บายศรีสู่ขวัญ


เครื่องเชิญขวัญ

  สวัสดีค่ะ วันนี้ผู้เขียนได้นำพิธีบายศรีสู่ขวัญของทางภาคเหนือมาให้รู้จักกันค่ะ 

           มารู้จักคำว่า  "บายศรี"  กันก่อนนะค่ะ  "บายศรี"  หมายถึง  เครื่องทำขวัญหรือรับขวัญ ทำด้วยใบตอง มีลักษณะคล้ายกระทงเป็นชั้น ๆ มีขนาดเล็กใหญ่ลดหลั่นกัน  บายศรีมีหลายประเภท  ได้แก่  บายศรีหลวง  บายศรีนมแมว  บายศรีปากชาม  และบายศรีกล้วยค่ะ  

         “พิธีสู่ขวัญ” หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พิธีบายศรีสู่ขวัญ” เป็นพิธีเก่าแก่ของชาวไทยแทบทุกภาค แต่ว่าการทำพิธีอาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่หลักใหญ่ๆ ยังคงเหมือนกันค่ะ พิธีสู่ขวัญนี้จะทำกันได้ในทุกโอกาส  และพิธีสู่ขวัญจึงเป็นได้ทั้งการแสดงความชื่นชมยินดีและเป็นการปลอบใจให้เจ้าของขวัญ ตามความเชื่อที่ว่าคนเราเมื่อเกิดมาในโลกจะมี “ขวัญ”  ประจำกายคอยช่วยพิทักษ์รักษาเจ้าของขวัญให้มีความสวัสดียังไงละคะ ดังนั้นพิธีสู่ขวัญจึงถือเป็นประเพณีสำคัญที่จะทำพิธีเรียกขวัญให้มาสถิตอยู่กับตัวเราค่ะ

   

**ญาติ ๆ จะมาช่วยกันเตรียมอุปกรณ์ให้ค่ะ**

      เมื่อทำเสร็จแล้วหน้าตาเป็นแบบนี้ค่ะ   (ในบายศรีจะมีไก่ต้ม  ไข่ไก่ ดอกไม้ ธุป เทียน ข้าวสาร  เงิน)

 

           **จะมีครูมาทำพิธีให้ค่ะ **

           ในการทำพิธีบายศรีสู่ขวัญจะมีเครื่องใช้สำคัญอยู่ 2 อย่าง คือเครื่องบูชาพาขวัญหรือเครื่องบายศรีตามประเพณี และด้ายดิบนำมาจับเป็นวงยาวพอที่จะผูกรอบแขนหรือรอบข้อมือได้ ในการจัดเครื่องบายศรีนี้ ถือว่าเป็นของสูงเพราะเป็นเครื่องสังเวยเทพยดา ดังนั้นจะต้องจัดด้วยพานแล้วนำใบตองมาเย็บเป็นบายศรี  

           **การบายศรีสู่ขวัญนี้ก็เป็นความเชื่ออย่างหนึ่งของคนภาคเหนือค่ะ  ซึ่งได้ปฏิบัติกันมาเป็นเวลาช้านานแล้ว ณ ปัจจุบันนี้ก็ยังไม่เลือนหายไปจากชาวเหนือเราหนะเจ้า....**

คำสำคัญ (Tags): #บายศรี
หมายเลขบันทึก: 227422เขียนเมื่อ 4 ธันวาคม 2008 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

แวะมาดู วัฒนธรรมดี ๆ ของบ้านเราครับ

  • อ้าว
  • ทำไมไข้ระบบครับ
  • อิอิ

อยากหัดทำบายศรีจัง ชอบ

ขอบคุณค่ะครูโย่ง หัวหน้า-natadee

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท