พลวัตรของพลเมืองเน็ตสู่ชุมชนโลกเสมือนจริง (Netizen to Global Village)


โดยที่ ชุมชนออนไลน์และพลเมืองชาวเน็ตไม่ได้ถูกจำกัดโดยอาณาบริเวณหรือแยกแยะสัญชาติ แต่เกิดขึ้นจากการความสามารถทางเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน และ ไม่ว่าในทางทฤษฎีจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม แต่ในความเป็นจริง ความเป็นบุคคลบุคคลบนโลกอินเทอร์เน็ต ในโลกที่คู่ขนานกันไปของโลกจริงนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่มีสัญชาติ ทุกคนสามารถเป็นพลเมืองของชุมชนเสมือนจริงเหล่านี้ได้ และความเป็นพลเมืองนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดินแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง และบุคคล เหล่านี้ มีบ้าน ทรัพย์สิน กิจกรรม บนโลกเสมือน

พลวัตรของพลเมืองเน็ตสู่ชุมชนโลกเสมือนจริง (Netizen to Global Village)

ในช่วงตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่ประเทศไทยรู้จักคำว่าอินเทอร์เน็ตเป็นต้นมา ในขณะนี้มีผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ตเพียง ๓๐ คน แต่ในปัจจุบัน มีผู้เข้ามาใช้บริการในระบบอินเทอร์เน็ตกว่า ๘ ล้านคน ในขณะที่มีตัวเลขจากบริษัทเกมคอมพิวเตอร์ว่ามีผู้เล่นเกมออนไลน์ถึง ๑๐ ล้านคน

ไม่เพียงการเปลี่ยนแปลงเชิงปริมาณของผู้ใช้เท่านั้น รูปแบบของการใช้งานก็เปลี่ยนแปลงไป  จากเว็บในยุคแรกเริ่มที่เรียกว่า เว็บ ๑.๐ ที่ผู้ใช้บริการเป็นเพียงผู้อ่านข้อมูลฝ่ายเดียวเท่านั้น เรียกว่า Read only ทุกคนคงรู้จักเว็บไซต์เป็นอย่างดี ในขณะที่มีบางเว็บไซต์ที่ให้ผู้ใช้บริการสามารถแสดงความคิดเห็นผ่านกระดานข่าว ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างประชาคมบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ทุกคนได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น โต้แย้ง เห็นด้วย จนในบางครั้ง กลายเป็นการวิวาทกันบนอินเทอร์เน็ตผ่านกระดานข่าว

เช่น ในกรณีของเว็บไซต์ พันทิพ ซึ่งเป็นการรวมตัวกันแสดงความคิดเห็นในรูปแบบของสภากาแฟที่ทุคนในฐานะพลเมืองของชุมชนออนไลน์จะต้องมีทะเบียนบุคคลที่เชื่อมต่อกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร เท่ากับว่า ชุมชนพันทิพ กำลังบ่งบอกความต้องการของการพิศูจน์ยืนยันตัวบุคคลของประชากรที่เข้ามาใช้บริการ นั่นก็แสดงนัยว่า เริ่มต้นมีพลเมืองและชุมชน โดยมีกติกาจากเจ้าของพื้นที่อย่างชัดเจน

ต่อมา ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ขยับให้ผู้ใช้ที่เป็นเพียงแค่ผู้อ่านให้เป็น “ผู้นำเสนอข้อมูล” ในฐานะ “ผู้ผลิต” เองได้ด้วย ที่เรียกว่า เว็บ ๒.๐ ซึ่งเป็นการทำงานผ่านระบบเว็บบล็อก เช่น Hi5.com , Youtube.com , Bloggang.com , OKNation.net หรือ gotoknow.org

เว็บบล็อกเหล่านี้ ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทลายกำแพงความสามารถในการสร้างเว็บไซต์ของผู้ใช้บริการที่อยากมีพื้นที่การนำเสนอข้อมูลส่วนตัวของตัวเอง โดยที่ผู้ใช้บริการนั้นไม่จำเป็นต้องมีความรู้ในการทำเว็บไซต์ ไม่ต้องเรียนรู้การใช้โปรแกรม Dreamweaver ไม่ต้องรู้การเขียนเว็บจาก Notepad เพื่อแปลงไฟล์เป็น .html ให้เสียเวลา

ที่สำคัญ เว็บบล็อกเหล่านี้ เป็นการรวมตัวของ บุคคลในโลกอินเทอร์เน็ต ที่มีบ้านเป็นของตัวเอง (แต่ในพื้นที่ของคนอื่น) สามารถจัดแต่งบ้านของตัวเอง มีทรัพย์สินข้อมูลของตัวเอง และอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้าน ที่เรียกว่า เครือข่ายทางสังคม หรือ Social Network

ยกตัวอย่างเช่น Hi5.com[1] เป็นเว็บไซต์ประเภท Social Network หรืออาจเรียกในภาษาไทยว่าเครือข่ายสังคมหรือเครือข่ายมิตรภาพหรือกลุ่มสังคมออนไลน์คือบริการผ่านเว็บไซต์ที่เป็นจุดโยงระหว่างบุคคลแต่ละคนที่มีเครือข่ายสังคมของตัวเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมทั้งเชื่อมโยงบริการต่างๆ อย่าง เมล์ เมสเซ็นเจอร์ เว็บบอร์ด บล็อก ฯลฯ เข้าด้วยกัน นอกจากนี้ยังมีก็กลุ่มย่อยตามความสนใจร่วมกัน เช่น กลุ่มคนขี่จักรยานเสือภูเขา กลุ่มแฟนคลับเดธโน้ต เป็นต้น โดยคนที่ลงทะเบียนสมัครจะกรอกข้อมูลส่วนตัว รูปภาพ อัลบั้มรูป โดยเชื่อมเครือข่ายสังคมและเครือข่ายมิตรภาพเข้าด้วยกัน ด้วยการแชร์รูป แชร์ไฟล์ดูกัน

นั่นย่อมหมายความว่า ทุกคนล้วนเป็นพลเมืองในเน็ต หรือ Netizen และกำลังก่อร่างสร้างตัวเป็น ชุมชนออนไลน์ (Virtual Community) ที่กำลังมีขนาดของชุมชนใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ และ มีหลายชุมชนมากขึ้น ทั้ง ชุมชน HI5 , ชุมชนYoutube ชุมชน wikipidia ชุมชน gotoknow , ชุมชนSiambrandname ,ชุมชนbittorrent 

นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเว็บไซต์ในลักษณะของเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่ไม่ได้ให้พื้นที่ส่วนตัวแก่ผู้ใช้บริการในการเก็บรักษาข้อมูลในฐานะเว็บเพจของตนเอง แต่ให้บริการในการเชื่อต่อ แลกเปลี่ยน นำเสนอข้อมูลในเว็บไซต์ เช่น wikipedia.org ซึ่งเป็นเครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่ ที่ให้ผู้ใช้บริการเป็นผู้นำเสนอข้อมูล บทความ ที่ผู้ใช้บริการอื่นสามารถเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ โดยที่ผู้นำเสนอข้อมูลเหล่านี้ไม่ได้มีเว็บเพจหลักเป็นพื้นที่ของตนเอง[2]

อีกทั้ง ยังมีลักษณะของการใช้งานอีกลักษณะหนึ่งซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันโดยตรงผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เรียกว่า บิตทอร์เรนต์ (BitTorrent)[3] เป็นโพรโทคอลรูปแบบ peer-to-peer[4]

ยังมีชุมชนคนเล่นเกม ทีเรียกว่า Game Community ในเกมออนไลน์ ที่กำลังเติบโตขึ้นไม่แพ้กัน มีหัวหน้าเกม หรือ Game Master คอยดูแลความเรียบร้อยในเกมของผู้เล่นเกมที่ลงทะเบียนกับบริษัทให้บริการเกม

          เหล่านี้ ล้วนมีชุมชนของตัวเอง มีการตั้งกติกาดูแลสังคมกันเอง

โดยที่ ชุมชนออนไลน์และพลเมืองชาวเน็ตไม่ได้ถูกจำกัดโดยอาณาบริเวณหรือแยกแยะสัญชาติ แต่เกิดขึ้นจากการความสามารถทางเทคโนโลยีที่ไร้พรมแดน และ ไม่ว่าในทางทฤษฎีจะยอมรับหรือไม่ก็ตาม แต่ในความเป็นจริง ความเป็นบุคคลบุคคลบนโลกอินเทอร์เน็ต ในโลกที่คู่ขนานกันไปของโลกจริงนี้ ไม่ได้เกิดขึ้นจากกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่มีสัญชาติ ทุกคนสามารถเป็นพลเมืองของชุมชนเสมือนจริงเหล่านี้ได้ และความเป็นพลเมืองนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับดินแดนของประเทศใดประเทศหนึ่ง และบุคคล เหล่านี้ มีบ้าน ทรัพย์สิน กิจกรรม บนโลกเสมือน

คงต้องยอมรับว่า วันนี้ เรามี พลเมืองในโลกเสมือนจริง และกำลังเติบโตเป็นสังคมเหมือนจริง ต้องตามดูกันต่อว่า รูปร่างหน้าตาของรัฐเสมือนจริงที่เป็นลักษณะชุมชนหนึ่งเดียว หรือ ที่เรียกว่า Global Village จะมีขึ้นได้จริงหรือไม่



[1] ไฮไฟฟ์ มีภาษาต่างๆ ถึง 9 ภาษา เป็นเว็บไซต์ที่ได้รับความนิยมสูงสุดเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ตามมาด้วย กูเกิล และวินโดวส์ไลฟ์ (ข้อมูลเดือน กุมภาพันธ์ 2550[5]) และติดอันดับ 1 ใน 10 ในอีกกว่า 30 ประเทศ ไฮไฟฟ์กลุ่มของผู้ที่ใช้ภาษาสเปน เป็นหลักโดยเฉพาะในทวีปอเมริกาใต้ กลุ่มประเทศที่นิยมการใช้ไฮไฟฟ์ คือ สาธารณรัฐโดมินิกัน คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ เอกวาดอร์ ฮอนดูรัส รองลงมาคือ กัวเตมาลา เปรู ขณะเดียวกันรวมถึงประเทศอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ เช่น โปรตุเกส โรมาเนีย และประเทศไทยที่ปัจจุบันมีตัวเลขผู้เล่นไฮไฟฟ์ประมาณ 3 ล้านราย และมียอดผู้ใช้เป็นอันดับ 2 รองจากเม็กซิโก (ข้อมูลเดือน มิถุนายน 2551) ข้อมูลจาก http://www.alexa.com และ http://truehits.net/index_ranking.php

[2] วิกิพีเดีย คือ สารานุกรมที่ร่วมกันสร้างขึ้นโดยผู้อ่าน เป็นเว็บไซต์แบบพิเศษที่เรียกว่า วิกิ ในลักษณะที่ร่วมกันแก้ไขเป็นไปได้อย่างง่ายดาย มีหลายคนร่วมปรับปรุงวิกิพีเดียอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งคุณก็สามารถร่วมแก้ไขได้ บทความจะมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นทุกการแก้ไข ซึ่งการแก้ไขทุกครั้งถูกเก็บไว้ทั้งหมดในส่วนของประวัติในแต่ละหน้า จาก http://th.wikipedia.org

[3] โดยในปัจจุบันเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ มี ๒ ประเภท คือ บิตทอร์เรนต์เปิด และ บิตทอร์เรนต์ปิด (๑) บิตทอร์เรนต์เปิด  คือเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ ที่บุคคลทั่วไปทั่วไปหรือสมาชิกที่ผ่านเข้าไปสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ โดยไม่มีเงื่อนไขและไม่จำเป็นต้องเป็นสมาชิกที่เว็บไซต์นั้นๆ ส่วน (๒) บิตทอร์เรนต์ปิด  คือเว็บไซต์บิตทอร์เรนต์ ที่บุคคลทั่วไปไม่สามารถเข้าไปดาวน์โหลดไฟล์ได้ โดยจะต้องเป็นสมาชิกก่อนเท่านั้น และในบางเว็บไซต์จะไม่สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้ ถ้าสมาชิกยังไม่ได้อัปโหลด โดยจะมีการคำนวณ ปริมาณการอัปโหลดต่อดาวน์โหลดเป็น Ratio โดยแต่ละเว็บไซต์จะกำหนด Ratio ขั้นต่ำในการดาวน์โหลดไฟล์แตกต่างกัน

[4] โดยมีต้นกำเนิดมาจากความคิดของนายแบรม โคเฮน (Bram Cohen) ที่ต้องการให้การส่งผ่านข้อมูลสามารถอำนวยประโยชน์ได้ทั้งขาเข้าและขาออก ซึ่งเขาเริ่มพัฒนามันขึ้นมาตั้งแต่เดือน เมษายน ๒๕๔๔ จาก  http://th.wikipedia.org/wiki/BitTorrent

หมายเลขบันทึก: 221229เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 16:50 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 12:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)
  • ตามมาทักทาย
  • ไปมาเกือบหมดแล้วครับอาจารย์
  • Hi5.com , , Bloggang.com , OKNation.net ,opera,multiplyหรือ gotoknow.org
  • แต่อยู่ที่นี่นานที่สุด
  • เป็นชุมชนที่สามารถพบกันได้แบบตัวเป็น
  • มีมิตรภาพที่อบอุ่นครับ
  • อิอิๆๆๆๆๆๆๆๆ

อยู่ที่ว่า เราจะมีกติกาในการสร้างความอบอุ่นทางมิตรภาพของสังคมออนไลน์ได้อย่างไรครับ

gotoknow เป็นชุมชนคนออนไลน์ที่เราเห็นตัวตน รัก และเคารพกัน

เป็นลักษณะเฉพาะที่ชุมชนอื่นสู้ไม่ได้

หาทางขยายและเตรียมรับมือกับโลกอนาคตกัน

  • ถ้าอาจารย์ว่าง
  • รบกวนช่วยผม
  • ไปก่อกวนในนี้หน่อยครับ
  • www.fuse.in.th
  • ฮ่าๆๆๆๆๆๆๆๆ

ในมุมมองนักกฎหมาย ยังเป็นกังวลมากมายกับสังคมที่ยังไม่มีระเบียบ แต่คงยากที่จะไปกำหนดระเบียบแบบแผนอะไร เพราะโดยสภาพของสังคมออนไลน์คงทำได้ยาก ห่วงก็แต่มิจฉาชีพที่อาศัยโอกาสนี้ในการทำสิ่งไม่ดี แล้วหาวิธีการจัดการไม่ได้

เป็นห่วงจิงๆ

คงต้องเอากติกาในแต่ละชุมชนมากางดูว่า ตอนนี้มีใครสร้างกติกาชุมชนใช้กันแล้วบ้าง

เทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างขึ้นจุดประสงค์หลักคือเพื่ออำนวยความสดวกกับมนุษยชาติให้ดีกว่าเมื่อวันวาน แต่เนื่องจากมนุษย์มีความหลากหลายทั้งความรู้ความสามารถรวมถึงจิตวิญญาณ การใช้เทคโนโลยีที่เป็นอยู่ในขณะนี้ก็จึงมีความหลากหลายตามไปด้วย สำหรับการใช้เทคโนโลยีของสังคมไทยที่เป็นอยู่ขณะนี้ต้องยอมรับว่าเราใช้เทคโนโลยีในมิติของผู้บริโภคมากกว่าการเป็นผู้สร้าง จึงไม่เป็นเรื่องแปลกที่ปัญหาเทคโนโลยีได้กลายเป็นปัญหาที่ใหญ่หลวงของสังคมในขณะนี้

ที่ใดมีสังคม ที่นั่นมีกฎหมาย

เพราะอะไรล่ะหรือ ?

ถ้ามีคนอยู่กันเกิน ๑ คน ปัญหาย่อมเกิดค่ะ

กฎหมายสัญชาติอาจไม่มีในโลกแห่งเทคโนโลยี

แต่ก็คงต้องมี "สิ่งอื่น" มาจำแนกประชากรค่ะ

อ.โก๋คะ กลไกการจำแนกประชากรมีอยู่ไหมในเน็ต ?

ในแต่ละเว็บ โดยเฉพาะเว็บบล็อก หรือกระดานข่าวบางแห่ง เช่น พันธุ์ทิพย์ จะมีการกลการจำแนกประชากร โดยขั้นต้น ใช้ระบบสมาชิก แต่อาจจะมีอีกขั้น โดยการพิสูจน์ความถูกต้องแท้จริงของบุคคล ผ่านหมายเลขบัตร ๑๓ หลัก

สวัสดีค่ะ

เข้ามาทักทายค่ะนะคะ กฎกติกาเป็นสิ่งสำคัญในการอยู่ร่วมกัน

เป็นตัวการหนึ่งใช้สำหรับป้องกันและควบคุมเพื่อให้สังคมได้อยู่

ร่วมกันอย่างสงบเรียบร้อย ซึ่งจะส่งผลดีสำหรับทุกๆคนค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท