การจัดการความรู้ในโรงเรียนส้มป่อยพิทยาคม(KM)


KM ไม่ใช่ MK

KM เป็นการจัดการความรู้นั้นเป็นการจัดการความรู้ แต่ MKเป็นความรู้ในการจัดการ

การจัดการความรู้มีความสำคัญอย่างไร ?  โรงเรียนส้มป่อยพิทยาคมมีการจัดการความรู้โดยเน้นทักษะกระบวนการคิด เป็นโรงเรียนในฝันผ่านการประเมินมาตรฐานจาก สมศ. เป็นโรงเรียนระบบดีโรงเรียนมีคุณภาพ ด้านระบบการดูแลช่วยเหลือผู้เรียน         

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)

       

กระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management Process) เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรเข้าใจถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดกระบวนการจัดการความรู้  หรือพัฒนาการของความรู้ที่จะเกิดขึ้นภายในองค์กร ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ดังนี้

1.       การบ่งชี้ความรู้ เช่นพิจารณาว่า วิสัยทัศน์/ พันธกิจ/ เป้าหมาย คืออะไร และเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย เราจำเป็นต้องรู้อะไร , ขณะนี้เรามีความรู้อะไรบ้าง, อยู่ในรูปแบบใด, อยู่ที่ใคร

2.       การสร้างและแสวงหาความรู้ เช่นการสร้างความรู้ใหม่, แสวงหาความรู้จากภายนอก, รักษาความรู้เก่า, กำจัดความรู้ที่ใช้ไม่ได้แล้ว

3.       การจัดความรู้ให้เป็นระบบ - เป็นการวางโครงสร้างความรู้ เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการเก็บความรู้ อย่างเป็นระบบในอนาคต

4.       การประมวลและกลั่นกรองความรู้ เช่นปรับปรุงรูปแบบเอกสารให้เป็นมาตรฐาน, ใช้ภาษาเดียวกัน, ปรับปรุงเนื้อหาให้สมบูรณ์

5.       การเข้าถึงความรู้ เป็นการทำให้ผู้ใช้ความรู้นั้นเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้ง่ายและสะดวก เช่น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (IT), Web board ,บอร์ดประชาสัมพันธ์ เป็นต้น

6.       การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ทำได้หลายวิธีการ โดยกรณีเป็น Explicit Knowledge อาจจัดทำเป็น เอกสาร, ฐานความรู้, เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือกรณีเป็น Tacit Knowledge อาจจัดทำเป็นระบบ ทีมข้ามสายงาน, กิจกรรมกลุ่มคุณภาพและนวัตกรรม, ชุมชนแห่งการเรียนรู้, ระบบพี่เลี้ยง, การสับเปลี่ยนงาน, การยืมตัว, เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เป็นต้น

7.       การเรียนรู้ ควรทำให้การเรียนรู้เป็นส่วนหนึ่งของงาน เช่นเกิดระบบการเรียนรู้จาก  สร้างองค์ความรู้>นำความรู้ไปใช้>เกิดการเรียนรู้และประสบการณ์ใหม่ และหมุนเวียนต่อไปอย่างต่อเนื่อง

ภาษิต คำคม KM  

     Knowledge resides in the users and not in the collection.

     ความรู้อยู่ในผู้ใช้ ไม่ใช่อยู่ในแหล่งรวมความรู้ 

     (Y. Maholtra)

 

     KM is a Journey, not a destination.

    การจัดการความรู้เป็นการเดินทาง ไม่ใช่เป้าหมายปลายทาง

     (Warick Holder, IBM, 20 Nov 2003, Chiangmai)

     A little knowledge that acts is worth more than much knowledge that is idle.

     ความรู้เพียงเล็กน้อยเพื่อปฏิบัติมีค่ามากกว่าความรู้มหาศาลที่อยู่เฉย ๆ

     (Kahlil Gibran)

 

     Knowledge is a key asset, but it is often tacit and private.

    ความรู้เป็นสินทรัพย์สำคัญ แต่บ่อยครั้งความรู้เป็นสิ่งฝังลึกและเป็นสินทรัพย์ส่วนบุคคล

 

     Knowledge is not what you know, but is what you do.

    ความรู้ไม่ใช่เพียงการรู้ แต่เป็นการกระทำ

 

     Successful knowledge transfer involes neither computers nor documents but rather  

      interactions         between people.

    การถ่ายทอดความรู้สำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์หรือเอกสาร แต่เป็นเรื่องของปฏิสัมพันธ์

    ระหว่างคน

     (Mason & Mitroff, 1973)

 

     Shift from error avoidance to error detection and correction

    จงเปลี่ยนจากการหลีกเลี่ยงความผิดพลาด ไปสู่การค้นหาความผิดพลาดและแก้ไข

 

ที่มา : http://www.person.ku.ac.th/training/kukm/article/handbook_2549.doc

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 223084เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 11:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 เมษายน 2012 23:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท