ผู้ดู


 

  • เมื่อคืนนี้ได้ฟังธรรมะของพระอาจารย์ปราโมทย์อีกรอบหนึ่ง ถึงได้เข้าใจเพิ่มเติมว่า ... กายกับใจ(จิต)ไม่ใช่ของเรา เราไม่สามารถห้ามกายไม่ให้เจ็บป่วยได้ ไม่สามารถห้ามจิตไม่ให้คิดไปต่าง ๆ นานาได้ เพราะทั้งกายและใจไม่ใช่ของเรา
  • ...แต่ เราสามารถเป็นผู้ดู ตามรู้กาย รู้ใจ (มีสติ) เพื่อทำความเข้าใจและเรียนรู้กายกับใจอย่างเป็นปัจจุบันขณะได้
  • ในการใช้สติตามดูจิตนั้น ในเบื้องต้น เราเพียงแค่ตามดูให้รู้ว่าจิตกำลังคิดก็พอ แต่ไม่ต้องไปรู้เนื้อหาว่าคิดอะไร ... ตรงนี้สำคัญนะครับ หมายความว่า เรากำลังฝึกดูธรรมชาติของจิตว่า เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไปอย่างไร ตามดูเพียงให้รู้ว่าคิดก็พอ แต่ไม่ต้องตามไปดูว่าคิดอะไร 
  • เมื่อเรามีสติเป็นผู้ดูบ่อย ๆ ขึ้น จะชำนาญมากขึ้น เมื่อจิตเกิดก็จะรู้ได้เร็วขึ้นอย่างเป็นอัตโนมัติ รู้ว่าความคิดใดเป็นกุศล อกุศล รู้ธรรมชาติของจิตว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา ก็จะปล่อยวางได้ง่ายขึ้น

 

  • --- ต่อไปเราจะมาดูกันว่า การผสานธรรมเข้ากับชีวิตจริงของโลกในยุคดิจิตอล ที่ผู้คนต้องดิ้นรน ต่อสู้เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง ต้องใช้สมองและความคิดอย่างมากตลอดเวลานั้น จะทำเช่นไร?  
  • ขอเริ่มต้นที่การทำความเข้าใจความหมายพื้น ๆ ของคำบางคำก่อนดังต่อไปนี้ครับ --

  • คำว่า "สติปัญญา" หรือ สติ+ปัญญา นั้น เป็นคำง่าย ๆ ที่เราต้องได้ยินมาตั้งแต่ตอนเด็กแล้ว ซึ่งเราเองก็คิดว่า เราเข้าใจความหมายคำ ๆ นี้ดีแล้ว เราจึงได้เร่งศึกษาสรรพศาสตร์นอกตัวทั้งหลาย เพื่อนำมาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีสติปัญญาอันเป็นเลิศ
  • แต่หลาย ๆ คนจะพบว่า ยิ่งเรียนมาก ยิ่งรู้มาก ชีวิตก็ยิ่งวุ่น ยิ่งเป็นทุกข์มากขึ้นตามกันไปด้วย เอ! ทำไมถึงเป็นเช่นนั้นไปได้ หรือว่า การเรียนมาก รู้มาก ที่ผ่าน ๆ มา ไม่ได้ช่วยทำให้เราเป็นผู้มีสติปัญญาเป็นเลิศไดด้เลยหรือ ?
  • ผมเองก็ไม่ต่างไปจากท่านทั้งหลาย ที่มุ่งศึกษาเล่าเรียนสรรพศาสตร์นอกตัว เพื่อหวังจะพัฒนาตนเองให้เป็นผู้มีสติปัญญาอันเป็นเลิศ
  • การรักที่เรียนรู้เป็นสิ่งที่ถูกต้องที่สุดแล้ว แต่การจะพัฒนาสติปัญญาของตนเองนั้น การเรียนรู้แต่สรรพศาสตร์นอกตัวเพียงด้านเดียวผมว่า ยังไม่เพียงพอ!
  • การหันกลับมาเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงด้านใน หรือ การเรียนให้รู้จิตใจของตนเอง เป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เมื่อเรามีสติตามดูกายดูใจของเราให้เป็นปัจจุบันขณะ เปิดเผยตัวเราเองให้ตัวเรารับรู้ อ่อนโยนและมีเมตตากับตัวเราเอง เราก็จะเห็นธรรมชาติของกายและใจของเราดียิ่งขึ้น สิ่งใดที่ไม่ดีเราก็ลดก็ละ สิ่งที่ดีเราก็ส่งเสริมและพัฒนาต่อไป
  • จะเห็นได้ว่า ชีวิตคือการเดินทางเพื่อเปิดเผยตัวเองให้ตัวเองรับรู้ เพื่อลดละในสิ่งที่ไม่ดี และต่อเติมพัฒนาสิ่งที่ดีให้กับกายและใจของเรา โดยอาศัย "สติ" หรือ "ผู้ดู" เป็นเครื่องมือในการเดินทางแห่งชีวิต

  • ----------- ต่อไปเราจะมาดูว่า การช่วยเหลือผู้อื่น สำคัญอย่างไร ?

  • ถ้าคิดเป็นเหตุเป็นผลอย่างง่าย ๆ ก็หวนให้นึกถึงภาพข้างล่างนี้ครับ ที่เป็นแบบ Give & Take หรือการให้มากยิ่งได้รับมากเช่นกัน

  • ถ้ามองในทางธรรม หรือการฝึกตนแล้ว การช่วยเหลือผู้อื่น ก็เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ทำให้เราลดละตัวตนของเราได้เหมือนกัน

คำสำคัญ (Tags): #ดูจิต#สติ
หมายเลขบันทึก: 223749เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 09:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับ

     ขออนุญาต ลปรร จากประสบการณ์ครับ

      ผมจะดูจากอาการที่เกิดจากจิตครับ

      ถ้าคิดแล้วมีอาการ แสดงว่าคิดจากจิต

       ถ้าคิดแล้ว  ไม่มีอาการ  สงบราบเรียบ  แสดงว่าคิดจากสติ

      (อาการที่เห็นชัดคือ ที่หน้าอก  ที่ลมหายใจ ที่หัว)

                  แต่ถ้าจิตละเอียด จะมองไม่เห็นครับ

                  จิตหยาบมากๆ จึงมองเห็น

     (ประสบการณ์ของผม อาจจะผิดก็ได้นะครับ  กรุณาชี้แนะ)

                       ขอบคุณครับ

เรียน

P

 

  • ขอบพระคุณมากครับ ที่กรุณา ลปรร. บอกเล่าประสบการณ์อันมีค่ายิ่ง
  • เมื่อสักครู่นี้ เครื่องผมโดนเจ้าตัวหนอน (ไวรัสคอมพิวเตอร์) จิตผมก็คิดไปว่า เอ! จะทำอย่างไรดี จึงตัดสินใจปิด และเปิดเครื่องใหม่ พร้อมกับหาทางลบข้อมูลของเจ้าตัวหนอน และตามด้วยการ Scan ระหว่างนั้นก็หลงไปกับเจ้าความคิดต่อไปว่า ติดตอนไหนน้อ คิดสงสัยหาเหตุผลไปต่าง ๆ นา ๆ 
  • มามีสตินึกขึ้นได้ก็ตอนได้อ่านข้อคิดเห็นของท่านรองนี่เอง ขอบพระคุณครับ 

เรียนท่านอาจารย์ สมาธิดี สติมา ปัญญา ย่อม เกิด ครับ

เรียน ท่านอาจารย์

P

3. JJ

 

  • กราบขอบพระคุณท่านอาจารย์ที่แวะมาเยี่ยมเยือนครับ
  • จริงดั่งท่านว่าไว้ครับ สมาธิดี สติมา ปัญญา ย่อม เกิด

 

 

 

 
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒
ทีฆนิกาย มหาวรรค
๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)
             [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-
             สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่า
กัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค
ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ
ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ
แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่
มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑
พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและ
โทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ
มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ
จบอุทเทสวารกถา
             [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์
ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อ
หายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เรา
หายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า
สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอด
กองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง
ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่าง
กลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า
เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ
เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม
ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า
ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา
จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน
กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง
ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อม
ในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบอานาปานบรรพ
             [๒๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเมื่อเดิน ก็รู้ชัดว่าเราเดิน
เมื่อยืน ก็รู้ชัดว่าเรายืน เมื่อนั่ง ก็รู้ชัดว่าเรานั่ง เมื่อนอนก็รู้ชัดว่าเรานอน หรือ
เธอตั้งกายไว้ด้วยอาการอย่างใดๆ ก็รู้ชัดอาการอย่างนั้นๆ ดังพรรณนามาฉะนี้
ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือความเกิด
ขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่น
อยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อัน
ตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบอิริยาปถบรรพ
             [๒๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมทำความรู้สึกตัวในการ
ก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก
ในการทรงผ้าสังฆาฏิบาตรและจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ใน
การถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัว ในการเดิน การยืน การนั่ง
การหลับ การตื่น การพูด การนิ่ง ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น
กายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย
ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้ง
ความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมี
อยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิ
ไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบสัมปชัญญบรรพ
             [๒๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้
แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของ
ไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ
เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่
ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา
มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไถ้มีปาก
สองข้าง เต็มด้วยธัญชาติต่างชนิดคือ ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง
งา ข้าวสาร บุรุษผู้มีนัยน์ตาดีแก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่า นี้ข้าวสาลี นี้ข้าว
เปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือน
กัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ แต่พื้นเท้าขึ้นไป แต่ปลายผมลงมา มีหนัง
เป็นที่สุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้ ผม ขน
เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ ผังผืด
ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้ทบ อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด
เหงื่อ มันข้น น้ำตา มันเหลว น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามา
ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย
นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ
เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบปฏิกูลมนสิการบรรพ
             [๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้
แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดยความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้
ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม คนฆ่าโคหรือลูกมือของคนฆ่าโคผู้ขยัน ฆ่าโค
แล้ว แบ่งออกเป็นส่วน นั่งอยู่ที่หนทางใหญ่สี่แพร่ง ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น
เหมือนกัน ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ ซึ่งตั้งอยู่ตามที่ ตั้งอยู่ตามปรกติ โดย
ความเป็นธาตุว่า มีอยู่ในกายนี้ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ ธาตุลม ดังพรรณนา
มาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
จบธาตุมนสิการบรรพ
             [๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า ตายแล้ววันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง สามวันบ้าง ที่ขึ้นพอง มี
สีเขียวน่าเกลียด มีน้ำเหลืองไหลน่าเกลียด เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า
ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่าง
นี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
             [๒๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า อันฝูงกาจิกกินอยู่บ้าง ฝูงนกตะกรุมจิกกินอยู่บ้าง ฝูงแร้งจิก
กินอยู่บ้าง หมู่สุนัขกัดกินอยู่บ้าง หมู่สุนัขจิ้งจอกกัดกินอยู่บ้าง หมู่สัตว์ตัวเล็กๆ
ต่างๆ กัดกินอยู่บ้าง เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่าก็มี
อย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามา
ฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภาย
นอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของ
เธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหา
และทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่าง
นี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
             [๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ยังมีเนื้อและเลือด ยังมีเส้นเอ็นผูกรัดอยู่ ฯลฯ
             [๒๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อ แต่ยังเปื้อนเลือด ยังมีเส้นเอ็น
ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
             [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า เป็นร่างกระดูก ปราศจากเนื้อและเลือดแล้ว ยังมีเส้นเอ็น
ผูกรัดอยู่ ฯลฯ
             [๒๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูก ปราศจากเส้นเอ็นผูกรัดแล้ว เรี่ยรายไปใน
ทิศใหญ่ทิศน้อย คือ กระดูกมือไปทางหนึ่ง กระดูกเท้าไปทางหนึ่ง กระดูกแข้ง
ไปทางหนึ่ง กระดูกขาไปทางหนึ่ง กระดูกสะเอวไปทางหนึ่ง กระดูกหลังไปทาง
หนึ่ง กระดูกสันหลังไปทางหนึ่ง กระดูกสีข้างไปทางหนึ่ง กระดูกหน้าอกไปทาง
หนึ่ง กระดูกไหล่ไปทางหนึ่ง กระดูกแขนไปทางหนึ่ง กระดูกคอไปทางหนึ่ง
กระดูกคางไปทางหนึ่ง กระดูกฟันไปทางหนึ่ง กระโหลกศีรษะไปทางหนึ่ง เธอ
ย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คง
เป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณา
เห็นกายในกายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกาย
ในกายทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้น
ทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กาย
มีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและ
ทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้
แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ
             [๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกมีสีขาว เปรียบด้วยสีสังข์ ฯลฯ
             [๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกกองเรียงรายอยู่แล้วเกินปีหนึ่งขึ้นไป ฯลฯ
             [๒๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุเหมือนกะว่าพึงเห็นสรีระ
ที่เขาทิ้งไว้ในป่าช้า คือ เป็นกระดูกผุ เป็นจุณแล้ว เธอย่อมน้อมเข้ามาสู่กายนี้
แหละว่า ถึงร่างกายอันนี้เล่า ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา คงเป็นอย่างนี้ ไม่ล่วงความ
เป็นอย่างนี้ไปได้ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง
พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในภายนอก
บ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความ
เสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง
ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้
เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่
ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็น
กายในกายอยู่ ฯ
จบนวสีวถิกาบรรพ
จบกายานุปัสสนา
-----------------------------------------------------
             [๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่อย่างไร
เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เสวยสุขเวทนาอยู่ ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุขเวทนา หรือ
เสวยทุกขเวทนา ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนา หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนา
ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนา หรือ เสวยสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เรา
เสวยสุขเวทนามีอามิส หรือ เสวยสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยสุข
เวทนาไม่มีอามิส หรือเสวยทุกขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนามี
อามิส หรือ เสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยทุกขเวทนาไม่มีอามิส
หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนามีอามิส
หรือ เสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มีอามิส ก็รู้ชัดว่า เราเสวยอทุกขมสุขเวทนาไม่มี
อามิส ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายในบ้าง
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งภายใน
ทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมคือความเสื่อมในเวทนาบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความ
เสื่อมในเวทนาบ้าง อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า เวทนามีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่
แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ฯ
จบเวทนานุปัสสนา
-----------------------------------------------------
             [๒๘๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ จิตมีราคะ ก็รู้ว่าจิตมีราคะ หรือจิตปราศจากราคะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากราคะ จิตมีโทสะ ก็รู้ว่าจิตมีโทสะ หรือจิตปราศจากโทสะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ ก็รู้ว่าจิตมีโมหะ หรือจิตปราศจากโมหะ ก็รู้ว่าจิต
ปราศจากโมหะ จิตหดหู่ ก็รู้ว่าจิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน ก็รู้ว่าจิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น
มหรคต ก็รู้ว่าจิตเป็นมหรคต หรือจิตไม่เป็นมหรคต ก็รู้ว่าจิตไม่เป็นมหรคต จิต
มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า หรือจิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า ก็รู้ว่าจิตไม่มีจิต
อื่นยิ่งกว่า จิตเป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ หรือจิตไม่เป็นสมาธิ ก็รู้ว่าจิตไม่
เป็นสมาธิ จิตหลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตหลุดพ้น หรือจิตไม่หลุดพ้น ก็รู้ว่าจิตไม่หลุด
พ้น ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตภายในบ้าง พิจารณาเห็น
จิตในจิตภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นจิตในจิตทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในจิตบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในจิตบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในจิตบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า จิตมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ฯ
จบจิตตานุปัสสนา
-----------------------------------------------------
             [๒๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไร
เล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือนิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณา
เห็นธรรมในธรรมคือนิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันท์
มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อ
กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันท์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ของเรา อนึ่ง กามฉันท์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย กามฉันท์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
กามฉันท์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อพยาบาทมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาทมีอยู่ ณ
ภายในจิตของเรา หรือเมื่อพยาบาทไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า พยาบาท
ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง พยาบาทที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด
ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย พยาบาทที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อม
รู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า
ถีนมิทธะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต
ย่อมรู้ชัดว่า ถีนมิทธะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง ถีนมิทธะที่ยังไม่เกิด
จะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ
ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ถีนมิทธะที่ละได้แล้ว จะไม่
เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ
อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจกุกกุจจะมีอยู่ ณ ภายใน
จิตของเรา หรือเมื่ออุทธัจจกุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุทธัจจ-
*กุกกุจจะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง อุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดจะเกิด
ขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดขึ้นแล้ว จะ
ละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อุทธัจจกุกกุจจะที่ละได้แล้ว
จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อ
วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉามีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา
หรือเมื่อวิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า วิจิกิจฉาไม่มีอยู่ ณ ภายใน
จิตของเรา อนึ่ง วิจิกิจฉาที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย วิจิกิจฉาที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
วิจิกิจฉาที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง พิจารณาเห็น
ธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณา
เห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเสื่อมในธรรมบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่าง
หนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัย
ระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ
ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือนิวรณ์ ๕ อยู่ ฯ
จบนีวรณบรรพ
-----------------------------------------------------
             [๒๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คืออุปาทานขันธ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นดังนี้ว่า อย่างนี้รูป อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งรูป
อย่างนี้ความดับแห่งรูป อย่างนี้เวทนา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งเวทนา อย่างนี้
ความดับแห่งเวทนา อย่างนี้สัญญา อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสัญญา อย่างนี้ความ
ดับแห่งสัญญา อย่างนี้สังขาร อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งสังขาร อย่างนี้ความดับ
แห่งสังขาร อย่างนี้วิญญาณ อย่างนี้ความเกิดขึ้นแห่งวิญญาณ อย่างนี้ความดับ
แห่งวิญญาณ ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม
คือความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมใน
ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ
ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออุปาทานขันธ์ ๕ อยู่ ฯ
จบขันธบรรพ
             [๒๙๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คืออายตนะภายในและภายนอก ๖ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะ
ภายในและภายนอก ๖ อย่างไรเล่า ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้จักนัยน์ตา รู้จักรูป
และรู้จักนัยน์ตาและรูปทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของสังโยชน์ อนึ่ง
สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์
ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สังโยชน์ที่
ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย ภิกษุย่อม
รู้จักหู รู้จักเสียง ... ภิกษุย่อมรู้จักจมูก รู้จักกลิ่น ... ภิกษุย่อมรู้จักลิ้น รู้จักรส ...
ภิกษุย่อมรู้จักกาย รู้จักสิ่งที่จะพึงถูกต้องด้วยกาย ... ภิกษุย่อมรู้จักใจ รู้จัก
ธรรมารมณ์ และรู้จักใจและธรรมารมณ์ทั้ง ๒ นั้น อันเป็นที่อาศัยบังเกิดของ
สังโยชน์ อนึ่ง สังโยชน์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ
นั้นด้วย สังโยชน์ที่เกิดขึ้นแล้วจะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย สังโยชน์ที่ละได้แล้วจะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการ
นั้นด้วย ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่
ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น
เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออายตนะภายใน
และภายนอก ๖ อยู่ ฯ
จบอายตนบรรพ
-----------------------------------------------------
             [๒๙๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คือโพชฌงค์ ๗ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อย่างไรเล่า ภิกษุ
ในธรรมวินัยนี้ เมื่อสติสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติ
สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อสติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภาย
ในจิต ย่อมรู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง สติ
สัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย สติ
สัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้น
ด้วย อีกอย่างหนึ่ง เมื่อธัมมวิจยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง
เมื่อวิริยสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อปีติสัมโพชฌงค์
มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภาย
ในจิต ฯลฯ อีกอย่างหนึ่ง เมื่อสมาธิสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ฯลฯ
อีกอย่างหนึ่ง เมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขา
สัมโพชฌงค์มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่ออุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ
ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ไม่มีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา อนึ่ง
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย
อุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่เกิดขึ้นแล้ว จะเจริญบริบูรณ์ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัด
ประการนั้นด้วย ดังพรรณนาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้าง
พิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้ง
ภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือ
ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นและความเสื่อมใน
ธรรมบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียง
สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย
อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุ
ชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคือโพชฌงค์ ๗ อยู่ ฯ
จบโพชฌงคบรรพ
จบภาณวารที่หนึ่ง
             [๒๙๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกข้อหนึ่ง ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม
คืออริยสัจ ๔ อยู่ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมคืออริยสัจ ๔ อยู่ อย่างไรเล่า
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน แม้ชาติก็เป็นทุกข์ แม้ชราก็
เป็นทุกข์ แม้มรณะก็เป็นทุกข์ แม้โสกะ ปริเทวะทุกข์โทมนัสอุปายาส ก็เป็น
ทุกข์ แม้ความประจวบกับสิ่งไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์ แม้ความพลัดพรากจากสิ่ง
ที่รักก็เป็นทุกข์ ปรารถนาสิ่งใดไม่ได้ แม้อันนั้นก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์
ทั้ง ๕ เป็นทุกข์ ฯ
             [๒๙๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ชาติเป็นไฉน ความเกิด ความบังเกิด
ความหยั่งลงเกิด เกิดจำเพาะ ความปรากฏแห่งขันธ์ ความได้อาย

พระนิพพานจากครูบา อาจารย์

หลวงปู่ทวด(เหยียบน้ำทะเลจืด)

"วิปัสสนาคือให้พิจารณาในทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นอนัตตา อนัตตาคือการเดินทางไปสู่โลกแห่งนิพพาน โลกเรานี้เป็นโลกแห่งอัตตา"

หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ

"พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้หรอืไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิตตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน ท่านได้ปรินิพพานไประหว่างรูปฌานและอรูปฌาน เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมติโดยสิ้นเชิง"

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังษี

"นิพพาน คือว่างจากกิเลส จิตวิญญาณของพระอรหันต์ไม่สูญ ที่วิญญาณสูญนั่นคือวิญญาณในขันธ์ ๕ เท่านั้น"

พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

"สรณะทั้ง ๓ คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มิได้เสื่อมสูญอันตรธานไปไหน ยังปรากฏอยู่แก่ผู้ปฏิบัติเข้าถึงอยู่เสมอ ผู้ใดยึดถือเป็นที่พึ่งของตนแล้ว ผู้นั้นจะอยู่ในกลางป่า หรือเรือนว่างก็ตาม สรณะทั้งสามก็ปรากฏแก่เราอยู่ทุกเมื่อ"

หลวงพ่อเกษม เขมโก

"พระพุทธเจ้าไม่ได้อยู่ในโลกนี้ ท่านอยู่นอกโลก"

หลวงพ่อสด วัดปากน้ำภาษีเจริญ

"ส่วนกายพระอรหัต ถ้าถึงพระอรหัตละก็ นิจจัง สุขัง อัตตาแท้ๆ กายธรรมมีขันธ์เหมือนกัน แต่เป็นธรรมขันธ์ ท่านไม่เรียกเบญจขันธ์ เป็นธรรมขันธ์เสีย มีธาตุเหมือนกัน เป็นวิราคธาตุ เป็นวิราคธรรม"

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช

"พระพุทธเจ้าท่านเพียงไม่มีร่างเหลืออยู่เท่านั้น พระบารมีและคุณธรรมยังอยู่ ทรงเสด็จไปสอนด้วยพระพุทธบารมีได้"

สมเด็จพระสังฆราช อริยวงศาคตญาณ (แพ ติสูรเทโว)

"สัตว์โลกยังมีอวิชชาจะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอัตตา เว้นเมื่อเข้าถึงอสังขตธาตุได้ความบริสุทธ์เป็นนิพพาน จะเข้าใจว่าขันธ์ ๕ เป็นอนัตตาทันที แล้วจะเห็นว่าพระนิพพานเป็นอัตตา"

พระเดชพระคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย ์ สิริจนฺโท จันทร์

"พระนิพพานเป็นพระมหานครอันใหญ่เป็นที่บรมสุขหาที่เปรียบมิได้ อย่าเข้าใจว่าจะไปนิพพานด้วยกำลังกาย"

ท่านเจ้าคุณธมฺมวิตกฺโก

"ตายแล้วจิตยังติดต่อกันได้"

อดีตพระอริยคุณาธาร (เส็ง ปุสโส)

" พระธรรมกาย ได้เแก่พระกายอันบริสุทธิ์ ไม่สาธารณะแก่เทวา และมนุษย์ หมายถึงจิตที่พ้นจากกิเลสแล้ว เป็นพระกายที่เที่ยงแท้ไม่สูญสลาย อินทรีย์ของพระอรหันต์ประณีตสุขุม แม้ตาทิพย์ของเทวดาก็มองไม่เห็น"

หลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม

"พระนิพพานมีอยู่ไม่เสื่อมสูญ พระพุทธเจ้าเข้าพระนิพพานก็มีอยู่ในพระนิพพานนั้นแล ถ้าเราเป็นพระอรหันต์ พระโสดาบันเมื่อไร เมื่อนั้นแหละจึงจะเห็นจะรู้ที่อยู่พระพุทธเจ้า ที่อยู่ของพระอรหันต์เจ้าทั้งหลาย"

หลวงปู่บุดดา ถาวโร

"นิพพานไม่สูญ เป็นแต่อาสวะกิเลสสูญ อวิชชา ตัณหา อุปาทาน กรรม วิบาก มันสูญ แต่ สังคตะธรรม อสังคะธรรม วิราคะธรรม มันไม่ได้หมดไปด้วย"

หลวงปู่ดูลย์ อตโล

"นิพพานเป็นของว่าง ไม่มีตัวมีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง"

หลวงปู่ขาว อนาลโย

" อย่าไปยึดถือมัน ก็จิตนั่นแหละมันถือว่าตัวกู อยู่เดี๋ยวนี้ก็ดี เราถือว่าเราเป็นผู้ชาย เราเป็นผู้หญิง ก็แม่นจิตนั้นแหละ เป็นผู้ว่า มันไม่มีตนมีตัวดอก แล้วพระพุทธเจ้าว่าให้วางเสียให้ดับวิญญาณเสีย ครั้นดับวิญญาณแล้ว ไม่ไปก่อภพก่อชาติอีก ก็นั่นแหละพระนิพพาน"

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

"องค์สมเด็จพระบรมครูตรัสว่า ...โมกขราช เรากล่าวว่า นิพพานนั้นหมายถึงกิเลสดับ และขันธ์ ๕ ดับ... พระพุทธเจ้าไม่ได้บอกว่า จิตดับ"

หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน

"ดวงจิตนี้ไม่เคยสูญ แดนพระนิพพานมีจริง หลวงปู่มั่นเล่าว่า พระพุทธเจ้าหลายพระองค์เสด็จมาเยี่ยมท่าน"

หลวงปู่ชอบ ฐานสโม

"นิพพานไม่ได้สูญ ไม่ได้อยู่ตามที่โลกคาดคะเนหรือเดากัน ทำจริงจะได้เห็นของจริง รู้จริง และจะเห็นนิพพานเอง เห็นพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เห็นครูบาอาจารย์ที่ท่านบริสุทธิ์เอง และหายสงสัยโดยประการทั้งปวง"

พระเทพสิทธิมุนี

(พระอาจารย์โชฎก ญาณสิทธิ)

" พระอรหันต์มี ความว่างจากตัวตน-ของตน โดยสิ้นเชิง มีอิสระเหนือทุกอย่าง ที่เรียกว่า "ว่าง" นี้ คือไม่ใช่ว่างชนิดที่เขาพูดกันว่า เช่นว่า จิตนึกคิดอะไรไม่ได้ กายก็แข็งทื่อเป็นท่อนไม้ แต่ที่ถูกนั้น เป็นความว่างจากกิเลส ว่างที่เฉลียวฉลาดที่สุด"

หลวงปู่อ่ำ พระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต)

"พระพุทธกัสสป เมื่อดับขันธ์ปรินิพพาน เข้าเมืองแสงใส ซึ่งก็คือเมืองแก้วแสงใส ชื่อไทยนี้ คนไทยคงเรียก นิพพาน มานานแล้ว ปราชญ์บัณฑิตโบราณาจารย์จึงกล่าวเสมอๆ เช่น ถึงเมืองแก้ว อันกล่าวแล้ว คือ อมตมหานครนฤพาน ดังใน มหาเวสสันดรเทศนา กุมารกัณฑ์"

พระครูพัฒนกิจจานุรักษ์

(หลวงปู่ครูบาชัยยะวงศาพัฒนา)

" นิพพานเป็นแดนแห่งความมั่นเที่ยง นิพพานแล้วเป็นสุข นิพพานมีสาระเป็นแก่นสาร นิพพานมีความเป็นสุขอย่างยิ่ง พระนิพพานไม่ใช่อัตตา พระนิพพานเป็นปัจจัตตัง"

หลวงปู่ฝั้น อาจาโร

"จิตวิญญาณมันไม่ใช่ของแตกของทำลาย แลไม่ใช่ของสูญหาย พระพุทธเจ้าสอนให้จิตมันเที่ยง เหมือนพระนิพพานเป็นของเที่ยง ไม่แปรผัน ยักย้าย สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็ฯทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ "

หลวงปู่หล้า เขมปตฺโต

" สูญในพระนิพพานมีขอบเขต สูญจากกิเลสเท่านั้น รสของพระนิพพานมีอยู่ พระนิพพาน ไม่เกิดไม่ดับไปไหน เป็นอนัตตาธรรม เราจะเอาพระนิพพานมาเป็นอนัตตา เหมือนขันธ์ ๕ และกิเลสทั้งหลายมันก็ไม่ถูก เรียกว่าแยกอนัตตาธรรมไม่ถูก"

หลวงปู่ลี ธมมฺโร วัดอโศการาม

" โลกนิพพาน ไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย กายเป็นของสูญ จิตเป็นของไม่สูญ ไม่ตาย จิตที่ดับจากกาย ย่อมหายไป เหมือนกับไฟที่ดับจากเทียน"

พระนาคเสน มหาเถระ

ผู้ตอบปัญหาพระเจ้ามิลินทราชา

" ผู้ที่ยังไม่ได้นิพพานก็รู้ว่านิพพานเป็นสุข เพราะได้ยินเสียงพวกได้นิพพาน.....พระพุทธเจ้ามีจริง แต่พระพุทธเจ้าปรินิพพานดับขันธ์แล้ว ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน เหมือนเปลวไฟที่ดับแล้วก็ไม่อาจชี้ได้ว่าอยู่ที่ไหน อาจชี้ได้เพียงพระธรรมกาย ของพระพุทธเจ้าเท่านั้น.........นิพพานเป็นของต้องรู้ด้วยใจ พระอริยสาวกผู้ปฏิบัติชอบแล้วย่อมได้เห็นนิพพาน ด้วยใจอันบริสุทธิ์ อันสงบประณีต อันเที่ยงตรง ไม่มีเครื่องกั้นกาง อันไม่มีอามิส"

ไตรภูมิพระร่วง ของพญาลิไท

"พระพุทธเจ้าแลพระองค์ ๆ โปรดเทพยดามนุษย์ทั้งหลายเข้าสู่นิพพาน ผิวคณนาได้ ๒๔ อสงไขยแล ๑๑๖๐ โกฏิก็มี มิก ๑๐๖,๖๖๖ คนเป็นกำไรโสดเถิงนครนิพพานอันประเสริฐยิ่งภูมิทั้งหลาย ๓ นี้แล ฯ ทั้งอนันตจักรวาฬอันเป็นเอกาทสกจบโดยสังเขปแล ฯ ผู้ใดจะเถิงแก่มหานคยนิพพานบมิรู้ฉิบหาย บ่มิรู้แปรปรวนไป"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท