การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้การจัดการความรู้


กรณีศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

1.   ชื่อโครงการ

(ภาษาไทย)   การพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสถานศึกษาโดยใช้การจัดการความรู้ กรณีศึกษาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

(ภาษาอังกฤษ)   The Development for the Management Quality by the Knowledge Management : The Case Study for Academic Administration in Chumchonbanputhong School

2.  ประเภทของงานวิจัย

        วิจัยและพัฒนา (Research and Development)  และการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Particicatory Action Research)

3.  คำสำคัญ

        องค์กรแห่งการเรียนรู้  หมายถึง  องค์กรที่ต้องรับรู้และเรียนรู้ทั้งจากสภาพภายนอกและภายใน เพื่อนำมาปรับตัวและทำในสิ่งที่องค์กรต้องทำและเป็นองค์กรเรียนรู้ตลอดเวลา

                การจัดการความรู้  หมายถึง การจัดการเพื่อเอื้อให้เกิดความรู้ใหม่ โดยใช้ความรู้ที่มีอยู่และประสบการณ์ของคนในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อพัฒนานวัฒกรรมที่จะทำให้ความได้เปรียบเหนือคู่แข่งทางธุรกิจ

                สถานศึกษา  หมายถึง  สถานศึกษาที่ได้รับรางวัลพระราชทาน ปี 2547  คือ  โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

4.  คณะทำงานหรือทีมวิจัย

      หัวหน้าชุดโครงการ

        ชื่อ สกุล              นายวิโรจน์            ฤกษ์ศิริ              

        ตำแหน่งทางวิชาการ          รองผู้อำนวยการโรงเรียน/ชำนาญการพิเศษ

        หน่วยงาน             โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

        การติดต่อ              โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ต.หินตก อ.ร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช

                                        โทรศัพท์ 075 497028 มือถือ 081 7882849,084 0549455

                                        E – mail : [email protected],[email protected]

ทีมวิจัย

        ชื่อ สกุล              นางทิวาพร  กาญจนะ

        ตำแหน่งทางวิชาการ  ครู

        หน่วยงาน             โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

        การติดต่อ              โทรศัพท์  075-497028  มือถือ  081-2772255,0819681132

 

5.  ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

ในปัจจุบันนี้ ทกประเทศต่างให้ความสำคัญกับการศึกบามาก เคยมีฐานความคิดเดียวกันที่ว่ากำลังคน คือ ทรัพย์สมบัติที่ล้ำค่าที่สุดและการศึกษา คือ กุญแจแห่งการดำรงชีวิตและความสำเร็จของคนในชาติ” (Education and Manpower Burear ,2543 อ้างถึงใน มีชัย เอี่ยมจินดา 2543:28) คงที่ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้ระบุไว้ ในมาตรา 49 ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ...” มาตรา 80 (3) “พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแหงชาติกฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูเละบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก...” ดังนั้น การคำเนินการพัฒนาการศึกษาในความ

รับผิดชอบของสถานศึกษาสู่การเป็นสังคมฐานความรู้ ( Knowledge - Based Society ) และการจัดให้มีกระบวนการเรียนรู้เพื่อความเจริญงอกงามของบุคคลและสังคม ด้วยการถ่ายทอดความรู้ การอบรมบ่มนิสัย ภาย ใต้ภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของยุคโลกาภิวัฒน์ จะต้องอาศัยวิสัยทัศน์ในการพัฒนาวางตนอย่างสอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา(นคร ตังกะพิภพ. 2550 : 1 ) โดยมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญาความรู้และคุณธรรมมีจริยธรรมเเละวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่รวมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข ตามจุดมุ่งหมายของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 ) ..2545 ซึ่งสอดคล้องกับเเนวคิดพื้นฐานของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (..2510-2554) ยึดคนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

โรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง เป็นโรงเรียนขนาดกลางที่จัดการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีสภาพของโรงเรียนเป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพมาตรฐาน และความเชื่อถือศรัทธาสูงในท้องถิ่น ตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีนักเรียน 195 คน มีข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา 10 คน ซึ่งข้าราชการครูส่วนใหญ่อยู่โรงเรียนนี้ไม่น้อยกว่า 10 ปีขึ้นไป และมีความตั้งใจว่าจะเกษียณอายุที่โรงเรียนแห่งนี้ จึงมีความรักและผูกพันกับสถาบันสูง คิดเสมอว่า โรงเรียนอยู่ในสภาพดีอยู่แล้ว มีความทันสมัย มีความพร้อม ในการจัดการเรียนการสอน จนได้รับรางวัลพระราชทาน เมื่อปี 2547

อย่างไรก็ดี การเป็นโรงเรียนรางวัลพระราชทานดูเหมือนเป็นจุดเด่นที่สำคัญแต่โรงเรียนก็ยังมีจุดบกพร่อง ได้แก่ ความรู้สึกว่าโรงเรียนอยู่ในสภาพดีอยู่แล้ว จนอาจทำให้ไม่สนใจการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอน การนำเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการจัดการความรู้ให้กับนักเรียน ชุมชน และสังคมโดยรอบ การประยุกต์ให้ความรู้ในกิจการงานของตนการนำประสบการณ์จากการทำงานและการประยุกต์ใช้ความรู้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสกัดขุมความรู้ออกมาใช้แทนที่จะเริ่มที่งานหรือเป้าหมายของงานคือการบรรลุผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดงานตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (operation Effectiveness)

คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง ย่อมเกิดขึ้นจากระบบการบริหารจัดการที่ดีอย่างรู้และเข้าใจเป้าหมายชัดเจน เพี่อปฏิบัติภารกิจให้ได้ตามความคาดหวังนั้น ดังนั้นการยึดติดอยู่กับรูปแบบการบริหารจัดการความรู้แบบเก่าๆ ไม่กล้าเผชิญความเปลี่ยนแปลง คอยแต่รับคำสั่งมอบหมายงานจากหน่วยเหนือเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงเป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาชาติ พ.. 2542 การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยcละพัฒนาที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาว่า การนำรูปแบบการจัดการความรู้ (knowledge Management) มาใช้กับงานวิชาการโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหงจะมีผลต่อการพัฒนางานวิชาการของโรงเรียนอย่างไร

6.  วัตถุประสงค์โครงการ

6.1  เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้งานวิชาการของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

6.2  เพื่อประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบการจัดการความรู้งานวิชาการของโรงเรียนชุมชนบ้านพุดหง

 

7.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ / เป้าหมายเมื่อจบโครงการ

7.1  ผู้เรียนได้รับความรู้ในคุณภาพและมาตรฐานที่สูงขึ้น

7.2  ผู้เรียนมีความรู้ในสิ่งที่ตนเองมีความต้องการและสนใจ

7.3  ผู้เรียนมีความกระตือรือร้น สนุกสนานไปกับกิจกรรมที่ครูจัดให้

7.4  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นกว่าค่าเฉลี่ยของ สพท.นศ.3

7.5  ครูผู้สอนมีความชำนาญในการสอนในวิชาที่ตนเองสอนมากขึ้น

7.6  ครูผู้สอนประหยัดเวลา งบประมาณ ในการจัดทำสื่อ/อุปกรณ์ ที่มีราคาแพงในการจัดการเรียนการสอน

7.7  ครูผู้สอนมีความกระตือรือร้นในการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนมากขึ้น และเสริมสร้างทักษะการสอนให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

7.8  ประชาชนในตำบลหินตก อำเภอร่อนพิบูลย์ จ.นครศรีธรรมราช มีความรู้ในเรื่องต่างๆอย่างกว้างขวาง และทันต่อเหตุการณ์

7.9  มีศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน หน่วยงานต่างๆ

หมายเลขบันทึก: 219396เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2008 22:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 03:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เข้ามาอ่านแล้วครับอาจารย์

เจอกันจนได้ ยังคงเป็นคนใฝ่รู้ตลอดเลยน่ะครับชื่นชมๆๆๆๆ

ด.ช.ธีรวุธ เจตนุรักษ์

ผมดีใจมากที่มีดาวเทียมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท