แนวเดียวกันคุยกันหนุกหนาน(สนุกสนาน) : พื้นฐานคนเป็นครู


การศึกษาไทย ใครหนอใคร ช่างออกแบบ

ยิ่งนับวันการทำงานในสาขาใหม่ ยิ่งสนุกสนานมากขึ้นครับ (อัลฮัมดุลิลละฮฺ) วันนี้เป็นวันที่ ๓ สำหรับการทำงานในสาขาใหม่ ได้เจอกับ ท่านรองคณบดีฝ่ายบรหารฯ (อ.คอเล็ด) หนึ่งในอาจารย์สาขาวิชาชีพครู และอีกท่านที่เมื่อวานเจอกันครั้งแรกก็เหมือนรู้จักกันมานานคุยกันอย่างสนุกสนาน คือ อ.มูฮามัสสกรี มันยูนุ วันนี้ก็ได้เจอท่านอีกครั้งครับ

         ความเป็นกันเองที่เพื่อนร่วมงานในสาขาวิชาชีพครูมี คือ จิตวิทยาอิสลาม ที่ติดตัวมาด้วยกับการศึกษาที่ถ่องแท้ แม้อาจจะดูเหมือนเป็นน้องใหม่แต่หัวใจที่พกพาความเป็นครูมาเต็มร้อย มันสามารถร้อยเรียงเรื่องราวต่างๆ ที่นานาทัศนะจากอาจารย์ทั้งสองท่านหยิบยกประเด็นมาพูดคุย เริ่มตั้งแต่การบริหารจัดการที่น่าคิดจากท่าน อ.คอเล็ด การศึกษาที่น่าใคร่ครวญบทเรียนของมาเลเซียจาก อ.มูฮามัสสกรี ทำเอาผมนั่งฟังอยู่อย่างสดับจับใจ คิดไปคิดมาเครื่องเริ่มร้อน ก็เลยแสดงความคิดเห็นกับอาจารย์ทั้งสองท่านบ้าง ประมาณว่าได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างออกรสชาติ ดั่งที่ใจปรารถนาอยากให้เป็นไปในการทำงาน (อัลฮัมดุลิลละฮฺ)

       คุยกันไปไกลครับถึงการศึกษาที่เป็อยู่ในประเทศไทย อะไรเป็นสาเหตุให้การศึกษาเมืองไทยเป็นแบบนี้ และพื้นที่แห่งนี้สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทิศทางการศึกษาจะเป็นไปในทิศทางใด มันน่าขบคิดครับ เพราะการปรับเปลี่ยนผู้นำ ที่จำแต่จะเดินต่อไปไม่เหลียวมองความต่อเนื่องของการศึกษา ห้วงเวลาที่ผ่านพ้นไปเลยมีแต่คำถามต่างๆนานา ถึงระบบการศึกษาบ้านเรา โดยเฉพาะการศึกษาระบบใหม่ GAT / PAT ที่นำมาเข้ามาใช้มีอีกหลายสถาบันครับที่รับรู้รายอะเอียดไม่ถ่องแท้ โดยเฉพาะในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ อันนี้กล้าพูดเพราะว่า ตลอดทั้งเดือนที่ผ่านมานี้มีโอกาสได้ไปเป็นวิทยากรให้แก่โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในพื้นที่หลายแห่ง พบว่าอย่าว่าแต่เด็กเลยครับที่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร แม้แต่ตัวบุคลากรในโรงเรียนที่รับผิดชอบทางด้านนี้ก็เข้าใจไม่ถ่องแท้ถึงการศึกษาระบบใหม่

       ไปๆมาๆ กลายเป็นว่าต้องเป็นเราที่ต้องทำหน้าที่ ครูแนะแนวให้แก่เด็กทุกครั้งที่ไปบรรยายเกี่ยวกับเส้นทางสู่มหาวิทยาลัย เมืองไทยหนอมืองไทย การศึกษาทำไมถึงเป็นเช่นนี้

       ที่เขียนมาทั้งหมดก้เพียงแต่อยากจะบอกว่า... เพราะแนวเดียวกันมั้งครับกับเพื่อร่วมงานกับสายงานที่จบมาเลยพาให้แต่ละห้วงเวลาที่ผ่านไปกับสามวันที่สาขาใหม่มีชีวิตชีวามากขึ้น คิดอะไรได้เยอะขึ้น ทำอะไรได้ก่ายกองมากขึ้น

 

 

หมายเลขบันทึก: 227037เขียนเมื่อ 3 ธันวาคม 2008 11:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:57 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมอ่านแล้วก็คิดว่าสนุกครับ

เพราะกำลังพูดถึงความจริงที่ประสบทุกวัน

หวนนึกถึงอายัตที่สองที่ผมจะเขียน ที่กล่าวถึงอัลกุรอานเป็นภาษาอาหรับ

พวกเราพูดมลายูพูดไทย จะต้องเรียนภาษาอาหรับด้วย อย่างน้อยก็น่าจะรู้เรื่องสิ่งที่ตัวเองกล่าวถึงเวลาละหมาด

แล้วไปเปรียบเทียบกับการไม่รู้หนังสือบ้านเรา .. เด็กอ่านไม่ออก.. ส่วนใหญ่แล้วจะมองที่อ่านไทยไม่ได้ แต่ผมกลับมองว่าเด็กกลุ่มนั้นน่าจะมีปัญหาในทุกภาษา.. ซึ่งมันน่าเป็นห่วงมาก..

ช่วยกันคิดและช่วยกันหาทางออกนะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท