รัมณีย์
ว่าที่ ร.ต. จรัสฤกษ์ นิพิฐรัชนะผล

การเมืองใหม่สไตล์ รัมณีย์


การเลือกตั้ง 2 ชั้น

(คัดลอกจากที่ลงไว้ใน บล็อก oknation
http://www.oknation.net/blog/ramaniyo/2008/12/11/entry-1)

การเมืองใหม่มีคนพูดกันมาก ถ้าผมจะไม่คิดบ้างก็คงตกกระแสไม่น้อย
ผมเองคิดว่าการเมืองใหม่ ควรจะมีความใหม่ ที่แตกต่างจากสิ่งที่เป็นอยู่

แนวทางหนึ่งที่ผมคิดไว้  (และคงต่างจากที่ท่านผู้รู้เขียนกันไว้ตามที่ต่าง ๆ )
หากเขียนขยายความคงเขียนได้มาก แต่ขอเขียนไว้ย่อ ๆ บางส่วนของแนวคิดไว้ดังนี้

1. ความใหม่ด้านการเลือกตั้ง

   - การเมืองเก่า : เน้นเลือกผู้แทน แล้วก็ให้ผู้แทน มาทำงานแทน บางทีคนที่ได้มาก็ไม่ตรงใจ หรือทำอะไรที่ไม่ถูกใจ เพราะนโยบายเกิดขึ้นหลังการเลือกตั้ง
   - การเมืองใหม่ : การเลือกตั้งมีการเลือกตั้ง 2 ชั้น
 
   1.1 การเลือกตั้งชั้นแรก เป็นการเลือกนโยบาย
ซึ่งประชาชนสามารถรวมตัวกันเพื่อเสนอนโยบาย ซึ่งนโยบายดังกล่าวจะถูกนำมาเลือกตั้งโดยประชาชนโดยรวม ตามหัวข้อนโยบาย

   1.2 การเลือกตั้งชั้นที่สอง เป็นการเลือกคนเพื่อมาทำหน้าที่ตามนโยบายที่ได้จากการเลือกตั้งชั้นแรก ดังนั้น จะมีการกำหนดหน้าที่ของคนสอดคล้องกับนโยบายโดยการเลือกสอดคล้องกับการแบ่งอำนาจการบริหารงานตามข้อ 2 ที่จะกล่าวต่อไป

2. ความใหม่ด้านการแบ่งงาน

   - การเมืองเก่า : การแบ่งงานแบ่งเป็นฝ่ายบริหารและฝ่ายค้านในส่วนสภาผู้แทนราษฎร การกลั่นกรองกฎหมายมีวุฒิสภา
   - การเมืองใหม่ : การแบ่งงาน แบ่งเป็นฝ่ายบริหาร ฝ่ายตรวจสอบ และฝ่ายควบคุมจริยธรรม

   2.1 ฝ่ายบริหาร : มาจากการเลือกตั้งตามสายงานที่ดูแลตามหน้าที่ในนโยบายที่ประชาชนเลือกแล้วในครั้งแรก
   2.2 ฝ่ายตรวจสอบ : มาจากการเลือกตั้งส่วนหนึ่ง ร่วมกับผู้แทนประชาชน องค์กรอิสระต่าง ๆ โดยทำงานยึดกรอบของนโยบายฝ่ายบริหารจะดำเนินการที่ขัดแย้งต่อกรอบนโยบายโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรไม่ได้
   2.3 ฝ่ายควบคุมจริยธรรม : มาจากตัวแทนด้านจริยธรรม ทางตุลาการ และศาสนจักร เพื่อดูแลให้การบริหารงานและการออกกฎหมาย ไม่ผิดหลักธรรม


3. ความใหม่ด้านการจัดลำดับความสำคัญของกฎหมาย

  - การเมืองเก่า : รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด รองลงมาก็เป็นกฎหมาย การบริหารงานต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญและกฎหมาย หากมีความจำเป็นก็ต้องปรับเปลี่ยนกฎหมายก่อน จึงดำเนินการได้
  - การเมืองใหม่ : เนื่องจากนโยบาย เป็นความต้องการที่สำคัญ จึงกำหนดให้ความสำคัญเหนือกฎหมาย แต่ต้องอยู่ใต้รัฐธรรมนูญรวมถึงกฎหมายสำคัญหลัก ๆ เพื่อให้ผู้บริหารงาน ทำงานตามนโยบายได้สะดวกขึ้น และปรับเปลี่ยนกฎหมายเพื่อให้สอดคล้อง กับความต้องการของประชาชนได้รวดเร็วยิ่งขึ้น


4. ความใหม่ด้านรายได้สำหรับผู้บริหารงาน

  - การเมืองเก่า : ผู้แทนต่าง ๆ ได้รับค่าตอบแทนเป็นเงินเดือน หรือรายได้อื่นตามที่กฎหมายกำหนด(ไม่รวบรายได้จากการทุจริตต่าง ๆ )
  - การเมืองใหม่ : ผู้เข้ามาทำงาน ได้รับค่าตอบแทน เป็นสัดสวน ที่สอดคล้องกับ การเติบโตทางเศรษฐกิจ รายได้ประชาชาติ การพัฒนาที่เทียบกับดัชนีการคาดการต่าง ๆ ดัชนีชี้วัดความสุข ฯลฯ โดยเฉพาะที่สำคัญ ค่าตอบแทนจะสอดคล้องกับการดำเนินงานตามนโยบาย หากทำได้เกินความคาดหมายก็ได้มากตาม แต่หากทำแล้วล่าช้า หรือไม่ได้ดำเนินตามนโยบาย ก็จะได้รับรายได้น้อย กรณีที่ไม่ได้ดำเนินตามนโยบาย หรือดำเนินตามแต่ใช้วิธีที่ทำให้เกิดความเสียหาย โดยปราศจากเหตุอันควร ก็ต้องรับผิดชอบต่อค่าเสียหายนั้นด้วย ทั้งนี้ เงินได้ หรือเงินที่ต้องยึดทรัพย์ ยังมีความผูกพันภายหลังแม้พ้นหน้าที่แล้ว เพื่อว่า การดำเนินการที่ได้ผลดีในระยะยาว ควรมีผลตอบแทนต่อผู้เข้ามาทำงานในระยะยาวด้วย แต่หากดำเนินการได้ผลดีระยะสั้น แต่ระยะยาวเกิดความเสียหาย ก็ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่ตามมาด้วย

ความคิดเรื่องรายได้นี้ เป็นแนวคิดเพื่อสร้างเงื่อนไขให้ผู้เข้ามาทำงาน ตระหนักถึงหน้าที่ และภาระที่ต้องรับผิดชอบ ไม่ใช่เพียงการเสนอตัวเข้ามา ด้วยการขายฝัน แล้วก็ออกไปโดยไม่มีผลงานอย่างแท้จริง และผู้ที่อาสา ก็ต้องมีความสามารถเป็นที่ยอมรับ ผู้ที่เป็นนักวิชาการและมีความสามารถด้านการบริหาร จึงสามารถเข้ามาเสนอตนเองได้อย่างดีขึ้น ไม่ใช่โอกาสมีเพียงสำหรับผู้เป็นนักเลือกตั้งเท่านั้น

-----------------------------------

ความคิดเรื่องการเมืองใหม่ที่เสนอมาคงมีข้อคิดเห็นต่าง ๆ มากมาย แต่ผมเองไม่ใช่ผู้รู้ด้านการเมือง เป็นเพียงเสนอความคิดบางส่วน ในฐานะของประชาชนเล็ก ๆ คนหนึ่ง จะเป็นไปได้หรือเป็นไปไม่ได้ ดีหรือไม่ดี ก็คงเป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่ก็คิดว่าจะช่วยให้เกิดความคิดใหม่ ๆ แก่ผู้ได้เข้ามาอ่าน หากข้อความที่เขียนไว้ไม่เป็นที่ถูกใจ ก็ขออภัยทุกท่านไว้ล่วงหน้า

 

รัมณีย์
11 ธ.ค. 2551

หมายเลขบันทึก: 228823เขียนเมื่อ 11 ธันวาคม 2008 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:55 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

การเมืองใหม่นั้นยังมองไม่ออก ว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางบวกมากแค่ไหน เพราะเงินนั้นมีอำนาจและอิทธิพลต่อการเลือกตั้ง ดูจากผู้ที่อยู่ในวิถีชีวิตชุมชนชนบทกับชุมชนเมือง แนวคิดต่างกันชนชนจะเลือกตัวบุคคล เงินมากาให้ ส่วนชุมชนเมืองค้อนข้างอยากมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการทำงานในการเมือง ที่อนุมัติโครงการต่าง ๆ

ความใหม่ในการทำความดี คุณธรรม จริยธรรม

  • โกโบต้ามาหนัก..เลยอะวันนี้
  • การเมืองมาเลย....
  • สบายดีนะคะ
  •  

++ 1 คุณเหรียญชัย ++

สวัสดีครับคุณเหรียญชัย

เห็นด้วยครับ การเมืองใหม่ นอกจากจะต้องออกแบบระบบให้ดีแล้ว

ยังต้องให้ความรู้ และให้ประชาชนมีความคิด แล้วก็ให้รู้ให้คิดตามความเป็นจริงด้วย

(ไม่ใช่เอาตามตำราสมัยเก่า แต่ต้องทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกซึ่งหลายอย่าง

การบริหารงานสมัยใหม่ทำให้สิ่งต่าง ๆ เปลี่ยนไปจากเดิม)

++ 2 คุณคนโรงงาน ++

สวัสดีครับคุณคนโรงงาน

ขอบคุณที่แวะมาทักทายนะครับ การเมืองใหม่ควรมีความใหม่ในการทำความดี คุณธรรม จริยธรรม จริง ๆ ด้วยครับ

++ 3 คุณพิมศุมาลิน ++

สวัสดีครับคุณพิมญดา

มาเขียนเรื่องแบบคนความรู้น้อย ไม่รู้คุณพิมจะพออ่านแล้วรับได้มั้ย อิอิ อายจังเลย แต่อยากได้รับรู้รับฟังความคิดเห็นที่หลากหลาย โดยเฉพาะที่เป็นอิสระของแต่ละคน อย่างน้อยคนความรู้น้อยอย่างผมก็จะได้รู้มากขึ้นบ้างน่ะครับ

แวะมารับความรู้ค่ะ จะคอยติดตามผลงานนะคะ

การเมืองภาคประชนนั้น อย่างผมมีส่วนร่วมได้ไหม

ข้อความข้างต้นนั้นถูกใจมาก เขียนให้คนอ่านมองได้ทั้งสองมุม คือให้รู้ ดำ - ขาว ระหว่าง เก่า - ใหม่ ครับคุณรัมณีย์ คุณทำให้ผมแยกดี ชั่วได้ แนวคิดคงอยู่ในทิศทางเดียว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท