เด็กไทยวันนี้กินอาหารเท่าไรจึงจะพอดี และได้แคลเซียมพอด้วย


...

เป็นที่ทราบกันดีว่า เด็กไทยเรามักจะมีปัญหาโภชนาการ (อาหาร) แบบไม่สมดุล คือ บางอย่างมากไป บางอย่างน้อยไป

อาหารกลุ่มที่ "มากไป" มักจะเป็นกลุ่มให้กำลังงาน (คาร์โบไฮเดรตหรือแป้ง-น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน) อาหารกลุ่มที่ "น้อยไป" มักจะเป็นกลุ่มผัก ผลไม้ทั้งผล (ไม่ใช่น้ำผลไม้) และแร่ธาตุ โดยเฉพาะแคลเซียม

...

กรมอนามัยจัดทำคำแนะนำง่ายๆ สำหรับเด็กไทย โดยการแบ่งอาหารเป็นหมวดหมู่ง่ายๆ อ่านแล้วนำไปใช้ได้เลย

ผู้ใหญ่ที่ออกแรง-ออกกำลังมากหน่อยก็นำคำแนะนำนี้ไปใช้ได้ แต่ถ้าออกแรง-ออกกำลังน้อย... ควรกินอาหารกลุ่ม "ข้าว-แป้ง" ให้น้อยลงหน่อย

...

 

 

ภาพที่ 1 > แสดงพื้นที่โลกที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีอยู่กันมากหน่อยในปี 2005 (พ.ศ. 2548) > [ Wikipedia ]

  • จุดสีเขียว > แสดงมหาอำนาจในการทำลูกได้แก่ อินเดีย
  • จุดสีเหลือง > แสดงประเทศหลักในการทำลูกของโลก กลุ่มประเทศเหล่านี้ในเอเชียได้แก่ จีน อินโดนีเซีย บังคลาเทศ และปากีสถาน
  • จุดสีแดง > แสดงประเทศที่ทำลูกได้น้อยได้แก่ ประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งไทย

...

...

ภาพที่ 2 > แสดงพื้นที่โลกซีกตะวันตกที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีอยู่กันมากหน่อยในปี 2005 (พ.ศ. 2548) > [ Wikipedia ]

  • สีเหลือง > แสดงประเทศลูกดกหน่อยได้แก่ บราซิลตอนล่างสุด เม็กซิโก และรัฐทางตะวันออกเฉียงเหนือของสหรัฐฯ (น่าจะเป็นฟิลาเดลเฟีย)

...

ภาพที่ 1 > แสดงพื้นที่โลกที่มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีอยู่กันมากหน่อยทางซีกโลกตะวันออกในปี 2005 (พ.ศ. 2548) > [ Wikipedia ]

  • จุดสีเขียว > แสดงมหาอำนาจในการทำลูกได้แก่ อินเดีย
  • จุดสีเหลือง > แสดงประเทศหลักในการทำลูกของโลก กลุ่มประเทศเหล่านี้ในเอเชียได้แก่ จีน อินโดนีเซีย บังคลาเทศ และปากีสถาน
  • จุดสีแดง > แสดงประเทศที่ทำลูกได้น้อยได้แก่ ประเทศส่วนใหญ่ในโลกรวมทั้งไทย

...

กรมอนามัยแบ่งอาหารสำหรับเด็กไทยเป็น 6 หมู่ได้แก่

  • กลุ่มข้าว-แป้ง > ให้กำลังงาน ควรเลือกที่ขัดสีน้อย เช่น ข้าวกล้อง ฯลฯ
  • กลุ่มผัก > ให้วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ท้องไม่ผูก

...

  • กลุ่มผลไม้ > ให้วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร ช่วยให้ผิวพรรณสดใส
  • กลุ่มเนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่ > ให้โปรตีน และธาตุเหล็ก ช่วยให้ร่างกายเจริญเติบโต แข็งแรง

...

  • กลุ่มนม > ให้แคลเซียม ช่วยให้สูงใหญ่สมวัย
  • กลุ่มน้ำมัน น้ำตาล เกลือ > กินแต่น้อย เท่าที่จำเป็น

...

ปริมาณอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กไทยปรากฏดังตาราง

กลุ่มอาหาร ปริมาณต่อวัน
ข้าว-แป้ง 8 ทัพพี
ผัก 4 ทัพพี
ผลไม้ 3 ส่วน
เนื้อสัตว์ ถั่ว ไข่ 6 ช้อนกินข้าว
นม 2 แก้ว
น้ำมัน น้ำตาล เกลือ กินแต่น้อย เท่าที่จำเป็น

...

ผลไม้ 1 ส่วน (servings) มีขนาดประมาณเท่ากับส้มขนาดกลาง 1 ผล กล้วยขนาดกลาง 1 ผล

หรืออาจเปรียบเทียบเท่ากับแผ่น CD ที่มีความหนาประมาณนิ้วก้อย หรือเท่าฝ่ามือของคนๆ นั้น (ไม่รวมนิ้วมือ) ที่มีความหนาประมาณนิ้วก้อย (ถ้าเป็นเด็กเล็ก หรือคนรูปร่างเล็กก็ควรกินน้อยลงตามส่วนของขนาดฝ่ามือ)

...

ทีนี้แคลเซียมมากน้อยเท่าไรจึงจะพอ... กรมอนามัยแนะนำว่า เด็กๆ ต้องการแคลเซียมวันละ 1,000 มิลลิกรัม (มก.)

ผู้ใหญ่ต้องการแคลเซียมวันละ 800 มก. ถ้าเป็นผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ (ท้อง) ให้นมลูก หรือหมดประจำเดือนต้องการวันละ 1,000 มก. ผู้ชายวัยทองก็ต้องการแคลเซียมเพิ่มขึ้นเช่นกัน

...

ตัวอย่างอาหารที่มีแคลเซียมสูงปรากฏดังตาราง (หน่วยมิลลิกรัม = มก.)

อาหาร ปริมาณ แคลเซียม (มก.)
นมจืด 1 กล่อง (200 มิลลิลิตร) 226
โยเกิร์ต 1 ถ้วย (150 กรัม) 160
นมเปรี้ยว 1 กล่อง (180 มิลลิลิตร) 106
ปลาตัวเล็ก 2 ช้อนกินข้าว 226
ปลาซาร์ดีนกระป๋อง 4 ช้อนกินข้าว 198
กุ้งแห้ง 1 ช้อนกินข้าว 138

...

ตัวอย่างอาหารที่มีแคลเซียมสูงปรากฏดังตาราง (หน่วยมิลลิกรัม = มก.)

อาหาร ปริมาณ แคลเซียม (มก.)
เต้าหู้อ่อน 5 ช้อนกินข้าว 150
เต้าหู้แข็ง 5 ช้อนกินข้าว 80
ผักคะน้า, ผัด 1 ทัพพี 71
ผักกว้างตุ้ง, ผัด 1 ทัพพี 60
ผักกาดขาว, ต้ม 1 ทัพพี 49
ไอศกรีมนม 1 ลูกใหญ่ 80
ชีส (เนยแข็ง) 1 แผ่น 152
  • ต้นฉบับคิดเต้าหู้แข็งที่ 2 ช้อนกินข้าว ทำให้เปรียบเทียบกับเต้าหู้อ่อนยาก ผู้เขียนจึงคำนวณเป็น 5 ช้อนกินข้าวแทน
  • ปริมาณแคลเซียมในเต้าหู้มักจะสูงบ้าง ต่ำบ้างตามกระบวนการผลิต (ใช้แคลเซียมในการทำให้โปรตีนถั่วเหลืองตกตะกอนเป็นเต้าหู้) การดูจากฉลากอาหารข้างภาชนะบรรจุน่าจะมีความแม่นยำมากกว่า

...

ข้อควรระวังในการกินอาหารให้ได้แคลเซียมคือ แคลเซียมจากนมและถั่วพูจะดูดซึมได้สูงมากๆ แคลเซียมจากแหล่งอื่นๆ จะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยกว่า จึงต้องกินให้มากเกินไว้ก่อน

ข้อควรระวังที่สำคัญมากอีกอย่างคือ อย่ากินกุ้งแห้งเป็นประจำ เนื่องจากมีปริมาณเกลือสูง และมักจะมีการผสมสีในการผลิต

...

ตอนที่ผู้เขียนเป็นนักศึกษา (เมื่อประมาณ 20 ปีเศษมาแล้ว) มีโอกาสไปฝึกงานที่ปัตตานี ตอนนั้นยังไม่ยิงหรือใช้ระเบิดกันแบบทุกวันนี้

ผู้เขียนเห็นคูน้ำบ้านหลังหนึ่งสีแดงสดแปร๊ด ถามไถ่ดู ได้ความว่า บ้านนั้นทำกุ้งแห้งขาย ทุกวันนี้คงไม่มีใครกล้าไปดูงานที่ปัตตานีอีกแล้ว (เพราะดูไปดูมา... อาจจะไม่เหลือชีวิต)

...

 

 

 

... 

ที่มา                                       

...

  • ขอขอบพระคุณ > กรมอนามัย > เด็กไทยทำได้ ในโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. 2548. หน้า 7-8.

...

  • ข้อมูลในบล็อก "บ้านสุขภาพ" เป็นไปเพื่อการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ไม่ใช่รักษาโรค
  • ท่านผู้อ่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีความเสี่ยงต่อโรคสูง... ควรปรึกษาหมอที่ดูแลท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้

...

  • ขอขอบพระคุณ > อ.นพ.ศิริชัย ภัทรนุธาพร สสจ.ลำปาง + อ.นพ.โอฬาร ยิ่งเสรี ผอ.รพ.ห้างฉัตร + อ.อรพินท์ บุญเสริม + อ.อนุพงษ์ แก้วมา + อ.ณรงค์ ม่วงตานี > สนับสนุนเทคนิค iT. 
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ ศูนย์แพทย์ชุมชน (CMU) แม่สัน-เมืองยาว โรงพยาบาลห้างฉัตร ลำปาง > 29 ตุลาคม 2551.

...

หมายเลขบันทึก: 219566เขียนเมื่อ 29 ตุลาคม 2008 17:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 19:59 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท