kong
นาย ก้องเกียรติ เติมเกษมศานต์

หายใจให้เป็นสุข : เรื่องของวิธีละอกุศลวิตก (ความตรึกนึกคิด) จากพระโอวาทธรรมบรรยายในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่าผู้ที่ปฏิบัติวิธีทั้ง 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ที่มีความชำนาญในกระบวนการของวิตก คือความตรึกนึกคิด จะตัดตัณหาได้ จะคลี่คลายสัญโญช์น์คือความผูกได้ จะทำให้ทุกข์ให้สิ้นสุดลงได้

จากบันทึกที่แล้ว หายใจให้เป็นสุข : พระโอวาทธรรมบรรยายในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (http://gotoknow.org/blog/kong-story/219976) และเรื่องของความวิตก (ความตรึกนึกคิด) (http://gotoknow.org/blog/kong-story/221102)   ซึ่งเป็นการรวบรวมพระโอวาทธรรมบรรยายกัมมัฏฐานในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก  ในบันทึกนี้จะว่าด้วยเรื่อง วิธีละอกุศลวิตก ซึ่งอยู่ในตอนที่ 3-4 ของหนังสือ

    เพื่อจะระงับวิตกคือความตรึกนึกคิดนั้นเสีย พระพุทธเจ้าทรงตรัสสอนให้ส่งจิดไปสู่อารมณ์อื่นหรือสู่นิมิตอื่น (เปลี่ยนนิมิต แก้วิตก)

นิมิตคือเครื่องกำหนดของใจ  แยกเป็นข้อ ๆ ได้ดังนี้

  • ศุภนิมิต ด้วยวิตกนั้นๆ เป็นไปด้วยความชอบ หรือราคะความติดใจ ยินดี โลภะความโลภอยากได้ หากเป็นในบุคคล หรือสัตว์ หรือบุคคลให้ใช้ อสุภสัญญา คือหมายว่าบุคคลนั้นไม่งาม หากเป็นสิ่งของ แก้วแหวนเงินทอง ให้ใช้ อนิจจสัญญา คือ หมายว่าสิ่งนั้นไม่เที่ยง เป็นสิ่งที่ต้องเกิด ดับ หรือ อนัตตสัญญา คือ หมายว่าเป็นเหมือนอย่างของขอยืม แม้ว่าได้มา ก็ไม่ใช่ได้มาเป็นของของตน
  • ปฏิฆนิมิต ด้วยอำนาจโทสะ คือความกระทบกระทั่งขัดใจโกรธเคือง จนถึงขั้นมุ่งร้าย ล้างผลาญ หากเป็นบุคคล หรือสัตว์ ให้ใช้ เมตตานิมิต คือ อยากให้บุคคลนั้น ๆ เป็นสุข หรือถ้าหากเป็นวัตถุ ให้ใช้ ธาตุกรรมฐาน คือพิจารณาว่าสิ่งนั้นเป็นธาตุ แม้ว่าร่างกายเราก็เป็นธาตุเช่นกัน
  • โมหนิมิต ด้วยอำนาจแห่งความหลง หากแก้ด้วยปัญญาไม่ได้ ก็ให้เข้าไปสู่สำนักอาจารย์ เรียนกับอาจารย์ ไต่ถามอาจารย์ เพื่อให้เกิดปัญญาแก้ความหลงนั้นได้ 

    อย่างไรก็ตาม หากใช้นิมิต เป็นเครื่องกำหนดจิตใจ แล้ว อกุศลวิตกยังไม่สงบ พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้พิจารณาโทษของอกุศลวิตก ว่าเป็นสิ่งที่เป็นโทษ ดับปัญญา

    และหากยังไม่สำเร็จอีก พระพุทธเจ้าตรัสสอนให้ใช้ การไม่ระลึกถึง คือถอนใจออกเสียจากอกุศลวิตกเหล่านั้นเสีย

    และพระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า หากแก้ด้วยวิธีทั้ง 3 แล้วยังไม่ได้ผล  ให้ใช้การกำหนดดูให้รู้จักวิตก คือพิจารณาดูสัณฐานคือทรวดทรงของวิตกสังขารที่เกิดขึ้น เปรียบเหมือนว่าพิจาณาว่าสังขารของความวิตกอยู่ในอิริยาบถที่สมมติว่าวิ่งไป ก็จะช้าลงในขณะที่จิตกำหนดดู จนในที่สุดก็จะหยุดลงได้     

    และหากยังแก้ไม่ได้อีกให้ใช้วิธี บังคับ คือให้ใช้ฟันกัดฟัน เอาลิ้นดุนเพดาน ข่มจิต บังคับจิต

 

สรุปวิธีละอกุศลวิตก ได้แก่

  1. กำหนดนิมิตอื่น จากนิมิตนั้น
  2. พิจารณาให้เห็นโทษของนิมิตอันเป็นอกุศลวิตก
  3. ไม่ใส่ใจนิมิตของอกุศลวิตกนั้น
  4. หยุดวิตก ด้วยการพิจารณาวิตกสังขาร
  5. ใช้การบังคับ

      พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่าผู้ที่ปฏิบัติวิธีทั้ง 5 ประการ ย่อมเป็นผู้ที่มีความชำนาญในกระบวนการของวิตก คือความตรึกนึกคิด จะตัดตัณหาได้ จะคลี่คลายสัญโญช์น์คือความผูกได้ จะทำให้ทุกข์ให้สิ้นสุดลงได้

 

ธรรมสวัสดีครับ

สาธุ

หมายเลขบันทึก: 225970เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 08:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 04:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท