แนะนำหนังสือที่น่าสนใจ


การบริหารภูมิปัญญา

การบริหารภูมิปัญญา
Knowledge Management
“เพื่อพัฒนาบุคคลและทีมงานให้เพียบพร้อมด้วยอัจฉริยภาพ
และความได้เปรียบต่อการแข่งขันอย่างยั่งยืนตลอดไป”
                                                                                                 โดย วีรวุธ  มาฆะศิรานนท์
บทที่ 1  ศตวรรษแห่งนวัตกรรม
 บทพิสูจน์แห่ง ศตวรรษที่ 20 เรื่องพลังของภูมิปัญญา (Knowledge Power) เป็นวิวัฒนาการด้านต่างๆ ที่พัฒนาด้วยความคิดของมนุษย์ เช่น เทคโนโลยี พลังงานและอื่นๆ                  อีกมากมาย แต่สิ่งเหล่านี้เมื่อมีคุณก็ต้องมีโทษซึ่งส่งผลต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์และการดำรงอยู่ของธุรกิจ พลังแห่งภูมิปัญญาเป็นต้นกำเนิดของความเจริญก้าวหน้าของปัจเจกบุคคลและองค์กร
1. นวัตกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์
1.1 การบินเชิงพาณิชย์
1.2 พลังงานดิบไปสู่พลังงานบริสุทธิ์
1.3 เทคโนโลยีชีวภาพกับการ Cloning
1.4 อิเล็กทรอนิกส์กับระบบสารสนเทศ
2. นวัตกรรมทางด้านธุรกิจ
3. นวัตกรรมทางด้านการบริหาร

บทที่ 2 ทศวรรษแห่งการเรียนรู้ของผู้บริหาร
 ในระยะเวลา 15 ปี ที่ผ่านมา รูปแบบการบริหารได้มีการเปลี่ยนแปลงไปหลายรูปแบบ ซึ่งควรได้รับการพิจารณาอย่างเหมาะสม ก่อนนำไปใช้ เพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพยากร และผิดวัตถุประสงค์ขององค์กร
1. การควบคุมคุณภาพสู่ ISO
2. การควบคุมคุณภาพสู่ TQM
2.1 TQM กับ มัลคอม บัลดริดจ์
2.2 ทำไมองค์กรธุรกิจในสหรัฐอเมริกา จึงสนใจแต่ TQM และปฏิเสธ ISO
2.2.1 ความคร่ำครึ เหมือนระบบราชการ (Bureaucratic)
2.2.2 เน้นเฉพาะงานภายใน (Internally Focused)
2.2.3 ลูกค้ารายใหญ่มีอิทธิพลมากเกินไป (Customer Interference)
2.2.4 ISO คือ เสือกระดาษ
2.2.5 ต้องให้บุคคลภายนอกมาตรวจรับรอง
2.2.6 ไม่อยากจ่ายเงินจำนวนมากให้แก่บริษัทที่ปรึกษาภายนอกที่จะมาติดตั้งระบบ
2.2.7 ชาตินิยม?
3. TQM สู่ องค์กรเรียนรู้
3.1 องค์ประกอบที่สำคัญขององค์กรเรียนรู้ (Leaning Organization)
3.2 วินัย (Disciplines) ของการเรียนรู้
4. สู่ยุค รีอินจีเนียริ่ง
4.1 ทำไมรีอินจีเนียริ่ง จึงตายเร็ว
4.2 รีอินจีเนียริ่ง ยังถูกต้องอยู่หรือไม่?
4.3 รีอินจีเนียริ่ง ของแท้ทำอย่างไร?
5. ข้อจำกัดในการปฏิรูปองค์กร
5.1 โครงสร้างองค์กร(Organization Structure)และโครงสร้างการบริหาร (Management Structure)
5.2 วัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture)
5.3 ขาดแผนงาน หรือ มีแผนงานไม่ชัดเจน (Business Plan) แต่ก็ไม่ชัดเจน
5.4 ขาดทักษะในการจัดการเชิงระบบ (Systems Management)
5.5 ขาดภาวะผู้นำ (Leadership)
5.6 ขาดการเอื้ออำนาจ (Empowerment)
5.7 ขาดทรัพยากร (Resources) ที่จำเป็น
5.8 ไม่ยอมเผชิญความเสี่ยง (Risk Management)
5.9 ขาดวิสัยทัศน์ (Vision) เกี่ยวกับอนาคต
5.10 ขาดสมรรถนะที่เป็นเลิศ (Competency) และความสามารถในการแข่งขัน
6. การบริหารองค์กรเรียนรู้ สู่ การบริหารภูมิปัญญา

บทที่ 3 กาลเวลากับพลานุภาพที่แปรเปลี่ยน
 ในการทำงานด้านการบริหาร หรือเรื่องของธุรกิจ ต้องทำอย่างถูกต้อง ถูกวิธี ถูกเวลา ไม่อย่างนั้นแล้วก็อาจจะพบกับความล้มเหลวได้
1. ยุคข้อมูลข่าวสารคือ พลานุภาพ “Information is Power”
2. ยุคของเครือข่าย คือ คุณค่า “Network is Power”
3. ยุคภูมิปัญญา คือ พลานุภาพ “Knowledge Power”

บทที่ 4 หัวใจของทุกธุรกิจในศตวรรษที่ 21
 ความเปลี่ยนแปลงในอดีต มีรูปแบบที่ค่อยเป็นค่อยไป แต่นับจากนี้จะเป็นโลกธุรกิจรูปแบบใหม่ ด้วยเหตุที่ทุกคนมุ่งเน้นที่จะพัฒนาพลังแห่งปัญญา “ภูมิปัญญาที่เรามีอยู่ในวันนี้ ก็อาจจะไม่สามารถประยุกต์กับปัญหาที่จะมีมาในอนาคตได้อีกต่อไป”
1. เริ่มต้นด้วยการเรียนรู้กันใหม่
1.1  เพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขัน
1.2  เพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถ
1.3  เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลง
1.4  เพื่อเป็นผู้สร้างให้เกิดความเปลี่ยนแปลง
2.  บริหารภูมิปัญญาให้เกิดเป็นสายโซ่แห่งคุณค่า (Knowledge Value Chain)
3.  เริ่มพัฒนาจากองค์กรเรียนรู้
 3.1 การเรียนรู้ทั่วทั้งองค์กร
 3.2 คุณสมบัติขององค์กรเรียนรู้
4.  คิดคำนึงถึง “ความเป็นระบบ”

บทที่ 5 การบริหารภูมิปัญญายุคใหม่
 คำว่า “ภูมิปัญญา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 พบว่า
“ภูมิ” หมายถึง พื้นเพ พื้น ชั้น สภาวะ
“ปัญญา” หมายถึง ความรอบรู้ ความรู้ทั่ว ความฉลาด อันเกิดจากการเรียนและคิด
1. การบริหารภูมิปัญญา คืออะไร?
2. ปัญหาและอุปสรรค
3. แนวทางการบริหารภูมิปัญญา
4. วิธีดำเนินการ 5 ขั้นตอน
4.1 ลืมเรื่องเก่าๆเสียก่อน (Unlearning)
4.2 เข้าสู่เรื่องปัจจุบัน (learning)
4.3 ไปสู่เรื่องอนาคต (Relearning)

บทที่ 6 วิธีเร่งการเรียนรู้ สู่ภูมิปัญญา
1. การเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์
2. การเรียนรู้คู่ประสบการณ์ (Experiential Learning)
3. การประยุกต์แนวคิดทางการบริหารในการเร่งระบบการเรียนรู้
4. การจัดการแฟ้มภูมิปัญญา
4.1 ประเภทของแฟ้มภูมิปัญญา
4.2 ลักษณะของแฟ้มภูมิปัญญา
4.2.1 ภารกิจดำเนินการ
4.2.1.1 แฟ้มภูมิปัญญาของบุคคล
4.2.1.2 แฟ้มภูมิปัญญาของทีมงาน
4.2.1.3 แฟ้มภูมิปัญญาขององค์กร
4.2.2 ประสบการณ์เดิม
4.2.3 การเรียนรู้ใหม่
4.2.4 รูปธรรมที่นำเสนอได้
4.2.4.1 แฟ้มภูมิปัญญาของบุคคล
4.2.4.2 แฟ้มภูมิปัญญาของทีมงาน
4.2.4.3 แฟ้มภูมิปัญญาขององค์กร
4.2.5 ผลที่ได้จากการเรียนรู้
4.2.6 ข้อชี้แนะต่อการเรียนรู้ในอนาคต
4.3 ลักษณะของแฟ้มการเรียนรู้ – การฝึกอบรม
4.3.1 แผนการเรียนรู้รายบุคคล (Individual Learning Plan)
4.3.2 รายละเอียดการถ่ายโอนความรู้ผลการเรียนรู้ลงสู่กระบวนการ (Learning Transfer Schedule)
4.3.3 สรุปรวมประวัติการเรียนรู้รายบุคคล (Individual Learning Summary)

บทที่ 7  ใคร ต้องทำอะไร
 เมื่อโลกมีการเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละวัน มีผลต่อระบบย่อยๆ ไปถึงระบบใหญ่ๆ และการจะเอาชนะต่อความเปลี่ยนแปลงนั้น ก็จะต้องให้ความสำคัญกับ “ทุนมนุษย์” (Human Capital) ที่จะต้องมองในภาพรวมที่เป็นระบบใหญ่ พร้อมให้ความสำคัญกับทรัพยากรบุคคลอย่างน้อย 3 ประการ ได้แก่ ความเป็นเลิศในเชิงวิชาการ ในอาชีพ ในการครองตน
1. เริ่มที่ต้นสังกัด คือองค์กร
2. บทบาทของฝ่ายทรัพยากรบุคคล (ยุคใหม่)
3. บทบาทของผู้บริหารด้านภูมิปัญญา
3.1 เป็นผู้ใฝ่งานธุรกิจขององค์กร (Intrapreneur) และเป็นผู้ออกแบบระบบการเรียนรู้ (Learning Designer)
3.2 เป็นผู้เชี่ยวชาญ (Specialist) และเป็นที่ปรึกษา (Consultant)
3.3 เป็นผู้ดูแลด้านเทคโนโลยี (Technologist)
3.4 เป็นผู้จัดการกับสภาวะแวดล้อม (Environmentalist)
3.5 บทบาทของคนทำงานกับการสร้างฐานภูมิปัญญา

บทที่ 8 ก้าวสู่องค์กรอัจฉริยะ
 ปัจจุบันนี้ทุกองค์กรมุ่งคิดค้นกลยุทธ์ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บุคลากรได้มีทักษะในการติดต่อสื่อสารและสามารถสร้างองค์ความรู้ได้
1. ปัญหายอดนิยม 3 ข้อ
1.1 ทำไมงานของเราจึงไม่คล่องตัว?
1.2 ทำไมลูกค้าจึงบ่นว่าเราบริการไม่ดี?
1.3 ทำไมต้นทุนของเราจึงสูง?
 2.   แก่นแท้ของงานธุรกิจ
 3.   องค์กรอัจฉริยะ กับการบริหารภูมิปัญญา
       3.1 ต้นกำเนิดและผลลัพธ์ขององค์กรอัจฉริยะ
       3.2 ตั้งหน่วยงานสนับสนุน
       3.3 รณรงค์ให้ทุกคนในองค์กรร่วมสนับสนุน

บทที่ 9 สู่ ศตวรรษใหม่ จะลงมือกันอย่างไร
 เมื่อการทำงานได้ผ่านพ้นไป สิ่งที่ผิดพลาดไปก็ถือว่าเป็นบทเรียน และเป็นประสบการณ์ที่มีค่า “เราจะต้องเรียนรู้ เพื่อเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาส” เพื่อให้องค์กรสามารถดำเนินอยู่ได้ในยุคปัจจุบัน
1. การมุ่งปฏิบัติกันใหม่
2. ภูมิปัญญาไทย – ภูมิปัญญาท้องถิ่น
3. ภูมิปัญญาไทย – ภูมิปัญญาสากล
สรุป คนไทยสามารถทำทุกสิ่งทุกอย่างให้สำเร็จได้ด้วยความเพียร หากทุกคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตนเอง และนำเอาภูมิปัญญามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตก็จะทำให้สามารถที่จะเอาชนะอุปสรรคที่เข้ามาปะทะตัวเราให้ผ่านพ้นไปได้ “แสงสว่างใดๆ เสมอด้วย ปัญญา ไม่มี”

หมายเลขบันทึก: 218588เขียนเมื่อ 24 ตุลาคม 2008 17:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 21:18 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท