ครูอรรณพ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรณพ จีนะวัฒน์

โอกาสของผู้มีปัญญา


ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็น..


          ข้อคิดจากถังน้ำ 2 ใบ...


          ชายจีนคนหนึ่งแบกถังน้ำสองใบไว้บนบ่าเพื่อไปตักน้ำที่ริมลำธาร 
          ถังน้ำใบหนึ่งมีรอยแตก ในขณะที่อีกใบหนึ่งไร้รอยตำหนิ 
          และสามารถบรรจุน้ำกลับมาได้เต็มถัง...แต่ด้วยระยะทางอันยาวไกล 
          จากลำธารกลับสู่บ้าน....จึงทำให้น้ำที่อยู่ในถังใบที่มีรอยแตกเหลืออยู่เพียงครึ่งเดียว 

          เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ดำเนินมาเป็นเวลา 2 ปีเต็มที่คนตักน้ำสามารถตักน้ำ 
          กลับมาบ้านได้หนึ่งถังครึ่ง....ซึ่งแน่นอนว่าถังน้ำใบที่ไม่มีตำหนิจะรู้สึกภาคภูมิใจ 
          ในผลงานเป็นอย่างยิ่ง ...ขณะเดียวกันถังน้ำที่มีรอยแตกก็รู้สึก อับอายต่อความบกพร่อง           

          ของตัวเอง  มันรู้สึกโศกเศร้ากับการที่มันสามารถทำหน้าที่ได้เพียงครึ่งเดียวของจุดประสงค์ ที่มัน

          ถูกสร้างขึ้นมา 

          หลังจากเวลา 2 ปี… ที่ถังน้ำที่มีรอยแตกมองว่าเป็นความล้มเหลวอันขมขื่น 
          วันหนึ่งที่ข้างลำธาร มันได้พูดกับคนตักน้ำว่า 'ข้ารู้สึกอับอายตัวเองเป็นเพราะ 
          รอยแตกที่ด้านข้างของตัวข้าที่ทำให้น้ำที่อยู่ข้างในไหลออกมาตลอดเส้นทาง ที่กลับไป

          ยังบ้านของท่าน' 

          คนตักน้ำตอบว่า 'เจ้าเคยสังเกตหรือไม่ว่ามีดอกไม้เบ่งบานอยู่ตลอดเส้นทางในด้านของ  

          เจ้า... แต่กลับไม่มีดอกไม้อยู่เลยในอีกด้านหนึ่งเพราะข้ารู้ว่าเจ้ามีรอยแตกอยู่.... 

          ข้าจึงได้หว่านเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ลงข้างทางเดินด้านของเจ้าและทุกวันที่เราเดินกลับ...
          เจ้าก็เป็นผู้รดน้ำให้กับเล็ดพันธุ์เหล่านั้น 
          เป็นเวลา 2 ปี ที่ข้าสามารถที่จะเก็บดอกไม้สวย ๆ เหล่านั้นกลับมาแต่งโต๊ะกินข้าว 
          ถ้าหากปราศจากเจ้าที่เป็นเจ้าแบบนี้แล้ว..เราก็คงไม่อาจได้รับความสวยงามแบบนี้ได้' 

          คนเราแต่ละคนย่อมมีข้อบกพร่องที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง...
           แต่รอยตำหนิและข้อบกพร่องที่เราแต่ละคนมีนั้น 
          อาจช่วยทำให้การอยู่ร่วมกันของเราน่าสนใจ และกลายเป็นบำเหน็จรางวัลของชีวิตได้.... 
          สิ่งที่ต้องทำก็เพียงแค่ยอมรับคนแต่ละคนในแบบที่เขาเป็น.. 
          และมองหาสิ่งที่ดีที่สุดในตัวของพวกเขาเหล่านั้นเท่านั้นเอง 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก Forward Mail 

ถ้าเทียบว่า ชายจีน เป็นคุณครู และ ถังน้ำ เป็น ลูกศิษย์ของเรา

พวกเราเกิดความคิด อะไรครับ.....

ลองคิดดังๆ ให้ได้ยินกันทั่วๆ  จะคอยฟังนะครับ...
 

หมายเลขบันทึก: 228594เขียนเมื่อ 10 ธันวาคม 2008 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:54 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ธรรมชาติได้รังสรรค์สิ่งมีชีวิตให้มีความแตกต่าง และมีความหลายหลาย เพื่อให้เกิดความสมดุลกัน

ดังนั้นสิ่งทั้งปวงบนโลกใบนี้ไม่มีความสมบูรณ์แบบ และความสมบูรณ์แบบที่มนุษย์ได้จำกัดนิยามมาล้วนเป็นกติกาในการยกย่องผู้ที่

ปฎิบัติตามกฎระเบียบได้อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งนั้นก็ไม่การันตีว่าจะทำให้เป็นมนุษย์ที่มีความสมบูรณ์ทางด้านจริยธรรม

ลูกศิษย์ก็เช่นกัน มีหลายครั้งหลายคราที่มักพบว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเรียนอาจไม่ใช่ผู้ที่ประสบความสำเร็จในชีวิต

แล้วอะไร ที่เป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของสังคมสมัยนี้

คนส่วนใหญ่มักให้ความหมายของคำว่าผู้ที่ประสบความสำเร็จในการเรียน คือผู้ที่สามารถสอบผ่านทุกวิชาด้วยเกรดเฉลี่ยที่สูง ซึ่งจะ

สูงขนาดไหนก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายของแต่ละครอบครัว หรือแม้กระทั่งการสอบติดมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง แน่นอนเด็กพวกนี้ต้องมี

อนาคตที่สวยงาม เพราะพวกเค้าเหล่านั้นได้ทำหน้าที่การเรียนได้อย่างดีเยี่ยม ถ้าจะให้เปรียบก็คงไม่ต่างกับถังน้ำที่ไม่มีรอยแตก ซึ่ง

ทำหน้าที่ได้อย่างไร้ข้อตำหนิ

แล้วถังน้ำที่มีรอยแตกล่ะ ใช่แน่นั้นคือลูกศิษย์ที่มีเกรดเฉลี่ยต่ำ จะสอบผ่านไม่ผ่านแล สอบเข้ามหาวิทยาลัยไม่ได้ ทำให้หัวใจครู

หลายๆคนกระวนกระวาย ไม่เป็นสุข และต้องมานั่งปวดหัวกับลูกศิลย์เหล่านั้นว่าจะทำอย่างไรให้พวกเขาสามารถผ่านเกณฑ์การเรียน

ที่สังคมได้บัญญัติกันขึ้นมาเป็นกรอบ กติกา กักขังความคิดอันกว้างไกลของโลกใบนี้ และใช้คำสวยหรูต่างๆนาๆ ทำให้ลืมไปแล้วว่า

อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดของการเรียน

เกรดเฉลี่ย หรือ ความรู้

ชายจีน ในเรื่องนี้กำลังชี้ให้เห็นการใช้ความแตกต่างของถังน้ำทั้ง2 ใบ ใบหนึ่งสมบูรณ์แบบ ทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยม แต่อีกใบตรงกัน

ข้าม แต่เค้าไม่นึกรังเกียจ กลับใช้ข้อบกพร่องของถังใบนั้นให้เกิดประโยชน์ขึ้นมา ไม่ใช่สิ สำหรับชายจีนถังน้ำใบที่สองไม่ได้มีข้อ

บกพร่องเลยสะด้วยซ้ำ ลองนึกดูเล่นๆถ้า

1. ชายจีนคนนั้นเปรียบเหมือนครู จะเป็นครูที่ลูกศิลย์รักมากที่สุด โดยเฉพาะกับเด็กที่เรียนไม่เก่ง ไม่มีความสามารถโดดเด่น ไม่มี

อะไรเลย มีแค่ความธรรมดา ๆ เท่านั้นเอง บางครั้งอาจทำตัวนอกลู่นอกทางสะด้วยซ้ำ คงไม่ผิดใช่ไหมที่พวกเค้าจะรู้สึกแบบนี้ รู้สึก

ว่าสิ่งทีพวกเขาเป็น ไม่ใช่ปมด้อย แต่เป็นธรรมชาติของตัวเอง รู้สึกว่าทุกคนมีความแตกต่าง ต้องให้เกียรติ ไม่ดูหมิ่นความคิดผู้อื่น

ไม่ยกตนข่ม ไม่เคร่งครัดกับชีวิตเสียจนแบกรับความผิดหวังไม่ได้ โดยเฉพาะผลการเรียน รู้ว่าตัวเองมีดีอะไร และใช้สิ่งเหล่านั้น

อย่างไรถึงจะอยู่ในกรอบที่สังคมตั้งไว้ (แต่ก้ได้แค่ตั้งไว้แระ เพราะจินตนาการนั้นกว้างกว่าขอบเขตที่สังคมกำหนดสะอีก) ความรู้สึก

เหล่านี้ล้วนมาจากส่วนหนึ่งของพฤติกรรมการสอน การปลูกฝัง ค่านิยม ของตัวครูเอง มีคำกล่าวจากหนังเรื่องหนึ่งว่า

"ที่พึ่งของลูกศิลย์ คือครู" ดังนั้นเรามามองย้อนดูว่า ในปัจจุบันนี้ ครูเป็นที่พึ่งของลูกศิลย์ได้หรือยัง ไม่ใช่แค่การเรียนเท่านั้น แต่นั้น

รวมถึงความรู้สึกและจิตใจด้วย จากตรงนี้จึงเกิดประเด็นคำถามขึ้นว่า แล้วจะมีครูสักกี่คน ที่ลูกศิลย์เป็นฝ่ายวิ่งเข้าหาเอง

2 ถ้าชายจีนคนนั้นเปรียบเหมือนสังคมล่ะ แน่นอนสังคมนั้นต้องเป็นสังคมที่น่าอยู่ เพราะมิได้กีดกัด และดูถูก ดูแคลน และมีค่านิยม

แบบปัจจุบัน เพราะสังคมเหล่านั้นจะมองเห็นประโยชน์ และดูคุณค่าของมนุษย์เสียมากกว่า ผลการเรียน ชื่อเสียงมหาวิทยาลัย ทุก

คนจะอยู่ร่วมกันอย่างไม่อคติ ไม่เหยียดหยาบกันเช่นดังทุกวันนี้

ทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้ เป็นเพียงความคิดเห็นของผู้เขียนเท่านั้น และหวังอย่างยิ่งว่า สังคมไทยคงจะเป็นสังคมแบบชายจีน และมีครูที่

เป็นครูโดยแท้จริง ...

(ปล. สวัสดีค่ะอาจารย์ หนูนุ้ยเองค่ะ แวะมาทักทายค่ะ ออ อาจไม่ค่อยตรงประเด็นน่ะค่ะ แต่หนูรู้ว่าอาจารย์เป็นคนเปิดกว้างเสมอ อิอิอิ )

เราเองเป็นคนที่บกพร่องที่ ไม่ได้รับโอกาสทางสังคม เพราะสังคมไม่เหมือน ชายจีนคนนี้เลย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท