ลปรร.จนได้ประเด็นการพัฒนา (B2B to R2R)


เมื่อเรานึกถึงการทำวิจัยความยากมักจะถูกจินตนาการไปที่รูปแบบการวิจัย ตาม Format จะถูกต้องไหม ใช้สถิติอะไร เครื่องมือ ... จนถึงจะเขียนรายงานออกมาได้อย่างไร ในที่สุดก็ท้อเพราะยากเหลือเกิน อย่างนี้งานวิจัยก็เลยกลายเป็นของยากไป

     จากบันทึก สิ่งที่ผมไม่ทำและจะทำสำหรับการเลือกตั้ง สส.ที่จะถึงนี้ ผมได้พบกับ นพ.ปฏิภาคย์ นมะหุต แพทย์ประจำ รพ.ไพศาลี ซึ่งได้เข้ามาร่วม ลปรร.ไว้ และได้คุณค่าความงามขององค์ความรู้ที่ตกผลึกได้เป็นอย่างยิ่ง “การสร้างความเข้าใจต่อสุขภาพร่วมกัน จะได้ผลและยั่งยืนกว่าการยัดเยียดให้โดยเราที่คิดว่าเป็นผู้รู้แต่พียงฝ่ายเดียว”

     ต่อมาเมื่อ Dr.Ka-poom ได้เขียนบันทึกเรื่อง ยินดีต้องรับ สู่ >>> ชุมชน: การทำวิจัยเพื่อพัฒนาในงานประจำ [R2R] ที่ผมก็ได้ร่วมดูแลชุมชนนี้อยู่ด้วยกับ Dr.Ka-poom ซึ่งท่านก็ได้เข้ามาให้ความเห็นไว้ (โดยไม่ได้ปรับแก้) ดังนี้ ปฏิภาคย์ เมื่อ อ. 4 เม.ย. 21:13:14 2006 เขียนว่า:
          พี่ครับ ผมเป็นเหมือนเด็กใหม่ แต่อยากทำบ้างครับ มันมีหลายเรื่องในหัวผม ซึ่งมันจะเข้ามาแต่ละที เมื่อเจอปัญหา ผมเลยอยากทราบว่ามันต้องเริ่มอย่างไร ด้วยวิธีอะไรบ้าง( มันทำยังไงอ่ะครับ) พี่ช่วยสงเคราะห์ผมหน่อยนะครับ เรื่องที่ผมอยากทำ เช่น การพัฒนาการดูแลผู้ป่วย COPD อยากมีการประเมิน แยกผู้ป่วยจาก หอบหืดก่อน แล้วต่อด้วยประเมินความรุนแรง และรักษาตามความรุนแรง ร่วมกันองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องใรการดูแลส่วนอื่นๆ เช่น กายภาพ รวมถึงลงไปถึงครอบครัว แล้วก็ดูผลลัพธ์ เช่น ประเมินความรุนแรงแล้วลดลง การนอนโรงพยาบาลลดลง หรือเรื่องที่ผมอยากทำอย่างอื่นๆ เช่น ผมอยากไปสร้างความเข้าใจในเรื่องโรคง่าย ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเบื้องต้นเมื่อเป็น หรือการป้องกัน ซึ่งผมอยากรู้ว่ามันจะสามารถลดการมานอนโรงพยาบาลได้หรือไม่ แต่แค่คิดก็รู้สึกว่ามันยาก เพราะทั้งอำเภอมันกว้างมาก มันเหมือนเป็นโครงการใหญ่ พี่ๆช่วยแนะนำหน่อยครับ

     ผมได้ลองสืบค้นดูก็ถึงบางอ้อว่าที่แท้จริงแล้ว นพ.ปฏิภาคย์ ก็คือผู้ใช้นามปากกาว่า TQM โดยมีที่มาจาก Try to Quality Man (หาใช่อย่างที่เข้าใจเดิม ๆ ไม่) ที่ Blog คุณภาพที่กำลังงอกเงยโรงพยาบาลไพศาลี จนได้พบกับบันทึกเรื่อง บริบทของโรงพยาบาลไพศาลี จากโจทย์ที่ทิ้งเป็นประเด็นคำถามไว้ รวมกับข้อมูลพื้นฐานที่พอมี อีกทั้งมองเข้าไปข้างในเห็นความตั้งใจอันแน่วแน่ เห็นเป็นพลังความสำเร็จ ผมเลยเชื่อว่าแน่นอนครับ บันทึกผมฉบับนี้ไม่น่าจะไร้สาระ หากแต่น่าจะได้เป็นส่วนหนึ่งน้อย ๆ ในการพัฒนาระบบสาธารณสุขได้แน่ ตั้งใจอย่างนั้นครับ

     R2R: Routine to Research หรือ การทำวิจัยเพื่อพัฒนาในงานประจำ ใน รพ.ไพศาลี เกิดได้แน่ ๆ โจทย์ที่เป็นคำถามวิจัย (Research Question) เกิดแล้วครับจากคำถามของท่านเองที่ทิ้งไว้ คือ “รูปแบบการดูแลผู้ป่วย COPD ที่เหมาะสมกับชาวไพศาลี เป็นอย่างไร” ฉะนั้นน่าจะใช้โจทย์นี้ เพียงโจทย์เดียวก่อน เพื่อทดลองนำร่อง ลองเดินเรื่องดูก่อน เป็นลำดับแรก ๆ เมื่อเริ่มเข้าที่เข้าทางแล้ว ทีม R2R ของ รพ.จะลองเดินเรื่องใหม่ เรื่องอะไรก็แล้วแต่ประเด็นปัญหาที่ต้องการพัฒนาต่อไป (ตามความเห็นผมนะครับ) ส่วนแนวทางที่หมออยากมี อยากเห็น และอยากประเมิน เชื่อว่าได้ผ่านการตกผลึกมาเยอะแล้วที่เป็นเหมือนการทบทวนวรรณกรรมในเบื้องต้น จึงเป็นสิ่งที่น่าเชื่อว่าใช้ทดลองนำมาใส่ในกระบวนการ (Process) ได้เลย หากแต่โจทย์คือ...เหมาะสมกับชาวไพศาลี จึงมีข้อเสนอนิดนึงว่า ต้องเน้นที่บริบทเชิงวัฒนธรรม วิถีประชา หรือ...ความเคยชิน ของเขาด้วย ฉะนั้นส่วนที่ผมมักจะใช้วิธีการให้ผู้ป่วยที่ยังมีศักยภาพเพียงพอ หรือญาติ ด้วยการสรรหา หรือชี้ชวน ให้เข้าร่วมกับทีมวิจัยด้วยแต่ต้น ๆ และเรียนรู้ไปด้วยกันเลย ผมเชื่อว่านอกจากพัฒนางานด้วยงานวิจัยแล้ว ยังจะได้การพัฒนาคนที่คุ้มค่ามาก

     ผมเชื่อครับว่ากระบวนการขับเคลื่อนเพื่อการทำวิจัยในหน่วยงานแบบ R2R ที่ว่านี้ยากที่สุดที่จะให้เกิดขึ้นได้คือ “ทีมนำ” ผมมีประสบการณ์ที่จะนำมา ลปรร.กันครับว่า ไม่ต้องสนใจคุณวุฒิคนที่เราเลือกสรรในครั้งแรก แต่ให้สนใจที่ใจ คือ “มีใจชอบ” และเป็นคนที่ “มุมานะ” เป็นอันดับสำคัญแรก ๆ ที่ต้องพิจารณา และไม่ต้องมากสัก 4-5 คน ในรอบแรก จากนั้นค่อย ๆ ขยาย Node ออกไปใน รพ. โดยการเรียนรู้ความสำเร็จจากทีมแรก แล้วประเด็นอื่น ๆ ค่อย ๆ ใช้ความเป็นทีม ค่อย ๆ เติมเต็มให้กัน เริ่มต้นตั้งแต่กระบวนการพูดคุยกันรอบแรกเพื่อยกร่างขบวนการเดินเรื่องที่จะทำให้ได้รูปแบบการดูแลผู้ป่วย COPD ที่เหมาะสมกับชาวไพศาลี จนทำให้เขาเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้ได้ ก็ให้จดบันทึกเรื่องราวเป็นเรื่องเล่าไว้ พร้อม ๆ กับผลผลิตที่ได้ในแต่ละคราวที่ลงมือดำเนินการ นี่ก็เป็นการทำ R2R แล้ว

     เมื่อเรานึกถึงการทำวิจัยความยากมักจะถูกจินตนาการไปที่รูปแบบการวิจัย ตาม Format จะถูกต้องไหม ใช้สถิติอะไร เครื่องมือ ... จนถึงจะเขียนรายงานออกมาได้อย่างไร ในที่สุดก็ท้อเพราะยากเหลือเกิน อย่างนี้งานวิจัยก็เลยกลายเป็นของยากไป ลองดูครับไม่ยากอย่างที่คิด และเริ่มต้นที่จะแก้โจทย์วิจัยนี้อย่างไรเพื่อให้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ก่อนดีกว่า จะง่ายขึ้น ส่วนเรื่องอื่น ๆ ศึกษาเอา เรียนรู้เอาในระหว่างการขับเคลื่อน แบบเรียนรู้ไป ทำไป และพัฒนาไป จะไม่รู้สึกท้อ ยาก และเหนื่อยเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อยากเห็นการเริ่มต้นที่ดีที่ว่านี้จริง ๆ ครับ มีอะไรก็ ลปรร.กันได้ต่อ เวทีนี้มีอีกหลาย ๆ ท่านที่สามารถช่วยกันมอง และร่วมด้วยช่วยกันได้ครับ หวังเป็นอย่างยิ่งครับคุณหมอปฏิภาคย์ นมะหุต

หมายเลขบันทึก: 22730เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2006 18:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:31 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (15)

จดจ่ออยู่

กำลังนั่งทำงานอยู่หน้าจอ..คอมฯ อ้าว! มีบันทึกคุณชายขอบตีพิมพ์เข้ามา..ทำให้อดไม่ได้แล้วสิตามประสา "เกลอ".."คนคอเดียวกัน"..ต้องมาร่วมด้วยช่วยกัน..ประเด็นที่คุณชายขอบนำมาถกหรือที่คุณหมอ "ปฎิภาคย์" ตั้งโจทย์ไว้นั้น..แค่คิดก็มองเห็นอะไรบางอย่างของการ..เกิด "คุณภาพ" แน่ เพราะไม่ได้ใช้ "กรอบ" คุณภาพที่ใครๆ ก็ทำกันเพียงเพื่อแค่ให้ได้การรับรองว่ามีคุณภาพแน่แค่นั้นเองหรือ..แต่ไม่ได้สนใจข้อเท็จจริงว่าผู้รับบริการ "ผู้ป่วย-ญาติ" จะเป็นอย่างไร..คนทำงานซึ่งคือผู้หยิบยื่น "คุณภาพ" นั้น "ใจ" เขาเป็นอย่างไร นี่คือสิ่งที่เรามักไม่มอง..เพียงแค่..กระหือรือร้นอยากได้ "HA"..."ISO"...หรืออะไรแล้วแต่จะวิ่งตามไป หากลืมมองว่าคนในเรา.."คนทำงาน"...มี "ใจ" หรือยัง..หากยังไม่มี "ใจ"..แม้ผ่านรับรองไปก็เท่านั้น หาใช่จะยั่งยืนไม่..เพราะคนให้ยังไม่มีใจ แล้วคนรับ(ผู้ป่วยและญาติ)..จะรับอะไรไปได้บ้างล่ะ..

ดิฉัน..ได้ไปเรียนรู้การทำงาน..จากที่มีโอกาสไปร่วมช่วย "โครงการไตรภาคีฯ" ที่คุณชายขอบและทีมกำลังขับเคลื่อนอยู่นั้น..ทำให้เกิด Think ...แว๊บ..Idia ที่อยากจะมาทำ R2R ที่องค์กรตัวเอง ได้จัดแจงปรึกษาผู้นำที่คิดว่าน่าจะขับเคลื่อนไปได้...แรกเริ่มท่านเหมือนจะมองเห็น จึงได้เริ่มลงมือทำพร้อมกับฟอร์ม "ทีม" "คนมีใจ"...ที่อยากทำงาน ซึ่งก็คือ พยาบาลที่ปฏิบัติการที่ทำงานใน word ที่มีโจทย์จากการทำงานอย่างแท้จริง..มาร่วมแรงด้วย "ใจ" อย่างเต็มเปี่ยม..แต่พอกรอบ "Model" การดำเนินภายใต้บริบท รพ.ยโสธร ได้เรียบร้อยแล้ว ปรากฏว่าโครงการไม่ผ่าน หลากหลายสาเหตุ เช่น ซ้ำซ้อน HA บ้าง,  เดี๋ยวไปทำให้ CQI ที่กำลังทำนั้นเสียระบบบ้าง, วิทยากรมาสอนวิจัยเพียงครั้งเดียวก็พอแล้ว, ยังไม่มีความจำเป็น..จิปาถะของการมีเหตุผลเพียงเพื่อ "ไม่ผ่าน" โครงการ...ในความมุ่งมั่นดังกล่าวนั้นรู้สึกเสียดาย "โอกาส" ที่มีเข้ามา แต่ไม่เป็นไร ใน"ใจ" คนทำงานเราไม่ท้อ...แต่เลือกที่จะมาทำ "เล็กๆ"..เฉพาะที่ "กลุ่มงานจิตเวช" ใน"ทีม"เรา..ด้วยการนำหลักการและ "Model R2R" ที่คิด "ร่วมกัน" กับคุณชายขอบมาใช้ในการขับเคลื่อนพัฒนางาน เพียงเพื่อ "เรา" อยากหาคำตอบ เพื่อแก้ "โจทย์" ที่เกิดขึ้นจากการทำงานของเราจริงๆ

Dr.Ka-poom

     เป็นตัวอย่างที่ดีครับ ขอชื่นชมอย่างจริงใจ "จิตเวช" รพ.ยโสธร ที่ไม่ยอมท้อ อย่าลืมว่าเป็นหน้าที่ของชีวิตนะครับ เมื่อเลือกเกิดมาแล้วทำอาชีพนี้ ต้องทำเพื่อสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง ส่วนกระบวนการอื่น ๆ เพื่อพัฒนาคุณภาพนั้นจำเป็นมากครับ แต่ต้องเพื่อความปลอดภัยและผาสุขทั้งของผู้รับและผู้ให้บริการ ไม่ใช่เพื่อผ่านกระบวนการรับรองทีละขั้น ที่ละขั้น แล้วจึงพอใจ อย่าได้เข้าใจในวัตถุประสงค์ที่แท้จริงเสีย จะเดินผิด แล้วเกิดคำถามว่า "สุดท้ายประชาชนได้อะไร"

ผมต้องขอขอบคุณ พี่ชายขอบ และพี่ Ka-poom มากๆๆๆๆๆ ครับ อบอุ่นมากเลยครับ มันคงเป็นความปิติ ที่พี่ๆมีให้ผม เมื่อก่อนผมมีความเข้าใจอย่างนึง คือ การไปเรียนรู้จากคนอื่นที่ประสบความสำเร็จ ทำให้เราไม่หลงทางและทำได้ง่ายขึ้น แต่วันนี้ผมได้เพิ่มอีกแล้ว ว่าต้องมาเรียนรู้ด้วยตนเองต่อด้วย เหมือนวันนี้ที่ พี่ชายขอบแนะนำการทำ R2R ซึ่งผสมเทคนิคเล็กๆแต่สำคัญ เช่นการเลือกสรรทีมนำในการทำ แต่ผมต้องลองทำและจะได้เรียนรู้ไปด้วย ชอบมากๆเลยครับกับตรงที่ว่า "หากแต่โจทย์คือ...เหมาะสมกับชาวไพศาลี จึงมีข้อเสนอนิดนึงว่า ต้องเน้นที่บริบทเชิงวัฒนธรรม วิถีประชา หรือ...ความเคยชิน ของเขาด้วย ฉะนั้นส่วนที่ผมมักจะใช้วิธีการให้ผู้ป่วยที่ยังมีศักยภาพเพียงพอ หรือญาติ ด้วยการสรรหา หรือชี้ชวน ให้เข้าร่วมกับทีมวิจัยด้วยแต่ต้น ๆ และเรียนรู้ไปด้วยกันเลย ผมเชื่อว่านอกจากพัฒนางานด้วยงานวิจัยแล้ว ยังจะได้การพัฒนาคนที่คุ้มค่ามาก" ช่วงเกือบ 1 ปีที่ผ่านมา ทาง พรพ. พยายามสอนให้เรารู้จักกับคำว่าบริบทและเข้าใจบริบท ไม่ว่าจะเป็นระดับคน หน่วยงาน กลุ่มผู้ป่วย โรงพยาบาล หรือแม้แต่ภาพรวมของอำเภอที่เราอยู่ สิ่งหนึ่งที่ผมฉุกคิดได้หลังจากอ่านคำแนะนำของพี่แล้ว ผมคงต้องไปทบทวนหัวข้อเรื่องให้เหมาะสมกับปัญหาที่สำคัญของโรงพยาบาล/ชุมชนก่อน แล้วไปหาทีม ซึ่งผมจะคัดลอกคำพูดบางส่วนของพี่ชายขอบ ไปให้ทีมฟังด้วย(ไม่สงวนลิขสิทธิ์นะครับ) ผมต้องไปขายไอเดียนี้แก่ พี่ๆ เพื่อน และน้องร่วมงานผมก่อน ซึ่งคิดว่าน่าจะมีคนที่อยากเข้ามานะครับ หากผลเป็นประการใดจะเข้ามา ลปรร.กับพี่ใหม่ครับ

การทำคุณภาพ

การทำคุณภาพสิ่งสำคัญน่าจะมาจาก "ใจ"..ในการเริ่มต้น..

หากใจมา..และมี..ไม่ว่ายากแค่ไหน

คุณภาพเกิดแน่นอน..

อ.ชูชาติ เคยสอนผมตอนไปอบรม QRT ว่าคุณภาพตั้งต้นที่ ใจ คือ มีใจอยากทำก่อน แล้วไปสมอง..คิดออกมา แล้วนำออกมาสู่มือ..ลงมือทำ
อ.ชูชาติ เคยสอนผมตอนไปอบรม QRT ว่าคุณภาพตั้งต้นที่ ใจ คือ มีใจอยากทำก่อน แล้วไปสมอง..คิดออกมา แล้วนำออกมาสู่มือ..ลงมือทำ

นพ.ปฏิภาคย์ (1)

     ผมเชื่อเหลือเกินครับว่างานนี้ "เกิด" ด้วยเงื่อนไขหรือปัจจัยหนุนนำหลาย ๆ ประการ สำหรับ รพ.ไพศาลี ส่วนโจทย์นั้นเริ่มอย่างนี้ก็ได้ครับในการให้ได้มาซึ่งโจทย์ที่เหมาะสม เคยบันทึกไว้ที่ เอามะพร้าวมาขายสวน : การเลือกเรื่องและการกำหนดปัญหาการวิจัย

     ไม่มีอะไรหวงเลยครับ มาที่นี่เนี่ยไม่มีหวงอะไรเลยครับ ขอเพียงได้ ลปรร.กันก็สุขใจแล้ว

Dr.Ka-poom และ นพ.ปฏิภาคย์ (2)

     "ใจ" ต้องมาก่อน ผมมองว่าทุกเรื่องครับ ฉันทะ แล้ว วิริยะ ไงครับ

ดอกหญ้า

     ขอบคุณครับ ที่ไหน ๆ ก็เชื่อด้วยเจตนาอันดีว่า ลปรร.กัน เพื่อนสร้างสรรค์การพัฒนาได้ครับ เชื่ออย่างนั้น

เสริมสุข รุ่งเจริญ

เมื่อได้อ่านและตามไปอ่านที่ลิงค์ไว้ อยากถามว่าในข้อเท็จจริงหน่วยงานไหนๆก็ทำได้ ใช่หรือไม่ครับ หรือไม่ใช่เพราะเหตุใดได้บ้าง ขอบคุณครับสำหรับสิ่งดีๆที่ให้มา

คุณเสริมสุข รุ่งเจริญ

     เข้าใจว่าได้ทั้งหมดทุกหน่วยงาน ประเด็นจะอยู่ที่ได้ช่วยกัน get เอาปัญหาวิจัยเพื่อก่พัฒนางานออกมาจากปัญหาเชิงบริหารได้จริง ๆ ไหม และได้ครอบคลุมไปถึงสภาพที่เป็นปัญหาของหน่วยงานจริง ๆ แล้วหรือยังมากกว่า...ครับ

คุณขจิต ฝอยทอง

     ครับไม่เป็นไรนะครับ อีกสักเรื่องนะ หากจะคัดลอกดังตัวอย่าง New Zealand... ลองเอาไปไว้ที่ Notepad ก่อนน่าจะสวยกว่า จากนั้นค่อยทำ Link (คลิ้กที่สัญญลักษณ์รูปโซ่นะครับ) ลองดูนะครับ

  • ขอบคุณมากครับ

 

  •  แวะมาทักทายครับ (นานๆ ครั้ง)  
  • ผมพยายามหาว่ามีบันทึกของใครบ้างที่เขียนไว้ว่า รูปแบบงานวิจัยของ r2r ควรจะเป็นแบบไหนได้บ้าง แต่ยังหาไม่พบ คุณชายขอบเคยผ่านตาไม๊ครับ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท