มีโควต้าทำฮัจญ์ฟรี


วันทำงานที่แสนเงียบเหงา

วันนี้หลังจากไปส่งอุมมีที่สถานีรถไฟเพื่อกลับไปดูลูกสาวที่อยู่กับยาย ก็แต่งตัวมาทำงานตามปกติทั้งๆ ที่ว่าเป็นวันหยุด (ของ อานา) อีกอย่างช่วง 10.30 น. ของวันนี้ก็ต้องมาเป็นกรรมการสอบหัวข้อพิเศษทางรัฐประศาสนศาสตร์ มาแล้วก็เคลียร์งานให้เสร็จเลยดีกว่า ไหนเรื่องประมวลการสอนที่ต้องส่งให้คณะกรรมการพิจารณา ถ้าผ่านก็ส่งให้ทางคณะฯ ดำเนินการถ่ายเอกสารแจกให้นักศึกษา ส่วนงานอื่นๆ ก็เคลียร์เสร็จเรียบร้อยแล้ว

อีกอย่างช่วงนี้ในห้องสาขาก็ไม่ค่อยมีคน (เงียบๆ ยังไงไม่รู้) เพราะอาจารย์ในสาขาวิชาได้โควต้าไปทำฮัจญ์ (ฟรี) จำนวน 3 คนรวมถึงหัวหน้าสาขาฯ ด้วย หากพูดถึงการบริหารของ มอย. ของเรานี้ จะเห็นว่ามีอะไรที่แปลกๆ และนำหน้ากว่ามหาลัยอื่น (เฉพาะเรื่องไปทำฮัจญ์ฟรีครับ) ถึงแม้ว่าเงินเดือนที่จ่ายไปถ้าเทียบกับสถาบันอื่น (น่าจะถูกกว่า) แต่ถามว่าคนที่ได้เงินเดือนสูงๆ (จากสถาบันอื่น) โอกาสที่จะได้ขึ้นไปทำฮัจญ์มีสักกี่เปอร์เซ็นต์ครับ ทำงานกี่ปีจะได้มีเงินเก็บจ่ายค่าเครื่องไปทำฮัจญ์

ใช่ถ้าเราดูทฤษฎีการบริหารค่าตอบแทนนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นค่าตอบแทนในรูปแบบของตัวเงินเสมอไป แต่สำหรับมหาลัยนี้ (มอย.) จะเด่นตรงที่มีการให้ค่าตอบแทนในรูปแบบค่าตอบแทนแบบจูงใจ ได้สวัสดิการต่างๆ ทำให้คณาจารย์และเจ้าหน้าที่มีกำลังใจในการทำงานมากขึ้น และมีนียัตได้ไปทำบุญทุกคน

แต่อย่าเผลอมากไปครับ วันนี้เขียนถึงจุดเด่นของเรา แต่ก็ต้องมอง SWOT ในภาพรวมของเราว่าอยู่จุดไหนกันแน่ ถ้าจะให้ดีลองจับมา (ทำการชั่ง ตวง วัด) ให้จริงจัง ว่าตาชั่งของการบริหารของสถาบันเราอยู่ข้างขวา หรือซ้าย ผู้บริหารจำเป็นต้องอ่านสถานะของผู้ใต้บังคับบัญชาด้วยว่า พวกเขาเหล่านั้นถ้าตามทฤษฎีของ แม็คเกรเกอร์ พวกเขาจะเป็นคนประเภท X หรือ Y แล้วต้องจัดการอย่างไร......?

ฝากเป็นการบ้านของทุกคนแหละนะ

หมายเลขบันทึก: 222681เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2008 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 08:17 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อิจฉาจังอยากไปบ้าง..แต่ก็อัลอัมดุลิละฮฺ ที่ได้มีโอกาสได้ทำอัจญ์ฟรี

...ยินดีด้วยค่ะ....

คงจะเป็นสาขาที่มีอาจารย์ดีเด่นหลายคน ใช้ได้ๆ

...

ค่าตอบแทน มาตรฐานมหาลัยอื่นๆ มองที่ผลงาน และหลายๆอย่างรวมกัน ซึ่งจริงๆ เราอาจจะนับเรื่องของการให้โควต้าไปทำฮัจย์เสมือนค่าตอบแทนในมหาลัยอื่นคงไม่ได้

หากใช้คำว่า โควต้า...คำนี้ ไม่น่าจะเป็นคำที่ใช้เทียบกับค่าตอบแทนได้โดยตรง

เพราะคนที่ทำงานจริงๆจังๆ อย่างไรเสีย หากอายุงานยังน้อย ก็อาจจะยังไม่ถึงเวลาได้โควต้า แต่สิ่งหนึ่งที่น่าคิดคือ ทำไม หลายโควต้า ถึงไปกระจุกอยู่ที่เดียว อันนี้น่าคิด...

แต่จะให้ดี "อย่าคิด" จะดีกว่ากระมัง ^_^

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า นิยายน้ำเน่า มันมีทุกที่ จริงๆ ^^

ครับ ถ้าจะนับที่อัตราค่าจ้างแล้ว อาจจะน้อย

เรื่องการทำฮัจญ์นี้ทุกคนจะต้องทำ.. ไม่ว่าจะอยู่ส่วนไหนมุมไหนของโลกหรือทำงานอะไร

โอกาสไปทำฮัจญ์นี้..ผมว่าพวกเรามีมาก..เว้นแต่มุสลิมะฮฺค่อนข้างยากหน่อยเพราะมีเงื่อนไขที่ศาสนาได้วางไว้ (ไม่ใช่เงื่อนไขที่มหาวิทยาลัยจัดทำขึ้นเอง)

เรื่องไปกระจุก ณ หน่วยงานใด หน่วยงานหนึ่ง อันนี้ผมก็รู้สึกแปลกๆ เหมือนกัน อย่างปีนี้ น.ศ.กลุ่มนี้ต้องเรียนชดกันอุตลุด ฝากกันคิด ช่วยหาทางออกก็แล้วกัน

ส่วนเรื่องอัตราค่าจ้างอาจจะต่ำกว่าที่อื่น..ผมขอเล่าประสบการณ์สมัยก่อน

หลายปีมาแล้ว อุสตาซบ้านเราได้รับเงินเดือนไม่ถึงพัน ผิดกับข้าราชการที่ไปช่วยงาน มีเงินเดือนมากกว่าห้าหกเท่า

แต่ผล..เท่าที่สังเกต อุสตาสมีรถใช้เกือบทุกคน ส่วนข้าราชการนั้นหลายคนยังคงเดินเท้าไปโรงเรียน..

หลายคนว่า.. นั้นเป็นเพราะทรัพย์สินส่วนตัว..

เพราะ..พ่อตารวย

เพราะ..มีสวนยาง

ผมคิดว่าถ้าเราคิดแบบนี้..เราคงลืมคำว่าริสกี..เพราะริสกีนั้นอาจจะมาได้ทุกทางไม่ว่าทางไหน

เห็นด้วยกับคุณ SK ครับ เป็นไปได้หรือป่าวว่าโควต้าดังกล่าวนั้นเราดูที่ผลการประเมินการปฏิบัติงานว่ามีผลงาน เด่นอย่างไร ใครสมควรไปในปีนี้ และเห็นด้วยกับ Ibm.ครูปอเนาะ ว่าโควต้าปีนี้ทำไมจุกอยู่กับหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่ง (เป็นเพราะเป็นสาขาวิชาหรือคณะฯ) ที่มีการเมืองเล่นอยู่ด้วยมั้ง หรือว่าเป็นสาขาวิชาที่สอนวิชาการเมืองและวิชาการจัดการ (ก็เป็นได้) เดี๋ยวปีหน้าเอาใหม่นะ แต่ไม่รู้จะกลับเหมือนถูกงูกัดแผลเดิมหรือป่าว

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท