การจัดการความรู้ในโรงเรียนบ้านตาแบน


km ไม่ใช่ mkไม่ลองทำไม่รู้

การจัดการความรู้ ในโรงเรียนบ้านตาแบน  ได้ดำเนินการจัดการความรู้  โดยการจักิจกรรมบูรณาการ ในวันศุกร์ โดยแบ่งนักเรียน เป็นช่วงชั้น  ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และนักเรียนต้องการจะเรียนรู้  ส่วนมากจะเป็นการเรียนรู้ ในสาระท้องถิ่น  เช่น การปลูกกระเทียม  การปลูกดาวเรือง  และปลูกแก้วมังกร  โดยมีการเชิญวิทยากรท้องถิ่นมาให้ความรู้ นักเรียน และนำนักเรียนไปศึกษาที่ไร่ และสถานที่ปลูกจริง แล้วนำองค์ความรู้มาสรุป  เป็นความรู้ใหม่ เสนอเป็นรูปเล่ม

การจัดการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์  เป็นวิธีการเรียนรู้ที่มีความสำคัญมากขึ้นเป็นลำดับ ในประเทศที่พัฒนาแล้ว  การเรียนรู้โดย  E-learning ได้แพร่ขยายเข้าไปถึงการศึกษาในระบบ  การพัฒนาบุคลากรในองค์กร  รวมถึงการเรียนรู้ส่วนบุคคล  สำหรับประเทศไทยถือว่าเป็นเรื่องใหม่  และเริ่มมีการพัฒนาระบบต่างๆ  ในการรองรับการเปล่ยนแปลง  ตามแรงขับเคลื่อน ของกระแสโลกาภิวัฒน์  การเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ  การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี   ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการเตรียมความพร้อมของประชาชน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

ข้อดีของการจัดการศึกษาระบบนี้  คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเข้าถึงข้อมูลอย่างกว้างขวาง  สามารถเลือกเรียนได้ตามที่สนใจ  สามารถพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างไม่จำกัด

ข้อจำกัดในการจัดการศึกษาแบบนี้  คือ ในท้องถิ่นที่อยู่ไกลจากระบบเครือข่าย Internet  จะใช้ได้ค่อนข้างน้อย

รูปแบบการจัดการความรู้ในศึกษา เพื่อเสริมสร้างสมรรถนะของคนในสถานศึกษา ให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  ในโรงเรียนมีการส่งเสริมให้บุคลากรในโรงเรียนทุกคน มีความรู้ในการใช้สื่อเทคโนโลยี ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ  เป้าหมายในการจัดกระบวนการเรียนรู้ คือ มุ่งให้ผู้เรียน  สามารถคิดวิเคราะห์  และสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ครูเป็นเพียงผู้คอยชี้แนะ  กระตุ้น  อำนวยความสะดวกให้ผู้เรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบA C R

- Active Learning  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียน เป็นผู้กระทำ หรือปฏิบัติด้วยตนเอง

- Construct  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้ค้นพบสาระสำคัญ หรือ องค์ความรู้ใหม่ด้วยตนเอง

- Resource  เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนได้เรียนรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ  ทั้งในห้องเรียน  และนอกห้องเรียน

จากแนวคิดและวิธีการจัดการความรู้ดังกล่าว โรงเรียนบ้านตาแบน ได้จัดการเรียนการสอน โดยใช้ศูนย์การเรียนรู้ ทั้ง  8  สาระ  และการจัดกิจกรรมบูรณาการ เพื่อเติมเต็ม ในส่วนที่ยังบกพร่อง หรือในเนื้อหาที่นักเรียนยังไม่เข้าใจ  การอบรมคุณธรรมจริยธรรม และน้อมนำเศรษฐกิจพอเพียง มาบูรณาการด้วย

 

หมายเลขบันทึก: 223074เขียนเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2008 11:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 10:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

แม่ใหญ่สายสิน ทำงานส่งอาจารย์หรือยัง

ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาแบน

เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี

ด้วยชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัว

ผู้วิจัย นางสายสิน เพชรดา

สถานศึกษา โรงเรียนบ้านตาแบน ปีที่พิมพ์ 2551

บทคัดย่อ

การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาแบน

เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัว เป็นการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ทั้งเป็นรายบุคคลหรือการเรียนรู้จากกลุ่ม ได้ทุกสถานที่และทุกโอกาสที่ผู้เรียนสนใจใคร่รู้ ดังนั้นในการวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ (1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัวที่มีต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาแบน เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ เรื่อง การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียน ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาแบน เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัวกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัว(3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาแบน ก่อนและหลังเรียนด้วยชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 7 คน โรงเรียนบ้านตาแบน ตำบลศรีแก้ว อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2551 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposesive Sampling) เครื่องมือที่ใช้

ในการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว จำนวน 8 แผน

(2) ชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัว จำนวน 8 ชุด (3) แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียน (4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 60 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิภาพ ค่าดัชนีประสิทธิผล และ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัยเป็นดังนี้

1. ประสิทธิภาพของชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัวที่มีต่อการพัฒนาผลการเรียนรู้ ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาแบน กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี มีประสิทธิภาพ 82.77/84.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้

2. ดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่6 โรงเรียนบ้านตาแบน เรื่อง การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัว มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7338 แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น 0.7338 หรือคิดเป็นร้อยละ 73.38

3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

โรงเรียนบ้านตาแบน ที่เรียนด้วยชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัว นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้

การพัฒนาผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านตาแบน เรื่อง

การปลูกพืชผักสวนครัว กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ด้วยชุดปฏิบัติงานการปลูกพืชผักสวนครัว มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ผู้เรียนมีพัฒนาการด้านการเรียนรู้เพิ่มขึ้นและมีความเหมาะสมที่ครูผู้สอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ตลอดจนครูในกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆ สามารถนำรูปแบบของเอกสารดังกล่าวไปประยุกต์ เพื่อใช้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียนต่อไป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท