วิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย (2551-2565) (2/2)


วิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย (2551-2565) (ต่อ)

“To foster excellence in graduate education and research”

องค์กรหลักในการบริหารจัดการบัณฑิตศึกษาที่เป็นเลิศและกลไกสำคัญของการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย”

         เนื้อหา 
                  1. บัณฑิตวิทยาลัยในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (บันทึกก่อนหน้า)
                  2. วิสัยทัศน์ร่วม (บันทึกก่อนหน้า)
                  3. บัณฑิตวิทยาลัยกับมหาวิทยาลัยวิจัย (บันทึกก่อนหน้า)
                  4. บัณฑิตวิทยาลัยกับสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนา (บันทึกก่อนหน้า)
                  5. บัณฑิตวิทยาลัยกับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี (บันทึกก่อนหน้า)
                  6. บัณฑิตวิทยาลัยกับภาคีและเครือข่าย
                  7. ความสอดคล้องกับแผนของมหาวิทยาลัย
                  8. ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
                  9. เป้าหมายเชิงยุทธวิธี

...................................................................................................................

GS 2565 : (6) บัณฑิตวิทยาลัยกับภาคีและเครือข่าย

         ทักษะในการแสวงหาภาคีและเครือข่ายในการผลิตมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งยวดของบัณฑิตวิทยาลัย แนวคิดในการสร้างภาคีดังแสดงในภาพ

................................................................................................................... (กลับด้านบน)

GS 2565 : (7) ความสอดคล้องกับแผนของมหาวิทยาลัย

         ตาม (ร่าง) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนามหาวิทยาลัยนเรศวรตามกรอบของแผนพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษา ระยะยาว 15 ปี (พ.ศ. 2551-2565) มหาวิทยาลัยได้กำหนดเป้าประสงค์ร่วม (goal) ไว้เป็น 12 ประเด็น ซึ่งสามารถวิเคราะห์ความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัยฉบับนี้ได้เป็นรายประเด็นทั้ง 12 ประเด็น ดังนี้

         1. หลักสูตรมีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความต้องการของตลาด บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องทำหน้าที่เป็น “หน่วยงานกลาง” ในการสนับสนุนและส่งเสริมให้ทุก teaching unit พัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาที่มีลักษณะตามเป้าประสงค์นี้ และตัวบัณฑิตวิทยาลัยเองก็จะต้องมีความเป็นเลิศในการพัฒนาหลักสูตรบัณฑิตศึกษาที่เป็น “สหสาขาวิชา” โดยความร่วมมือจากหน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย

         2. บัณฑิตมีคุณภาพเป็นที่ยอมรับในระดับสากลทั้งทางด้านวิชาการ คุณธรรม และจริยธรรม บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องเก่งเรื่องการสร้างภาคีผลิต “บัณฑิตคุณภาพ” เบื้องต้นที่สุดคือต้องทำงานร่วมกับ IRDA และ teaching unit ต่าง ๆ ให้เกิดพลังเสริมซึ่งกันและกัน (synergy) ให้ได้ นอกจากนี้ยังต้องแสวงหาภาคีจากภายนอกมหาวิทยาลัยทั้งในและต่างประเทศด้วยเพื่อยกระดับสู่สากล

         3. ระบบบริหารจัดการงานวิจัยสามารถเชื่อมโยงกับพันธกิจทุกด้านของมหาวิทยาลัยอย่างสมดุล บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องตอบให้ได้ว่าความเป็นเลิศ (excellence) ของงานวิจัยในบัณฑิตศึกษามีอะไรบ้างและสามารถนำไปใช้ประโยชน์เชื่อมโยงกับพันธกิจต่าง ๆ ทั้งของมหาวิทยาลัยและของชุมชนอย่างไร

         4. เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ได้รับการยอมรับในระดับชาติและสากล บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องตอบกับสังคมได้ว่าตัวเองมีบทบาทสำคัญอย่างไรในการเป็นองค์กรหลักขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย

         5. ผลงานวิจัยสามารถใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องมีการพัฒนาโจทย์วิจัยสำหรับทำวิทยานิพนธ์โดยมุ่งเน้นไปที่ประเด็นที่เป็น hot issues และมี impact สูงต่อสังคม และมีการร่วมกันทำวิจัยจากนิสิตปริญญาโทและปริญญาเอกจากหลายสาขาวิชาเพื่อช่วยกันแก้ปัญหาโจทย์ใน issue เดียวกัน

         6. เป็นศูนย์กลางการบริการวิชาการที่เป็นที่ยอมรับในระดับชาติและสากล บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องใช้ศักยภาพของตัวเองที่มีอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ศูนย์วิทยบริการเพื่อให้บริการวิชาการกับเครือข่ายศิษย์เก่าของตนเอง กับผู้บริหารในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกับสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ

         7. มีการใช้องค์ความรู้สู่การพัฒนาชุมชนอย่างมีเอกลักษณ์ บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องรู้จักใช้ความได้เปรียบของตนเองที่ตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือตอนล่าง โดยยึดหลักการร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชนในการร่วมกันสร้างองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาในพื้นที่

         8. เป็นศูนย์กลางองค์ความรู้และการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของภูมิภาค บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้า จะต้องทำหน้าที่นี้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการทำวิจัยในระดับบัณฑิตศึกษาอย่างต่อเนื่อง

         9. เป็นองค์กรแห่งการสร้างจิตสำนึกด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้า จะต้องทำหน้าที่นี้อย่างเป็นรูปธรรมผ่านการเรียนการสอนและการให้บริการวิชาการแก่ชุมชน

         10. เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการโดยหลักธรรมาภิบาลอย่างแท้จริง บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องเน้นเรื่องการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัยจะต้องรู้จักและสามารถประยุกต์ใช้ concept ของ partnership และ networking เป็นอย่างดี อีกทั้งยังจะต้องรู้จักสร้างวัฒนธรรมการอยู่ร่วมกันในองค์กรที่ดี ให้ทุกคนในองค์กรรู้สึกไว้เนื้อเชื่อใจซึ่งกันและกัน (trust) และรู้จักสร้างพลังสามัคคีในองค์กร

         11. มีระบบการสรรหาและพัฒนาผู้บริหารสู่การเป็นผู้บริหารมืออาชีพ  บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะมีอนาคตเป็นอย่างไรนั้นขึ้นอยู่ที่ผู้บริหาร (คณบดี) เป็นส่วนสำคัญยิ่ง ดังนั้น มหาวิทยาลัยจะต้องพิถีพิถันอย่างยิ่งที่จะต้องสรรหาคณบดีและทีมงานที่มีความรู้ความสามารถตรงกับพันธกิจต่าง ๆ ของบัณฑิตวิทยาลัย และจะต้องมีระบบการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานและระบบการพัฒนาผู้บริหารให้กับบัณฑิตวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง

         12. มหาวิทยาลัยเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วม บัณฑิตวิทยาลัยใน 15 ปีข้างหน้าจะต้องพัฒนาตัวเองให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (learning organization, LO) ผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัยจะต้องรู้จักปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ (restructure) ให้มีการผสมผสานกันทั้งในแนวตั้ง (bureaucratic management) และในแนวราบ (chaordic management) เพื่อพัฒนาบุคลากรของบัณฑิตวิทยาลัยเอง ให้มีคุณสมบัติเป็นบุคคลเรียนรู้ (personal mastery) ที่สามารถเรียนรู้และปรับตัวได้ทันกับการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา พร้อมกับเน้นให้ CQI (Continuous Quality Improvement) เป็นวัฒนธรรมหลักขององค์กร

 ................................................................................................................... (กลับด้านบน)

 GS 2565 : (8) ปัจจัยสู่ความสำเร็จ 

         ปัจจัยสู่ความสำเร็จ (key success factor, KSF) มี 10 ประการดังนี้ 

         1. มหาวิทยาลัยต้องกระจายอำนาจ (ไม่ใช่มอบอำนาจเฉพาะบางส่วน) การบริหารจัดการบัณฑิตศึกษาให้กับบัณฑิตวิทยาลัยเหมือนกับที่มหาวิทยาลัยส่วนใหญ่ที่เข้มแข็งด้านบัณฑิตศึกษาเขาทำกัน ให้บัณฑิตวิทยาลัยได้มีโอกาสในการบริหารยุทธศาสตร์ บริหารคน และบริหารเงิน เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับบัณฑิตศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัยอย่างครบวงจร กล่าวให้เป็นรูปธรรมคือ บัณฑิตวิทยาลัยในอนาคตควรเกิดจากการผสมผสานจุดแข็งของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวรเดิม (การจัดการศึกษาตามศูนย์วิทยบริการ) กับจุดแข็งของบัณฑิตวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (การบริหารจัดการบัณฑิตศึกษาที่ครบวงจร และการจัดการศึกษาสหสาขาวิชา)

         2. ตัวบัณฑิตวิทยาลัยเองต้องเรียนรู้และปรับตัวให้มีความสามารถและศักยภาพเพียงพอกับพันธกิจที่เป็นเกียรติเป็นศักดิ์ศรีของมหาวิทยาลัยคือการบริหารจัดการบัณฑิตศึกษาและวิจัยของมหาวิทยาลัยให้เข้มแข็ง

         3. ส่วนที่เป็น non-profit mission นั้น มหาวิทยาลัยต้องให้การสนับสนุน 4 M’s (man, money, material, motivation) อย่างเพียงพอและสมเหตุสมผล

         4. ส่วนที่เป็น profit mission นั้น บัณฑิตวิทยาลัยก็ต้องบริหารจัดการให้เลี้ยงตัวเองได้และรายได้ที่เหลือต้องนำมาใช้ในการพัฒนาความเข้มแข็งให้กับบัณฑิตศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัยเป็นหลัก

         5. บัณฑิตวิทยาลัยต้องพัฒนาตัวเองให้สามารถทำงานในลักษณะ partnerships และสามารถประยุกต์ใช้ chaordic management ในการทำงาน เพื่อทำงานร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในและนอกมหาวิทยาลัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

         6. มหาวิทยาลัยต้องพิถีพิถันอย่างยิ่งในการสรรหาผู้บริหารบัณฑิตวิทยาลัยโดยเอาพันธกิจของบัณฑิตวิทยาลัยเป็นตัวตั้งและเปิดโอกาสให้หน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยได้มีส่วนร่วมในการสรรหาและติดตามประเมินผลงาน

         7. หน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยควรให้ความร่วมมือกับบัณฑิตวิทยาลัยและทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดในฐานะที่บัณฑิตวิทยาลัยเป็น “หน่วยงานกลาง” ของมหาวิทยาลัยในการกำหนดมาตรฐานและนโยบายด้านบัณฑิตศึกษาและวิจัยของมหาวิทยาลัย ดังนั้นทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัยต้องมีส่วนเป็นเจ้าของบัณฑิตวิทยาลัยร่วมกัน

         8. เนื่องจากบัณฑิตวิทยาลัยเป็นผู้ set standards และ policies ดังนั้น การจัดการศึกษาของบัณฑิตวิทยาลัยเอง ไม่ว่าจะเป็นที่ 9 ศูนย์วิทยบริการในปัจจุบันหรือหลักสูตรสหวิทยการในอนาคต บัณฑิตวิทยาลัยจะต้องสรรหาผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกระดับอย่างดีเพื่อทำให้เกิดการยอมรับในคุณภาพของบัณฑิตและกระบวนการการให้การศึกษาโดยภาพรวม บัณฑิตวิทยาลัยจะต้องไม่ให้ใครมาตำหนิหรือดูถูกดูแคลนในเรื่องเหล่านี้อย่างเด็ดขาด ตัวอย่างเช่น การทำ IS อาจจะต้องแยกให้ทำเดี่ยวหรือถ้าจะทำเป็นกลุ่มก็ต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่ดีที่สามารถตอบกับสังคมได้อย่างชัดเจน เป็นต้น

         9. เครือข่ายศิษย์เก่าของศูนย์วิทยบริการทั้ง 9 ศูนย์ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยอย่างจริงจัง บัณฑิตวิทยาลัยควรจัดให้มี “สมาคมศิษย์เก่าบัณฑิตวิทยาลัย” ที่เข้มแข็ง ที่เป็นประโยชน์ซึ่งกันและกัน และเป็นประโยชน์กับสังคม

         10. อธิการบดี รองอธิการบดีที่รับผิดชอบด้านวิจัย คณบดีบัณฑิตวิทยาลัย และผู้อำนวยการสถาบันบริหารการวิจัยและพัฒนาต้องทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิด และเป็นทีมเดียวกัน เพื่อช่วยกันพัฒนาความเข้มแข็งด้านบัณฑิตศึกษาและวิจัยของมหาวิทยาลัย “เน้นว่าต้องมีเป้าหมายเดียวกัน” ที่ความเข้มแข็งของบัณฑิตศึกษาและการวิจัยของมหาวิทยาลัย

 

................................................................................................................... (กลับด้านบน)

 

GS 2565 : (9) เป้าหมายเชิงยุทธวิธี

         เป้าหมายเชิงยุทธวิธี (tactical goals) ที่บัณฑิตวิทยาลัยและทุกหน่วยงานย่อยจะต้องนำมาใช้ในการดำเนินงานประกอบด้วย 12 เป้าหมายเชิงยุทธวิธีคือ

         1. มีปณิธาน พันธกิจ และค่านิยมร่วมที่ชัดเจนและใช้เป็นเครื่องกำกับเป้าหมายและกิจกรรมต่าง ๆ ของบัณฑิตวิทยาลัย

         2. มีวิสัยทัศน์มองออกข้างนอก ไม่อยู่บนหอคอยงาช้าง เน้นเคียงบ่าเคียงไหล่กับคณะ / วิทยาลัยต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยและกับชุมชนและองค์กรต่างๆ เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาและพัฒนาประเทศ

         3. เน้น “ธรรมาภิบาล” ในทุกระดับ โดยเริ่มจาก “คณบดีและทีมผู้บริหาร” เป็นต้นแบบ

         4. ปรับโครงสร้างการทำงานใหม่ (restructure) ให้มีการผสมผสานกันทั้งในแนวตั้ง (bureaucratic management) และในแนวราบ (chaordic management)

         5. ทุ่ม 4 M’s พร้อมแรงกายแรงใจไปที่ Graduate education, Research และ Academic service

         6. ค้นหาจุดแข็งและโอกาส (strengths and opportunities) ของตนเองทั้งหมดในบัณฑิตวิทยาลัยและมหาวิทยาลัย เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมายและมีความเป็นเลิศ (excellence) ที่หลากหลาย โดยเน้นให้ทุกคน/ทุกหน่วยงานเทียบเคียงผลการดำเนินงานกับคน/หน่วยงานอื่นที่กำลังทำหน้าที่อย่างเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ (เทียบเคียงกับบัณฑิตวิทยาลัยในมหาวิทยาลัยและสถาบันอื่น ๆ ) ถ้าสามารถอยู่ในอันดับที่ 1 ใน 5 ของทั้งหมดได้ ก็ให้แรงจูงใจให้ทำให้ดียิ่ง ๆ ขึ้น ถ้ายังไม่ติดอันดับ 1 ใน 5 ก็ต้องรีบหาทางแก้ไข/ปรับปรุงให้ติด 1 ใน 5 โดยเร็ว ด้วยการ coaching จากผู้บริหารอย่างใกล้ชิด

         7. เอื้อสภาพแวดล้อมในการทำงานและการเรียนรู้ โดยยึดหลักการร่วมกันสร้าง “สวรรค์ของคนทำงาน อุทยานแห่งการเรียนรู้ เคียงคู่สังคมไทย” หรือ “องค์กรแห่งการเรียนรู้และปรับตัว”

         8. พัฒนาระบบฐานข้อมูล (information infrastructure) เพื่อสนับสนุนการเป็นเลิศด้าน Graduate education, Research และ Academic service

         9. แสวงหาแหล่งทุนจากทุก ๆ ด้าน และนำมาใช้จ่ายอย่างถูกต้องและสมเหตุสมผล เพื่อให้บัณฑิตวิทยาลัยมีฐานะทางการเงินที่มั่นคง (financial viability)

         10. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมต่าง ๆ ในระดับนานาชาติเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมที่จะทำให้มหาวิทยาลัยก้าวสู่การเป็น world class university ในลำดับถัดไป

         11. แสวงหาคำแนะนำ (advice) และตัวอย่างดี ๆ (best practices) ตลอดเวลา เพื่อนำมาปรับใช้ในการทำงาน

         12. เน้นให้ Trust และ CQI เป็นเสมือน double strands  ของ DNA ใน gene กล่าวคือ  Trust และ CQI เป็นสิ่งสำคัญสูงสุดต่อความอยู่รอดและการเจริญรุ่งเรืองของบัณฑิตวิทยาลัย ให้ Trust และ CQI อยู่ในสายเลือดและเป็นเอกลักษณ์ของบัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยนเรศวร

................................................................................................................... (กลับด้านบน)

          วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 224328เขียนเมื่อ 20 พฤศจิกายน 2008 16:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับพี่วิบูลย์

ผมขออนุญาตนำไปใช้ใน blog พันคำ ครับ

ขอแสดงความชื่นชมกับการคิดอย่างเป็นระบบและครบถ้วนมากครับ

ผมคิดว่า หัวใจอยู่ที่ implementation

คือต้องแยกบัณฑิตศึกษาแบบ profit กับ non-profit ต้องใช้คนละวิธีคิด ดำเนินการคนละ culture

ในสายตาของผม บัณฑิตศึกษาแบบ profit จะไม่หนุน มน. ไปสู่ ม. วิจัย แต่จะมีประโยชน์ในด้านบริการสังคม ตอบสนองความต้องการของคนจำนวนหนึ่ง มากกว่า

วิจารณ์

แวะมาอ่าน  แนวคิดการพัฒนาสถาบัน

และรำลึกถึงพระคุณของสถาบันเสมอค่ะ

มีความสุขในการทำงาน  นะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท