สิ่งที่ไม่เคยทำคือสิ่งที่ยากที่สุด...


ก่อนที่จะว่าให้คนอื่นทำอะไรไม่ได้เรื่อง... ลองย้อนมองดูว่าถ้าเราทำจะดีอย่างเขาไหม?

เคยบ้างไหมที่เรามักจะบ่นคนรอบข้างว่าทำอะไรสักอย่างไม่ได้เรื่อง โดยเฉพาะเรื่องที่เราทำอย่างคล่องแคล่วแล้วเพื่อนทำไม่ได้แล้วรู้สึกรำคาญ

ในอดีตผู้เขียนเองก็เคยเป็นประจำ และมักจะรีบคว้างานนั้นมาทำเอง แล้วแอบตำหนิในใจว่างานง่าย ๆ แค่นี้ก็ทำไม่ได้...

อยู่มาวันหนึ่งได้มีโอกาสไปต่างจังหวัด และเจอบททดสอบ ไม่แน่ใจว่าเขาจะรู้ไหมหนอว่าเราไม่เคยทำ

งานที่ได้รับมอบหมายคือ ปลอกมะพร้าวแห้ง เพื่อจะนำไปทำกะทิใส่ขนมไปวัด... เป้าหมายที่ระบุ 3 ลูก...

ในใจคิดว่าง่ายมาก เพราะตอนเป็นเด็กเคยเห็นแม่ปอกมะพร้าวแบบง่าย ๆ โดยตัดหัวตัดท้ายแล้วใช้อีโต้สับแล้วก็บิด สับแล้วก็บิดไปเรื่อย ๆ จากนั้นก็ดึงเปลือกออก จัดการให้เกลี้ยงเกลา

ง่าย ๆ ใช่ไหม?

แต่ครั้นลองลงมือตามทฤษฎีที่อยู่ในหัวสมอง แรก ๆ ก็รู้สึกติดขัดเล็กน้อย

พอหมดลูกแรกก็ได้ผล สิ่งที่ได้คือมือเริ่มพอง แรงที่สับก็ดูเหมือนจะลดน้อยถอยลง ต้องใช้ผ้าพันที่มือกัน ถลอก กว่าจะหมดลูกที่ 3 เล่นเอามือไม้งอมพระรามไปเลยทีเดียว สำหรับคนที่มอบหมายงานนั้นก็ได้แต่ยิ้ม ๆ

จึงได้ข้อสรุปในการทำงานนั้นว่า

1. งานใดที่เราไม่เคยทำจะเป็นงานที่ยากเพราะเราไม่ชำนาญ

2. ไม่ควรตัดสินใครว่าผิดหรือถูก, ดีหรือเลว ถ้ายังไม่ได้พิสูจน์ข้อเท็จจริง

3. การที่เราจะปลอกมะพร้าวครั้งต่อไปควรใส่ถุงมือกันมือแตก (อันนี้สำหรับผู้เขียนเอง)

หลัก ๆ แล้วต้องการสื่อให้เห็นว่าความชำนาญหรือทักษะนั้นมีความจำเป็นอย่างมากในการประกอบกิจการ งานใด ๆ ก็ตาม

ดังนั้นเราควรที่จะพัฒนาทักษะในงาน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน เพราะลำพังแค่ทฤษฎีอาจจะไม่พอ ถ้ามีโอกาสก็ลงมือปฏิบัติด้วย...สวัสดีครับ 

คำสำคัญ (Tags): #พัฒนาทักษะ
หมายเลขบันทึก: 220266เขียนเมื่อ 2 พฤศจิกายน 2008 08:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สวัสดีค่ะ

  • ครูอ้อยขอแลกเปลี่ยนหลักการคิดนี้ ที่ครูอ้อยใช้ในการจัดการเรียนรู้ ก็คือ  ศักยภาพที่ไม่เท่าเทียมกัน  นักเรียนต่างก็มีศักยภาพที่เกิดขึ้นมาเองจากพรสวรรค์  คือ Gifted และมีนักเรียนที่มีทักษะเกิดจากการฝึกหัด พ่อแม่พาไปฝึกทักษะ  และนักเรียนที่ขาดการดูแล
  • ดังนั้น ในการจัดการเรียนรู้ ควรคำนึงถึงเรื่องนี้มากๆ  สงสาร นักเรียนประเภทสุดท้าย ที่รอการฝึกทักษะจากครูเท่านั้น
  • ความไม่เท่าเทียมที่เกิดขึ้น ในสังคม  ไม่ใช่ความผิดของนักเรียนนะคะ

ขอบคุณค่ะ...ครูอ้อยชอบ การเปิดประเด็นของน้อง ซะแล้วซี

คุณครูอ้อยครับ! วันนี้ไม่หยุดไปเที่ยวไหนเหรอครับ

ผมชอบหัวข้อสุดท้ายที่บอกว่า... "ความไม่เท่าเทียมเกิดขึ้นในสังคม ไม่ใช่ความผิดของนักเรียน..."

จริง ๆ เป็นความผิดของสังคมที่มักจะตัดสินผิดถูกที่เกิดจากการกระทำ โดยไม่ได้ดูที่ต้นสายปลายเหตุ... ขอบคุณมากครับ

  • ครูอ้อยพอเพียงกับการท่องเที่ยวแล้วล่ะค่ะ 
  • มีแต่ตัวที่ยังอยู่สะแตนบายที่บ้าน 
  • ส่วนสมองและหัวใจ  ท่องไปในเน็ต 
  • นี่เพิ่งกลับมาจากอเมริกา  ไปดูการเตรียมการเลือกตั้งที่อเมริกา วันที่ 4 นี้ 
  • ตรวจงานเสร็จก็มานั่งตอบบันทึกน้องนี่ล่ะค่ะ  เอิ๊กเอิ๊ก

^

^

^

เหอๆๆ มาอมยิ้มครูอ้อยอ่ะครับ

ส่วนตัวผมเอง เวลาไม่เคยทำงานอะไร หรือไม่ชำนาญ จะหาข้อมูลและเตรียมตัวเยอะมากเลยครับ ที่สำคัญคือ หาผู้รู้

ตัวเองเพิ่งจะเรียนรู้วิธีการปอกมะพร้าวเพื่อหวังดื่มน้ำ เมื่อครั้งกลับจากค่ายธรรมชาติบำบัด ทำให้รู้ว่า สิ่งที่คิดว่ายาก ไม่ ใช่สิ่งที่ทำไม่ได้ ตอนนี้สามารถเฉาะเอาน้ำออกจากมะพร้าวเองได้ ทั้งที่ไม่เคยคิดว่าตัวเองจะทำได้

ขอบคุณสำหรับข้อคิดค่ะ แต่มะพร้างแห้งยังไม่เคยลองค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท