ชมรมสตรีมุสลิมล้านนา เชียงใหม่ กับกิจกรรมสังคม


สตรีเป็นผู้มีศักยภาพที่สามารถช่วยเหลือสังคมให้เจริญก้าวหน้าและช่วยพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น และยังมีสตรีบางส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือให้คำปรึกษาด้านต่างๆ
  1. ประวัติความเป็นมาของชมรมสตรีมุสลิมล้านนา

 

                ปัจจุบันสตรีมุสลิมเป็นผู้มีบทบาทในสังคมค่อนข้างมากและอยู่ในงานหลากหลายอาชีพ ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน สตรีมุสลิมในภาคเหนือของไทยเป็นผู้มีความรู้ความสามารถในหลายด้านแต่ยังขาดการรวมตัวกันอย่างเป็นกิจลักษณะหรือยังเป็นองค์กรที่มั่นคง การรวมกลุ่มโดยทั่วๆไปเป็นเพียงการรวมตัวเพื่อทำกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งให้ลุล่วงเป็นครั้งๆเห็นได้ว่าสตรีเป็นผู้มีศักยภาพที่สามารถช่วยเหลือสังคมให้เจริญก้าวหน้าและช่วยพัฒนาสังคมให้ดีขึ้น และยังมีสตรีบางส่วนที่ต้องการความช่วยเหลือให้คำปรึกษาด้านต่างๆ ดังนั้นในเดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2547 สตรีมุสลิมจึงได้รวมตัวกันด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมกรมัสยิดเฮดายาตุลอิสลามเชียงใหม่จัดตั้งขึ้นเป็น ชมรมสตรีมุสลิมล้านนา เป็นการรวมกลุ่มอย่างเป็นทางการเพื่อร่วมทำกิจกรรมต่างๆที่ให้ความช่วยเหลือแก่สตรีด้อยโอกาสในด้านต่างๆรวมทั้งส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

 

 

วัตถุประสงค์

 

1.        เพื่อรวมกลุ่มสตรีเพื่อร่วมกันทำกิจกรรมต่างๆ

 

2.        เพื่อพัฒนาศักยภาพของสตรีในทุกด้าน

 

3.        เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจอันดีระหว่างสมาชิก

 

4.        เพื่อจัดให้ความรู้ความเข้าใจทางศาสนาที่ถูกต้องตามแนวทางของอิสลาม

 

5.        เพื่อให้คำปรึกษาแนะนำแก่สตรีที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งทางสังคม กฎหมายและอาชีพ

 

6.        เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะ

 

ปัจจุบันมีคุณเพ็ญพรรณณิน  รวดเร็ว  เป็นประธานชมรม  นำทีมสตรีมุสลิม

ลักษณะงานที่ทำ    

1.        โครงการฝึกอาชีพสตรี

 

2.        โครงการอบรมความรู้ทางกฎหมายทั่วไปแก่สตรี

 

3.        โครงการเยี่ยมเยือนสตรีมุสลิมที่ป่วย รวมถึงผู้สูงอายุ

 

4.        โครงการเยี่ยมเยือนพี่น้องมุสลิมต่างถิ่น

 

แหล่งที่มาของงบประมาณ

 

1.        จัดหาทุนเข้าชมรมโดยการจำหน่ายสินค้าในงานต่างๆ

 

2.        การสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ

 

การสนับสนุนบริจาคจากภาคเอกชนและบุคคลทั่วไป

คณะกรรมการสตรีมุสลิมล้านนา

กับ

โครงการเสริมสร้างสุขภาพ สมรรถภาพที่ดีโดยการออกกำลังกายแบบโยคะ 

                  การเคลื่อนไหวและการทรงตัวที่ดี ส่งผลต่อบุคลิกภาพที่ดี ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกร่างกายท่าทางที่ถูกต้อง ทรงตัวดี เดินตรง และออกกำลังกาย การเล่นกีฬาเป็นประจำสามารถลดอัตราการการเกิดโรคต่างๆได้ เช่นโรคหัวใจ โรคความดันโลหิต โรคหลอดเลือดสมอง โรคเบาหวาน เป็นต้น การออกกำลังกายสามารถทำได้หลายวิธีเช่น เดินเร็ว วิ่ง ขับจักรยาน ว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค โยคะ ชีกง ฯลฯ ซึ่งควรออกกำลังกายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30-45 นาที ก็จะเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย หัวใจ และกล้ามเนื้อต่างๆ

 

วัตถุประสงค์โครงการ

1. เพื่อให้ความรู้หลักการออกกำลังกายที่   ถูกต้อง     สร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้เข้าร่วมอบรม

2. เพื่อลดความเสี่ยง ที่เกิดจากการไม่ได้ออกกำลังกาย

3. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับสรีระร่างกายให้สมดุล เข้าใจการดำเนินชีวิตไม่ให้มีปัญหาเรื่องกระดูกโครงสร้างร่างกาย

4. ผู้เข้าอบรมสามารถ นำความรู้ที่ได้รับ ไปปฏิบัติ     ต่อตนเอง ต่อครอบครัวและขยายผลไปถึงชุมชน

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ผู้เข้าร่วมอบรมมีการตื่นตัวในเรื่องการเสริมสร้างสุขภาวะ

2. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการออกกำลังกายของมุสลิมในจังหวัดเชียงใหม่มีทางเลือกที่จะออกกำลังให้เหมาะสมกับวัย

3. สร้างกลุ่มแกนนำเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะในชุมชน    มัสยิดต่าง ๆ ได้

 

 


 

ภาพวีดีโอออกกำลังกายแบบโยคะ

      
                                             โยคะ สตรีมุสลิม ล้านนา - ดูวิดีโอทั้งหมด กดที่นี่

 

 

 

 

สนับสนุนงบประมาณโดยแผนงานสร้างเสริมสุขภาวะมุสลิมไทย      สสม.

ศูนย์ประสานงานภาคเหนือ รายงานโดย นายชุมพล  ศรีสมบัติ

 

หมายเลขบันทึก: 223494เขียนเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2008 11:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 13:34 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ผมสนใจที่จะศึกษาหลักจริยธรรมการพัฒนาสังคมของศาสนาอิสลาม ไม่ทราบว่าพอจะแนะนำให้ไปขอความรู้กับใครได้บ้างครับในจังหวัดเชียงใหม่...

ขอบคุณครับ

ผู้ที่จะให้ข้อมูลในเรื่อง จริยธรรมการพัฒนาสังคมในศาสนาอิสลาม

น่าจะเป็น ผ.ศ. สุชาติ เศรษฐมาลินี หัวหน้าภาควิชามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์

มหาวิทยาลัยพายัพเชียงใหม่

2. ชุมพล ศรีสมบัติ

ขอบคุณครับผม....

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท