วันครอบครัวของมหาลัย


มีอะไรเปลี่ยนแปลงไหม

วันพฤหัสที่แล้ว ทางมหาลัยก็ได้มีการจัดงานวันครอบครัวของมหาลัย ได้มีการฟังการบรรยายและกิจกรรมอื่นๆ แต่บุคคลที่เข้าร่วมครั้งนี้ไม่รู้ทะลุเป้าหรือป่าว กิจกรรมก็เดิมๆ (หรือว่าคนที่ไม่มาเค้ารู้แล้วมีแค่กิจกรรมนั้นๆ) ส่วนความพร้อมด้านสถานที่อย่างไรบ้าง (เห็นว่าชั้นบนพื้นจะเปียก) กิจกรรมกลางคืนก็เลิก 21.30 ทั้งๆ ที่น่าจะเพิ่งเวลาทำกิจกรรมอีกหน่อยหนึ่ง เพราะเวลานั่นพวกเราก็ยังไม่เข้านอนอยู่ดี น่าจะมีโปรแกรม "ตาอารุฟ" (ก่อนไหม)

ก่อนปิดก็มีรองอธิการฝ่ายบริหารขึ้นไปถามความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับกิจกรรมนี้อย่างไรบ้าง มีอะไรเสนอเปลี่ยนแปลงตรงไหน? โดยทาง กจ. จะเป็นผู้บันทึกและรับเรื่อง .......ถ้ามีเวทีการมีส่วนร่วมแบบนี้ก็จะได้รู้ว่า พวกเราต้องการกิจกรรมแบบไหนด้วย ไม่ใช่เป็นนโยบายรวมอำนาจเหมือนแต่ก่อน (ยุคนี้ต้องกระจายอำนาจแล้ว) ก็มีบุคลากรของเราขึ้นเสนอความคิดเห็นว่าโครงการนี้น่าจะทำแบบนี้ แบบนั้น แบบโน้นหรือแบบไหนดี? ก็มีการเสนอที่หลากหลายและมีแรงจูงใจด้วย พวกเค้าว่าไม่ใช่สละเวลามาแล้ว แต่กิจกรรมที่มีการพบปะระยะเวลาสั้นเหลือเกิน มาแล้วไม่รู้จักกัน เวทีนี้ต้องหลากหลาย ไม่ใช่เวทีของ กจ. แต่อยากให้มองว่าเป็นเวทีของ มอย.

คนที่ไม่เข้าจะเสนออะไร (เพิ่ม)ไหม

หมายเลขบันทึก: 226182เขียนเมื่อ 29 พฤศจิกายน 2008 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:40 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

ขอเสนอแนะ เดิมๆ เก่าๆ พูดแล้วพูดอีก ... ก็คงไม่พ้นเรื่องของภาษา อยากให้มีความหลากหลาย หรือ อย่างน้อย คนที่ไม่เข้าใจภาษามลายู หรือ แม้แต่ภาษาไทย จะได้รู้สึกว่า พวกเขาก็เป็นส่วนหนึ่งของ มอย. เช่นกัน

ส่วนเรื่องอื่นๆ คงอยากให้มีความหลากหลายของกิจกรรม

ใครก็ตาม ที่จบมาจากระบบปอเนาะ กิจกรรมในรุปแบบที่เรา ทำๆกันมา ก็ไม่แปลกอะไร ที่สำคัญ ถึงจะชอบ หรือจะไม่ชอบ การมีส่วนร่วมก็ไม่ใช่ปัญหา (เพราะชินกับระบบถูกบังคับให้เข้าร่วมฯ)

กับคนที่เรียนและเคยชินกับระบบอื่นๆ คุ้นเคยกับรูปแบบกิจกรรมอย่างอื่นๆ หากต้องมาฟัง ฟัง ฟัง บรรยายเสมอๆ ที่สำคัญ ไม่รู้เรื่องอีกต่างหาก คงเป็นการยาก หากจะหวังผู้เข้าร่วมจากกลุ่มนี้

..

เรื่องสถานที่ ... หากห้องน้ำดีกว่านี้ คงจะน่าอยู่กว่านี้มาก ส่วนเรื่องน้ำรั่ว น้ำซึม..ส่วนตัว เกือบจะล้มหัวขมำแล้ว ดีว่าเบรกทัน แต่ก็เจ็บตัวอยู่ดี

ตอบคุณ sk เห็นด้วยครับ คนที่บรรยายจะใช้ภาษามลายู 60% ภาษาอาหรับ 30% และภาษาไทยแค่ 10% แล้วคนบรรยายก็นึกอยู่ในใจคนเดียวผู้ฟังรู้เรื่องเหมือนเค้า อีกอย่างไม่ทราบว่ามีการประเมินโครงการหรือป่าว หรือว่าแค่จัดให้มี...

ยังขาดอีกหนึ่งภาษาค่ะ "English" ^_^

ทุกอย่างที่เกิดขึ้นกับตัวเรานับเป็นประสบการณ์ที่มี่ค่าทั้งสิ้นไม่ว่าทางบวกหรือทางลบ

กิจกรรมที่ได้จัดไป..คิดว่าไม่มีใครกล้าบอกเลยว่ามันไร้ประโยชน์ ทุกคนหรือเกือบทุกคนบอกเป็นคำเดียวกันว่า ดี.. และดีมาก

แต่... ทุกคนหรือหลายคนได้เข้าร่วมด้วยเต็มใจและมีความสุขหรือไม่..

สมมุตว่า..ไม่..ทำไมละ ..

อันนี้ต้องคิด.. ผมว่าของดีบางอย่างถ้าผิดที่ผิดทางก็ไม่อาจเป็นของดีได้เช่นกัน .. ถ้ามันเกิดขึ้นจริง เราทุกคนต้องแก้ ..แก้จากตัวเราแล้วค่อยขยายไปเรื่อยๆ .. ถ้าเกี่ยวกับผู้ที่อยู่สูงก็ต้องพยายามบอกกล่าวไปเรื่อยๆ ..เพื่อหวังความดีที่จะเกิดขึ้น

กับรูปแบบเดิมๆ.... ไม่ว่าจะเป็นงานของเราบุคลากร หรืองานที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา

ไม่มีซักงาน ที่ไม่ดี ทุกงานล้วนเป็นงานที่ดี ผู้บรรยายก็บรรยายได้ดีมาก กินใจ ตรงใจสุดๆ และหากเราสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน มันก็จะเป็นอะไรที่ดีมากๆ

แต่ก็นั่นหล่ะ สังคมที่เหลวแหลก (รวมไปถึงสังคมในรั้ว มอย.) เกิดจากใคร? หากไม่ได้เกิดจากคนที่มีพฤติกรรมที่ไม่ดี จากคนที่ไม่เข้าใจอิสลามอย่างแท้จริง ทำให้ หลายๆกิจกรรม หลายๆเนื้อหาที่ผู้บรรยายพยายามทำการบ้านมาก่อน ก็เพื่อให้คนเหล่านี้ได้ฟัง จะได้ตระหนัก และปรับปรุงตัวเองในที่สุด

ปัญหาอยู่ที่ว่า...คนเหล่านี้...คนไม่ดีเหล่านี้ ส่วนหนึ่ง หรืออาจจะเป็นส่วนใหญ่คือ ไม่ค่อยจะเข้ากิจกรรมประเภทนี้ต่างหาก

นี่แหละ คือปัญหา เพราะฉะนั้น หากจะแนะให้เปลี่ยนแปลงแนวของกิจกรรม ไม่ใช่ว่า แนวเดิมมันไม่ดี แต่มันยังซื้อใจ "กลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง" เหล่านี้ไม่ได้งัยคะ

..ช่วยกัน ช่วยกันหาแนว หาแรงจูงใจ

น่าจะเปิดประเด็นเสนอแนวกิจกรรมที่ซื้อใจคนฟังได้ด้วยดีไหม แล้วจะจัดตอนไหนหละ ช่วยคิดอีกแรงซิ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท