SOPA
นาง โสภา อิสระณรงค์พันธ์

บริหารคนเก่ง หรือ ผู้ที่มีศักยภาพสูง (talent management)


บริหารคนเก่ง หรือ ผู้ที่มีศักยภาพสูง

ทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะกลุ่มที่มีศักยภาพสูงถือว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่มีส่วนส่งเสริมให้ผลประกอบการขององค์การดีขึ้น องค์การหลายแห่งจึงเริ่มสนใจและให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้ได้บุคลากรที่มีศักยภาพสูง  แต่ในองค์การต่างๆประกอบด้วยบุคลากรหลากหลายรูปแบบ มีทั้งพนักงานที่มีผลการปฏิบัติดี  ไม่ดี และพวกที่ไม่เป็นที่ปรารถนาขององค์การ (Berger and Berger, 2004)

 องค์การจำเป็นต้องระบุบุคลากรที่เป็นคนเก่ง คนดีขององค์การออกมาให้ได้เสียก่อน จึงจะสามารถพัฒนา  กระตุ้นจูงใจให้คนกลุ่มนี้สามารถปฏิบัติงานที่มีคุณภาพ ประสิทธิภาพสูงสุดต่อองค์การต่อไปได้    เนื่องจากบุคลากรกลุ่มนี้มีความสามารถในการทำงานสูง  สามารถนำพาองค์การไปสู่ความเป็นเลิศได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนเก่งในระดับผู้บริหาร เพราะผู้บริหารจะเป็นผู้กำหนดยุทธศาสตร์ กลยุทธ์  นโยบายรวมทั้งขับเคลื่อนให้เป้าหมายทั้งในระดับองค์การ หน่วยงาน ทีมงาน และระดับบุคคล บรรลุตามผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิดขึ้น  

เช่นเดียวกับวงการธุรกิจ   องค์การที่ประสบความสำเร็จมีการให้ความสำคัญอย่างมากกับการบริหารคนที่มีศักยภาพสูง  หรือ คนเก่ง  เนื่องจากบุคลากรที่เป็นคนเก่ง มักมีความสามารถที่แตกต่างจากบุคคลอื่นในองค์การ  สามารถสร้างผลประกอบการให้องค์การได้มากกว่า    

 ในต่างประเทศมีการให้ความสำคัญกับการวางแผนกลยุทธ์ด้านทรัพยากรบุคคลและใช้ระบบการบริหารคนเก่ง (Talent Management System) เป็นการสร้างความเจริญเติบโตขององค์กรอย่างยั่งยืน การศึกษาของ Bennett and  Bell (2004)  พบว่าสุดยอดผู้บริหารขององค์การที่เป็นเลิศในเอเชียร้อยละ 90 ที่ให้ความสำคัญกับการบริหารเชิงกลยุทธ์ประสบความสำเร็จอย่างมากในการบริหาร 

และ  จากการศึกษาวิจัยเปรียบเทียบระหว่างบริษัทที่ได้ชื่อว่าเป็น สุดยอด และ บริษัทที่ไม่ได้ชื่อว่าเป็น สุดยอด จำนวน  305 บริษัท ในเอเชีย พบว่า อัตราการเจริญเติบโตขององค์กรที่มีผู้บริหารที่มีศักยภาพสูง (Talented people) มีอัตราการเจริญเติบโตของรายได้มากกว่าองค์กรทั่วไปถึงร้อยละ 50  สอดคล้องกับการศึกษาข้อมูลในเอเชียที่พบว่าพนักงานในบริษัทชั้นนำสามารถสร้างผลประกอบการได้มากกว่า เมื่อวัดเปรียบเทียบกันจากรายได้องค์กรเช่นกัน  (Bennett and Bell, 2004)    

Bill Gates  ยังกล่าวอีกว่า แค่มีคนเก่งๆที่ดีที่สุดของเราออกไปสัก 20 คน ผมบอกคุณได้เลยว่าไมโครซอฟท์จะไม่ใช่บริษัทที่สำคัญอีกต่อไป (Berger and Berger, 2004)  

ดังนั้นการบริหารคนเก่ง  หรือ ผู้มีศักยภาพสูง  อย่างเป็นระบบ  จะส่งผลให้บุคคลกลุ่มนี้เกิดการคงอยู่เพื่อสร้างสรรค์และพัฒนาองค์การต่อไปได้  การมีคนเก่งในองค์กรจึงเป็นเสมือนการติดอาวุธให้กับธุรกิจ และเป็นแรงขับเคลื่อนของธุรกิจให้ก้าวล้ำไปข้างหน้าและมีความได้เปรียบในการแข่งขันที่ยั่งยืน (ฐิติพร  ชมพูคำ, 2547)  

 

หมายเลขบันทึก: 222063เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2008 23:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 08:11 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีครับอาจารย์

พัฒนาคนเก่งแล้ว ต้องใส่คุณธรรมด้วยถึงจะดีครับท่าน

บล็อกนี้ ต้อง ติดตาม อาจารย์ โสภามีข้อมูลดี และ เยอะ และสรุป ได้น่าคิด ค่ะ

  • เยี่ยมมากเลยครับ
  • ผมอยากให้พยาบาลทุกคนและบุคลากรสาธารณสุขได้มาอ่าน Blog ของคุณโสภาจังเลยครับ มีประโยชน์ต่อการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง งาน และองค์กรมาก
  • ผมขออนุญาตนำไปรวมไว้ใน planet "สร้างสุขคนน่าน" ไว้ที่นี่นะครับ "สร้างสุขคนน่าน" ผมพยายามส่งเสริมให้จนท.สาธารณสุขในน่านเขียน blog เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันให้มากๆ หากคุณโสภาเห็น blog บุคลากรสาธารณสุขน่านเขียน blog รบกวน link มาให้ทราบด้วยครับ ผมจะเอามารวม link ไว้ใน planet นี้ เพื่อให้คนน่านได้ติดตามเรื่องราวกันและกันอย่างกว้างขวาง
  • วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๑ ผมจะไปบรรยายเรื่อง "KM" ให้แก่กลุ่มพยาบาล ที่รพร.ปัว จะขออนุญาตแนะนำ blog คุณโสภาด้วยนะครับ

  • ด้วยความขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ พ่อน้องชอมพอ ยินดี และดีใจมากที่พ่อน้องชอมพอได้เข้ามาเยี่ยมชม blog

และยังช่วยแนะนำ blog ให้อีกด้วย ยินดีมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท