เมื่อวานซืนนี้ ทิ้งท้ายไว้ว่า วัฒนธรรมที่ถือเป็นภารกิจสำคัญของเรา คือวัฒนธรรมการส่งเสริมสุขภาพ ซึ่งอาจารย์นิพัธ จะบรรยายแยกให้เห็นชัดเจนว่า วัฒนธรรมส่งเสริมสุขภาพอะไรบ้าง ที่เราทำในโรงพยาบาลและเราส่งเสริมสุขภาพคนในชุมชนของเราอย่างไร
โรงพยาบาลพุทธชินราช กำหนดเข็มมุ่งร่วมกัน ในการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งบุคลากรและผู้ใช้บริการ ด้วยสโลแกนว่า 3 ส สร้างสุขภาพ คือ
ส.1 สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากร
ส.2 สร้างเสริมสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ
ส.3 สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้บริการและประชาชน
ส1 สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากร ของกลุ่มงานเวชศาสตร์ตรงนี้ เราโชคดี ที่เจ้าหน้าที่เรามีความกระตือรือร้น ในการดูแลสุขภาพตัวเอง เรามีกิจกรรมออกกำลังกายร่วมกัน เช่น เต้นแอโรบิค หรือเดิน ตามความชอบ ตามความถนัด มีเจ้าหน้าที่ในกลุ่มงานเป็นพี่เลี้ยงสุขภาพ ค่อยดูแล และนำทีมในการออกกำลังกาย ใน ปี 2551 เจ้าหน้าที่ในกลุ่มงาน ตรวจสุขภาพประจำปี ครบ 100%
ส2 สร้างเสริมสิ่งแวดล้อมให้เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาพ ทั้งสุขภาพของผู้ใช้และผู้ให้บริการ โดยมีการจัดพื้นที่ให้บริการที่สะอาด ปลอดภัย แสงสว่างเพียงพอ และแยกส่วนให้บริการ หรือคัดกรองในผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังการติดเชื้อทางเดินหายใจ ( เสนอภาพประกอบยืนยันค่ะ)
ส 3 สร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้บริการและประชาชน อาจารย์นิพัธ เล่าในส่วนของการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของผู้ใช้บริการ ในศูนย์สุขภาพเมือง ก่อนว่า การพูดคุย การสร้างความคุ้นเคยกันเอง การให้ข้อมูลการปฏิบัติตัว กับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเจ้าหน้าที่ทุกจุด ตั้งแต่หน้าห้องตรวจ ห้องตรวจ จุดบริการหลังตรวจ และห้องจ่ายยา จะถือเป็นสิ่งสำคัญในการพูดคุย ให้คำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย แต่ละโรค อาจารย์ใช้คำว่า life style ค่ะ
นอกจากนี้ ในศูนย์สุขภาพเมือง เรายังมีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแก่ผู้ใช้บริการ โดยทีมจิตอาสา เป็นผู้ดำเนินการ มีตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันศุกร์ จะมีเว้นว่างก็ในวันที่พี่ๆเค้าติดธุระจริงๆ กิจกรรมได้แก่ ชี่กง ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ ฝ่ามืออรหันต์ นานๆ ก็มี เต้นรำสำหรับผู้สูงอายุ บ้าง ( อ่านรายละเอียดกิจกรรมจิตอาสาศูนย์สุขภาพเมือง จากบันทึกเก่าๆ เพิ่มเติมนะคะ พี่ๆ น้องๆ จิตอาสา น่ารัก มีน้ำใจ จริงๆ )
คราวนี้ มาถึงการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพของชุมชนเราบ้างนะคะ อาจารย์เกริ่นนำด้วยภาพ life cycle ว่า สิ่งสำคัญคือการสร้างชุมชนให้เข้มแข็ง คนในชุมชนสามารถดูแลสุขภาพคนในชุมชนด้วยกันเอง เจ้าหน้าที่เป็นเพียงผู้สนับสนุน เท่านั้น ซึ่งขณะนี้เรากำลังทำหน้าที่เป็นผู้สนับสนุน นั้นอยู่ เราสร้างคนต้นแบบ เราสร้างแกนนำสุขภาพ ในชุมชน ผ่านชมรมต่างๆ ทุกช่วงวัยอายุ เช่น ตั้งแต่การตั้งครรภ์ หลังคลอด จนถึงทารก เรามีชมรมสายใยรักแห่งครอบครัว ในชุมชน พอถึงช่วงวัยรุ่น เราก็มีกลุ่มเพื่อนใจวัยรุ่นที่เป็นแกนนำ ในเรื่องการป้องกันปัญหาพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในโรงเรียน ในช่วงผู้ใหญ่ เราก็มีชมรมโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดัน ขณะนี้เรามีคนต้นแบบในชุมชนถึง 201 คน สมาชิกชมรมโรคเรื้อรัง16 ชมรม 1080 คน
เรามีชมรมรวมใจต้านภัยมะเร็งในชุมชน ที่ช่วยเป็นแกนนำในการคัดกรองเบื้องต้น มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก ตอนนี้ขยายไปมะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งลำไส้ (สมาชิกชมรมนี้ มีผู้ชายเป็นสมาชิกด้วยนะคะ เยี่ยมจริงๆ )
ชมรมน้องใหม่ คือชมรมคนรักษ์ชีวิต เป็นชมรมผู้ชายล้วน เป็นแกนนำที่จะลด ละเลิก สุรา (ถ้าจำไม่ผิด มีสองชมรมที่บ้านป่า กับ สมอแข ค่ะ)
ชมรมสุดท้าย ก็เป็นการดูแลผู้สูงอายุ โดยชมรมจิตอาสาเพื่อดูแลผู้สูงอายุและผู้พิการทุพลภาพในชุมชน ขณะนี้เรามีสมาชิกจิตอาสา ถึง 315 คน ใน 7 ตำบล เราสร้างสิ่งดีๆ เหล่านี้ ร่วมกับ ชุมชน และทีมงานในโรงพยาบาล เช่น งานเวชกรรมฟื้นฟู งานอายุรกรรม งานสังคมสงเคราะห์ งานสุขศึกษา มีชมรม มีศูนย์ฟื้นฟูผู้พิการอยู่ในชุมน
ก่อนจบการบรรยาย อาจารย์สรุปแบบประทับใจว่า “การทำงานแบบบูรณาการเชื่อมโยงทุกส่วน ตั้งแต่ในโรงพยาบาล สถานีอนามัย จนถึงชุมชน ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ในที่สุดจะเกิดความสมดุลในระบบบริการตั้งแต่ Self care ,Primary care จนถึง Tertiary care”
จบบันทึก เก็บมาเล่า เอามาบอกต่อ version reaccreditation แล้วค่ะ ใช้เวลาหลายวันทีเดียว นึกว่าจะเล่าไม่จบ ซะแล้วดิ....(อย่าลืมติดตาม อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมกิจกรรมของชมรมต่างๆ ของพวกเรา ที่
อ่ะ อ่ะ...จบแล้วก็มาสร้างสุขภาพกันต่อนะน้อยนะ หายเหนื่อยยังน่ะหือ
นี่แหละ life style ของจริงในชุมชน...5555
ไม่ต้องค้นหาขอให้เข้าไปกระตุ้นแค่นั้นแหละแล้วเราจะได้พบและเห็นของจริงๆ...
ขอชื่นชม...คารวะด้วยใจ
ถ้าไม่มีบันทึกนี้ก็ไม่รู้นะเนี้ย