soa


soa

 

ทดสอบ soa

 

ในวงการไอทีในปัจจุบันกำลังมีการปรับเปลี่ยนก้าวสู่ยุคแนวคิดเชิงบริการ                          ( Service Orientation) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อความต้องการของธุรกิจในยุคปัจจุบัน และในอนาคตอันใกล้บุคลากรทางด้านคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น โปรแกรมเมอร์ ผู้ดูแลระบบ  รวมทั้งผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ จะมีมุมมองต่อการพัฒนาแอปพลิเคชันบนพื้นฐานการทำงานของ      เซอร์วิซต่างๆ ซึ่งการทำงานจะอาศัยมาตรฐานแบบเปิดในการติดต่อเรียกใช้บริการ และมาตรฐานนั้นจะเป็นที่ยอมรับกันในอุตสาหกรรมซอฟแวร์ และเพื่อให้แนวคิดนี้เป็นไปได้จริง องค์กรทางธุรกิจต่างๆจะต้องปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมของระบบซอฟแวร์ของตนเองให้เป็นเชิงบริการเอสโอเอ

แนวคิดการใช้ SOA (Service-Oriented Architecture ) เกิดขึ้น เพราะการใช้ไอทีในองค์กรไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ที่ไม่เพียงพอต่อการทำงานที่เพิ่มขึ้น อีกต่อไป SOA (Service Oriented Architecture) เป็นรูปแบบในการออกแบบระบบ (system) หรือ โปรแกรมประยุกต์ (application) แบบหนึ่ง SOAจะมองระบบประกอบด้วยการทำงานหรือบริการ (service) ต่างๆ ซึ่งความสามารถของ service ก็คือ distributed system คือแต่ละ service สามารถถูกเรียกจากต่างระบบ, host หรือ JVM กันได้ แต่ละ service มีอิสระต่อกัน ไม่ได้กระจุกติดกันอยู่ใน application หรือ jar file หนึ่ง พูดง่าย ๆ service ก็คือ method ที่ถูกดึงมาไว้ข้างนอกนั่นเอง ดังนั้น SOA จึงใช้ web service เป็นเครื่องมือ ที่วิ่งอยู่บน Protocol XML หมายถึงคนสามารถเข้าไปอ่านข้อมูลได้เพียงรู้ ชื่อผู้ใช้งาน ไม่เหมือนภาษาคอมพิวเตอร์แบบสมัยก่อน ดังนั้นแต่ละช่องของซอฟต์แวร์ที่คุยกันจึงมีช่องว่างด้านความปลอดภัย เน็ตเวิร์กจึงต้องมีความปลอดภัยสูง มีความเสถียรในการใช้งาน และสามารถมอนิเตอร์ได้ ต้องแน่ใจว่าไม่มีใครมาเปลี่ยนแปลงข้อมูลในการส่งระหว่างทางไปถึงผู้รับ เมื่อ SOA คือคำตอบของการวางโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีแล้ว เพราะการใช้งานด้านไอที ไม่ได้จำกัดอยู่แต่เพียงการใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปเพื่อบันทึกข้อมูลของบุคลากรอีกต่อไป แต่ยังจำเป็นต้องวิเคราะห์และบริการจัดการข้อมูล และสร้างบริการในเชิงลึกอีกมาก สิ่งที่องค์กรต้องคำนึงถึงในการเลือกเวนเดอร์เพื่อเข้ามาสนับสนุนการวางระบบให้ สามารถเลือกได้ 2 แบบ คือ แบบแรก ใช้เวนเดอร์เจ้าเดียวเพื่อหาโซลูชันที่ต้องการให้ ซึ่งวิธีการนี้จะไม่มีปัญหาในการนำโซลูชันหลายๆอย่างมาอินทริเกรทกัน เพราะเวนเดอร์จะรู้ระบบและสามารถกระทำได้จากโซลูชันที่ได้เลือกมา วิธีที่สอง คือ ใช้เวนเดอร์หลายเจ้าโดยเลือกจากเวนเดอร์ที่มีจุดแข็งในแต่ละโซลูชัน แต่อาจมีปัญหาเรื่องการอินทริเกรทโซลูชัน เพราะเป็นโซลูชันจากคนละเวนเดอร์มาอยู่ด้วยกัน ดังนั้น ควรเลือก โซลูชันที่เป็นโอเพ่น ซอร์ส จะไม่มีปัญหาในการอินทริเกรท เนื่องจากเป็นซอฟต์แวร์เปิด

( http://gotoknow.org/blog/krunapon/115885 ) อ้างอิง

SOA มีประโยชน์อย่างมากทั้งบริษัทเอกชนและองค์กรในภาครัฐ   โดยถ้ามองในแง่ของบริษัทเอกชน   SOA จะช่วยทำให้เกิดการรวบรวมข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อมูลทางธุรกิจได้ง่าย  ทำให้สามารถทำธุรกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน โดยไม่ขึ้นกับแพลตฟอร์มของบริษัทนั้น ๆ  ตัวอย่างเช่น ตอนนี้บริษัท A2Z Professional Travel ให้เปิดให้บริการระบบจองโรงแรมภายในประเทศไทย  โดยที่ผู้ใช้บริการอาจจะเป็นบริษัทท่องเที่ยวของต่างชาติที่ต้องการห้องพักในประเทศไทย   การให้บริการนี้ทำโดยพัฒนาเว็บเซอร์วิสขึ้นมาซึ่งทำให้บริษัทท่องเที่ยวของชาวต่างชาติสามารถพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อเชื่อมต่อกับระบบการจองโรงแรมภายในประเทศไทยของบริษัท A2Z Professional Travel โดยที่บริษัทท่องเที่ยวต่างชาติไม่ต้องเสียเวลามาคัดลอกและพิมพ์ข้อมูลที่ได้รับจากบริษัท A2Z Professional Travel การติดต่อธุรกรรมเป็นไปอย่างอัตโนมัติ  โดยที่บริษัทท่องเที่ยวต่างชาติอาจจะใช้แพลตฟอร์มและระบบปฏิบัติการ อย่างเช่น ใช้ Java บน Linux ในขณะที่บริษัท A2Z Professional Travel อาจจะใช้แพลตฟอร์มและระบบปฏิบัติการ อย่างเช่น ใช้ PHP บน Windows server 2003 ถ้ามองในแง่ขององค์กรในภาครัฐ   เราต้องยอมรับว่า ข้อมูลต่าง ๆ กระจายอยู่หลาย ๆ ที่ ในขณะที่มีความต้องการในการใช้ข้อมูลร่วมกัน  ปัญหาคือทำอย่างไรจะทำให้ผู้ใช้สามารถจะสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการจากการประมวลผลข้อมูลที่กระจายอยู่หลาย ๆ ที่ได้ง่ายและรวดเร็ว   โดยที่ข้อมูลต่าง ๆ อาจจะกระจายตามทางภูมิศาสตร์ และเชื่อมต่อกันด้วยระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  และแต่ละที่อาจจะมีการใช้แพลตฟอร์มที่แตกต่างกัน เช่น  Java, .NET และ PHP   วิธีแก้ปัญหาวิธีหนึ่งคือ ใช้ SOA เข้ามาช่วยโดยที่ให้แต่ละที่เปิดให้บริการข้อมูลที่เขามีเพื่อทำให้ผู้อื่นสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เขามีได้ง่าย  จากนั้นอาจจะมีโปรแกรมที่เป็นตัวกลางในการเชื่อมต่อข้อมูลที่ได้รับบริการจากหลาย ๆ ที่เข้าด้วยกัน   ซึ่งตอนนี้ ทางอาจารย์และนักศึกษาปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมมือกับ  กลุ่มนักวิจัยไบโอเทค และเนคเทค ในการพัฒนาระบบที่ใช้ในการบูรณาการของแหล่งข้อมูลเสมือนโดยใช้เว็บเซอร์วิสและเพียร์-ทู-เพียร์  เพื่อทำให้นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูลจีโนมที่อยู่ที่ต่าง ๆ ได้จากการเข้าไปใช้ที่ระบบเดียวข้อมูลจีโนมที่กระจายอยู่ตามหน่วยวิจัยต่าง ๆ   เหล่านี้ ได้แก่ ฐานข้อมูลจีโนมกุ้ง จีโนมข้าว สนิปของคน และสาหร่ายเกลียวทอง  เป็นต้น                                  ( http://gotoknow.org/blog/krunapon/88322 ) อ้างอิง

 

คำสำคัญ (Tags): #soa
หมายเลขบันทึก: 220960เขียนเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2008 14:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 พฤษภาคม 2012 02:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นประโยชน์มากค่ะ ขอบคุณอาจารย์มากค่ะที่มีความรู้ดีๆมาเสนอ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท