สวัสดิการ+การจัดการความรู้ ช่วงที่ 1


หนีน้ำจากนครไปแถวหาดใหญ่ สงขลา ช่วงวันศุกร์ที่ 14 ถึง วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน ติดตามคุณภีม ภคเมธาวี ผู้ประสานงานชุดโครงการวิจัยและพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชนและองค์กรการเงินชุมชน พร้อมทั้ง ผศ.ดร.ทิพวัลย์ สีจันทร์  ที่ปรึกษาชุดโครงการฯ จาก ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และพี่รัชนี สุขศรีวรรณ เพื่อพัฒนาชุดโครงการวิจัยดังกล่าว กับทีม อาจารย์จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ลักษณะกิจกรรมที่ Plan กันไว้ก่อนเดินทางเท่าที่ทราบคร่าว ๆ ศุกร์ที่ 14 หารือกับทีมอาจารย์และกำนันสัมพันธ์ วงเล็ก ๆ เพื่อหาประเด็นขับเคลื่อนงานร่วมกัน เสาร์ที่ 15 ลงพื้นที่กลุ่มสัจจะลดรายจ่ายวันละบาท (ยังไม่ทราบว่าพื้นที่ไหน) อาทิตย์ที่ 16 เข้าร่วมเวทีการประชุมสมาชิกสัจจะลดรายจ่ายวันละ 1 บาท เพื่อทำสวัสดิการภาคประชาชน จ.สงขลา เวทีประจำเดือนที่จัดทุกวันที่ 16 ของเดือน

 

กิจกรรมในวันแรกวันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน 2551

หลังจากแวะรับที่อาจารย์ปรึกษาโครงการที่สนามบินหาดใหญ่ ก็เดินทางเข้าร่วมเวทีหารือที่ห้องประชุม 262 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้เข้าร่วมเวทีทั้งหมดประมาณ 20 คน     รศ.ดร.สมบูรณ เจริญจิระตระกูล  ดร.สิริรัตน์ เกียรติปฐมชัยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และทีมคณะกรรมการสมาคมสวัสดิการภาคประชาชนจังหวัดสงขลา เข้าร่วมด้วย

ในฐานะผู้ติดตามเวทีครั้งนี้ ก็ทำหน้าที่อำนวยความสะดวก+บันทึก+เก็บภาพบรรยากาศ กิจกรรม+และพยายามทำความเข้าใจในประเด็นที่หารือกันในเวที หวังไว้ว่า ความรู้+ประสบการณ์ ของท่านทั้งหลายในเวทีจะได้กระเด็น กระดอนมาเข้าสมองมั่ง ถึงแม้เพียงเศษเสี้ยว แต่หากเราสะสมไว้เยอะ ๆ สักวันต้องมีวันนั้นสำหรับเรา………

พยายามจับต้นชนปลายนะค่ะว่าเรื่องราวในเวทีวันนั้น(14-พ.ย.-51)

อ.ตุ้ม+พี่ภีม+พี่รัช+แหม่ม = เพื่อหารือพัฒนาโครงการฯร่วมกับอาจารย์ ที่จะเข้ามาหนุนเสริมในส่วนของเรื่ององค์กรการเงินในจังหวัดสงขลา

สมาคมสวัสดิการภาคประชาชน มาพร้อมกับกิจกรรมในโครงการที่ได้รับงบประมาณหนุนเสริมกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมประจำปี 2551 (ประเด็นการจัดการความรู้ เพื่อให้องค์กรการเงินที่จัดสวัสดิการให้กับสมาชิก 15 พื้นที่ ได้เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้เพื่อเป็นหน่วยงานนำร่องในการสืบค้นองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วจัดการให้เป็นองค์ความรู้ที่ชัดเจนในรูปแบบต่าง ๆ / 15 พื้นที่ได้มีโอกาสเรียนรู้ร่วมกันสร้างความรู้ใหม่และสามารถนำไปใช้ในการปรับเปลี่ยน ระเบียบ ข้อบังคับ ของพื้นที่เหล่านั้นแล้วจะนำกระบวนการไปใช้ในการสร้างความรู้แล้วเกิดความคิดริเริ่มใหม่อย่างต่อเนื่อง/นำองค์ความรู้ที่ได้จาก 15 พื้นที่ จัดทำเป็นชุดองค์ความรู้ในการกระจายไปกับเครือข่ายทั้งจังหวัด)

            พี่ภีมสรุปข้อมูลในส่วนของสัจจะลดรายจ่ายของสงขลา(ภาพประกอบ)

 

 

การบริหารจัดการ มี 2 แบบ คือแบบทางการและไม่ทางการ

1)      แกนนำ 1: 50 (สมาชิก 103,000 +คน)

2)      82 กลุ่มตำบล 22 กลุ่มเทศบาล

3)      เวทีเครือข่ายจังหวัด สมาคม ทุกวันที่ 16 ของเดือน

4)      อบรมแกนนำ 1:50 (2,075 คน) งบ CEO

5)      จัดการความรู้กลุ่มต้นแบบ 15 กลุ่ม

 

ซึ่งจากกิจกรรมการจัดการความรู้ 15 พื้นที่ ประเด็นที่ควรจะศึกษาเก็บข้อมูลเป็นเรื่องราวเนื้อหาด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม สังคม การศึกษา อาชีพ  วัตกรรมชุมชน พัฒนาการสวัสดิการชุมชน ศึกษาสวัสดิการสังคม 7 มิติ จากพื้นที่ชุมชนตำบลต้นแบบ 15 ตำบล จากคนใน โดยใช้เวทีพูดคุย สัมภาษณ์ สังเกต และนำข้อมูลที่เก็บได้เหล่านั้นมาประมวล สังเคราะห์ เป็นชุดความรู้

โดยหน่วยงานวิชาการจะเข้ามาหนุนเสริม ในเรื่องของการออกแบบการเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถาม เพื่อให้ได้ประเด็นที่ครอบคลุมครบถ้วนมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #สวัสดิการชุมชน
หมายเลขบันทึก: 223742เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 08:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท