ทำไม คนญี่ปุ่นไม่ค่อยเป็นโรคหัวใจ(เป็นน้อย)


...

เป็นที่ทราบกันดีว่า คนญี่ปุ่นเป็นชาติที่มีอายุขัยเฉลี่ยยืนยาวมากที่สุดชาติหนึ่งในโลก และเป็นโรคหัวใจน้อยที่สุดชาติหนึ่งในโลกด้วย

ทำไมและทำไมจึงเป็นเช่นนั้น วันนี้มีข้อมูลจากเว็บไซต์อาจารย์หมอเมียคินมาฝากครับ

...

ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

  • ฝรั่งเชื่อถือคุณค่าของน้ำมันมะกอก และมีผลงานวิจัยสนับสนุนคุณค่าของน้ำมันมะกอกมากมาย คนไทยเรามีน้ำมันชนิดดีคือ น้ำมันรำข้าว
  • ฝรั่งมีอาหารเสริมทำจากข้าวคือ จมูกข้าวสาลี (wheat germ / วีทเจิร์ม) และรำข้าวสาลี (bran / แบรน ใช้เพิ่มเส้นใยหรือไฟเบอร์ในอาหาร) เข้ามาปีละมากๆ ถ้าเราพัฒนาจมูกข้าวเจ้า น้ำมันจมูกข้าว และรำข้าวเจ้าเป็นอาหารเสริมได้น่าจะเป็นผลดีกับบ้านเมืองในระยะยาว

...

คนญี่ปุ่นที่อยู่ในญี่ปุ่นมีระดับไขมันในเลือดหรือโคเลสเตอรอล ความดันเลือดสูง และอัตราการสูบบุหรี่มากพอๆ กับคนอเมริกัน แต่เป็นโรคหัวใจน้อยกว่า 

ทว่า... คนญีปุ่นที่อพยพไปอยู่หมู่เกาะฮาวาย และแผ่นดินใหญ่สหรัฐฯ กลับเป็นโรคหัวใจพอๆ กับคนอเมริกัน ทำให้มีความเป็นไปได้ที่ว่า โรคหัวใจในคนญี่ปุ่นที่น้อยน่าจะมาจากอาหาร

...

คนญี่ปุ่นในญี่ปุ่นกินปลาประมาณสัปดาห์ละ 8 ครั้ง ใช้น้ำมันพืชปรุงอาหารน้อยกว่า มีการศึกษาพบว่า คนญี่ปุ่นในญี่ปุ่นมีระดับน้ำมันโอเมกา-3 ในเลือดสูงกว่าคนญี่ปุ่นนอกญี่ปุ่น 2 เท่า

นอกจากนั้นยังมีระดับโอเมกา-6 ในเลือดต่ำกว่า และมีคราบไข (plaque / พลัค) ที่ผนังหลอดเลือดน้อยกว่าคนญี่ปุ่นนอกญี่ปุ่น

... 

ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

...

การกินอาหารที่มีสัดส่วนไขมันชนิดโอเมกา-6 สูง โดยเฉพาะน้ำมันพืชส่วนใหญ่ มีส่วนทำให้เกิดการอักเสบ หรือธาตุไฟในร่างกายกำเริบได้ง่าย ทำให้เป็นโรคภัยไข้เจ็บได้หลายอย่าง

ตรงกันข้ามการกินอาหารที่มีสัดส่วนไขมันชนิดโอเมกา-3 สูง โดยเฉพาะปลาทะเล ปลาน้ำจืดที่ไม่ผ่านการทอด (เช่น นึ่ง ย่าง ปิ้ง อบ แกง ฯลฯ) น้ำมันปลา เมล็ดแฟลกซีด มีส่วนช่วยลดการอักเสบในร่างกายได้

...

การปรับเปลี่ยนอาหารให้คล้ายคนญี่ปุ่นในญี่ปุ่นทำได้ดังต่อไปนี้

  • ลดการใช้น้ำมันพืชให้น้อยลง
  • เลือกใช้น้ำมันพืชชนิดที่มีโอเมกา-6 น้อย เช่น น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันมะกอก(น้ำมันมะกอกไม่ค่อยทนความร้อนสูง เหมาะกับการทำสลัด ถ้านำไปผัดทอดจะเกิดควันได้ง่าย) ฯลฯ

...

  • ใช้น้ำมันชนิดดีผสมกัน เช่น น้ำมันรำข้าวผสมน้ำมันถั่วเหลือง ฯลฯ
  • กินปลาที่ไม่ผ่านการทอดสัปดาห์ละ 2 ครั้งขึ้นไป
  • กินน้ำมันปลา (ถ้าเป็นเบาหวานควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อน)

...

ภาพประกอบจากวิกิพีเดีย > [ Wikipedia ]

...

ผู้เขียนขอเรียนเสนอว่า มาตรการแรกสุดที่พวกเราน่าจะทำคือ การลดอาหารประเภท "ผัดๆ ทอดๆ" ให้น้อยลงเท่าที่จะทำได้ นอกจากนั้นน้ำมัน... ไม่ว่าจะดีสักเท่าไร ถ้าจะให้ดีด้วยพอดีด้วยคงจะต้องใช้กันแต่น้อย เพราะถ้าใช้มากจนอ้วนแล้ว... แย่เลย

ถึงตรงนี้... ขอให้พวกเรามีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

ภาษาอังกฤษสบายๆ สไตล์เรา                     

ต้นฉบับจากเว็บไซต์อาจารย์หมอเมียคินจ่าหน้าหัวเรื่องไว้ว่า 'Eat more fish and less vegetable oil'

คำ 'vegetable oil' ในที่นี้หมายถึงน้ำมันพืช ไม่ใช่น้ำมันสัตว์ (animal oil) วันนี้เราจะมาคุยกันเรื่อง 'vegetable'

...

  • 'vegatable' = ผัก
  • ออกเสียงหนัก (accent) ที่พยางค์แรก เนื่องจากเป็นคำนามว่า "เว้จ(') - ชึ่(sh) - เท - เบิ่ล" เสียง "ชึ่(sh)" ออกให้สั้นมากๆ
  • คำนี้คงไม่ยากอะไร ทว่า... จะออกเสียงอย่างไรให้คล้ายเจ้าของภาษา

ขอแนะนำให้ฟังเสียงเจ้าของภาษาที่นี่

  • [ Click ]
  • คลิกธงชาติสหรัฐฯ > เสียงผู้หญิง ฟังอังกฤษแบบอเมริกัน (American English)
  • คลิกธงชาติสหราชอาณาจักร (หมู่เกาะอังกฤษ) > เสียงผู้หญิง ฟังอังกฤษแบบอังกฤษ (British English)
  • คลิกเครื่องหมาย "ลำโพง" > เสียงผู้ชาย ฟังอังกฤษแบบอเมริกัน (American English)

...

คำที่น่าจำได้แก่

  • 'vegatable' = ผัก

...

ที่มา                                                     

...

  • Thank www.drmirkin.com > Eat more fish and less vegetable oil > Dr. Gabe Mirkins' Fitness and Health E-Zine > [ Click ] > October 26, 2008. // Source > J Am College of Cardiology. August 5, 2008.

  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค  
  • ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้ 

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา > สนับสนุนเทคนิค iT.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 28 พฤศจิกายน 2551.

...

  • สงวนลิขสิทธิ์บทความในบล็อก "บ้านสุขภาพ" และ "บ้านสาระ" > ยินดีให้นำไปใช้เพื่อส่งเสริมสุขภาพ หรือเผยแพร่ความรู้ได้ ห้ามนำไปใช้เพื่อการค้า. 

...

หมายเลขบันทึก: 226065เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 15:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 พฤษภาคม 2012 06:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท