อาจารย์ทวีศักดิ์
อาจารย์ อาจารย์ทวีศักดิ์ สว่างเมฆ

นันทนาการกับนันทนจิต


นันทนาการกับนันทนจิต

นันทนาการกับนันทนจิตเหมือนหรือต่างกันอย่างไร 

         นันทนาการ มีกิจกรรมที่เป็นองค์ประกอบเช่นเดียวกับการเล่นแต่มีความแตกต่างกันคือนันทนาการมีรูปแบบที่ชัดเจน และมีหลายอย่างนอกเหนือจากการเล่น อาจเป็นการศึกษาความซาบซึ้งในการเสริมสร้างประสบการณ์ใหม่ หรือการพัฒนาทางด้านอารมณ์ เป็นต้น ในสมัยแรกนันทนาการ หมายถึง กิจกรรมที่ก่อให้เกิดความสนุกสนาน พึงพอใจ และผ่อนคลายความตึงเครียด หลังจากการทำงานที่เหน็ดเหนื่อย เพื่อจะเรียกพลังงานหรือความรู้สึกสดชื่นกลับคืนมา แต่ในปัจจุบันนันทนาการมีความหมายและรูปแบบที่สลับซับซ้อนตั้งแต่เป็นกระบวนการก่อให้เกิดความสุข ความสำเร็จในชีวิตขั้นสูงสุด หรือการปรับปรุงเสริมสร้างคุณภาพชีวิต นักการศึกษาบางคน กล่าวว่า นันทนาการเป็นสถาบันทางสังคม (Social Institute) อย่างหนึ่ง

แนวคิดเกี่ยวกับนันทนจิต (Leisure) อาจสรุปได้เป็น 5 แง่มุม คือ

1.       เวลาที่ไม่ได้ทำงาน

2.       ส่วนหนึ่งของสังคม

3.       กิจกรรมที่กระทำในช่วงเวลาว่าง

4.       เวลาอิสระ

5.       วิถีชีวิต หรือสภาพที่เกิดขึ้นโดยบุคคลต้องการประสบความสำเร็จเท่าที่เขาต้องการจะทำได้

อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า นันทนจิต หมายถึง

1.       สัดส่วนของเวลาที่บุคคลไม่ได้ใช้ไปในการทำงาน

2.     การเลือกอย่างอิสระไม่ว่าจะทำงานหรือไม่ก็ตาม เข้าร่วมกิจกรรมเวลาว่างในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อที่ส่งเสริมความต้องการของบุคคล เพื่อให้คุณค่าทางจิตใจ ผ่อนคลายความตึงเครียด ช่วยให้สังคมอยู่เย็นเป็นสุข

นันทนาการ (Recreation)

1.     ความหมายของนันทนาการในระยะเริ่มแรก หมายถึง กิจกรรมที่ช่วยให้บุคคลเข้าร่วมในเวลาว่างเพื่อให้บุคคลเสริมสร้างพลังงานในการทำงานต่อไป ดังนั้น ความหมายแรกของนันทนาการ คือ การเล่นของผู้ใหญ่ในช่วงเวลาว่าง

2.       ในสมัยใหม่ นันทนาการ ได้เปลี่ยนแปลงความหมายอีก 3 ประการ คือ

2.1    เป็นกิจกรรมที่มีแรงจูงใจในช่วงเวลาว่าง

2.2   กระบวนการ หรือสภาพที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเข้าร่วมกิจกรรมโดยมี    จุดมุ่งหมายและความคาดหวังคือสร้างประสบการณ์เสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความพึงพอใจ สนุกสานานและสุขสงบ

2.3    เป็นสถาบันทางสังคม เช่น แหล่งความรู้และสาขาวิชาชีพ

ความหมายของนันทนาการ สามารถวิเคราะห์ได้ดังต่อไปนี้

1.     นันทนาการ ประกอบด้วยกิจกรรมหรือประสบการณ์ในช่วงเวลาว่าง ซึ่งผู้เข้าร่วมด้วยความสมัครใจ เพื่อก่อให้เกิดความพึงพอใจ ความสุข และแรงความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งเพื่อให้บุคคลได้คุณค่าทางสังคม พัฒนาทางอารมณ์

2.     นันทนาการ เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน ดังนั้น บริษัทห้างร้านในโรงงานอุตสาหกรรม จึงจัดโปรแกรมนันทนาการเพื่อบุคลากรในที่ทำงาน ให้เป็นส่วนหนึ่งของเวลาอาหารกลางวัน ช่วงพัก หรือเวลาการทำงาน

3.     นันทนาการ เป็นองค์กรหนึ่งของชุมชนหรือหน่วยงานอาสาสมัคร ซึ่งจัดขึ้นเพื่อบริการสังคม ทำให้นันทนาการเป็นที่ยอมรับในฐานะสถาบันทางสังคมเช่น ทางด้านประเพณี คุณค่า โครงสร้าง และองค์กรผู้ประกอบอาชีพ

 

ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาว่างและนันทนาการ

ความเหมือนหรือคล้ายคลึงกัน

-         ระดับของความมีอิสรภาพ (Level of Freedom)

-         การแสดงความเป็นตัวตน (Self-Expression)

-         ความพึงพอใจ (Self-Satisfaction)

ความแตกต่างที่สามารถอธิบายได้

-         นันทนจิต เป็นการศึกษาที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเวลาและการตัดสินใจที่อิสระปราศจากการควบคุม

-      นันทนาการ เป็นการใช้ประสบการณ์ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาการทางอารมณ์สุข และเป็นโครงสร้างของสถาบันทางสังคม

          มุมมองและความหมายของ นันทนจิต (Leisure) ในด้านที่เกี่ยวข้องกับสภาวะทางจิต (State of Mind) นั้น ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์ (2546) ได้ให้มุมมองที่มีความสอดคล้องกับปรัชญาของ อริสโตเติล (Aristotle) เกี่ยวกับการใช้เวลาว่างที่ผสานเข้ากับการพินิจพิจารณาของบุคคล  โดยกล่าวว่า นันทนจิต นั้นเกิดขึ้นที่ระดับของ การพิจารณาใคร่ครวญ (Contemplation) ซึ่งมีระดับของความเพลิดเพลิน (Amusement) และระดับของนันทนาการ (Recreation) เกิดขึ้นก่อนตามลำดับ

นอกจากนั้น ประพัฒน์  ลักษณพิสุทธิ์ (2546) ยังได้กล่าวอีกว่า ทฤษฏีของนันทนจิตจะกล่าวถึง 3 ด้านสำคัญ คือ ด้านที่เกี่ยวข้องกับภาวะของเวลา (State of Time) ภาวะทางกิจกรรม (State of Activity) และภาวะทางจิต (State of Mind) โดยถือว่าภาวะทางจิตนั้นเป็นด้านที่สามารถทำให้ผู้เข้าร่วมเกิดความตระหนัก (Awareness) อันจะส่งผลต่อการคงอยู่ของพฤติกรรมการใช้เวลาว่างที่ก่อให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้ (Quality of Life) ได้ในที่สุด โดยสรุปคือ จิตใจที่มีแต่ความสนุกสนานรื่นเริงยินดี เป็นคำว่า นันทนจิต (นันทน์  สมาสกับคำว่า จิต)

ตารางเปรียบเทียบองค์ประกอบด้านต่าง ๆ ของนันทนจิตและนันทนาการ

องค์ประกอบ

นันทนจิต

นันทนาการ

1. อิสรภาพ (Freedom)

เป็นการใช้เวลาว่างอย่างอิสระในการเข้าร่วมกิจกรรมเป็นการแสดงออกอย่างอิสระ

ให้โอกาสแก่บุคคลในเรื่องการเลือกอย่างอิสระที่จะเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมตามความพึงพอใจ

2.  การแสดงออกแห่งตน

(Self-Expression)

บุคคลได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการแสดงออกแห่งตน

บุคคลได้เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการแสดงออกแห่งตน

3.  ความพึงพอใจแห่งตน

(Self-Satisfaction)

ก่อให้เกิดความพึงพอใจในระดับที่ต่างกับนันทนาการ

ก่อให้เกิดความพึงพอใจในระดับที่ต่างกับนันทนจิต

4.  คุณภาพ

สร้างประสบการณ์เพื่อคุณภาพชีวิต

สร้างประสบการณ์เพื่อคุณภาพชีวิต

5.  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

 (Creativity)

สามารถเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์ที่มีความสนใจ

เกิดจากการริเริ่มทั้งจากตนเองและการจัดเพื่อก่อให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

6.  ความจำเป็น (Necessity)

ขึ้นอยู่กับความสนใจ

ขึ้นอยู่กับความสนใจ

7.  ความสนุกสนานพึงพอใจ

(Enjoyment)

เป็นอิสระมากกว่าเป็นการแสดงออกมากกว่านันทนาการในกรณีที่กิจกรรมนันทนาการถูกจัดขึ้น

เป็นการใช้กิจกรรมที่มีเป้าประสงค์เพื่อความสุขสนุกสนานและความพึงพอใจ

8.  ประสบการณ์

 (Experience)

เป็นการแสดงออกโดยอิสระจากการกระทำเป็นประสบการณ์ที่ดีหรือไม่ดีก็ได้

เป็นการใช้กิจกรรมเพื่อสร้างเสริมประสบการณ์ชีวิต เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

 

แหล่งที่มา: Mundy, J. and L. Odum. Leisure Education: Theory and Practice.  New York: John Wiley and Sons, 1979.

 อ้างอิง

ภูฟ้า  เสวกพันธ์.การพัฒนารูปแบบโปรแกรมนันทนจิตศึกษาสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา.วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาพลศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.2549.

 

 

หมายเลขบันทึก: 220797เขียนเมื่อ 4 พฤศจิกายน 2008 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 22:43 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
  • ตามมาทักทายอาจารย์
  • ได้ความรู้ดีครับ
  • อาจารย์สบายดีนะครับ

น่าสนใจมากคะ

มีความสนใจเรียนต่อทางด้านนี้

ขอคำแนะนำคะ

ขอบคุณอาจารย์ทวีศักดิ์มากครับสำหรับความรู้เรื่อง "นันทนจิต"

และขออนุณาตนำไป link แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับนักศึกษากิจกรรมบำบัด ที่กำลังศึกษากิจกรรมการรักษาด้วย Leisure

ผมแปล Leisure Participation ก่อนหน้านี้ว่า การใช้เวลาว่างมีส่วนร่วมทำกิจกรรม หรือ การมีส่วนร่วมทำกิจกรรมยามว่าง ซึ่งมีกิจกรรมนันทนาการเป็นมิติหนึ่งนอกเหนือจาก Physical Leisure, Social Leisure, Passive Leisure, Creative Leisure ที่อธิบายตามกรอบอ้างอิงของ WHO, กิจกรรมบำบัด, Occupational Science และ Leisure Science ครับ

คลิกอ่านที่ http://gotoknow.org/blog/otpop/312177

ยินดีคับผม บทความนี้ได้อ้างอิงจาก ท่านรศ.ดร.ประพัฒน์ ลักษณพิสุทธิ์ และดร.ภูฟ้า เสวกพันธ์ และได้สรุปมาบางส่วน นันทนจิตเป็นคำที่ท่านอาจารย์ประพัฒน์ ได้แปลความหมายจากคำภาษาอังกฤษ คือว่า Leisure เป็นภาษาไทยว่า นันทนจิต ซึ่งเป็นคำที่สื่อความหมายได้เป็นอย่างดี นั่นคือ จิตใจที่มีแต่ความสนุกสนานรื่นเริงยินดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท