สารจากรองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ (สำหรับลงรายงานประจำปี IRDA)


ตัวบ่งชี้สำคัญที่ช่วยบ่งบอกสถานะปัจจุบันของการวิจัยของมหาวิทยาลัย 2 ตัวบ่งชี้ คือ เราอยู่ใน “ลำดับที่ 10” ของมหาวิทยาลัยไทยที่มีจำนวนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน TCI Database ระหว่างปี 2545-2549 และเราอยู่ใน “ลำดับที่ 8” เมื่อดูจาก h-index ใน SCI-Expanded Database (ข้อมูลระหว่างปี 2544-2550)

         ในรอบปีที่ผ่านมามหาวิทยาลัยได้รับการประเมินภายนอก (จาก สมศ.) ในประเภท “มหาวิทยาลัยวิจัย” (น้ำหนักพันธกิจ ผลิตบัณฑิต : วิจัย : บริการวิชาการ : ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม = 35 : 35 : 20 : 10) และได้รับผลการประเมินออกมาในระดับ “ดีมาก” ทั้งในภาพรวมระดับมหาวิทยาลัยและในมาตรฐานที่เกี่ยวกับการวิจัยและงานสร้างสรรค์

         ในรอบปีที่ผ่านมาอีกเช่นกัน ที่ผลงานวิจัยได้ทำให้อาจารย์ของมหาวิทยาลัยได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ดีเด่น ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ได้เลื่อนตำแหน่งทางวิชาการเป็นศาสตราจารย์ ได้รับการชื่นชมจากผลงานทั้งที่เป็น basic research และที่ออกมาเป็น product จับต้องได้ ได้มีภาคีร่วมทำวิจัยที่เข้มแข็ง และได้ทำวิจัยแบบมีส่วนร่วมอย่างเคียงบ่าเคียงไหล่กับชุมชนในเขตภาคเหนือตอนล่าง (ABC Research) จนได้รับการยอมรับและชื่นชมโดยทั่วไป

         ตัวบ่งชี้สำคัญที่ช่วยบ่งบอกสถานะปัจจุบันของการวิจัยของมหาวิทยาลัย 2 ตัวบ่งชี้ คือ เราอยู่ใน “ลำดับที่ 10” ของมหาวิทยาลัยไทยที่มีจำนวนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยใน TCI Database ระหว่างปี 2545-2549 และเราอยู่ใน “ลำดับที่ 8” เมื่อดูจาก h-index ใน SCI-Expanded Database (ข้อมูลระหว่างปี 2544-2550)

         ทั้งหมดนี้คงปฏิเสธไม่ได้ว่า IRDA ยังคงเป็นแกนนำสำคัญ ที่ทำให้เกิดการพัฒนานักวิจัย ระบบบริหารงานวิจัย และผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัยอย่างเข้มแข็งและต่อเนื่อง

         ดังนั้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ดียิ่ง ๆ ขึ้น ผมมีความเห็นว่า IRDA น่าที่จะพิจารณาให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในรอบปีต่อไป ดังนี้

         1. เชื่อมโยงเพื่อให้เกิดพลังเสริมซึ่งกันและกัน (synergy) ระหว่างงานวิจัยและงานบัณฑิตศึกษา 
         2. ดำเนินการเรื่อง virtual excellence center ให้เป็นรูปธรรม 
         3. เชื่อมโยงระหว่างการวิจัย การเรียนการสอน การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เสริมพลังซึ่งกันและกัน ไม่ทำให้การวิจัยเป็นตัวขัดขวางการดำเนินงานของพันธกิจอื่น ๆ โดยการเน้นให้ทุกคนคิดและทำโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (research-based activity) 
         4. เสริมสร้างเครือข่ายวิจัย (research network) ให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น 
         5. เสริมสร้างศักยภาพของ “นักวิจัย” ให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้นรวมทั้งการสร้างนักวิจัยหน้าใหม่เพิ่มเติม 
         6. สานต่อการพัฒนา “ผู้บริหารงานวิจัย” ให้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเองและมีจำนวนมากเพียงพอกับการพัฒนางาน 
         7. พัฒนาตัว IRDA เองให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น จนเป็นแบบอย่างของ chaordic organization

         สุดท้ายผมขออวยพรและให้กำลังใจทุกคนใน IRDA ให้ได้มีกำลังกายและกำลังใจที่จะช่วยกันฟันฝ่าอุปสรรคและเป็นแกนนำในการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัย ให้เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ให้เป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการและเป็นประโยชน์กับสังคมและประเทศชาติ สมดังปณิธาณของมหาวิทยาลัยให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นต่อไป

         วิบูลย์ วัฒนาธร

หมายเลขบันทึก: 221767เขียนเมื่อ 9 พฤศจิกายน 2008 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:16 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

เรียนท่านรองวิบูลย์ ตามมาเรียนรู้ครับ

ขอบคุณครับท่าน อ.หมอ JJ ที่กรุณาเข้ามาทักทายและให้กำลังใจกันอยู่เสมอมา

สวัดีครับท่าน ผศ. ดร. วิบูลย์

ฟังท่านบรรยาย ในงาน เหลียวหลีงแลหน้าที่ ม.ทักษิณ ยังไม่อิ่ม ครับ ตามมาฟังต่อ

ภาคชาวบ้าน ก็ขอเข้ากระบวนการ KM ด้วยครับท่าน

ขอบคุณอาหารสมองที่ต้องเติมเต็มบำรุง อยู่เสมอครับ

ขอบคุณมากเช่นกันครับทั้ง บังหีม--ผู้เฒ่าnatachoei-- และ พันคำ ต่างฝ่ายต่างได้เรียนรู้จากกันและกันครับ วันที่ไป ม.ทักษิณ ผมก็ได้เรียนรู้ KM ภาคประชาสังคมเป็นอย่างมากเช่นกัน และยังอยากจะกลับไปเรียนรู้เพิ่มเติมถ้ามีโอกาสครับ

สวัสดีอีกครั้งครับท่าน รอง

ศวพถ. (ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น) เราทำงานเหมือนพรรคกะยาจกครับ

คือมีเครือข่ายทั่วภาคใต้ที่ไม่ปรากฎตัวตน

มีงานก็ประกาศกันมาช่วย กันด้วยความสมัครใจ

คณะทำงานเองก็รู้จักกันไม่หมด ส่วนใหญ่เป็นผู้พิการ

 ที่สานเชื่อมงานให้ครับ มีงานยินดีแลกเปลี่ยนร่วมกิจกรรมครับ

 "ศูนย์ประสานงานเครือข่ายเพื่อการวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น "

"ไตรภาคีร่วมสร้าง สังคมน่าอยู่ ด้วยการจัดการความรู้ สู่สุขภาวะ"

 612 ซอยแสนดี 3 ถนนแสนดีหมู่ที่ 1ตำบลท่ามะเดื่อ อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง 93140 0897729573

อ่านบันทึกนี้ของท่านอาจารย์วิบูลย์แล้ว พวกเราอมยิ้มพร้อมๆ กันภายในห้องค่ะ

เหมือนได้รับกำลังใจอันอักโข เข้ามาเสริมสร้างส่วนที่สึกหรอก่อนหน้านี้

ขอบพระคุณกำลังใจอันแข็งแกร่งจากอาจารย์ที่มีให้พวกเราเสมอค่ะ ^^

ขอบคุณอาจารย์ที่ให้กำลังใจ..พวกเรา..

..และชี้นำ ให้ข้อคิดดีๆ ...เปิดมุมมองของเราให้กว้างขึ้น..

  • IRDA จะพยายามปฏิบัติตามข้อเสนอแนะที่อาจารย์บอกให้ได้มากที่สุดครับ
  • ขอบพระคุณครับ สำหรับคำอวยพรและกำลังใจ ที่อาจารย์ได้มอบให้ ทุกๆ คนใน IRDA จะตั้งใจปฏิบัติงาน เพื่อให้มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ดังที่ได้ตั้งปณิธานไว้ครับ

 

ขอบคุณสำหรับคำชี้แนะสำหรับก้าวต่อไปของ IRDA และกำลังใจที่อ.วิบูลย์มีให้พวกเราตลอดมา

ขอบคุณครับ

เสมอ ผอ. IRDA

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท