พันธกิจบริการวิชาการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์


ทำหน้าที่สนับสนุนหน่วยบริการเหล่านี้ให้มีความเข้มแข็ง

ผมแบ่งหน่วยบริการวิชาการออกเป็น3ประเภทคือ

1)บริการความรู้เชิงทฤษฎี หน่วยบริการหลักคือ สำนักวิชา

มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มีอยู่ทั้งหมด 11 สำนักวิชา ความรู้ในหลักสูตร/รายวิชาต่างๆคือฐานวิชาการที่จะบริการสังคม

2)บริการความรู้เชิงปฏิบัติ หน่วยบริการหลักคือ หน่วยงานสนับสนุนทั้งหมด ในรูปศูนย์ สถาบันวิจัยและพัฒนา ส่วนและหน่วยต่างๆ รวมทั้งที่อยู่ในรูปโครงการจัดตั้งของมหาวิทยาลัย

คนทำงานในหน่วยสนับสนุนเหล่านี้ล้วนช่ำชองในหน้างานของตนเอง ความรู้ในงานเหล่านี้คือ วิชาการหรือปัญญาปฏิบัติที่สามารถบริการสังคมได้

3)บริการความรู้เพื่อต่อยอดความรู้หรือสร้างความรู้ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งสร้างการเรียนรู้หรือจัดการความรู้ หน่วยบริการหลักคือ หน่วยวิจัยและจัดการความรู้ มหาวิทยาลัยมีนโยบายสนับสนุนหน่วยวิจัยโดยสถาบันวิจัยและพัฒนา ตอนนี้มีอยู่8หน่วยวิจัย อย่างไรก็ตาม ผมเห็นว่ามีหน่วยประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีดร.เลิศชาย ศิริชัย เป็นผู้ประสานงานก็ทำหน้าที่สร้างการเรียนรู้ให้กับชุมชนท้องถิ่น ถือเป็นหน่วยจัดการความรู้ที่สำคัญของมหาวิทยาลัยด้วย รวมทั้งหน่วยจัดการความรู้องค์กรการเงินชุมชนที่ผมดำเนินการอยู่ ก็อยู่ในข่ายนี้เช่นกัน

ที่ผมตั้งใจไว้คือ ทำหน้าที่สนับสนุนหน่วยบริการเหล่านี้ให้มีความเข้มแข็ง ให้เติบโตขึ้นทั้งปริมาณและคุณภาพ สามารถเลี้ยงตัวเองได้และทำประโยชน์ต่อสังคมอย่างกว้างขวาง รวมทั้งพยายามจัดตั้งหน่วยบริการเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะหน่วยวิจัยจัดการความรู้

โดยผมได้จัดทำคู่มือพันธกิจงานบริการวิชาการสู่สังคมของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ตามแนวทางรวมบริการประสานภารกิจ ซึ่ง1)รวบรวมข้อค้นพบและข้อคิดเห็นของคณะกรรมการประเมินผลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย 2)วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแผนพัฒนาเชิงกลยุทธ์ด้านการบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย 3)องค์ประกอบคุณภาพมาตรฐานการศึกษาด้านการบริการวิชาการของสกอ. สมศ.และตัวชี้วัดผลผลิตของมหาวิทยาลัย นอกจากนี้ยังได้ประมวลวิเคราะห์4)ระเบียบและนโยบายของมหาวิทยาลัยจากระเบียบบริการวิชาการและประกาศที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการให้ความสำคัญในเกณฑ์ภาระงานของอาจารย์ 5)ระบบฐานข้อมูลงานบริการวิชาการของมหาวิทยาลัย และสุดท้ายคือ 6)แผนงบประมาณที่รัฐบาลและมหาวิทยาลัยจัดสรรให้กับงานบริการวิชาการจัดทำใส่แฟ้มอย่างดีแจกจ่ายให้กับหน่วยบริการซึ่งมีอยู่ทั้งสิ้นประมาณ50หน่วย รวมทั้งจัดทำให้กับผู้บริหารทุกท่านด้วย (กรรมสภาคงไม่ต้อง)

เพื่อให้เห็นภาพรวมในเรื่องเหล่านี้ร่วมกัน

หมายเลขบันทึก: 221223เขียนเมื่อ 6 พฤศจิกายน 2008 16:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:48 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมสนใจวิธีการทำงานที่อาจารย์เสนอมามาก และกำลังสนใจทำวิจัยการจัดการความรู้วิทยาลัยชุมชนเพื่อการขับเคลื่อนพัฒนาเมืองพิพิธภัณฑ์มีชีวิตอยู่

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท