โครงการขยายผลขับเคลื่อนกองทุนสวัสดิการชุมชน ตำบลนาแก้ว


เมื่อวันที่  18  พฤศจิกายน 2551 ทางกลุ่มวิทยากรจากตัวแทนกลุ่มชุมชนบ้านดอนไชย ได้ไปบรรยายที่ตำบลนาแก้ว เป็นตำบลที่ 3 ของ 25 ตำบลที่จะทำความเข้ใจในเรื่องของการจัดสวัสดิการชุมชน จากกลุ่มที่มีอยู่เดิมแล้ว

เมื่อไปถึง ส่วนมากทางทีมวิทยากรจะไปก่อนผู้เข้าร่วมทุกครั้งมีการประชุมเพราะพวกเรา ไม่ต้องการให้เสียเวลามาก เมื่อถึงเวลาได้เชิญท่านนายอำเภอเกาะคา เป็นผู้เปิดในการสัมมนาครั้งนี้ รู้สึกตื้นเต้นที่ผู้หลักผู้ใหญ่ ได้ให้ความสำคัญเรื่องนี้มาก ท่านนายอำเภอเกาะคา ได้พูดถึงเรื่องการพึ่งตนเองเป็นหลัก และพูดให้ทุกคนที่เข้าร่วมสัมมนาครั้งมีจิตสำนึกที่จะช่วยกันดูแล ซึ่งกันและกัน พูดถึงเรื่องคุณธรรม และอีกหลายเรื่องที่ได้ให้กลุ่มที่เข้าร่วมได้มีจิตอาสาเพื่อจะเป็นต้นแบบในการทำงานให้กับชุมชนบ้านตนเองและเพื่อสังคมผู้อื่นด้วย

ในการบรรยายให้กับกลุ่มเป้าหมายครั้งนี้ บางคนได้ศึกษามาบ้างแล้ว อย่างประธานผู้สูงอายุของอำเภอเกาะคา ได้เข้ามาถามถึงการทำงาน และการออมเพื่อให้ ซึ่งไม่พูดถึงการกู้ยืม ประธานผู้สูงอายุได้พูดว่าชอบการออมนี้เป็นการออมที่ไม่ใช่เป็นการออมเพื่อกู้ แต่เป็นการออมเพื่อช่วยเหลือกันในยามที่มีการเจ็บไข้ได้ป่วย หรือที่เรียกกันว่าออมเพื่อให้อย่างเดียว

เมื่อได้ฟังการบรรยายของแต่ละหมู่บ้านแล้ว ถึงรู้ว่าแต่ละหมู่บ้านนั้นได้มีการออมอยู่แล้ว บางที่ก็เป็นการจัดสวัสดิการแต่เรื่องของการสงเคราะห์อย่างเดียว  และเรื่องที่เจอทุกที่คือ เบี้ยผู้สูงอายุ ก็เป็นปัญหาให้กับชุมชนมาตลอด เพราะเบี้ยผู้สูงอายุได้รับไม่ทั่วถึง เลขาจำเป็นเลยฝากเรื่องเบี้ยผู้สูงอายุนี้ช่วยกันสร้างกองทุนผู้สูงอายุด้วยกลุ่มชุมชนเอง แล้วหน่วยงานมาเป็นพี่เลี้ยงในการจัดเวทีสร้างความเข้าใจในเรื่องที่มีปัญหา มีลุงคนหนึ่งได้ฝากเลขาจำเป็นว่า ถ้ามีโอกาสเจอผู้หลักผู้ใหญ่ที่มีส่วนในการจัดเบี้ยผู้สูงอายุนี้ ขอให้มีความเป็นธรรมกับชาวบ้านบ้าง แต่เลขาจำเป็นว่าน่าจะอยู่ที่ชุมชนต้องช่วยกันคิดว่าจะช่วยกันอย่างไร เพราะรู้อยู่ว่าประเทศไทยจะเป็นสังคมผู้สูงอายุแล้ว

เลขาจำเป็นได้พูดถึงเรื่องการออมเพื่อจัดสวัสดิการ ว่าเรื่องการออมนี้จะสามารถทำได้หรือไม่ ได้มีผู้ช่วยและเจ้าหน้าที่ในอบต. นาแก้วได้พูดขยายให้ฟังว่า มีการเข้าสมัครมาเป็นสมาชิกบ้างแล้ว แต่ยังไม่ทางการมากนักเพี่ยงแต่รับไว้ เมื่อได้ฟังในครั้งแล้ว ก็จะนำไปประชุมปรึกษากันอีกทีว่าจะทำกันรูปแบบไหน

เลขาจำเป็นได้พูดไว้ว่าควรจะทำในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ โดยไม่ต้องไปเริ่มให้มาก ควรจะเริ่มในสิ่งที่ความเข้าใจตรงกันก่อน แล้วขยายไปอีกให้ทั่วถึงทั้งตำบลนาแก้วจะเป็นองค์กรชุมชน ที่มีรูปแบบกันทั้งตำบลและง่ายต่อการบริหารงานที่มีความสอดคล้อง หรือทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นอีกที

ดูในรายละเอียดบันทึกแล้วทุกคนสนใจ แต่ต้องใช้เวลาในการหาแนวร่วมอยู่ โดยให้ อบต.นาแก้วเป็นพี่เลี้ยงให้กับชุมชนในการจัดเวทีทุกครั้ง

ตำบลต่อไปคือ ตำบลท่าผา อำเภอเกาะคา

นกน้อยทำรังแต่พอตัว

 

 

คำสำคัญ (Tags): #กองทุนวันละบาท
หมายเลขบันทึก: 225345เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2008 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 11:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

คุณนกครับ

เรื่องกองทุนสวัสดิการดูท่าจะไปได้ดีแล้วครับ

เรื่องนี้ทางกระทรวงจะหารือการตั้งงบสมทบกับกองทุนตามที่ครูชบเสนอ โดยจะจัดงานใหญ่ระดับชาติที่สงขลา ประมาณปลายก.พ.หรือต้นมีนาคมนี้ นายกฯจะลงไปร่วมงานด้วย

สวัสดีครับคุณ นก มาเป็นกำลังใจให้ นักจัดสวัสดิการชุมชนครับ

พัทลุงก็มีหลายกองทุนครับยินดีร่วมแลกเปลี่ยนครับ

ด่วน สวัสดีค่ะ ตุ๊ก อยู่เทศบาลตำบลไทรย้อย จ.พิษณุโลกนะค่ะ สนใจกองทุนสวัสดิการนี้มากค่ะ เพราะเทศบาลเราเพิ่งจะเริ่มโครงการนะค่ะ ก็เลยกำลังหาข้อมูลกลุ่มต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ เพื่อใช้เป็นต้นแบบในการ บริหารจัดการกองทุน และก็สนใจกองทุนนี้ด้วยนะค่ะ ไม่ทราบว่าอยู่จังหวัดลำปางใช่ใหม่ค่ะ และถ้าจะขอศึกษาดูงาน จะประสานกับใครได้ค่ะ ไม่ทราบว่าเทศบาลล้อมแรดหรือเปล่าค่ะ เพราะเมื่อวานลองโทรไปไม่มีใครรับสายเลยค่ะ ไม่ทราบว่าเบอร์โทรอาจจะผิดนะค่ะ คือจะติดต่อเพื่อไปศึกษาดูงานนะค่ะ ไม่ทราบว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างค่ะ รบกวนติดต่อกลับด่วนได้ไหมค่ะ ขอบคุณมากเลยค่ะ

เทศบาลตำบลไทรย้อย

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท