กับดักแมลงวันทองจากขวดพลาสติก Recycle


แมลงวันทอง

กับดักแมลงวันทองจากขวดพลาสติก  Recycle                        

                แมลงวันทอง หรือแมลงวันผลไม้ตัวเท่าแมลงวันบ้าน จะมีสีเหลืองหรือสีทอง ตัวเมียมีก้นแหลม ที่จริงเป็นส่วนของอวัยวะวางไข่ เมื่อได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้แล้ว พอพบผลไม้ผิวอ่อนหรือนิ่มที่จะเป็นอาหารของหนอนได้ ตัวเมียที่พร้อมต่อการวางไข่ก็จะใช้ก้นแหลมของตนแทงผ่านผิวของผลไม้เข้าไปแล้ววางไข่อยู่ในผลไม้นั้น แผลนี้ต่อมาเริ่มเน่าซึ่งก็กลายเป็นอาหารอย่างดีของหนอน เมื่อหนอนเจริญเต็มที่ก็จะมุดออกมานอกผลไม้ไปหาดินร่วนเข้าดักแด้ เมื่อครบกำหนดก็ลอกคราบออกมาเป็นแมลงวันทองต่อไป แมลงวันทองสามารถเพาะพันธุ์ได้มากมายกับผลไม้  ไข่และตัวหนอนติดไปกับผลไม้ที่ซื้อขายจากแหล่งมีแมลงวันทองไปทุกแห่งที่ซื้อผลไม้นอกพื้นที่มารับประทาน เมื่อกัดหรือผ่าผลไม้พบหนอนก็โยนทิ้ง หนอนก็กินผลไม้ต่อไปจนโตเต็มที่แล้วออกมาเข้าดักแด้แล้วลอกคราบเป็นตัวระบาดต่อไป

                 การกำจัดแมลงวันทองโดยใช้สารเคมี ซึ่งมีราคาแพงทำให้ต้นทุนในการผลิตเพิ่มมากขึ้นและสารเคมีบางชนิดก็เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคอีกด้วย การกำจัดแมลงวันโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่สามารถผลิตขึ้นเองในท้องถิ่น ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิตและผลผลิตที่ได้ก็ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ดังนั้น กับดักแมลงวันทองจากขวดพลาสติก Recycle โดยภูมิปัญญาชาวบ้านที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถผลิตเองได้ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
             1.  นำสำลีมาผูกที่ปลายเชือกสำหรับใช้ทำเหยื่อล่อแมลงวันจากนั้นชุบสาร
เมทิลยูยินอล สารตัวนี้จะดึงดูดแมลงวันทองตัวผู้บินมาหาตัวเมียเปรียบเสมือนเป็นฟีโรโมนที่ใช้ล่อแมลงวันหรือถ้าหาซื้อไม่ได้ก็อาจจะใช้ใบกระเพาแดงแทนก็ได้เพราะมีสารที่มีคุณสมบัติคล้ายกับสารดังกล่าว  

             2.  นำขวดน้ำดื่มพลาสติกใสขนาด 0.5 - 1 ลิตร  มาตัดปากขวดแล้วนำปากขวดยัดกลับเข้าไปในขวดเจาะรูบริเวณกลางขวดสำหรับสอดสายที่จะใช้เหยื่อล่อแมลงวันทอง                                              

             3.  นำขวดมาแขวนไว้กับต้นไม้สูงจากพื้นดินราว 1.00-1.20 เมตรก็พอ                                   

             เท่านี้ก็สามารถสร้างอุปกรณ์ที่ใช้กำจัดศัตรูพืชในสวนได้โดยที่ไม่ต้องลงทุนมาก อีกทั้งยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย  แต่ที่สำคัญเกษตรกรสวนข้างเคียงต้องพร้อมใจช่วยกันกำจัด พร้อมทั้งกลบฝังทำลายผลไม้ที่ถูกวางไข่แล้ว เพื่อไม่ให้เป็นการแพร่พันธุ์ก็จะเป็นการช่วยกันลดปริมาณแมลงวันผลไม้ลงได้ ข้อควรระวังไม่ควรใช้ปริมาณมากเกินไปเพราะจะเป็นการล่อแมลงวันจากสวนข้างเคียงให้เข้ามา สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นายกรกช  พิสฐศาสน์ นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรประจำ ตงสระแก้ว สำนักงานเกษตร อ.ลาดยาว               จ.นครสวรรค์ โทร. 056-271539

         

 

คำสำคัญ (Tags): #แมลงวันทอง
หมายเลขบันทึก: 223737เขียนเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2008 08:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 22:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท