ข้อสังเกต: เยื่อหุ้มไข่แดงทนความร้อน


เวลารับประทานไข่ ไม่ว่า ไข่หวาน โจ็กใส่ไข่ ฯลฯ ไข่แดงมักเป็นบริเวณที่สุกยากกว่า เวลาให้ความร้อนต้องใช้เวลานาน บางครั้งคิดว่าร้อนพอแล้วน่าจะสุกกลับไม่สุก อาจจะเป็นแค่ยางมะตูม หรือเหลวไหลได้ แต่ถ้าบังเอิญทำเยื่อหุ้มไข่แดงแตกเพียงแค่จุดๆเดียว (นิ้วไปโดนขณะตอกไข่) ละก้อ สักแปล๊บเดียวละ สุกทั่วทันใจดีแท้

บอกความจริงอย่างหนึ่งว่า เยื่อหุ้มไข่แดง หรือจริงๆคือ เยื่อหุ้มนิวเคลียสของเซลไข่ (ปกติเยื่อหุ้มนิวเคลียสของเซลยูคาริโอต เป็นสองชั้น มีช่อง [pore] สำหรับขนส่งสารขนาดเล็กมากเข้าไป อยู่ทั่วทั้งเยื่อ) แสดงว่าองค์ประกอบขอเยื่อหุ้มนี้เป็นสารชีวภาพที่เป็นฉนวนความร้อนได้ดีมาก เป็นไปได้ไหมที่จะนำมาใช้เคลือบสารชีวภาพอื่นเพื่อป้องกันความร้อนเข้าไปทำลายหรือสลายสารนั้น (เป็นสารจากธรรมชาติที่หาง่ายไม่แพง และอาจใช้เทคโนโลยีชีวภาพผลิตในปริมาณมากได้) อาจศึกษาว่าทนความร้อนได้เท่าไร หรือไข่ชนิดไหนทนมากกว่า แล้วโครงสร้างอะไรที่ทำให้มีคุณสมบัติทนร้อน

ผมยังไม่ได้ค้นหาต่อ ไม่ทราบว่ามีผู้นำไปใช้อะไรมากน้อยแค่ไหน หรือคิดผิดพลาดอย่างไร เดี๋ยวมีเวลาจะหาดู ถ้าท่านผู้อ่านมีความรู้หรือประสบการณ์ เชิญร่วมแสดงความคิดเห็นครับ

 

หมายเลขบันทึก: 225967เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2008 07:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 22:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

สวัสดีค่ะ ท่านอาจารย์

  • ครูอ้อยมีประสบการณ์ เรื่อง ไข่ และเห็นด้วยว่า หาก ตีไข่แดงให้แตก  จะสุกง่ายกว่า
  • เพิ่งจะรู้จาก อาจารย์นี่ล่ะค่ะว่า..มีเยื่อหุ้ม กันความร้อน
  • รอว่า..จะมีใครนำ ประโยชน์ตรงนี้ ไปใช้ประโยชน์ที่ดีกว่านี้หรือเปล่านะคะ

รอท่านต่อไปค่ะ  ขอบคุณท่านอาจารย์มากค่ะ

สวัสดีค่ะ เพิ่มเติมค่ะ

ส่วนประกอบสำคัญของไข่

 ไข่ไก่ 1 ฟอง มีน้ำหนักประมาณ 40-60 กรัม มีส่วนประกอบสำคัญ คือ เปลือกไข่ ไข่ขาว และไข่แดง ในอัตราส่วนร้อยละ 11:62:27

1. เปลือกไข่   มีน้ำหนักประมาณ 6 กรัม มีส่วนประกอบหลักคือ สารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนตเป็นรูพรุน เปลือกไข่ภายนอกมีเมือกเคลือบเพื่อป้องกันจากภายนอกเข้าไปในไข่ได้ ก่อนถึงตัวไข่มีเยื่อบางๆ แต่เหนียวกั้นอยู่อีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ชัดเวลาต้มไข่ ส่วนป้านของไข่จะเป็นโพรงอากาศ

 2. ไข่ขาว   มีโปรตีนเป็นสารอาหารหลัก เมื่อตอกไข่จะเห็นไข่ขาวแยกเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งเหลว อีกส่วนข้นติดอยู่กับไข่แดงและมีปริมาณมากกว่าส่วนเหลวประมาณ 4 เท่า ไข่ขาวในไข่ 1 ฟอง จะมีน้ำหนักประมาณ 30-35 กรัม ขึ้นอยู่กับขนาดของไข่ ไข่ขาวมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก (ร้อยละ 88) มีโปรตีนประมาณร้อยละ 10 โปรตีนในไข่ขาวมีหลายชนิดได้แก่

โคนัลบูมิน (conalbumin) เป็นโปรตีนที่จับกับแร่ธาตุต่างๆ ที่สำคัญคือแร่ธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นกลไกการป้องกันตัวอ่อนจากการติดเชื้อ แต่กลไกนี้มีบทบาทสำคัญทางด้านโภชนาการ เนื่องจากทำให้ร่างกายคนเรานำเหล็กจากไข่มาใช้ไม่ได้ดี

 โอวัลบูมิน (ovalbumin) เป็นกลุ่มโปรตีนที่จับกับฟอสฟอรัส คาร์โบไฮเดรต และซัลเฟอร์ ถูกทำลายได้ด้วยความร้อน และมีการเปลี่ยนแปลงสี

 อะวิดิน (avidin) เป็นโปรตีนที่มีปริมาณเล็กน้อยในไข่ขาว แต่มีบทบาทสำคัญทางด้านโภชนาการอีกตัวหนึ่ง ในไข่ขาวดิบอะวิดินสามารถจับกับวิตามินไบโอดิน ซึ่งเป็นวิตามินที่จำเป็นในการทำงานของเอนไซม์ในร่างกาย ผู้ที่กินไข่ขาวดิบจึงมีโอกาสขาดวิตามินไบโอดินได้

 ไลโซไซม์ (lysozyme) เป็นโปรตีนในไข่ขาวที่ช่วยทำลายเชื้อแบคทีเรีย ช่วยป้องกันตัวอ่อน

 3.ไข่แดง ส่วนของไข่แดงจะแยกออกจากไข่ขาวโดยมีเยื่อหุ้มไข่แดง และมีเส้นยึดไข่แดงให้ลอยอยู่ตรงกลางของไข่ขาวซึ่งเป็นส่วนของไข่ขาวเช่นเดียวกัน ไข่แดงมีน้ำหนักเป็นส่วนประกอบประมาณร้อยละ 52 โปรตีนร้อยละ 14.3 ไขมันร้อยละ 30 มีส่วนของแร่ธาตุโพแทสเซียม สังกะสี และทองแดง มากกว่าไข่ขาว มีวิตามินเอและวิตามินบี 2 สูง ไขมันในไข่ประกอบด้วย ไลโพรโปรตีน ไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอล และเลซิติน ไข่ 1 ฟองมีไข่แดงประมาณ 13-20 กรัม

ขอบคุณ คุณครูอ้อย มากครับ ที่กรุณาเปิดวงอภิปรายให้กว้างมากขึ้น

ขอบคุณ คุณครูนิด ที่กรุณาเพิ่มข้อมูลองค์ประกอบต่างๆในไข่ (ข้อมูลแน่น ข้อความกระชับดีมากเลยครับ) หวังว่าทั้งหมดนี้จะเป็นฐานเล็กน้อยสำหรับผู้ศึกษาวิจัยหรือหาสารที่มีคุณสมบัติทำนองนี้

ได้ความรู้เรื่องเยื่อหุ้มไข่แดง เคยสังเกตเหมือนกัน..แต่นึกไม่ถึงว่าเยื่อบางๆ แค่นี้จะทนความร้อนหรือกันความร้อนได้ดีขนาดนี้ ถ้ามีการวิจัยจริงจังก็จะเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ..บางแต่ฤทธ์เยอะนะครับ..สวัสดีครับ

  • สวัสดีครับ
  • เห็นภาพประกอบแล้วไม่อยากทานไข่ครับ
  • สงสารสิ่งที่จะเกิดขึ้นในไข่แต่ละใบ
  • ขอบคุณครับ
  • ขอบคุณ คุณ Preecha ครับ 
  • ขอบคุณ ท่านพันเอก Col. Boonyarit ที่ให้เกียรติแวะมาชมและทักทาย แต่ท่านอย่าเลิกรับประทานไข่เนื่องจากภาพประกอบข้างต้นครับ เนื่องจากไข่ที่บริโภคส่วนใหญ่คือไข่ลม (ไม่มีการปฏิสนธิ ที่จะเกิดเป็นตัวอ่อนได้) และตามที่คุณครูนิดได้เสริมข้อมูลข้างต้น เป็นอาหารที่เปี่ยมคุณค่าโภชนาการ (เพียงแต่ต้องระวังปริมาณโฆเลสเตอรอลบ้างเล็กน้อยครับ)

วันนี้ เลยเอาปลายตะเกียบ ทิ้มลงผ่านเยื่อหุ้มเข้าไปในไข่แดง 2 ด้าน (ไข่ไม่ทะลักออก) ครั้งนี้ มักสุกเร็ว มั่นใจสำหรับเด็กๆและในช่วงเวลาไข้หวัดนกระบาด

ผมอยู่ ม5 ครับ กำลังหาสารเคลือบชีวภาพที่กันความร้อนอยู่พอดีเลยครับ (ไม่ขอบคุณหน่อยไม่ได้แล้ว) เป็นเรื่องใกล้ตัวที่คนเกือบทั้งโลกมองข้ามไป ผมไม่รู้ว่ามีคนต่อยอดหรือยังนะครับ แต่เป็นความคิดง่ายๆที่มีประโยชน์มากๆเลยครับผม ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท