การวัดระยะและการคำนวณปริมาตรไม้


มาตราวัดระยะในยุคแรกๆ จะคิดเทียบมาจากร่างกายของมนุษย์ คือใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการวัด

สมัยก่อน ประเทศไทยของเรา นิยมใช้มาตราวัดระยะแบบไทยๆ เช่น กระเบียด นิ้ว คืบ ศอก วา เส้น ปัจจุบันมาตราชั่ง ตวง วัด ในทางราชาการและความนิยมของประชาชน ยังเป็นที่สับสนอยู่มาก หวังว่ารัฐบาล คงจะปรับปรุงให้มีมาตรฐานเดียวกัน หรือประกาศให้แน่ชัดว่า ให้ใช้ระบบใดกันแน่ มีการใช้แบบผสมปนเปกันอยู่ เช่น การวัดระยะแบบ Metric System ของ ฝรั่งเศส เช่น เป็น เซนติเมตร เป็นเมตร และระบบอังกฤษ มีการวัดระยะเป็น นิ้ว เป็นฟุต ของไทยมีการวัดระยะเป็น ศอก เป็นวาหรือเป็นเส้น

โดยเฉพาะงานไม้ เราจะเห็น การซื้อขายไม้ มีทั้ง เป็น นิ้ว เป็นเมตร เป็นฟุต เป็นศอก หรือเป็นวา สร้างความสับสนให้คนทั่วไปอยู่บ้าง มีแต่คนที่คุ้นเคย หรือซื้อขายกันเป็นประจำเท่านั้นที่รู้

เรามาดูว่ามาตราวัดระยะของไทยสมัยก่อนเป็นอย่างไรบ้าง

4 กระเบียด

=

1 นิ้ว

12 นิ้ว

=

1 คืบ

2 คืบ

=

1 ศอก(50 ซม.)

4 ศอก

=

1 วา

20 วา

=

1 เส้น

400 เส้น

=

1 โยชน์



มาตราวัดระยะในยุคแรกๆ จะคิดเทียบมาจากร่างกายของมนุษย์ คือใช้มนุษย์เป็นศูนย์กลางในการวัด ใช้ร่างกายเป็นตัวเทียบ เรียกว่าหน่วยร่างกาย คือจากนิ้ว ไปเป็นฝ่ามือ ฝ่ามือก็คือความกว้างของนิ้วทั้งสี่ที่เรียงชิดติดกัน จากฝ่ามือเมื่อกางนิ้วขยายออกเต็มที่ วัดจากปลายนิ้วหัวแม่มือ ไปยังปลายนิ้วก้อย ก็เรียกว่า คืบ ใช้คืบนี้วัดแขนจากปลายนิ้วกลางไปยังข้อศอก เรียกว่า ศอก และด้วยสัดส่วนของร่างกายมนุษย์พบว่า ความสูงของมนุษย์ จะเท่ากับสี่ศอก และยังเท่ากับความกว้างที่มนุษย์กางแขนออกทั้งสองข้าง นั่นคือ ความยาวที่ได้จากการวัดจากปลายนิ้วกลางซ้าย ผ่านไปยังปลายนิ้วกลางขวาจะมีค่าประมาณเท่ากับความสูงของคนคนนั้นนั่นเอง โดยเหตุนี้มนุษย์สามารถหาความสัมพันธ์ของระยะต่างๆ โดยเทียบจากตนเอง มีชื่อจากสรีระของตนเองเป็นหน่วย ทำให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นระยะต่างๆ

ระยะ 1 ศอก ถ้าวัดแขนจากปลายนิ้วกลางไปยังข้อศอกของแต่ละคนไม่เท่ากัน ทำให้ไม่มีมาตรฐานกำหนดแน่นอนตายตัวว่ายาวเท่าใด มาประมาณกันในระยะหลังให้เป็นตัวเลขทศนิยมลงตัวว่า เท่ากับ 50 ซม.

ถ้าอยากรู้การชั่ง ตวง วัด ให้ถึงแก่นแท้ว่าเป็นอย่างไร ลองเข้าไปอ่านที่ เรื่องของการชั่งตวงวัดในสังขยาปกาสกฎีกา ของมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน

เมื่ออิทธิพลของอังกฤษในประเทศไทย มีมากขึ้น จึงใช้มาตรชั่งตวงวัดเป็นแบบอังกฤษ และในปัจจุบันใช้แบบฝรั่งเศส คือระบบเมตริก ซึ่งมีจำนวนหลักสิบสะดวกมาก แต่ในความเคยชินปัจจุบันจึงยอมรับทั้งสองระบบใช้ร่วมกันทั้งสองแบบ เช่น

ไม้ 1 1/2 นิ้ว x 8 นิ้ว x 3.00 เมตร และคิดปริมาตรเป็นลูกบาศก์ฟุต
หรือเหล็ก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว ยาว 10.00 เมตร
มีน้ำหนักเป็นกิโลกรัม เป็นต้น

เรือนไทย สมัยโบราณ มีขนาดต่างๆ กันเพราะมาตรฐานในการวัดระยะไม่แน่นอน การก่อสร้างบ้านทรงไทย จึงมีการ "ลักส่วน" และมีอิทธิผลของไสยศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เป็นเหตุให้ขนาดของบ้านทรงไทย จะจัดให้ลงตัวตามมาตราเมตริก จึงทำได้ยาก เพื่อความสะดวกและเป็นมาตรฐานสากล จึงควรใช้มาตราเมตริกเป็นหลักและยอมปรับปรุงทรวดทรงความงานอื่นๆ ให้เป็นไปตามสะดวก

มาตราวัดปริมาตรของไม้ของประเทศไทยเคยคิดปริมาณของไม้ บอกลักษณะนามของปริมาตรเป็น "ยก" มีขนาดดังนี้

ไม้ 1 ยก หมายถึง ไม้ที่ความหนา 1 นิ้ว กว้าง 24 นิ้ว ยาว 16 วา (ประมาณ 17.79 ลูกบาศก์ฟุต)

การซื้อขายไม้ในปัจจุบัน สำหรับไม้ทั่ว ๆ ไป เช่นไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้ตะเคียนแลอื่นๆ จะขายไม้หน้าตัดเป็นนิ้ว จะคิดความยาวเป็นเมตร แต่จะซื้อขายกันโดยคำนวณออกมาเป็น ลูกบาศก์ฟุต หรือคิวบิคฟุต เช่น

ตัวอย่างเช่น ไม้แดง ขนาด 1 นิ้ว x 6 นิ้ว ยาว 4 เมตร จำนวน 16 แผ่น จะมีราคาเท่าไร?

สมมุติว่าราคาขายอยู่ที่ คิวบิกฟุต ละ 1200 บาท

ใช้สูตร

ปริมาตรไม้ (คิวบิคฟุต) = หนา (นิ้ว) x กว้าง (นิ้ว) x ยาว (เมตร) x จำนวน (แผ่น) x 0.0228 x ราคา (บาท)

ปริมาตรไม้ (คิวบิคฟุต) = 1 x 6 x 4 x 16 x 0.0228 = 8.7552 คิวบิกฟุต

ไม้แดง ชุดนี้มีราคาทั้งหมด = 8.7552 x 1200 บาท = 10,506.24 บาท




สำหรับไม้สัก จะคิดความยาวเป็นฟุต และซื้อขายกันโดยคำนวณออกมาเป็น ลูกบาศก์ฟุต หรือคิวบิคฟุตเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ไม้สัก ขนาด 1 นิ้ว x 8 นิ้ว ยาว 6 ฟุต จำนวน 15 แผ่น จะมีราคาเท่าไร?

สมมุติว่าราคาขายอยู่ที่ คิวบิกฟุต ละ 1460 บาท

ใช้สูตร

ปริมาตรไม้ (คิวบิคฟุต) = (หนา (นิ้ว) x กว้าง (นิ้ว) x ยาว (ฟุต) x จำนวน (แผ่น) x ราคา (บาท)) / 144

ปริมาตรไม้ (คิวบิคฟุต) = (1 x 8 x 6 x 15) / 144 = 5 คิวบิกฟุต

ไม้สัก ชุดนี้มีราคาทั้งหมด = 5 x 1460 บาท = 7,300 บาท

อ้างอิงจาก http://www.bansongthai.com/content/view/568/28/

หมายเลขบันทึก: 226446เขียนเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2008 21:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ดีมากมายเลยคร้าบบบบ....

สวัสดีครับคุณพิม
ขอบคุณครับที่เข้ามาทักทาย
ด้วยความยินดีครับ

ขอบคุณมากเลยครับ และตกลงถ้าต้องปรับฟูต เป็นคิวบิตฟุตต้อง หารด้วย144 ?

สูตรแรก ใช้ในกรณีที่ ไม้แปรรูปวัดความยาวเป็น ฟุต (ไม้สัก และ ไม้ที่นำเข้าจากอเมริกา)

สูตรคือ เอาจำนวนแผ่น x ความหนา(นิ้ว) x ความกว้าง(นิ้ว) x ความยาว(ฟุต) หาร ด้วย 144

ตัวอย่าง เช่นไม้หนา 1” กว้าง2” ยาว6.5 ฟุตจำนวน 10 แผ่น จะมีวิธีการคิดดังนี้

10 x 1 x 2 x 6.5/144 = 0.90 คิว (ลูกบาศก์ฟุต)

สูตรที่สอง ใช้ในกรณีที่ ไม้แปรรูปวัดความยาวเป็น เมตร (ใช้กับไม้ทุกชนิดที่ไม่ใช่ไม้สัก และ ไม้นำเข้าจากยุโรป)

สูตรคือ เอาจำนวนแผ่น x ความหนา(นิ้ว) x ความกว้าง(นิ้ว) x ความยาว (เมตร) แล้ว คูณด้วย .0228

ตัวอย่างเช่นไม้หนา 1”กว้าง 2” ยาว 2.00 เมตรจำนวน 10 แผ่น จะมีวิธีการคิดดังนี้

10 x 1 x 2 x 2.00 x .0228 = 0.91คิว(ลูกบาศก์ฟุต)

สูตรการคำนวณหาปริมาตรไม้

ในทางการค้า เราซื้อและขายไม้แปรรูปกันเป็นปริมาตรโดยมีหน่วยเป็น ลูกบาศก์ฟุต หรือคิวบิคฟุต(หรือเรียกสั้นๆว่าคิว) สูตรในการคำนวณ มี ให้เลือกใช้ 2 สูตร เลื่อกใช้โดยดูความยาวของไม้เป็นหลัก

สูตร แรก ใช้ในกรณีที่ ไม้แปรรูปวัดความยาวเป็น ฟุต (ไม้สัก และ ไม้นำเข้าจากอเมริกา)

สูตรมีดังนี้ จำนวนแผ่น x หนา(นิ้ว)x กว้าง(นิ้ว) x ยาว(ฟุต) หาร ด้วย 144

ตัวอย่าง เช่นไม้หนา 1” กว้าง2” ยาว6.5 ฟุตจำนวน 10 แผ่น คิดดังนี้

10 x 1 x 2 x 6.5/144 = 0.90 คิว (ลูกบาศก์ฟุต)

สูตร สอง ใช้ในกรณีที่ ไม้แปรรูปวัดควมยาวเป็น เมตร(ไม้ ทุกชนิดที่ไม่ใช่ไม้สัก และ ไม้นำเข้าจาก ยุโรป)

สูตรมีดังนี้ จำนวนแผ่น x หนา(นิ้ว) x กว้าง(นิ้ว) x ยาว (เมตร) คูณ ด้วย .0228

ตัวอย่างเช่นไม้หนา 1”กว้าง 2” ยาว 2.00 เมตรจำนวน 10 แผ่น คิดดังนี้

10 x 1 x 2 x 2.00 x .0228 = 0.91คิว(ลูกบาศก์ฟุต)

ตัวอย่างการหาปริมาตรไม้เบญจพรรณ เป็น ลบ.ฟุต(หน้าไม้ นิ้วxนิ้วxเมตร)

วิธีคิด หลักคิดคือทำให้ทุกด้านมีหน่วยเป็น ฟุตxฟุตxฟุต=ฟุต3 (คิวฟุต) เสียก่อน

หมายเหตุ 1ม.=100ซม. : 2.54ซม.=1นิ้ว : 12นิ้ว = 1ฟุต

กำหนด ราคาต่อ ลบ.ฟุต(คิวฟุต) 750บาท หาราคาไม้จาก ไม้เต็ง ขนาด 1นิ้วx4นิ้วx3.5 เมตร

= 1/12(แปลงเป็นฟุตโดยหาร12) x 4/12(แปลงเป็นฟุตโดยหาร12) x 350ซม/2.54(เป็นนิ้ว)/12(เป็นฟุต)

= 0.319 ลบ.ฟุต (คิวฟุต) x 750บาท(ราคาต่อคิวฟุต)

= 239.28 บาท (ราคาไม้ท่อนนี้)

และเมื่อได้อธิบายให้เข้าใจถึงที่มาของการหาค่าแล้ว ส่วนใหญ่ก็จะนำค่าคงที่ที่หาได้มาคูณหรือหารขนาดไม้ได้ทันทีเลย

เช่น

· ถ้ากำหนดหน้าไม้เป็น นิ้วxนิ้วxฟุต สามารถคูณด้วย ด้วยค่าคงที่ = 1/144 (หรือหาร144 นั่นเอง)

· ถ้ากำหนดหน้าไม้เป็น นิ้วxนิ้วxเมตร สามารถคูณด้วย ด้วยค่าคงที่ = 0.0228

เช่น ข้อ1 ไม้สัก ขนาด 1นิ้วx4นิ้วx3ฟุต = 1x4x3 / 144 = 0.0833 ลบ.ฟุต (คิวฟุต)

ข้อ2 ไม้เต็ง ขนาด 1นิ้วx4นิ้วx3.5 เมตร = 1x4x3.5x0.0228 = 0.319 ลบ.ฟุต (คิวฟุต)

สวัสดีครับคุณfreedom

รายละเอียดเพิ่มเติมที่นำเสนอ

เป็นประโยชน์อย่างมากเลยครับ

ชัดเจนมากครับ

ขอบคุณมากครับที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครับ

อยากทราบวิธีการหาค่าปริมาณไม้ท่อน(ชุง)

ขอบคุณค่ะที่ให้ความรู้..

ขอบคุณมากมายครับ การหาปริมาตรไม้นี่ก็ยุ่งยากหมือนกันเนาะ

สวัสดีครับท่านผู้รู้ทั้งหลาย

คือ ผมอยากทราบวิธีการคำนวณหาปริมาตรร่างกายมนุษย์อ่ะครับ

ไม่ทราบว่าท่านผู้รู้ทั้งหลายพอจะกรุณาช่วยบอกผมได้มั้ยครับ

ขอบคุณมากๆๆๆๆๆๆๆครับ

ต้องการข้อมูลการคิดคำนวณหาปริมาตรไม้สักท่อน และตารางการเทียบปริมาตรไม้สักท่อนขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้คะ่่

แล้วหาเป็นลูกบาศก์เมตรล่ะครับ คิดยังไง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท