ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน


แนวคิดการบริหารการศึกษา

บทความในการนำเสนอนี้เป็นข้อแตกต่างในการทำงานของแต่ละคน

ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงาน

 

                พฤติกรรมของผู้บริหารในองค์การมี  2  ประเภท  คือ  1) พฤติกรรมที่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน โดยถือเอาระดับแห่งความพึงพอใจของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับงานเป็นเกณฑ์ในการวัด (Efficiency)  และ  2) พฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์การ  (Effectiveness)  ตามปกติแล้วการวัดประสิทธิผลจะวัดจากการทำงานบรรลุเป้าหมายที่วางไว้  และถือว่าได้รับประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้จะต้องใช้ทรัพยากรน้อยที่สุด ส่วนประสิทธิภาพนั้นวัดจากความพึงพอใจในผลงานที่ออกมาของบุคคลที่เกี่ยวข้อง  อาจเป็นสูตรได้ดังนี้

                E             =             ( O – I )   +   S

เมื่อ         E             =             Efficiency             =             ประสิทธิภาพของงาน

                O             =             Output                   =             ผลงานที่ได้รับ

                I              =             Input                      =             ทรัพยากรที่ใช้ไป

                S             =             Satisfaction           =             ความพึงพอใจในผลงาน

                ดังนั้นงานบางอย่างที่ผู้บริหารดำเนินการนั้น อาจจะบรรลุจุดประสงค์ที่วางไว้ แต่บางครั้งอาจจะก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจแก่บุคคลอื่น จัดได้ว่าการทำงานนั้นมีประสิทธิผลแต่ไม่มีประสิทธิภาพ การทำงานของผู้บริหารที่ดี จะต้องมีทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

 

หมายเลขบันทึก: 222504เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2008 21:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 21:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

พริกกระเหรี่ยงครับ..พฤติกรรมผู้บริหารต้องดูตัวแปรด้วย..บริบท..บรรยากาศที่สำคัญการสร้างแรงจูงใจ...ผมเรียกว่า...การสวร้างอารมณ์ร่วมแรงร่วมใจ

ผมอยากทำงานเหมือนกับที่คุณทิพพริกกระเหรี่ยงเขียนไว้ในตอนสุดท้ายจังเลยครับ

บางวันเหนื่อยมากกับกับการแก้ปัญหาที่มีตัวแปรที่ควบคุมไม่ได้เกิดขึ้น

ผมเห็นด้วยกับajankov กับคำว่า การอารมณ์ร่วมแรงร่วมใจ สำคัญจริงๆ ครับ

กว่าจะสำเร็จผลในการโน้มน้าวให้มามีส่วนร่วมด้วยต้องใช้เทคนิคมากมาย

ถึง ajankoy ขอบคุณมากนะคะที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยในการบริหารจัดการนั้น ตัวแปรต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริหารไม่ใช่เหรอคะ ส่วนบริบทของโรงเรียนนั้น ดิฉันเข้าใจว่ามันคือสภาพแวดล้อมของโรงเรียน ซึ่งบางอย่างก็ควบคุมได้ แต่บางอย่างก็ควบคุมไม่ได้ อย่างนี้ถือว่าเป็นตัวแปรหรือไม่

ถึง kuykam ขอบคุณมากนะคะที่มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงาน

สวัสดีครับ...หากเราจะสร้างภาพยนตร์สัก 1 เรื่อง...โลเกชั่น...มีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ชมภาพยนตร์มาก..เพราะมนุษย์เป็นสัตว์สังคม..มีความรู้สึก..มีอีมูชั่น...มีอะไรต่อมิอะไรมากมาย..เรียกว่าบรรยายกาศ..ทางกายภาพ..หากสถานศึกษามีสภาพแวดล้อมดี..อย่างที่ ดร..โกวิท วรพิพัฒน์ เคยฝากข้อคิดไว้...การปฏิสัมพันธ์ที่ดี..มีองค์ประกอบเรื่องของสภาพแวดล้อม...เวลา...และสาระ..จะทำให้เกิดการเรียนรู้ได้ดี..ไม่มีกำแพงใจมาขวางกั้นความคิดดีๆที่จะพรั่งพรูออกมาสำหรับการสร้างแรงจูงใจ..จึงมีการสร้างอุทยานการศึกษาเมื่อปีก่อนๆ....แต่ระยะหลังเราตามก้นฝรั่งจนเสียดุล...อะไรๆก็ ทีคิวเอ็ม...อะไรๆก็คุณภาพ..แล้วยูก็ตั้งแสตนดาร์ดว่าเท่านี้จึงเรียกว่าฉลาด...แล้วทำใมคนฉลาดชอบเอาเปรียบล่ะถามหน่อย

ใช่ครับคุณ ajankoy แนวคิดของท่านดร.โกวิท ยังขลังอยู่ครับ

เห็นด้วยกับคำพูดที่ว่า "ทำใมคนฉลาดชอบเอาเปรียบ"

เป็นธรรมชาติของการบริหารงาน อย่าไปตั้ง ความคาดหวังไว้สูงเกินไปผมบริหารตามสถานการณ์ครับ

เขียนเยอะ ตอบเยอะ...ทบทวนไปในตัวครับ จากศิษย์อาจารย์เดียวกัน ....ครูระยองฮิ...

ขอบคุณนะคะครูอภิชัยที่เข้ามาแสดงความคิดเห็น เป็นคนระยองเหมือนกัน

ขอบคุณนะคะที่ร่วมแสดงความคิดเห็น

เห็นด้วยค่ะ ผู้บริหารที่ดี จะต้องมีทั้งประสิทธิผลและประสิทธิภาพ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท