ภูมิปัญญาพื้นบ้าน


ภูมิปัญญา

                                    
ดีใจหลาย  อ้ายน้องได้เปิดอ่าน  ภูมิปัญญาชาวบ้าน  องค์ความฮู้ปู่ย่าเฮา 

                                               อย่าสิไลลืมถิ่มของดีมีอยู่เก่า  มาเฮามาเล่ามาฟื้น  คืนภูมิรู้สู่ลูกหลาน  ซั่นตั๊ว...........

                     คำว่าภูมิปัญญา ถ้าแปลตามคำก็คือ ที่ตั้ง ของ ปัญญา ถ้าแปลความลึกลงไปก็หมายความว่า เป็นปรัชญาชีวิตของชาวบ้าน

          ปรัชญาอันเป็นที่ตั้ง ที่มาของชีวิต วิธีคิด วิธีปฏิบัติอันอยู่ภายใต้การมองโลกมองชีวิตแบบหนึ่ง ภูมิปัญญาเป็นปรัชญาอันเป็นที่มา

          ของความรู้ต่างๆ ด้วยเหตุนี้จึงกล่าวด้วยว่าภูมิปัญญาหมายถึงความรู้ต่างๆที่สืบทอด ถ่ายทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ที่คนรุ่นต่อๆมา

          ได้อนุรักษ์ ฟื้นฟู ประยุกต์ สร้างสรรค์ ให้เกิดความรู้ใหม่ในสังคมที่ผสมผสานกันระหว่างความรู้ที่มาจากที่อื่นๆทั่วโลก ( ร้อยคำที่ควรรู้ :

       เสรีพงศ์พิศ )

                   แม้ว่าคำว่าภูมิปัญญาจะหมายถึงเพียงความรู้เฉพาะเรื่องเฉพาะอย่างของท้องถิ่นที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษแต่ความรู้นี้ในฐานะ

         ที่เป็นส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาทั้งหมดหรือบริบท ทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของปรัชญาชีวิตนั่นเอง แยกออกจากบริบทเมื่อไดก็จะขาดชีวิต

         เหมือนคนตาบอดคลำช้าง คลำที่ขาก็ทึกทักเอาว่าเป็นเสาคลำที่หางก็ว่าเป็นเชือก เพราะมองไม่เห็นช้างทั้งตัว

                  ดังนั้นภูมิปัญญาชาวบ้านจึงเป็นศาสตร์และศิลป์ของการดำเนินชีวิตชาวบ้านเป็นฐานคิดและหลักเกณฑ์การกำหนดคุณค่า และจริยธรรม

        ที่มีการสั่งสมสืบทอดกันมาช้านานจากพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย สู่ลูกหลาน จากรุ่นสู่รุ่นจากอดีตสู่ปัจจุบัน

            ภูมิปัญญา เป็นศาสตร์ คือความรู้เกี่ยวกับการดำเนินชีวิตปัจจัยสี่ การทำมาหากิน การอยู่ร่วมกับธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการอยู่

      ร่วมกับสังคม

                  ภูมิปัญญา เป็นศิลป์ คือเป็นความรู้ที่มีคุณค่าดีงาม ที่คนค้นคิดขึ้นมาไม่ใช่ด้วยสมองอย่างเดียวแต่ด้วยอารมณ์ความรู้สึกทัศนะและ

        จิตวิญญาณ  ภูมิปัญญาเป็นความรู้ที่เชื่อมโยงทุกด้านทุกมิติเข้าด้วยกันจึงเป็นความรู้ที่มีคุณธรรมรอบด้าน และเป็นองค์รวมเพราะมา

        จากชีวิตและสัมพันธ์กับชีวิต การเรียนรู้จากอดีตจึงเป็นการเรียนรู้ที่ไม่เพียงให้เกิดความรู้ แต่ให้เกิด ปัญญา อันเป็นที่มาของชีวิตที่พอเพียง

        ไม่โลภ และอยู่เย็นเป็นสุข

                 ในฉบับนี้ขอเล่าขานเกี่ยวกับภูมิปัญญาไว้เพื่อเป็นบทนำสู่บทต่อไปซึ่งท่านผู้อ่านสามารถร่วมคิดค้นสืบสาน ประยุกต์ และสร้างสรรค์

         ภูมิปัญญา เพื่อให้เกิดความรู้และปัญญาสู่เยาวชน ชุมชนท้องถิ่นต่อไป.

                                                                                                                                               

หมายเลขบันทึก: 222928เขียนเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2008 17:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 19:51 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับอาจารย์   แวะมารับความรู้เพิ่มเติม  ขอบคุณครับผม

แวะมาเรียนรู้ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มีความสุขในการทำงาน  นะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท