MT LAB
ทีมพัฒนาคุณภาพ งานชันสูตรโรค โรงพยาบาล บ้านแพ้ว (องค์การมหาชน)

จดหมายรักฉบับที่ 2 : อะไร คือ แบคทีเรีย?


อะไร คือ แบคทีเรีย?

อะไร คือ แบคทีเรีย?

ถ้าสมมุติว่า แบคทีเรียคือมนุษย์...ที่เรารู้จัก

 

มนุษย์แบ่งเป็น เพศชายและเพศหญิง

แบคทีเรียก็แบ่งเป็น Gram positive และ Gram negative

 

มนุษย์มีรูปร่างอ้วนและผอม

แบคทีเรียก็มีรูปร่างเป็น Cocci และ Bacilli เหมือนกัน

 

มนุษย์มีทั้งพวกที่ชอบอยู่คนเดียวและอยู่เป็นกลุ่ม

แบคทีเรียเองก็เหมือนกันนะ มีทั้ง single ,in pair ,cluster

 

มนุษย์มีทั้งพวกที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยกับใครแล้วก็พวกอันตรายสุด ๆอ้อแล้วก็พวกชอบฉวยโอกาส

คุณแบคทีเรียก็เหมือนกันนะ มีทั้ง Pathogenic ,non-pathogenic และก็ opportunistic 

 

พอเป็นแบบนี้แล้วก็เลยไม่รู้สึกเลยว่า คุณแบคทีเรียจะแตกต่างจากเราตรงไหน

ตรงกันข้าม พอมองในมุมนี้ปุ๊บก็เริ่มรู้สึกว่าจะเข้าใจคุณมามากขึ้น ซะอย่างงั้นแหละ

สรุปเป็นทางการนิดนึงก็...

แบคทีเรีย เป็นสิ่งมีชีวิตประเภทใหญ่ประเภทหนึ่ง มีขนาดเล็ก มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ส่วนใหญ่มีเซลล์เดียว และมีโครงสร้างเซลล์ที่ไม่ซับซ้อนมาก และโดยทั่วไปแบคทีเรียแบ่งได้หลายรูปแบบ

  • แบ่งตามรูปร่าง แบ่งได้หลายแบบทั้งกลม (cocci) ,แบบท่อน (bacilli,rod) ,แบบเกลียว (spiral) ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีการจัดเรียงเซลล์ต่างกัน
  • แบ่งตามการย้อมติดสีแกรม (Gram's strand) มีได้สองลักษณะคือพวกที่ติดสีแกรมบวก (Gram positive) และที่ติดสีแกรมลบ (Gram negative) แต่บางชนิดสามารถติดสีทั้งสองเรียกว่า Gram variable ซึ่งเกี่ยวข้องกับผนังเซลล์ของแบคทีเรีย
  • แบ่งตามความต้องการใช้อ๊อกซิเจน ซึ่งมีหลายแบบคือ aerobic bacteria, anaerobic bacteria, facultativeaerobic bacteria, microaerofilic bacteria เป็นต้น
  • แบ่งกลุ่มแบคทีเรียตามแหล่งอาหารและพลังงานได้เป็น
    • ออโตโทรป (autothroph) แหล่งคาร์บอนสำหรับสร้างสารอินทรีย์มาจาก CO2 ได้แก่แบคทีเรียที่สังเคราะห์ด้วยแสงได้
    • เฮเทอโรโทรป (heterothroph) แหล่งคาร์บอนมาจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ ได้แก่แบคทีเรียที่ดูดซับสารอาหารเป็นแหล่งพลังงานทั่วไป
    • โฟโตโทรป (photothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากแสง
    • คีโมโทรป (chemothroph) ได้พลังงานเริ่มต้นจากสารเคมี

แบคทีเรียบางชนิดอยู่รอดในสภาพที่เลวร้ายหรือไม่เหมาะสมต่อการเจริญได้โดยการสร้างเอ็นโดสปอร์ (endospore) เมื่อสภาวะแวดล้อมเหมาะสม เอ็นโดสปอร์จะดูดซับน้ำและเจริญเป็นแบคทีเรียใหม่ เอ็นโดสปอร์ทำลายยาก บางชนิดอยู่ได้ถึง 100 ปี

 

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #แบคทีเรีย
หมายเลขบันทึก: 222547เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2008 03:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ได้ทบทวนความรู้แบบน่ารักมากคะ

ทำให้จำได้ง่ายง่ายๆ และน่าสนใจ

ขอบคุณคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท