื้อเพลิงเข้าสู่ห้องเครื่องยนต์เพื่อทำการเผาไหม้ จรวดเชื้อเพลิงเหลวมีข้อดีคือ สามารถควบคุมปริมาณการเผาไหม้ และปรับทิศทางของกระแสก๊าซได้

จรวดหลายตอน

การนำจรวดขึ้นสู่อวกาศนั้นจะต้องทำการเผาไหม้เชื้อเพลิงจำนวนมาก เพื่อให้เกิดความเร่งมากกว่า 9.8 เมตร/วินาที2 หลายเท่า ดังนั้นจึงมีการออกแบบถังเชื้อเพลิงเป็นตอนๆ เราเรียกจรวดประเภทนี้ว่า “จรวดหลายตอน” (Multistage rocket) เมื่อเชื้อเพลิงตอนใดหมด ก็จะปลดตอนนั้นทิ้ง เพื่อเพิ่มแรงขับดัน (Force) โดยการลดมวล (mass) เพื่อให้จรวดมีความเร่งมากขึ้น (กฎของนิวตัน ข้อที่ 2: ความเร่ง = แรง / มวล)

ความแตกต่างระหว่างเครื่องบินไอพ่น และจรวด

เครื่องยนต์ของเครื่องบินไอพ่นดูดอากาศภายนอกเข้ามาอัดแน่น และทำการสันดาป (เผาไหม้) ทำให้เกิดแรงดันไปข้างหน้า จนปีกสามารถสร้างแรงยก (ความดันอากาศบนปีกน้อยกว่าความดันอากาศใต้ปีก) ทำให้เครื่องลอยขึ้นได้ ส่วนจรวดบรรจุเชื้อเพลิงและออกซิเจนไว้ภายใน เมื่อทำการสันดาปจะปล่อยก๊าซร้อนพุ่งออกมา ดันให้จรวดพุ่งไปในทิศตรงกันข้าม

จรวดไม่ต้องอาศัยอากาศภายนอก มันจึงเดินทางในอวกาศได้ ส่วนเครื่องบินต้องอาศัยอากาศทั้งในการสร้างแรงยก และการเผาไหม้

อุปกรณ์ที่จรวดนำขึ้นไป (Payload)

ดังที่กล่าวไปแล้ว จรวดเป็นเพียงตัวขับเคลื่อนขึ้นสู่อวกาศ สิ่งที่จรวดนำขึ้นไปมีมากมายหลายชนิด ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์หรือภารกิจ ซึ่งอาจจะมีทั้งการทหาร สื่อสารโทรคมนาคม หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

- ขีปนาวุธ (Missile) เป็นคำที่เรียกรวมของจรวดและหัวรบ เนื่องจากจรวดมีราคาสูง และมีพิกัดบรรทุกไม่มาก หัวรบที่บรรทุกขึ้นไปจึงมีขนาดเล็ก แต่มีอำนาจการทำลายสูงมาก เช่น หัวรบนิวเคลียร์

- ดาวเทียม (Satellite) หมายถึง อุปกรณ์ที่ส่งขึ้นไปโคจรรอบโลก เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ถ่ายภาพ โทรคมนาคม ตรวจสภาพอากาศ หรืองานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

- ยานอวกาศ (Spacecraft) หมายถึง ยานพาหนะที่โคจรรอบโลก หรือเดินทางไปยังดาวดวงอื่น อาจจะมีหรือไม่มีมนุษย์เดินทางไปด้วยก็ได้ เช่น ยานอะพอลโล่ ซึ่งนำมนุษย์เดินทางไปดวงจันทร์

- สถานีอวกาศ (Space Station) หมายถึง ห้องปฏิบัติการในอวกาศ ซึ่งมีปัจจัยสนับสนุนให้มนุษย์สามารถอาศัยอยู่ในอวกาศได้นานนับเดือน หรือเป็นปี สถานีอวกาศส่วนมากถูกใช้เป็นห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อประโยชน์ในการวิจัย ทดลอง และประดิษฐ์คิดค้นในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง สถานีอวกาศที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ สถานีอวกาศนานาชาติ ISS (International Space Station)

นักบินอวกาศ

นักบินอวกาศ คือ บุคคลที่เดินทางไปกับยานอวกาศ ไม่ว่าจะไปในฐานะใด และไม่ว่าจะไปด้วยยานอวกาศแบบไหน ทั้งที่โคจรรอบโลก (ในระยะสูงจากพื้นราว 80-100 กิโลเมตรขึ้นไป)หรือที่เดินทางออกไปยังตำแหน่งอื่นใดนอกวงโคจรของโลก

สภาพแวดล้อมในอวกาศ

อวกาศเป็นสภาวะไร้อากาศและแรงโน้มถ่วง ดังนั้นการเคลื่อนที่จึงไร้แรงเสียดทานและความเร่ง ยานอวกาศหรือนักบินอวกาศเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ด้วยการจุดจรวดขนาดเล็ก และจุดจรวดด้านตรงข้ามด้วยแรงที่เท่ากันเมื่อต้องการจะหยุด (ภาพที่ 5)

บนอวกาศเต็มไปด้วยรังสีคลื่นสั้นซึ่งมีพลังงานสูง ดาวเทียมและยานอวกาศอาศัยพลังงานเหล่านี้ด้วยการใช้เซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ อย่างไรก็ตาม รังสีคลื่นสั้นเหล่านี้มีอานุภาพในการกัดกร่อนสสาร ดังจะเห็นว่ายานอวกาศและดาวเทียมส่วนมากถูกห่อหุ้มด้วยโลหะพิเศษ สีเงิน หรือสีทอง อุปกรณ์ทุกอย่างที่ใช้ในอวกาศถูกสร้างขึ้นด้วยวัสดุชนิดพิเศษ จึงมีราคาแพงมากบนพื้นผิวโลกมีบรรยากาศคอยทำหน้าที่กรองรังสีคลื่นสั้นที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต แต่ในอวกาศไม่มีเกราะกำบัง ในขณะที่นักบินอวกาศออกไปทำงานข้างนอกยาน พวกเขาจะต้องสวมใส่ชุดอวกาศ ซึ่งออกแบบมาเพื่อจำลองสภาพแวดล้อมที่อยู่บนโลก กล่าวคือ ปรับอุณหภูมิให้พอเหมาะ มีออกซิเจนให้หายใจ มีแรงดันอากาศเพื่อป้องกันมิให้เลือดซึมออกตามผิวหนัง และรังสีจากดวงอาทิตย์

อวกาศ

การเดินทางของนักบินอวกาศเพื่อเข้าสู่อวกาศครั้งแรก ๆ ในทศวรรษ 1960 แต่ละครั้งนั้นเป็นการก้าวกระโดดเข้าสู่อวกาศในระยะเวลาอันสั้น ๆ เพียงสอง สาม ชั่วโมง แต่เมื่อสหรัฐฯท้าทายอดีตสหภาพโซเวียตด้วยการส่งมนุษย์ไปดวงจันทรในปลาย

ทศวรรษ 1960 ก็ได้ทำให้ยานอวกาศพัฒนาไปสู่ความทันสมัยยิ่งขึ้น นักบินอวกาศสามารถใช้เวลาอยู่ในยานได้นานขึ้น แต่หลังการชิงชัยไปดวงจันทร์ ก็ทำให้เกิดการเปลี่ยแปลง เมื่อสองประเทศเริ่มเห็นว่าการส่งนักบินอวกาศเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือยและ ราคาแพง รวมทั้งต้องเสี่ยงกับอันตรายที่มีอยู่ในอวกาศด้วย ดังนั้นเพื่อให้การขึ้นไปบนยานอวกาศเป็นไปอย่างเหมาะสมกับค่าใช้จ่าย นักบินอวกาศจะต้องทำงานให้คุ้มค่า ด้วยเหตุนี้อวกาศจึงได้ เปลี่ยนโฉมหน้าของมันไป จากเวทีการแสดงวีรกรรม และสร้าง "สงครามดวงดาว" ไปสู่เวทีของ การทดสอบทางเทคนิคใหม่ ๆ ในการผลิต โซเวียตเป็นผู้บุกเบิกในทางนี้โดยพัฒนาสถานีอวกาศ ซาลยุต และ เมียร์ ซึ่งนักบินอวกาศสามารถที่จะดำเนินการทดลองในเรื่องต่าง ๆ ได้นานเป็นสัปดาห์ เป็นเดือน หรือว่าเป็นปีได้ ส่วนสหรัฐอเมริกาก็ได้ทำการทดลองต่าง ๆ บนกระสวยอวกาศในช่วงเวลาที่สั้นกว่า และขณะนี้กำลังสร้างสถานีอวกาศของตนเอง ทั้งหมดนี้แสดงถึงการใช้ชีวิตอยู่ในอวกาศเป็นเวลายาวนานทั้งสิ้น

เดินทางไปยังอวกาศคือสุนัขมีชื่อว่าไลก้า โดยขึ้นไปกับยานสปุตนิก 2

นักบินอวกาศคนแรกของโลกคือ ยูริ กาการิน สหภาพโซเวียตขึ้นไปกับยานวอสต๊อก 1

นักบินอวกาศคนแรกที่โคจรรอบโลกคือ จอห์น เกลน สหรัฐอเมริกา

นักบินอวกาศหญิงคนแรกของโลกเป็นชาวโซเวียต ชื่อ วาเลนติน่า เทเรชโกว่า เดินทางไปกับยานวอสต๊อก

ยานอวกาศที่เดินทางไปยังดวงจันทร์เป็นของสหรัฐอเมริกาโดย นีลอาร์มสตรอง เป็นคนแรกที่ได้เดินบน

ดวงจันทร์เดินทางไปกับยานอพอลโล 11

เทคโนโลยีอวกาศ

ดาวเทียมและยานอวกาศ ประเภทของดาวเทียมบางประเภท เช่น

1. ดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา

2. ดาวเทียมสังเกตการณ์ดาราศาสตร์

3. ดาวเทียมชีวภาพ

4. ดาวเทียวทางการทหาร

5. ดาวเทียมสำรวจทรัพยากรโลก

6. ดาวเทียมสื่อสารโทรคมนาคม

7. ดาวเทียมสังเกตการณ์ดวงอาทิตย์

8. ดาวเทียมห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์ เช่น ห้องทดลอง LDEF ซึ่งยานขนส่งอวกาศนำไปปล่อยในอวกาศตั้งแต่เดือนเมษายน 2527 และนำกลับลงมา เมื่อ 12 ม.ค. 2533 โครงการทดลองนำเมล็ดมะเขือเทศ 5 ถุงใหญ่ หลังกลับมาแล้วจ่ายเมล็ดมะเขือเทศ 2 แบบ ให้ศึกษาคือที่นำมาจากอวกาศเปรียบเทียบกับที่ผิวโลกศึกษาการเจริญเติบโตของเมล็ดมะเขือเทศทั้งสอง

การส่งดาวเทียมและยานอวกาศจากพื้นโลกขึ้นสู่อวกาศ ต้องต่อสู้กับแรงดึงดูดของโลก ดาวเทียมและยานอวกาศต้องเอาชนะ แรงดึงดูดของโลก โดยอาศัยจรวดที่มีแรงขับดันและความเร็วสูง ความเร็วของจรวดต้องมากกว่า 7.91 กิโลเมตรต่อวินาที ยานอวกาศจึงจะสามารถขึ้นไปสู่อวกาศและโคจรรอบโลกในระดับต่ำที่สุด (0 กิโลเมตร) ได้ ถ้าความเร็วมากว่านี้ ยานจะขึ้นไป โคจรอยู่ในระดับที่สูงกว่า เช่น ถ้าหากความเร็วจรวดเป็น 8.66 กิโลเมตรต่อวินาที ยานจะขึ้นไปได้สูง 1,609 กิโลเมตร ถ้าหากจะให้ ยานหนีออกไปโคจรรอบดวงอาทิตย์ จรวดที่พายานออกไปต้องมีความเร็วที่ผิวโลกมากกว่า 11.2 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งเรียกว่า ความเร็วหลุดพ้น (Escape Velocity) หรือความเร็วผละหนีความเร็วหลุดพ้นจากโลกจะลดต่ำลงเมื่อห่างจากโลกมากขึ้น ดังตารางความสูงจากผิวโลก และความเร็วผละหนี

เชื้อเพลิงที่ใช้ในการส่งยานอวกาศ ควรใช้เชื้อเพลิงเหลว ซึ่งแยกเชื้อเพลิงและสารที่ช่วยในการเผาไหม้ออกจากกัน การนำจรวด มาต่อเป็นชั้น ๆ จะช่วยลดมวลของจรวดลง

เมื่อจรวดชั้นแรกใช้เชื้อเพลิงหมด ก็ปลดทิ้งไป และให้จรวดชั้นต่อไป ทำหน้าที่ ต่อจนถึงจรวดชั้นสุดท้ายที่ติดกับดาวเทียมหรือยานอวกาศ

ปี พ.ศ. 2469 โรเบิร์ต กอดดาร์ ชาวอเมริกัน ประสบความสำเร็จในการสร้างจรวดเชื้อเพลิงเหลว โดยใช้ออกซิเจนเหลว เป็นสารที่ช่วย ในการเผาไหม้อยู่ในถังหนึ่งและไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิงอยู่ในอีกถังหนึ่ง

ระบบการขนส่งอวกาศ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ

1. จรวดเชื้อเพลิงแข็งขนาบ 2 ข้าง

2. ถังเชื้อเพลิงภายนอก

3. ยานขนส่งอวกาศ

ข้อสังเกต

1. มวลรวมเมื่อขึ้นจากฐาน 2,041,200 กิโลกรัม

2. มวลเมื่อยานร่อนลงมาจอดเหลือประมาณ 96,163 กิโลกรัม

การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีอวกาศ

1. มีการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการศึกษา พัฒนา และประดิษฐ์อุปกรณ์ถ่ายภา

ในช่วงคลื่น ๆ จากระยะไกล

2. ทำให้เครื่องรับและส่งสัญญาณมีประสิทธิภาพมากขึ้น แล้วนำอุปกรณ์และเครื่องส่งสัญญาณไปประกอบเป็นดาวเทียม ที่ถูกส่งขึ้นไปโคจรจรอบโลก

3. ทำให้สามารถสังเกตสิ่งต่าง ๆ บนโลกได้ระยะไกลในเวลาอันรวดเร็ว

4. ได้เรียนรู้สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับเอกภพ โลก ดวงจันทร์ และดาวอื่น ๆ

5. ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีอวกาศ ช่วยเปิดเผยความลี้ลับในอดีต และก่อให้เกิดประโยชน์ต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ มากมาย

ข้อสังเกต

1. ดาวเคราะห์ที่อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากกว่าโลก คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์

2. ดาวเคราะห์ที่ใกล้โลกมากที่สุด คือ ดาวศุกร์

3. ดาวศุกร์ที่เห็นในตอนเช้า เรียกว่า ดาวกัลปพฤกษ์ หรือดาวประกายพรึก เห็นตอนหัวค่ำ เรียกดาวประจำเมือง

4. ดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะจักรวาล คือ ดาวพฤหัส ดาวเคราะห์ที่เล็กที่สุด คือ ดาวพลูโต

5. ดาวเคราะห์ที่มีขนาดเล็กกว่าโลก ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพลูโต

6. ดาวเคราะห์ที่มีขนาดโตกว่าโลก ได้แก่ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน

7. การเรียงลำดับขนาดของดาวเคราะห์จากโตไปเล็ก เรียงได้ ดังนี้ ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน โลก ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพุธ ดาวพลูโต

8. ดาวเคราะห์ที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่อยืนอยู่บนโลก มี 5 ดวง คือ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ สำหรับตำแหน่งที่มองเห็นจะเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ

9. การที่เรามองเห็นดาวฤกษ์กะพริบแสงอยู่ตลอดเวลา เพราะดาวฤกษ์อยู่ไกลโลกมาก ลำแสงที่มาจากดาวฤกษ์ จึงคล้ายกับ แสงเส้นเดียว แสงเมื่อผ่านชั้นบรรยากาศจะหักเหอย่างไม่คงที่จึงเห็นดาวฤกษ์กะพริบแสง

10. การที่มองเห็นดาวเคราะห์ที่แสงนวลนิ่ง เพราะดาวเคราะห์อยู่ใกล้โลกมากกว่าลำแสงใหญ่กว่า จึงมองเห็นกะพริบน้อย

11. การแล็กซีทางช้างเผือก หรือกาแล็กซีของเรา ประกอบด้วย ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง อุกกาบาต ดวงจันทร์ที่เป็นบริวาร และเนบิวลา

12. ดาวเคราะห์น้อย เป็นกลุ่มของแข็งและดาวเคราะห์ขนาดเล็กโคจรอยู่รอบดวงอาทิตย์อยู่ระหว่างดาวอังคารกับดาวพฤหัส อยู่ประมาณ 3 - 5 หมื่นดวง

13.ดาวเคราะห์วงในและดาวเคราะห์วงนอก ใช้โลกเป็นเกณฑ์แบ่งดาว ดาวเคราะห์วงใน ประกอบด้วย ดาวพุธ และดาวศุกร์ ดาวเคราะห์วงนอก ประกอบด้วย ดาวอังคาร ดาวพฤหัส ดาวเสาร์ ดาวยูเรนัส ดาวเนปจูน และดาวพลูโต

นอกเหนือจากดาวเคราะห์ 9 ดวง นักเรียนยังต้องทราบสิ่งต่าง ๆ อีก เช่น

1. ดวงอาทิตย์ (The Sun) เป็นศูนย์กลางของระบบสุริยะขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดวงอาทิตย์กว้างกว่าโลก 109 เท่า ประกอบด้วยกลุ่มแก๊สจำนวนมหาศาล คือ ไฮโดรเจน 3 ใน 4 และฮีเลียม 1 ใน 4 มีอุณหภูมิ 5,800 องศาเคลวิล แสงสว่างจากดวงอาทิตย์เดินทางถึงโลก ใช้เวลา 8.3 นาทีหมุนรอบตัวเองครบรอบในเวลา 27.27 วัน

2. ดวงจันทร์ (The Moon) ซึ่งเป็นบริวารของโลกอยู่ใกล้โลกมากที่สุดในอวกาศเป็นวัตถุที่สว่างที่สุดในท้องฟ้าตอนกลางคืน ดวงจันทร์โคจรอบโลกในเวลา 29 วันครึ่ง

3. จุดดับบนดวงอาทิ

คุณนมินริดา

โอโฮเยอะดีจัง

1.เสนอได้ทั้งหมดดีๆทั้งนั้นสำคัญต้องเห็นวิธีการเรียนรู้ สื่อในการเรียนรู้ ท่องไปในโลก Internet หาความรู้ได้แล้ว สรุปควารู้ตาม ความสนใจ นำเสนอด้วย animation หรือ powepoint แบบสุดยอด อาจมีชิ้นงานเป็นรูปธรรมได้อีกดีจัง ตามนี้นะคะ           

2.เรื่องที่ยกมาข้างต้น แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มจะเลือกนำเสนอกลุ่มใดก็ได้ (ทั้งหมดก็ได้แต่ต้องเป็ไปตามข้อ 1.)ดังนี้

   2.1 โลก ธรณีวิทยา wave สนามแม่เหล็ก

   2.2 ระบบสุริยจักรวาล ดวงดาว กล้องดูดาว ปรากฎการณ์ธรรมชาติ จันทรุปราคา สุริยุปราคา เรื่องในกลุ่มนี้น่าสนใจเพราะระยะหลังมีปรากฏการธรรมชาติให้เห็นบ่อยๆ ตอบคำถามให้ได้นะคะ

 2.3 อวกาศ สถานีอวกาศ การสำรวจอวกาศ เทคโนโลยีสมัยใหม่

ok แล้วเจอกันชักสนุก

  • เมื่อวานนี้ได้เข้าไปนิเทศที่เลยอนุกูลวิทยามาแล้ว
  • เห็นความกระตือรือร้นของบุคลากรทุกคน
  • ที่ยังต้องเข้มซึ่งกำลังทำอยู่คือการนำเสนองานของนักเรียน
  • โรงเรียนปรับเวลาเรียนให้มีการซ้อมช่วงเย็น ๆ ทุกวัน

ด.ญ.ศิริพร บุบผาและคณะ รร.เลยอนุกูลวิทยา

เรียนอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

พวกหนูเตรียนการรับการประเมินโรงเรียนดีใกล้บ้านและจะนำเสนอคณิตศาสตร์ ระดับม.ต้น เรื่อง การประดิษฐ์แมลงปอจากไม้ไผ่ โดยใช้ความรู้เรื่องการแปลงทางเรขาคณิต การเลื่อนขนาน การสะท้อน และโช้โปรแกรม GSP ช่วยในการออกแบบ

น.ส.นัยนา ภูมี รร.เลยอนุกูลวิทยา

เรียนอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

ดิฉันเป็นนักเรียนที่จะเตรียมการประเมินโรงเรียนดีใกล้บ้าน

โดยเป็นตัวแทนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายของกลุ่มสาระการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ ได้จัดทำชิ้นงานการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์เรื่อง"ปลูกอย่างพอเพียงโดยใช้กราฟ"ซึ่งเนื้อหาของชิ้นงานเป็นการแบ่งพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อให้มีรายได้มากที่สุด มีข้อจำกัดเป็นเงินทุนจำนวนหนึ่ง และใช้โปรแกรม GSP ช่วยในการคำนวณหาคำตอบ

ดิฉันจึงอยากจะขอคำแนะนำจากอาจารย์ชัดเจนค่ะ

นางสาวนาริน โลขันสา

สวัสดีคะอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้

หนูเป็นนักเรียนโรงเรียนเลยอนุกูลวิทยา

หนูอยู่ lab ฟิสิกส์ ค่ะ วันนี้ท่านผู้อำนวยการโรงเรียนและรองผู้อำนวยการได้มานิเทศน์

พวกหนูได้ทำโครงงานเรื่อง พลังงานความร้อน โดยทำการทดลองเปรียบเทียบวัตถุดำและวัตถุขาวโดยการนำเทอร์มอมิเตอร์มาติดไว้ด้านหลังวัตถุทั้งสองจากนั้นเรานำหลอดไฟมาแขวนไว้ตรงกลางและวางวัตถุทั้งสองทิ้งระยะห่างเท่าๆกันแล้วสังเกตผล เราจะพบว่าวัตถุดำดูดความร้อนได้ดีกว่าวัตถุสีขาว

แล้วพวกหนูได้ต่อยอดความรู้ที่ได้จากการทดลองนำมาประดิษฐ์เป็นตู้อบพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์ การทดลองเป็นอย่างไรบ้างค่ะ ช่วยให้คำแนะนำด้วยค่ะ

เรียนท่านอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้ วันนี้ ท่านผู้อำนวยการยงยุทร ทิพรส และคณะกรรมการได้มาตรวจเยี่ยมกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ ซึ่งทางกลุ่มของเราได้ศึกษาเรื่อง การทำปืนลม โดยใช้ทฤษีกฎของบอยล์

เราได้นำเสนอเกี่ยวกับการทดลองกฎของบอยล์และเมื่อเราศึกษาแล้วเราก็นำมาประดิษฐ์เป็นปืนลม ทางด้านผู้อำนวยการและคณะกรรมการที่ได้มาตรวจเยี่ยมได้ไห้คำแนะนำเกี่ยวกับประโยชน์เรื่องความดันและสามารถนำไปต่อยอดเป็นอะไรได้อีก

ทางกลุ่มของเราจึงขอคำแนะนำและข้อเสนอแนะจากท่านอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ เกี่ยวกับการทำปืนลมด้วยค่ะ ขอขอบพระคุณค่ะ

เรียน อาจารย์ ชัดเจน  ไทยแท้

ผมอยู่ Lab ฟิสิกส์ ครับ

ผมได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ หุ่นยนต์( ET-ROBOT LOGO 877 ) ครับ เป็นการเคลื่อนที่และโปรแกรมหุ่นยนต์ ตามจินตนาการของผมโดยใช้ภาษาโลโก้ในการโปรแกรม ครับ วันนี้ ท่าน ผอ. ยงยุทธ ท่านรอง เตียง และท่านรอง นิตยา มาชมการนำเสนอของผมครับ และได้ติชมหลายๆอย่าง ผมอยากให้ อาจารย์ ชัดเจน  ไทยแท้ ได้ให้คำแนะนำด้วยครับ

นี่ครับ คือ รูปหุ่นยนต์ ที่ผมได้ศึกษา

 

น.ส.ขนิษฐา ธรรมณารักษ์

วิทยาศาสตร์กายภาพ

วิธีการตอบคำถามที่ดีนั้นเราควรจะพูดอย่างไรเพื่อให้ได้ใจความและเป็นคำตอบที่ไม่น่าเบื่อ และการกล่าวแนะนำก่อนเข้าห้องและพูดนำเรื่องควรจะพูดยังไงค่ะ

ต้องขออภัยอาจตอบไม่หมดเพราะไม่ค่อยสบายตอบดังนี้

1.การตอบคำถามที่ดีคือตอบให้ตรงคำถามอย่างมีเหตุผลประกอบที่น่าเชื่อถือ อย่าตอบตามความรู้สึก อย่าตอบว่าเห็นเขาทำ เขาบอกมา ถ้าตอบไม่ได้ต้องรีบค้นให้เร็ว

 2.ฟิสิกส์น่าจะokในโครงสร้างแต่ในรายละเอียดต้องเห็นการทดลอง

 3.GSP ต้องแสดงการแก้โจทย์ปัญหาด้วยนะคะ ต้องเป็นโจทย์ปัญหา ไม่ใช่โจทย์คิดคำนวณ(คงแยกออก) ทั้งนี้ต้องแสดงการวิเคราะห์โจทยฺก่อนจึงใช้ GSP หาคำตอบ การวิเคราะห์โจทย์ มีคำถาม 3-4 คำถาม อะไรบ้าง.... นักเรียนทุกคนควรมีโจทย์คนละข้อ บรรยากาศในห้องคณิตศาสตร์ เป็นการเรียนด้วยเองให้กรรมการดู อย่าอธิบายการใช้ GSPให้กรรมการฟัง

4.ต้องขอบคุณท่านผอ.บรรจง ผอ.ยงยุทธและคณะค่ะ

         เป็นโรงเรียนแรกที่ใช้การนิเทศทางไกลแบบนี้แปลกดี ดิฉันว่าสนุกดี

เรียนทุกท่าน

ขอยืนยันว่าการซ้อมเป็นการรวมตะกอน(ตะกอนคือที่สั่งสมในตัวนักเรียน) เป็นกิจกรรมเพื่อสะท้อนคุณภาพนักเรียน สะท้อนการจัดการเรียนการสอน(วิธีสอน) และการสนับสนุนการเรียนการสอน(วิธีบริหารจัดการ)

น.ส.พิมล ไชยะสิทธิ์

เรียนอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

หนูเป็นนักเรียนกลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ และอยู่กลุ่มการผลิตสื่อซึ่งกลุมพวกหนูได้ผลิตสื่อการเรียนการสอนวิชาโลกดาราศาสตร์และอวกาศ เรื่องกลุ่มดาวจักรราศรี

คือพวกหนูจะนำเสนอเป็น powerpoint และ CAI คะ หนูอยากให้อาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้ แนะนำเพิ่มเติมค่ะ

น.ส.ฐิตินันท์ คณะแพง

เรียนท่านอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

หนูได้รับมอบหมายให้อยู่ในหมวดวิทยาศาสตร์ เคมี หนูทำเรื่องการตรวจหาค่า ph ของน้ำทิ้งจากโรงอาหาร แล้วพวกหนูคิดว่าจะปรับสภาพน้ำเป็นกลางแล้วผลคือจะไม่ทำให้น้ำเน่าเสีย แต่ถ้าจะปรับสภาพน้ำในคลองหรือที่น้ำมีปริมาณมาก ก็จะไม่ได้ใช้สารเยอะหรือค่ะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

น.ส. สุนันทา สุวรรณสิงห์

เรียนท่านอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

วันนี้ ผอ.บรรจง ปัทมาลัย มาแนะนำไห้กลุ่มพวกหนู เรื่อง ปฏิกิริยาระหว่างกรดฟอร์มิกกับน้ำยางพารา ท่านให้คำแนะนำว่า ให้สร้างสูตรโมเลกุลของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น และให้ทำบอร์ดสรุปผลที่ได้ด้วยค่ะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

น.ส.ฐิตินันท์ คณะแพง

เรียนท่านอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

หนูได้รับมอบหมายให้อยู่ห้องปฏิบัติการเคมี วันนี้ท่าน ผ.อ.บรรจง ปัทมาลัย

ได้มาเยี่ยมชมห้องปฏิบัติการเคมี พวกเราได้ทำการทดลองเรื่องการหาค่ากรด-เบสของน้ำทิ้งจากโรงอาหาร ท่านได้ให้คำแนะนำว่าจะต้องมีบอร์ดสรุปผลการทดลองเพื่อให้มีความชัดเจนมากขึ้น และการทำกระดาษลิตมัสขึ้นเอง พวกหนูก็จะนำไปปฏิบัติค่ะ

แล้วท่านอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ มีข้อแนะนำอีกไหมค่ะ

ขอความอนุเคราะห์อย่างสูง

เรียนท่านอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ ที่เคารพ

วันนี้ได้มีการนำเสนองานโดยหัวข้อที่ได้นำเสนอคือการไทรเทรตหัวข้อทางการทดลองคือการหาปริมาณสารลดกรดในยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นองค์ประกอบ โดยท่าน ผ.อ บรรจง ปัทมาลัย เป็นหัวหน้าในการนิเทศครั้งนี้ท่านก็ได้แนะนำว่าให้เขียนสูตรสารเคมีให้ชัดเจน การนำเสนอให้ดีกว่านี้ ไม่ต้องตื่นเต้นแล้วอาจารย์ชัดเจนจะมีข้อแนะนำไหมค่ะ

ขอขอบพระคุณค่ะ

นางสาวรัตนากร บังกิโล

สวัสดีคะ ท่านอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

หนูได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการไทเทรตคะ ซึ่งก็ได้ทำการทดลองเกี่ยวกับการหาปริมาณของสารลดกรดในยาลดกรดชนิดที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตคะ วันนี้ท่านคณะ

ผ.อ บรรจง เป็นประธานในการนำนิเทศซึ่งท่านก็ได้ให้คำแนะนำว่า ต้องจำสูตรที่

ใช้คำนาณหาปริมาณร้อยละโดยมวลให้ได้ แต่มันยาวมากเลยคะ ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์มีสูตรที่ใช้คำนวณง่ายๆ มั๊ยคะ หรือมีข้อแนะนำอะไรบ้าง

วันนี้ได้มีการนำเสนอเรื่องการประยุกต์วิธีใช้การไทเทรตมาใช้ในชีวิตประจำวันก็คือการไทเทรตยาเวอราเยล ดีเอ็มเอส หาปริมาณร้อยละโดยมวลของเเคลเซียมคาร์บอเนตมาไทเทรต นำมาต่อยอดโดยการไทเทรต กล้วยนำหว้าดิบเเละขิงเเห้งเพื่อหามวลของเเคลเซียมคาร์บอเนตเปรียบเทียบกัน ไม่ทราบว่าการทดลองนี้ดีไม่ค่ะช่วยแนะนำด้วยค่ะ

  • วันนี้ผมและคณะได้ซ้อมการตรวจเยี่ยมรับรองเต็มวัน
  • ขณะนี้กำลังประชุมครูสรุปภาพรวมที่ต้องปรับปรุง และปรับแผนอีกครั้ง

สวัสดีคะ ท่านอาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

วันนี้ ผอ.บรรจง ปัทมาลัย ได้มานิเทศโรงเรียนหนูคะ แล้วก็หนูเป็นตัวแทนกลุ่มวิชาคอมพิวเตอร์คะ วันนี้หนูได้เสนอผลงานการตัดต่อวิดีโอชุด การพันฒาการเรียนรู้โดยใช้ ICT ของโรงเรียนคะ ซึ่งผอ.ก็ให้ขอเสนอแนะว่า ดีแล้ว แต่ถ้ามีเวลาก็อยากจะให้เสนอวิดีโอเกี่ยวกับโลกร้อนด้วยคะ ส่วนขอเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมอื่นๆนั้นเสนอให้นำเสนอบูรนาการณ์กลุ่มวิทยาศาสตร์ในการออกแบบปืนอัดลมซึ่งนักเรียนในกลุ่มงานคอมพิวเตอร์จะนำไปฝึกฝนต่อไป

ขอขอบคุณคะ

  • นำภาพการไปซ้อมใหญ่ที่เลยอนุกูลวันนี้มาเพิ่มเติมครับ

นางสาวมินริกา สอนสุภาพ

เรียนท่านอาจารย์ชัดเจน ไทยแท้ พวกหนูกลุ่มวิทยาศาสตร์ เรื่อง โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ จากที่คณะกรรมการมาประเมินเมื่อวานนี้ท่าได้พวกหนูได้นำเสนอแยกกลุ่มออกเป็น 3กลุ่ม แต่คณะกรรมการได้แนะนำว่า ให้เสนอในเรื่องของการต่อยอดเนื้อหาของแต่ละกลุ่มโดยให้เป็นเนื้อหาเดียวกันเพื่อให้เวลาในการนำเสนอสั้นลง ท่านมีความคิดเห็นและข้อเสนอแนะอย่างไรบ้างค่ะ

ขอตอบพร้อมๆกันนะค่ะ

1.ท่านบรรจง พี่มีคำถามว่าวันซ้อมหรือวันจริง ค่ะ NO comment ค่ะ วันดวงที่คำถามนะคะ ที่รู้ๆพี่เลี้ยงผ่าน อย่าลืมมีนัดประชุมRoving T

2.หนูรัตนาภรณ์ต้องหาลัดเอง ถ้าไม่มีสูตรยาวๆก็ต้องนำเสนอ หนูไม่ต้องจำค่ะ มีวิธีการเยอะไปที่จำแทนหนู

 3.หนูปวีนา กนกพร มินริกา OK เจอคำถามอยากแน่ๆ

4.เด็กๆคนใดเขียนมาถามเวลาเจอกันต้องแนะนำตัวเองหน่อยนะคะ

นักเรียนที่รอรับการประเมิน

ขอให้อาจารย์ชัดเจน หายป่วยเร็วๆๆ นะคะ

สวัสดีครับ อ.ชัดเจน ไทยแท้

ผมเป็นนักเรียนที่รอรับการประเมินจากกลุ่มสาระการเรียนรู้ ห้องสมุด รร.เลยอนุกูลวิทยา

วันนี้ผมมาทำความรู้จักกับ อาจารย์ ครับ เพื่อลดความตื่นเต้น!!!!!!!!!

เมื่อวัน 18 ธันวา นั้นก็มี ผอ.จาก รร.เชียงกลม + ศรีสงคราม มานิเทศติดตามดูงานที่รร.ของเรา ท่านก็มาดูห้องสมุดของเราด้วยและได้ให้คำแนะนำบ้างเป็นบ้างส่วน

สุดท้าย อยากให้ อ.ชัดเจนให้คำแนะนำเกี่ยวกับงานห้องสมุดหน่อยครับผม

ด้วยความเคารพ

ด.ญ.สุพัตรา สอนสุภาพ

สวัสดีค่ะ

อาจารย์ ชัดเจน ไทยแท้

หนูอยากจะทราบว่าโรงเรียนในฝันที่อ.ชัดเจนอยากจะเห็นและอยากให้เป็นมากที่สุดคือเเบบไหนค่ะช่วยตอบหนูหน่อยนะค่ะ

หนูอยู่เป็นบรรณารักษ์ห้องสมุดค่ะและหนูก็อยากได้คำเเนะนำเกี่ยวกับห้องสมุดด้วยค่ะ

หนูหวังว่าอ.ชัดเจนจะให้คำปรึกษากับหนูนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

เคารพอย่างสูง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท